รู้หมือไร่! คลื่นรังสีจากมือถือคุณ ไม่ได้เป็นอันตรายอย่างที่คุณคิด
นับว่าเป็นอีกเรื่องที่มีการถกเถียงกันอยู่ไม่น้อย สำหรับเรื่องความอันตรายจากรังสีโทรศัพท์มือถือ ที่คนส่วนใหญ่ก็เชื่อกันแบบนั้น บวกกับการมีผลวิจัยที่ว่า มีการนำหนูไปทดลองรับรังสีจากโทรศัพท์ โดยปล่อยคลื่น 2G และ 3G ให้กับหนูทดลองเป็นระยะเวลา 9 ชั่วโมงต่อวัน เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันถึง 2 ปี ซึ่งเป็นการรับรังสีที่มากกว่าการใช้สมาร์ทโฟนของเราในชีวิตประจำวันอย่างมาก
ซึ่งผลจากการทดลองพบว่า หนูตัวผู้มีโอกาสเกิดเนื้องอกที่หัวใจเมื่อได้รับรังสีจากโทรศัพท์ในปริมาณมาก ในขณะที่หนูตัวเมียกลับไม่เกิดผลแบบนั้น และยังไม่พบหลักฐานว่า คลื่นวิทยุส่งผลต่อการเกิดเนื้องอกในสมองแต่อย่างใด ซึ่งทำให้งานวิจัยนี้ไม่น่าจะอ้างอิงผลที่เกิดกับมนุษย์ได้เช่นกัน
และยิ่งในปัจจุบันนี้ กระบวนการผลิตสมาร์ทโฟนจะต้องถูกควบคุมโดยคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร ได้มีการกำหนดปริมาณรังสีวิทยุที่สามารถปล่อยออกมาจากสมาร์ทโฟนเอาไว้แล้ว และอีกทั้ง องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา เผยว่าปริมาณรังสีวิทยุที่ FCC กำหนดเป็นปริมาณรังสีที่ปลอดภัยต่อมนุษย์
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เป็นกังวลเกี่ยวกับรังสีโทรศัพท์ว่าอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งสมอง ก็คงไม่ต้องเป็นกังวลอีกต่อไปแล้ว เพราะรังสีที่ปล่อยออกจากโทรศัพท์นั้นเป็นรังสีที่มีความถี่เหมือนรังสีวิทยุ ที่มีค่าพลังงานต่ำมาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ถ้าเทียบกับรังสีจากการ X-ray แล้ว ถึงแม้จะยังไม่มีการวิจัยกับมนุษย์โดยตรง แต่จากการทดลองนี้ เราก็สามารถมั่นใจในระดับหนึ่งว่ารังสีจากโทรศัพท์จะไม่ก่อให้เกิดมะเร็งสมองอย่างแน่นอน หากเราใช้งานในระดับที่พอดี ไม่จนมากเกินไป