โดนใจใช่เลย!!! ใครจะเเต่งงาน มาลองคำนวณสินสอดกัน ทันค่าแรงขั้นต่ำใหม่ ตามอัตราเงินเฟ้อ
การคำนวณสินสอด คำนวณสินสอด อย่างไร?
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และสรุปออกมาเป็นเชิงสมการในการคำนวณค่าสินสอด ก็อยากจะเอามาแชร์ให้เพื่อนๆ คู่บ่าวสาวที่วางแผนจะแต่งงาน และยังตัดสินใจไม่ได้ หรือมีคำถามเกิดขึ้นว่า "ควรจะให้สินสอดเท่าไหร่ดี" หรือ "ควรจะเรียกสินสอดเท่าไหร่ดี" ข้อมูลนี้คงจะมีประโยชน์สำหรับคู่บ่าวสาวที่กำลังจะแต่งงาน และต้องการประมาณการค่าสินสอด
เราลองมาดูผลการศึกษาในแง่ของเศรษฐศาสตร์กันค่ะ ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่มีผลต่อมูลค่าสินสอด ได้แก่
-ระดับรายได้
-ระดับการศึกษา
-การมีภาระรับผิดชอบต่อครอบครัว และ
ลำดับการแต่งงานในครอบครัว
ผลการสำรวจพบว่า "ทรัพย์สิน" มีผลน้อยมากต่อมูลค่าสินสอด ส่วน "ภาระความรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน" และ "อาชีพ" ไม่มีผลต่อมูลค่าสินสอด
จากผลการศึกษาเค้าก็ได้ทำแบบจำลองสมการขึ้นมาหลายแบบ และได้แนะนำให้คู่ที่กำลังจะแต่งงาน ใช้แบบจำลองสมการเส้นตรง ในการคำนวณมูลค่าสินสอด โดยการแทน "ค่าเฉลี่ย" ของคู่บ่าวสาวเข้าไปในสมการ
ซึ่งในแบบจำลองสมการเส้นตรงพบว่า เมื่อคู่แต่งงาน (ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง) มีระดับรายได้สูงขึ้น 1 บาท จะทำให้มูลค่าสินสอดเพิ่มขึ้น 2.205 บาท และเมื่ออายุของคู่แต่งงานสูงขึ้น 1 ปี จะทำให้มูลค่าสินสอดเพิ่มขึ้น 8,986.92 บาท หรือถ้าภูมิลำเนา เป็นคนกรุงเทพฯ มูลค่าสินสอดจะเพิ่มขึ้น 174,818.6 บาท ได้เป็นสมการดังข้างล่าง
ตัวอย่างเช่น หากคู่บ่าวสาวมีรายได้เฉลี่ย 20,000 บาทต่อเดือน อายุเฉลี่ย 30 ปี ทั้งคู่เป็นคนกรุงเทพฯ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และแต่งงานเป็นคนแรกของครอบครัว แต่ต่างคนต่างก็ไม่ต้องเลี้ยงดูครอบครัวของตัวเอง และไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง
ค่าสินสอดดุลยภาพที่ได้
สินสอด = (2.2205 x 20,000) + (8,986.92 x 30) + (17,4818.6) + (22,7064.1) = 71,5590.3 บาท
เนื่องจากผลงานศึกษาชิ้นนี้สำเร็จในปีพ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) ดังนั้นในการคำนวณค่าสินสอด ควรปรับเงินเฟ้อไปด้วย เงินเฟ้อปีละประมาณสัก 3.5%
โปรแกรมช่วยคำนวณค่าสินสอด โดยใช้หลักการจากสมการข้างต้นพร้อมปรับค่าเงินเฟ้อ (3.5% ต่อปี) มาอำนวยความสะดวก ให้เพื่อนๆได้คำนวณกันค่ะ ลองดูนะคะ
พร้อมแล้วก็กดเข้าไปใช้งานที่ลิงค์นี้กันเลยจ้า
http://www.siamviva.com/tools/wedding_tools_dowrycalculation_info_01.php