ชาวเน็ตสงสัย!! ถ้าอ่านออกเสียงแบบนี้ ...เอ-กอ อ่านว่า เก เลิกสอนเถิดนะครับ ข้อร้อง
เอ-กอ เก อ่านแบบนี้นอกจากจะไม่ได้อะไรแล้ว ยังส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก จากการที่ต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆตลอดเวลา กลับต้องมานั่งท่องการผสมคำมากมาย ทั้งๆที่วิธีเดิมก็ไม่มีปัญหา
จากการที่วันนี้ ผมได้ดูรายการของคุณคำผกา เรื่องปัญหาการศึกษา ในยูทูป แล้วไปเจอประเด็นที่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งสอนเด็กอ่านหนังสือแบบเรียงตัว ซึ่งทราบภายหลังคือ โรงเรียนในเครือสารสาสน์ ซึ่งมีค่อนข้างมาก ส่วนตัวก็ตกใจ เพราะได้ยินครั้งแรกก็เห็นเลย ว่าไม่เวิร์ค เลยอยากจะมาแสดงความคิดเห็นนิดหน่อย
ต้องเข้าใจว่าการอ่านหนังสือ เป็นพื้นฐานของเรียนระดับอื่นๆที่สูงขึ้นไป โรงเรียนหลายโรงเรียนจึงอาจมีการแข่งขันกัน เพื่อให้เด็กนักเรียนของตนเอง มีความสามารถด้านการอ่านที่มากกว่าคู่แข่ง เพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ หรือชื่อเสียงโรงเรียน โดยจะพบมากเป็นพิเศษสำหรับโรงเรียนเอกชน ที่ยิ่งเด็กอ่านหนังสือได้เท่าไหร่ ก็ดีกับโรงเรียนมากเท่านั้น
โรงเรียนสารสาสน์ ก็น่าจะเป็นหนึ่งในโรงเรียน ที่ตั้งใจพัฒนาวิธีการอ่านในรูปแบบที่คิดสามารถทำให้เด็กสามารถอ่านหนังสือได้เร็วกว่าที่เป็นอยู่ เลยมีการเปลี่ยนรูปแบบการอ่านจากแบบกระทรวง มาเป็นการอ่านแบบเรียงตัว เพราะคิดว่าจะทำให้เด็กไม่สับสนเรื่องตำแหน่งการวางสระ
การอ่านแบบเดิมตามกระทรวง เช่น ปอ-แอ-ดอ แปด การอ่านแบบนี้ ทำให้เด็กวางตำแหน่งสระผิด คือวางตามเสียงที่อ่านเลย เป็น ปแด ทางโรงเรียนจึงมีการปรับเปลี่ยนวิธีการอ่านมาเป็น แอ-ปอ-ดอ แปด เพราะคิดว่าเด็กจะได้วางตำแหน่งสระได้ถูกต้อง
แต่วิธีนี้มีความผิดพลาดตรงที่ไม่เข้าใจจุดประสงค์หลักของการผสมคำ ซึ่งความจริงคือเพื่อ ให้ได้คำอ่านของคำๆนั้นออกมา จากการที่นำเสียงของสระ เสียงของพยัญชนะ เสียงของตัวสะกด และเสียงของวรรณยุกต์ มาผสมกันเพื่อให้ได้เสียงของคำๆนั้น ตัวอย่างเช่น กอ-อา กา ขา-อา ขา จะสังเกตเห็นว่าเมื่อเสียงคำแรก และคำสอง ออกมา เสียงที่สาม ที่เราต้องการนำเสียงทั้งสองมาผสมกัน มันก็ออกมาอัตโนมัต เนื่องจากเป็นธรรมชาติของมัน
หรือเมื่อเราพูด กอ-เอ กอ-เอ กอ-เอ ให้เร็วเพื่อให้เสียงผสมกัน เสียงที่เกิดขึ้นอาจไม่เหมือนคำว่า “เก” เป๊ะ แต่ก็มีความคลายคลึงอย่างมาก
