ดราม่าพื้นที่มัสยิดของใคร!?! หยุดสร้างแตกแยก ปมมัสยิดช้างเผือก จ.เชียงใหม่ สร้างทับประตูโบราณ คนปล่อยข่าวมีเงิบ...ที่ไหนได้คนเจียงใหม่ทราบดี มัสยิดอยู่คู่เมืองมากว่า 150 ปี
นายชุมพล ศรีสมบัติ ผู้สื่อข่าวภาคเหนือ เปิดเผยมีการสร้างกระแส ในกลุ่มโซเชียลและปากต่อปาก ให้ต่อต้านการปรับปรุงมัสยิดช้างเผือก จ.เชียงใหม่ ปลุกปั่นให้พี่น้องประชาชน ในจังหวัดเชียงใหม่ ลุกมาต่อต้าน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความพยายามในการสร้างความแตกแยกในสังคม
โดยมีข้อความที่ส่งต่อตอนหนึ่งว่า “มัสยิดสร้างตรงประตูช้างเผือก ซึ่งเป็นประตูมงคลของเมืองมาแต่โบราณ ถือว่าเป็นการยึดเมืองเชียงใหม่แล้ว”
ทั้งนี้มีหลักฐานปรากฎชัดว่า การมีอยู่ของมัสยิดช้างเผือก จ. เชียงใหม่ มีมาร่วม กว่า 150 ปี อยู่คู่กับคนเชียงใหม่มาอย่างยาวนานและสงบสุข
นายชุมพลเปิดเผยต่อว่า ถึงแม้ส่วนใหญ่ของคนเชียงใหม่จะทราบประวัติการเป็นมาของมัสยิดช้างเผือกดีแต่ก็มีบางกลุ่มที่คล้อยตามข้อมูลบิดเบือนเหล่านี้ โดยช่วงนี้จึงต้องช่วยกันทำงานชี้แจงสร้างความเข้าใจกับคนรุ่นหลังที่ถูกชักจูง เชื่อทุกอย่างที่ฟังมา ไม่ยอมรับคนอื่น ยึดติดแหล่งข้อมูลของตนเองอย่างเดียว
เชียงใหม่กับการอพยพของชาวมุสลิม
#ประวัติชุมชนมุสลิมมัสยิดช้างเผือกเชียงใหม่
ชุมชนมุสลิมเก่าแก่อีกชุมชนหนึ่ง เป็นที่รวมของชาวมุสลิมเชื้อสายปากี-อินเดีย ซึ่งมีมุสลิมกลุ่มแรกประมาณ ๔-๕ ครอบครัว ที่อพยพมาจากประเทศปากีสถานและประเทศอินเดีย เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้ รู้จักกันโดยทั่วไปคือ ทุ่งเวสาลี เป็นที่อุดมสมบรูณ์น้ำท่วมไม่ถึง แต่จะมีน้ำใหลผ่านอยู่ตลอดจากห้วยแก้วและห้วยช้างเคี่ยน จึงเป็นที่เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกพืชผักบางชนิด
ในช่วงแรก มัสยิดช้างเผือกยังไม่มีการก่อสร้างมัสยิดเป็นอาคารถาวร ดังนั้น การประกอบศาสนกิจที่สำคัญของชาวมุสลิม คือ การนมาซวันคุกร์ ชาวมุสลิมในย่านนี้จะเดินทางไปนมาซที่มัสยิดช้างคลาน
ในเวลาต่อมา ย่านนี้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในหมู่พ่อค้าทั้งหลาย ทำให้มีชาวมุสลิมอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้มากขึ้น ชาวปากีสถาน-อินเดีย และพ่อค้าชาจีนมุสลิมยูนนาน ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งมัสยิดในย่านนี้ คือ ท่าน นะปะซาง หรือรู้จักกันดีในหมู่พ่อค้าว่า “พ่อเลี้ยงเลานะ” ท่านเป็นผู้ที่ค่อนข้างจะมีฐานะ เศรษฐกิจดีพอสมควร เป็นผู้นำในการปรับปรุงและสร้างมัสยิดขึ้นใหม่ เป็นอาคารที่ทำด้วยไม้กระดาน (จากเดิมที่ทำด้วย เสาไม้ใผ่ ฝาขัดแตะ หลังคามุ้งด้วยใบตองและไม่มีพื้น) อาคารนี้มีลักษณะมั่นคงถาวรยิ่งขึ้น และท่านได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ให้เป็นผู้นำศาสนา (อีหม่าม) ของสัปปุรุษแห่งนี้
