หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สาเหตุหนึ่งที่คนไทยเป็นมะเร็งกันมาก ‘ผู้บริโภค’ หนีไม่พ้นเงื้อมมือมัจจุราช ไทยนำเข้า ‘สารเคมี’ ปีละ 1.5 แสนตัน

โพสท์โดย warrior B
 
 
 
หากนำสารเคมีจำกัดศัตรูพืชที่ประเทศไทย “นำเข้า” ระหว่างปี 2554-2558 มาอัดเรียงเป็นแนวตั้ง จะพบว่าสูงเกินระดับของ “ตึกใบหยก 2” อย่างชัดเจน

ผลการศึกษาเรื่องความเสี่ยงของเกษตรกรและประชาชนที่ได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดย สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า ประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชระหว่างปี 2548-2552 (5 ปี) ปริมาณทั้งสิ้น 520,312 ตัน

เทียบเท่าขวดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 46 เมตร สูง 304 เมตร ซึ่งเป็นความสูงในระดับเดียวกันกับอาคารใบหยกทาวเวอร์ 2

มากไปกว่านั้น จากข้อมูลของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ระหว่างปี 2553-2558 (6ปี) ประเทศไทยได้นำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมหาศาลถึง 886,580 ตัน และหากเทียบเคียงเฉพาะรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา (2554-2558) จะพบว่า มีปริมาณทั้งสิ้น 768,765 ตัน หรือประมาณปีละ 1.5 แสนตัน

นั่นหมายความว่า ปริมาณการนำเข้าในปี 2554-2558 มากกว่าปี 2548-2552 ถึง 248,453 ตัน

คำนวณคร่าวๆ เพิ่มขึ้นเฉียด 50%

แน่นอนว่า เมื่อปริมาณการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้น “มูลค่า” ย่อมเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2554-2558) มูลค่าการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ที่ 108,002 ล้านบาท

หากเฉลี่ยเป็นรายปี จะอยู่ที่ราวๆ ปีละ 21,600 ล้านบาท

เทียบเท่า “งบประมาณ” ปีงบประมาณ 2559 ของ กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) และ กระทรวงอุตสาหกรรม รวมกัน

นั่นคือตัวเลขรายได้ของบริษัทสารเคมีต่างชาติในแต่ละปี

—– “เกษตรกร” เหยื่อจิตเวช-เดิมพันชีวิต —–

สสารไม่มีวันหายไปจากโลกฉันใด สารเคมีกำจัดศัตรูพืชย่อมปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมและตกค้างอยู่ในพืชผลการเกษตรฉันนั้น

ข้อมูลจาก สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค ระบุถึงแนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรว่า เพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปี

ปี 2553 อัตราการป่วยอยู่ที่ 2.47 คน ต่อแสนประชากร

ปี 2554 อัตราการป่วยอยู่ที่ 3.90 คน ต่อแสนประชากร

ปี 2558 อัตราการป่วยอยู่ที่ 8.90 คน ต่อแสนประชากร

ปี 2559 อัตราการป่วยพุ่งทะยานอย่างก้าวกระโดด โดยอยู่ที่ 18.87 คน ต่อแสนประชากร

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 82 ราย ซึ่งอาศัยอยู่ที่ชุมชนเกษตรกรรมใน 3 จังหวัด ได้แก่ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ และกาญจนบุรี

ทั้งนี้ พบว่าแม้หญิงตั้งครรภ์จะไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกร แต่หากมีสมาชิกในบ้านประกอบอาชีพดังกล่าว หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับสารพิษ

ศ.พรพิมล กองทิพย์ อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า จากการตรวจปัสสาวะกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีสาร “ไกลโฟเสต” และ สาร “พาราควอต” ตกค้าง โดย “ไกลโฟเสต” จะออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาทส่วนกลางในระยะยาว ส่วน “พาราควอต” จะส่งผลต่อการระคายเคืองของเนื้อเยื่อ

