มาชม ผลงาน ที่ไดรับรางวัล Ig Nobel ประจำปี 2017 แปลกๆที่เราไม่เคอยรู้มาก่อน กัน
อิก โนเบล (Ig Nobel) ย่อมาจาก ignoble Nobel เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผลงานทางวิทยาศาสตร์หรืองานวิจัยที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เช่น ระหว่างน้ำเชื่อมกับน้ำธรรมดามนุษย์จะว่ายในน้ำไหนได้ไวกว่ากัน ก่อตั้งโดย มาร์ก อับราฮัมส์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 มีการมอบรางวัลทุกปีโดยมอบปีละ 10 รางวัลในแต่ละสาขาที่ต่างกันไป อับราฮัมส์ตั้งรางวัลนี้ขึ้นมาเพื่อฉายแสงให้กับโครงการวิทยาศาสตร์แปลกๆ ที่ไม่ได้รับความสนใจจากกองบรรณาธิการนิตยสารวิทยาศาสตร์ ซึ่งงานวิจัยแปลกๆ เหล่านี้อาจสูญหายไปในอนาคต โดยในปี 2556 คณะแพทย์ชาวไทยได้รับรางวัลในสาขาสาธารณสุขจากผลงานเรื่องการต่ออวัยวะเพศที่ถูกตัดขาด
Ig Nobel รางวัลวิทยาศาสตร์อารมณ์ดี ที่ชวนให้ครุ่นคิด ประกาศผลรางวัลประจำปี 2017 แล้ว เป็นอีกปีที่ไม่มีผลงานคนไทยเข้าตากรรมการ
รางวัลในปีนี้มีสาขาต่างๆดังนี้
สาขาฟิสิกส์ - การใช้พลศาสตร์ของไหลเพื่อตอบคำถามว่าแมวสามารถเป็นได้ทั้งของแข็งและของเหลวหรือไม่
สาขาสันติภาพ - งานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการเล่นเครื่องดนตรี didgeridoo เป็นประจำสามารถช่วยรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้
.
สาขาเศรษฐศาสตร์ - การทดลองที่หาว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับจระเข้ที่มีชีวิตส่งผลกับความอยากเล่นการพนันของคนได้อย่างไร
สาขากายวิภาคศาสตร์ - งานวิจัยทางการแพทย์ที่ศึกษาว่าทำไมชายสูงอายุถึงมีหูใหญ่
สาขาชีววิทยา - การค้นพบแมลงถ้ำที่ตัวเมียมีจู๋ ตัวผู้มีจิ๋ม
.
สาขาพลศาสตร์ของไหล - การศึกษาของเหลวที่กระฉอก เมื่อคนกำลังเดินถอยหลังในขณะที่ถือแก้วกาแฟ
สาขาโภชนาการ - รายงานทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกเกี่ยวกับเลือดมนุษย์ที่เป็นอาหารของค้างคาวดูดเลือดขาขน
สาขาการแพทย์ - งานวิจัยที่ใช้เครื่องสแกนล้ำสมัย เพื่อตรวจวัดการทำงานของสมองของคนที่เกลียดชีส
สาขาการรับรู้ - การทดลองที่แสดงให้เห็นว่าแฝดเหมือนหลายคู่ ก็แยกหน้าตัวเองกับหน้าแฝดไม่ออกเหมือนกัน
สาขาสูติศาสตร์ - งานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าทารกในครรภ์จะตอบสนองต่อดนตรีที่เล่นโดยกลไกไฟฟ้าในช่องคลอดของแม่ มากกว่าดนตรีที่เล่นด้วยวิธีเดียวกันบริเวณท้องของแม่
.
ผู้ชนะในปีนี้จะได้รับเงินรางวัล 10 ล้านล้านดอลลาร์ซิมบับเว
ตามไปอ่านรายละเอียด และงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ http://www.improbable.com/ig/winners/#ig2017
แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/รางวัลอิกโนเบล
https://www.facebook.com/ScienceHereHere/