ก่อนที่อีหม่ามเลานะจะเสียชีวิต ประมาณ ๒-๓ ปี คือราวปีพ.ศ. ๒๔๗๓ ได้มีผู้รู้ทางศาสนาเชื้อสายปากีสถานท่านหนึ่งชื่อ “ท่านโมลวีกายิมมาคิน” อพยพมาจากประเทศปากีสถาน เป็นผู้มีชื่อเสียงมากในการอ่านพระมหาคัมภีร์-กุรอ่าน ได้อย่างมีความไพเราะเพราะพริ้ง ท่านอาศัยอยู่ในย่านช้างคลาน เมื่ออีหม่ามเลานะเสียชีวิตลง ชาวมุสลิมช้างเผือกในยุคนั้นได้เชิญให้ท่านมาเป็นอีหม่ามประจำมัสยิดสืบแทน ท่านได้ทำหน้าที่อีหม่ามประจำมัสยิดดุน-นุร (ช้างเผือก) เป็นเวลาถึง ๓๐ ปี ท่านเป็นผู้มีความประพฤติอันงดงาม ปฏิบัติศาสนกิจ อย่างเคร่งครัด สม่ำเสมอ ตลอดการมีชีวิตของท่าน อีกทั้งท่านยังได้สร้างความเจริญก้าวหน้า ในด้านการศึกษา สังคมให้กับชุมชนมุสลิมช้างเผือกอย่างมาก เมื่อท่านถึงแก่กรรมศพของท่านถูกฝั่งไว้ในบริเวณเขตกำแพงมัสยิด ด้านขาวมือของประตูมัสยิด ปัจจุบัน ลูกหลานของท่านได้ย้าย ไปฝั่งยังกุโบร์
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ คณะกรรมการมัสยิดและสัปปุรุษ เห็นควรให้มีการปรับปรุงสร้างอาคารมัสยิดขึ้นใหม่ เนื่องจากอาคารมัสยิดเดิมชำรุดทรุดโทรมลงมาก พี่น้องมุสลิมที่อพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมมือร่วมใจ กัน ระดมทุนเพื่อช่วยในการก่อสร้างมัสยิด ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบปากีสถาน โดยมีคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้าง ในสมัยนั้คือ ฮัจญีศรีบุตร วารีย์ เป็นประธาน และ มี นายนานา มูฮัมมัด หุเซ็น นายน้อย บรรณศักดิ์ นายซิดดิก เจ้าดูรี เป็นกรรมการ และมัสยิดสำเร็จลุล่วงด้วยดีในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นอาคารชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน หลังคาเป็นกระโจมรูปเดิม แลดูมั่นคงสง่างาม ตามลักษณะสถาปัตยกรรมแบบปากีสถาน และยังคงตั้งเด่นอยู่ริมถนนโชตนา ตลาดช้างเผือกปัจจุบัน
#ที่มา หนังสือ มรดกศาสนาในเชียงใหม่ภาค 2 ประวัติและการพัฒนาการของศาสนาในเชียงใหม่ จัดพิมพ์โดย คณะอนุกรรมการด้านศาสนางานสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ในโอกาสสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี (1839-2539)
ภาพและนำเสนอโดย นายชุมพล ศรีสมบัติ
#ขุนคมคำ
ประวัติชุมชนมุสลิมมัสยิดช้างเผือก เชียงใหม่
https://www.facebook.com/naichumpon/posts/1785116524831666
สร้างมัสยิดใหม่อาลัยมัสยิดดุนนูรช้างเผือกเก่าที่เชียงใหม่
ประวัติการย้ายถิ่นฐานมุสลิมกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในจังหวัดลำปาง เขลางนคร จากนายอำเภออดุลย์ นเรวุฒิกูล และเคยดำรงตำแหน่งอดีตปลัดอำเมืองลำปาง