“หญิงตั้งครรภ์ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจะมีความเสี่ยงรับ “ไกลโฟเสต” มากกว่าหญิงตั้งครรภ์ทั่วไปถึง 11.9 เท่า และมีความเสี่ยงรับ “พาราควอต” มากกว่าคนทั่วไป 1.3 เท่า”นักวิชาการรายนี้ ระบุ

ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ได้ทำการวิจัยสาร “คลอร์ไพริฟอส” ซึ่งเป็นสารเคมีอีกหนึ่งชนิดที่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทาง “สมอง” และภาวะอารมณ์

ผศ.สุพัตรา ปรศุพัฒนา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระบุว่า สารคลอร์ไพริฟอสเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งรับประทาน หายใจ และผิวหนัง โดยเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดและสมองจะส่งผลต่อพัฒนาการ และอาจส่งผลต่อความผิดปกติทางอารมณ์ ภาวะซึมเศร้า ที่สำคัญก็คือหากสารนี้เข้าสู่ร่างกายแม่ก็จะถ่ายทอดสู่ทารกในครรภ์ทันที

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ในสหรัฐอเมริกาเคยมีการสำรวจประชากรอาชีพเกษตรกรรมกว่า 5 หมื่นคน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับสารดังกล่าวและการฆ่าตัวตาย โดยพบว่าในกลุ่มที่รับสารคลอร์ไพริฟอสในขนาดสูง เฉลี่ยทำงานคลุกคลีกับสารเคมีนี้ประมาณ 56 วันต่อปี จะมีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย 2.37 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มไม่ได้รับสารนี้

—– “ผู้บริโภค” หนีไม่พ้นเงื้อมมือมัจจุราช —–

นอกจาก “เกษตรกร” ซึ่งสัมผัสกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยตรงแล้ว ในส่วนของ “ผู้บริโภค” ทั่วไปก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสารอันตรายเหล่านี้อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ที่สำคัญก็คือส่วนใหญ่แทบจะไม่รู้ตัวว่ากำลังตกเป็นเหยื่อของมัจจุราชซ่อนรูปตนนี้

ผลการตรวจสอบพืชผักและผลไม้ในตลาดสดและโมเดิร์นเทรดประจำปี 2559 โดย เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thailand Pesticide Alert Network : Thai PAN) พบว่า มีสารเคมีและสารพิษ “ตกค้าง” ในผลผลิตทางการเกษตรที่มาวางขายเป็นจำนวนมาก และเกือบทั้งหมดมีปริมาณสารพิษตกค้างเกินค่าสูงสุด (MRL) ทั้งสิ้น

พริกแดง มีสารพิษตกค้างเกิน MRL 100% ของกลุ่มตัวอย่าง

กะเพรา มีสารพิษตกค้างเกิน MRL 66% ของกลุ่มตัวอย่าง

ถั่วฝักยาว มีสารพิษตกค้างเกิน MRL 66% ของกลุ่มตัวอย่าง

คะน้า มีสารพิษตกค้างเกิน MRL 55% ของกลุ่มตัวอย่าง

ผักกาดขาวปลี มีสารพิษตกค้างเกิน MRL 33% ของกลุ่มตัวอย่าง

สำหรับ 66% ของ “มะเขือเปราะ” มีสารพิษตกค้าง แต่ไม่เกิน MRL ขณะที่ “กะหล่ำปลี” ไม่พบสารพิษตกค้างแต่อย่างใ

ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงาน Thai PAN ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า จากการตรวจสอบพบสารกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน หรือถูกห้ามใช้ในประเทศไทย จำนวน 11 ชนิด ตกค้างอยู่ในผักและผลไม้ที่จำหน่ายในตลาด

“เรายังพบผู้ประกอบการผักและผลไม้รายใหญ่ที่จัดส่งสินค้าไปยังโมเดิร์นเทรดกระทำความผิดซ้ำซาก คือตรวจพบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี และจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีการลงโทษบริษัทดังกล่าวแต่อย่างใด”ปรกชล ระบุ

อีกหนึ่งผลพวงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่นำมาซึ่งอันตรายแก่ผู้บริโภคก็คือ “แมลงทอด”

ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า คนไทยบริโภคแมลงทุกชนิดรวมกันเฉลี่ยประมาณปีละ 2 ตัน โดยแมลงยอดนิยม ได้แก่ ดักแด้หนอนไหม หนอนไม้ไผ่ แมงดานา ตั๊กแตน แมลงกระชอน จิ้งโกร่ง และจิ้งหรีด

แม้ว่าอาหารประเภทนี้จะมีคุณค่าทางโภชนาการเนื่องจากมีโปรตีนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับสารอันตราย โดยเฉพาะ “ตั๊กแตน” ที่กินใบไม้ จึงมีสารกลุ่ม “คาร์บาเมต” ปนเปื้อน

สำหรับผลข้างเคียงจากสารเคมีชนิดดังกล่าว เริ่มตั้งแต่ อ่อนเพลีย วิงเวียน อาเจียน สายตากระตุก ไปจนถึงเป็นตะคริวที่ท้อง ปัสสาวะราด ความดันต่ำ หัวใจเต้นช้า หายใจขัด หากไม่ได้รับการรักษาอายถึงขั้น “เสียชีวิต”

ในส่วนของ “ดักแด้หนอนไหม” มักจะพบสาร “ฮีสตามีน” ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ และไม่สามารถทำลายได้ด้วยความร้อน เมื่อสารอยู่ในร่างกายมากจะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติของผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้หรือหอบหืดจะมีอาการหนักมากจนถึงขั้น “เสียชีวิต” เช่นกัน

เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งของภัยร้ายที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องรู้เท่าทัน

ขอบคุณที่มา: สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม (Greennews)
http://www.greennewstv.com/ผู้บริโภค-หนีไม่พ้นเง/
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
warrior B's profile


โพสท์โดย: warrior B
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: ซาอิ, zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ชาวเน็ตฮือฮา! ขายที่ดินพร้อมบ้าน 200 ล้าน ติดวิวสภาสัปปายะสภาสถานสวนปาล์มต้องเสียหาย เพราะความมักง่ายของคนหนุ่มเร่ขาย "ลาบูบู้" กลางสี่แยก..ทำเอาหลายคนแห่ถามพิกัดเขมรคือต้นกำเนิด วัฒนธรรมของการกิน 'สุนัข' ?ชาวกัมพูชาเดือด เมื่อมีบล็อคเกอร์หนุ่มคนกัมพูชา ไปถ่ายรูปล้อเลียนรูปปั้นม้าน้ำมากจนเกินงามเกินไปซูเปอร์สตาร์ที่ไม่มีงานแสดง แต่เป็นเศรษฐีระดับพันล้านทำไมจู่ๆ lกย์ 700 คนถึงพร้อมใจกัน "ฟ้องร้องแอป Grindr"อดีตพระเอกดัง เตรียมตัวย้ายประเทศไปเยอรมนีช้าหน่อยนะครับ!! เมื่อเจ้าของร้านไล่พนักงานออกยกเซต 8 คน เพราะขโมยเงิน งานนี้ต้องกลับมาทำทุกอย่างเองทั้งหมด 😌
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
รวมเรื่องรัก 12 ราศี ทำนายเดือน พฤษภาคม 2567 พยากรณ์โดย อ.พิรฌานชาวเน็ตฮือฮา! ขายที่ดินพร้อมบ้าน 200 ล้าน ติดวิวสภาสัปปายะสภาสถานจังหวัดเดียว ในภาคอิสานที่ไม่มีภูเขา?เที่ยวเมืองสงขลา รับประทานก๋วยเตี๋ยวหางหมู
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
รู้หรือไม่ ? คำว่า O.K. นั้นมีที่มาจากอะไร ?ขวางทางสุข!! หนุ่มอินเดียรคิดค้น แอปบล็อกเว็บโ.ป๊กว่า 4 พันเว็บไซต์ ชาวเน็ตเเซว...บาปนะ 😁ในปี 1939 สหภาพโซเวียตใช้เครื่องจักรสร้างถนนสมัยใหม่ใครคือ"ผู้นำอิหร่าน" รู้จักฆอเมเนอี
ตั้งกระทู้ใหม่