เปิดปมจดหมายลาตายสล้าง กับ ทางรถไฟทางคู่ 1 เมตร
เปิดจดหมายลาตาย พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค โดยเนื้อหาในจดหมายลาระบุว่า
ร้านกาแฟชั้นบน
เพื่อนๆ ลูกหลานที่รัก พ่ออยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี ขอจากไปอย่างเกิดประโยชน์
ขอให้ทุกคนที่ทราบเรื่อง ช่วยกันคัดค้าน รางคู่ขนาด 1.000 ม.
กรณีให้ออกมาช่วยกันคัดค้านโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาด 1 เมตร. หลายคนคงสงสัยกันว่า "โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาด 1 เมตร." คืออะไร แล้วมีความสำคัญอย่างไร ทำไมถึงถูกออกมาคัดค้าน
การทำรางรถไฟในประเทศไทย
การพัฒนารางรถไฟในประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้มีการสร้างรางรถไฟขนาด 1.435 เมตรในบริเวณตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในรางสายเหนือ โดยไม่ใช้ขนาดเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อหลบเลี่ยงจากขนาดรางรถไฟของอังกฤษ ป้องกันการรุกรานเป็นอาณานิคม และต่อมาได้มีการสร้างรางเพิ่ม ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้สร้างขนาด 1.000 เมตร ซึ่งเป็นรางรถไฟสายใต้ปัจจุบัน
รางรถไฟในประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิด คือ
- 1. รางรถไฟ 1.000 เมตร หรือมีชื่อเรียกตามภาษาอังกฤษ ว่า Meter Gauge (มีเตอร์เกจ) โดยมีความกว้างที่วัดภายในขนาด 1 เมตร โดยมีการใช้งานหลายประเทศใน แอฟริกา อเมริกา และเอเชีย โดยในทวีปยุโรปหลายประเทศได้มีการใช้ในอดีต และได้ปิดและปรับขนาดเป็นสแตนดาร์ดเกจ ยกเว้นในประเทศสเปน และสวิตเซอร์แลนด์ เช่น รางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน
2. รางรถไฟ 1.435 เมตร หรือ Standard Gauge (สแตนดาร์ดเกจ) รางขนาด 1.435 เมตร เกจนี้มีชื่อเรียกว่า เกจมาตรฐานยุโรป (European Standard Gauge) หรือเรียกอย่างง่ายว่า เกจมาตรฐาน เป็นเกจที่ชาติยุโรปในอดีตร่วมกันกำหนดให้เป็นเกจมาตรฐานประจำทวีปยุโรป ปัจจุบันเป็นเกจที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลก ภูมิภาคที่ใช้งานเกจนี้เป็นหลักได้แก่ ทวีปยุโรป, ทวีปอเมริกาเหนือ, กลุ่มประเทศอาหรับ และประเทศจีน เช่น BTS, MRT และ Airport Rail Link เป็นต้น
อย่างที่คนไทยเรารู้กันว่า รถไฟไทยได้รับเสียงชื่นชมด้านลบเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของการเดินรถช้า อุปกรณ์เก่า และขาดการซ่อมบำรุง จึงมีความพยายามจากหลายภาคส่วนในการปรับปรุงระบบรถไฟหรือแปรรูปเป็นเอกชน แต่หลายๆครั้งก็ถูกคัดค้านโดยสหภาพการรถไฟ
ส่วนหนึ่งของปัญหาความล่าช้าในการเดินรถก็เกิดมาจาก รางรถไฟทางเดียวในประเทศไทยมีถึง 80% ของจำนวนรางทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งรางคู่ส่วนใหญ่จะอยู่แค่ในจังหวัดกรุงเทพ และปริมณฑลโดยรอบเท่านั้น ทำให้เวลาในการเดินรถล่าช้าเกิดจากการสลับราง และหลีกทางให้ขบวนรถไฟอืนๆ จนทำให้เกิดความล่าช้ากระทบกันเป็นลูกโซ่
-
ในปี พ.ศ. 2551 จึงได้มีการดำเนินการประมูลสร้างรถไฟทางคู่จากฉะเชิงเทราถึงแหลมฉบัง คิดเป็นระยะทาง78กิโลเมตร ตามมาด้วยรถไฟทางคู่จากคลองสิบเก้าถึงชุมทางแก่งคอย และทางคู่นครปฐมถึงหัวหิน ในปี พ.ศ. 2553 โครงการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกำลังจะเกิดขึ้น ทำให้เกิดโครงการรถไฟรางคู่จากนครราชสีมาถึงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว โดยเริ่มจากสถานีรถไฟนครราชสีมาถึงสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ โครงการรถไฟรางคู่มีเป้าหมายสูงสุดที่การปรับปรุงสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ รวมเป็นระยะทางทั้งหมด 832 กิโลเมตร (โครงการยังไม่เสร็จ และกำลังก่อสร้างเพิ่มเติมกันอยู่)
โครงการทางรถไฟทางคู่ ทุกรัฐบาลพยายามผลักดันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มบริการการขนส่งทางราง เพื่อลดความแออัดของรถยนต์บรรทุกบนท้องถนนลง แต่โครงการดังกล่าวก็ยังไม่แล้วเสร็จ
สาเหตุที่พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค คัดค้านการสร้างทางรถไฟรางคู่ 1 เมตร
พล.ต.อ.สล้าง ระบุเหตุผลในการคัดค้านว่า "เป็นเรื่องมาตรฐานสำหรับอนาคตเนื่องจากรางขนาด 1.000 เมตรเป็นระบบเก่า อาจทำให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน รวมทั้งส่งผลต่อการทำความเร็วของขบวนรถไฟและความปลอดภัย โดยต้องการผลักดันให้ใช้รางขนาดทางกว้าง 1.435 เมตร"
ในขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งเเละคมนาคม ได้เคยให้คำอธิบายเรื่องขนาดรางไว้ว่า "รางรถไฟทั่วโลกนั้นมีขนาดเเตกต่างกัน เช่น 1.000 เมตร 1.435 เมตร 1.520 เมตร 1.676 เมตร เป็นต้น ไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่า ขนาดไหนปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพมากที่สุด"จากนโยบายของรัฐบาลชุดนี้จึงมีมติเห็นชอบให้ใช้รถไฟความเร็วสูงเป็นรางขนาด 1.435 เมตร เป็นระบบไฟฟ้า (เส้นทางหลัก) และใช้รถไฟรางคู่ ขนาด 1 เมตร ระบบดีเซล ในระบบการเดินรถปัจจุบัน (เส้นทางย่อย) ในการเชื่อมโยงการเดินทางสู่ภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรแล้ว สำหรับคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นราง 1 เมตร หรือ 1.435 เมตร ก็ตาม แค่ขอให้สร้างให้แล้วเสร็จ ก็จะสามารถลดความแอดอัดบนท้องถนนลงได้อย่างมาก ลดงบประมาณในการซ่อมแซมผิวถนน และจะลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถบรรทุกขนาดใหญ่ลงได้อย่างมหาศาล เพียงแค่นี้เราก็พอใจแล้ว