หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การให้และการรับ”สินบน”กับผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดฐานอำนาจ มีวิวัฒนาการมาอย่างไร มาดูกัน

โพสท์โดย warrior B

เพจเฟซบุ๊ก จำนงศรี หาญเจนลักษณ์ Chamnongsri Hanchanlash ป้าศรี ได้ให้ข้มูลเกี่ยวกับการให้-รับสินบนในอดีต มีวิวัฒนาการอย่างไร โดยอิงประวัติศาตร์จากละครบุพเพสันนิวาส โดยเล่ารายละเอียดว่า

การให้และการรับ”สินบน”กับผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดฐานอำนาจ มีวิวัฒนาการมาอย่างไร ถ้าใครดูละคร “บุพเพสันนิวาส” อย่างไม่ไหลหลงไปกับเสน่ห์ของละคร จะเห็นประเด็นนี้ได้ค่อนข้างจะชัด

จะเห็นว่ามีรากฐานมาจากความใจดี เอื้ออารี และความเคารพผู้ใหญ่ของคนไทยที่มีมาแต่โบราณกาลแต่ไหนแต่ไรมา ข้าพเจ้าเองยังจำได้ถึงเมื่อสมัยตัวเองยังเป็นเด็กเป็นสาว เป็นลูกเป็นหลาน เวลาไปเยี่ยมเยียนผู้ใหญ่ ก็จะต้องมีของติดไม้ติดมือไปฝาก ไปกราบ ไปไหว้ จะเป็นดอกไม้ ขนมข้าวต้ม ผลหมากรากไม้ ก็ว่ากันไป ซึ่งประเพณีนี้ ในบางส่วนก็วิวัฒนาการมาเป็นของขวัญที่ใหญ่ขึ้น หนักขึ้น แพงขึ้น และในวงการที่มีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน ก็กลายพันธ์มาเป็นประเพณีการให้และรับสินบน ซึ่งใน”บุพเพสันนิวาส” ตอนที่ออกอากาศเมื่อคืนวาน จะเห็นการกลืนกลายค่อนข้างจะชัดเจน

 

ถ้าดูในละครฉากนี้ จะเห็นว่าเมื่อมีกรมเมืองมาขึ้นที่ท่าน้ำบ้านพระยาพระคลังโกษาธิบดี (เหล็ก) คนในบ้านก็เรียกบ่าวไพร่ให้ลงไปช่วยยกข้าวยกของ เมื่อบ่าวกลับมาบอกว่า แขกสองคนที่มา ไม่มีข้าวของใดๆมาด้วย คุณหญิงนิ่ม (ภรรยาพระยาโกษาธิบดี เหล็ก)) ซึ่งละครกำหนดให้มีบุคคลิกเจ้ายศเจ้าอย่าง ก็บ่นทำนองว่า…อะไรกัน มาหาถึงบ้าน ไม่มีอะไรติดไม้ติดมือมา… ไม่มีมารยาท ว่างั้นเถอะ

กรมเมืองมาหาพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เพื่อขอร้องให้กราบทูลสมเด็จพระนารายณ์ ว่าไม่ควรที่จะสร้างป้อมปราการรอบเมือง ตามคำแนะนำของฝรั่ง คอนสแตนติน ฟอลคอน 

ซึ่งอันที่จริง พระยาพระคลังก็เห็นพ้องกับกรมเมืองอยู่แล้ว 
และได้กราบทูลทัดทานไปก่อนหน้านี้แล้วด้วยสุจริตใจ เพราะเห็นว่าสิ้นเปลือง ไม่เหมาะสม ไม่จำเป็น ไม่สอดคล้องกับชีวิตคนไทย ตลอดจนเห็นความทุกข์ยากของแรงงานไพร่ที่จะถูกเกณฑ์มาสร้าง

แต่แล้วเมื่อ กรมเมืองส่งห่อเงินให้ก่อนที่จะลากลับไป
พร้อมกับขอร้องให้ทูลทัดท้านการสร้างป้อมอีกครั้งให้สำเร็จ ออกญาโกษาธิบดี (เหล็ก)ก็รับไว้ ด้วยความเคยชินว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้น้อยมาหาก็เอาของมาให้ ถึงแม้ลูกสาว(แม่จันทร์วาด)จะทัดทานว่า เป็น“ส่วย” ไม่ควรรับ

ในประวัตศาสตร์ “ส่วย”นั้นหมายถึงภาษีอากร ที่ชายไทยที่ไม่รับราชการในสมัยอยุธยาต้องจ่ายให้รัฐ เพื่อเป็นการชดเชยแทนแรงงาน

ถ้าใครดูละครฉากนี้อย่างวินิจวิเคราะห์ จะเห็นว่าวิวัฒนาการของ “ส่วย”ในบริบทนี้ เป็นคนละเรื่องเดียวกัน คือคนที่ไม่มีโอกาสจะไปทูลทัดทานเจ้านาย มาจ่าย“ส่วย” เพื่อให้คนที่ใกล้ชิดฐานอำนาจมากกว่าไปปฏิบัติการ หากแต่“ส่วย”ในที่นี้ มิได้เข้ารัฐ แต่เข้ากระเป๋าผู้ใกล้ฐานอำนาจ “ส่วย” จึงกลายเป็นสินบน คือให้เพื่อไปทำสิ่งที่คนให้ต้องการให้ทำจนสำเร็จ ถ้าจะใช้คำว่า "สินน้ำใจ"ให้ฟังเบาลง ก็ยังเป็นเรื่องของการรับทรัพย์หรือสิ่งตอบแทนการมี "นำ้ใจ" ที่ผู้รับจะไปทำให้ผู้ให้ เป็นการรับเงินเข้าประเป๋าตนเพื่อการทำงานในหน้าที่ราชการอยู่ดี

