โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน พร้อมการดูแล
หมอนรองกระดูกสันหลังเป็นอวัยวะส่วนสำคัญที่ช่วยคั่นกลางรอยต่อ ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละคู่ โดยหมอนรองกระดูก นี้มีลักษณะยืดหยุ่นเพื่อช่วยให้สันหลังเคลื่อนไหวได้
รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ภายในโพรงของกระดูกสันหลัง จะมีไขสันหลังบรรจุอยู่ และมีเส้นประสาทแยกแขนงจากไขสันหลังไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เส้นประสาทส่วนต้น สุดที่แยกแขนงออกมาจากไขสันหลัง เรียกว่า "รากประสาท" ซึ่งอยู่ชิดกับหมอนรองกระดูก
บางคนอาจมีการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกไปรบกวนหรือกดทับถูกราก ประสาทดังกล่าว ทำให้เป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือที่เรียกว่า "รากประสาทถูกกด"
โรคนี้มักพบในคนอายุ 20-40 ปี โดยมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 เท่า มักเกิดกับคนที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีแรงกระเทือนที่บริเวณหลัง หรือคนที่แบกของหนัก หรือนั่งทำงานในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้มีการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก
ส่วนตำแหน่งที่พบบ่อยของการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกคือ หมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณกระเบนเหน็บ หรือ ระดับบั้นเอว
ปวดหลังแบบไหน ไม่ใช่โรคนี้
คนที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน มักจะมีอาการปวดหลังตรงระดับบั้นเอวหรือกระเบนเหน็บ ร่วมกับอาการปวดร้าว ลงขา (จากแก้มก้นลงไปที่น่องหรือปลายเท้าด้านข้างหรือด้านนิ้วก้อย) ข้างใดข้างหนึ่งร่วมด้วย หรืออาจจะเคยยกของแล้วปวดหลังทันที มักปวดมากเวลาก้มหรือนั่ง หรือเวลาไอ จาม หรือเบ่งถ่าย หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาตามมาได้
มาดูวิธีการดูแลด้วยวิธีทางธรรมชาติ วิธีนั้นคือ การปรับภูมิคุ้มกันภายในร่างกายให้มีความสมดุล หรือความพอดีนั่นเอง การที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันเยอะมากเกินไป หรือน้อยจนเกินไป ทำให้โรคต่างๆนั้นตามมา แล้วเราจะปรับภูมิคุ้มกันให้มีความสมดุลได้อย่างไร ลองมาฟัง