 

ในที่สุดฟอลคอนผู้รู้เหตุการณ์ก็ไปเพ็ดทูลสมเด็จนารายณ์ พระนารายณ์ พยายามย้ำถามเจ้าออกญาโกษาธบดี (เหล็ก) ถึง 5 ครั้ง ให้โอกาสสารภาพเพื่อทรงลดโทษให้ แต่เมื่อไม่ยอมรับสารภาพ จึงจำต้องทรงกำหนดโทษให้โบยอย่างหนัก “เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงกับผู้อื่น” ยังผลให้พระยาโกษา ป่วยหนักจนตายในที่สุด 
ในละคร พระโกษา(เหล็ก) ซึ่งในเนื้อแท้เป็นทหารหาญผู้รักและหวังดีต่อบ้านเมือง บอกกับลูกสาวที่โศกเศร้าสงสารพ่อว่า “พ่อผิดเอง” การยอมรับกับลูกสาวเช่นนี้ ผนวกกับการปากแข็งกับเจ้านาย แสดงให้เห็นชัดเจนว่า โกษาธิบดี(เหล็ก) รู้ดีว่า การรับ จะใช้คำว่า "ส่วย" หรือ "สินนำ้ใจ" หรือ "สินบน" นั้นผิด ถ้าพยายามให้เห็นว่าเป็นส่วยก็ผิดอยู่ดี เพราะไม่ได้นำเข้าคลัง หรือเข้าคลังก็ยังถือว่าเงินผิดประเภท

 

น่าวิเคราะห์ ว่า ผู้ที่จงรักภักดีต่อบ้านเมืองระดับ โกษาธิบดี เหล็ก กลับไม่เห็นว่า ผลประโยชน์เล็กน้อย ที่ตนได้อย่างเคยชิน”ตามน้ำ”นั้น เป็นยาพิษทีละหยดที่บำรุงเลี้ยงความโลภของตนให้เบ่งบาน และเป็นเหมือนเชื้อราร้ายที่แพร่กระจายไปเกาะกร่อนทำลายบ้านเมืองที่เขา”รัก”และคุ้มหัวเขาอยู่นั่นแหละ

นางเอกของเรื่องพูดหลายครั้งว่า คนคนหนึ่งเป็นได้ทั้งคนดีและคนไม่ดี ในคนดีมีความไม่ดี ในคนไม่ดีมีความดี จริงแล้ว แทนที่จะมองว่าคนนี้เป็นคนดี คนไม่ดี เราหันมามองที่แต่การกระทำน่าจะลงตัวกว่า อย่างออกญาโกษา (เหล็ก) ท่านนี้ ท่านเป็นคนแกล้วกล้า เฉลียวฉลาด รักบ้านรักเมือง แต่มาตายน้ำตื้นความเลวที่กำเนิดจากความโลภ บวกความเคยชิน ที่ท่านไม่ได้ใช้ปัญญากลั่นกรอง

สำหรับทัศนคติ ที่ว่าผู้น้อยควรมีอะไรติดไม้ติดมือเมื่อมาเยี่ยมผู้ใหญ่ ผู้มีเรื่องจะขอร้องควรมีอะไรติดไม้ติดมือตอบแทนให้ผู้ที่จะช่วย ฯลฯ แฝงฝังอยู่ในวัฒนธรรมประเพณีที่กลายมาเป็นโรคร้ายของสังคม โดยฉะเพาะสังคมการเมืองการปกครอง

พอซะทีไหม สำหรับคติที่จะต้อง ”มีอะไรติดไม้ติดมือ” มาหา “ผู้ใหญ่” ที่ไม่ใช่ญาติใกล้ชิด

การให้ ”ของขวัญ” มีความหมายลึกถึงใจที่ให้โดยบริสุทธิ์ 
"ของขวัญ" เป็นของที่ให้โดยมีไม่มี “ต้อง” หรือ “ควร” เข้ามาเจือให้มัวหมอง ไม่มีความหวังการตอบแทนไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมเข้าเป็นมลทิน

มิฉะนั้น คำว่า“ขวัญ”ที่เป็นคำที่งดงามที่สุดคำหนึ่งในภาษาไทย ก็จะหมดความสุกใสสะอาดงามไปอย่างน่าเสียดาย

คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ (ป้าศรี)
Cr ภาพ : internet

ขอบคุณที่มา: จำนงศรี หาญเจนลักษณ์ Chamnongsri Hanchanlash ป้าศรี
https://www.facebook.com/ChamnongsriAwareness/photos/pcb.1656096771143480/1656100507809773/?type=3&theater
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
warrior B's profile


โพสท์โดย: warrior B
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)
VOTED: JoeySekey, ซาอิ, รัก สนุก, zerotype, เนินสวรรค์
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ป่วน ! 3 จว.ใต้ ใบปลิวเกลื่อนยะลา ขณะที่ชาวบ้านไปละหมาดวันศุกร์ช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อดีตหัวหน้าพรรคคนดัง ย้ายซบ ปชป. ตอบแทนบุญคุณช่วยเป็น สส. สมัยแรกช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆเขมรเคลมอีก? อ้าง ข้าวเหนียวทุเรียน คือขนมดั้งเดิมของเขมรโบราณ!ตอนเรียนกับตอนทำงานเต่างกันแค่ไหน?
ตั้งกระทู้ใหม่