ในทางตรงข้าม ถ้าเราพูด เอ-กอ เอ-กอ เอ-กอ เพื่อให้เกิดเป็นเสียง “เก” นอกจากจะไม่ได้แล้ว เสียงที่ออกมายังคล้ายคำว่า “เอก” มากกว่า ซึ่งนับว่าไกลความจริง
การผสมคำแบบเรียงตัว จึงไม่สามารถใช้ได้ระบบเสียงตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นเมื่อเราถามเด็กว่า เอ กอ อา อ่านว่าอะไร เด็กจะตอบว่า “กา” ตามระบบเสียง ทั้งที่ความจริงคำนั้นอ่านว่า “เกา” การอ่านแบบเรียงตัว จึงต้องจำเท่านั้นว่าคำนี้ มีสระ เ ก.ไก่ และสระ า แยกเป็น เอ กอ อา อ่านว่า “เกา” ย้ำว่าต้องจำอย่างเดียวเท่านั้น
สรุปคือ ถ้าหลักสูตรกระทรวง--->อ่านเรียงเสียง แล้วมีปัญหาการวางสระ
ส่วนหลักสูตรสารสาสน์---->อ่านเรียงตัว มีปัญหาคือต้องจำเยอะ
ซึ่งแน่นอนว่าวิธีทั้งสอง เด็กสามารถทำได้เหมือนกัน แต่ประเด็นคือ วิธีไหนที่จะทำเกิดปัญหากับเด็กได้น้อยที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าคือวิธีของกระทรวงปัญหาน้อยกว่าแน่นอน เพราะเพียงแค่ตำแหน่งสระ ซึ่งสามารถแก้ได้โดยครูแนะนำเทคนิคง่ายๆกับนักเรียน ว่าแค่สระที่มีรูปร่างแบบนี้ “เ” คือมีสระเอเป็นส่วนหนึ่ง นอกนั้นไม่ว่าจะต่อหางต่อหัวเป็นสระโ ไ ใ หรือ เต็มแต่งเพิ่ม เป็น เ-า เ-อ เีย ก็แล้วแต่ ให้เอาไว้ข้างหน้า พูดง่ายๆคือ ถ้าสระนั้นมีรูปร่างเหมือน “เ” ก็แค่เอาไว้ข้างหน้า หรือครูที่คิดว่ามีเทคนิคที่ดีกว่าในการให้เด็กเข้าใจ ก็สามารถใช้วิธีของตัวเองได้
จะสังเกตเห็นว่า เพียงแค่เรากำจัดปัญหา การวางตำแหน่งสระผิดได้ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการอ่านแบบเรียงตัวแล้ว ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องท่องจำ จำ จำ แล้วก็จำ และจะส่งผลต่อค่านิยมผิดๆเกี่ยวกับการศึกษาต่อไป ค่านิยมที่เชื่อว่าการจำ ง่ายกว่าการใช้เทคนิค และการเข้าใจหลักการ ทักษะการจำก็จะกลายเป็นทักษะที่สำคัญมากกว่าทักษะการคิดวิเคราะห์ ระบบการศึกษาไทยก็เข้าถึงระบบนกแก้วนกขุนทองเช่นในอดีต หรืออาจแย่กว่านั้น
สิ่งที่เราจะเจอเมื่อเราเน้นการท่องจำ
ภาพเหตุการณ์ที่เด็กต้องมานั่งท่อง ว่าคำนั้นอ่านว่าอะไร ประกอบด้วยสระบ้าง
นึกภาพตามนะครับ เอ-กอ-ลอ-อี-ยอ-ดอ เกลียด ให้เด็กซักคนจำโดยไม่ดูหนังสือ ใช้เวลาไม่น้อยแน่นอน เวลาที่เขาควรได้เรียนรู้กับวิทยาศาสตร์ ได้ผจญภัยกับธรรมชาติ ได้ใช้เวลาร่วมกับสังคม เวลาที่ควรเรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย กลับต้องมานั่งท่องคำศัพท์ ที่เป็นของภาษาตัวเองแท้ๆ
จากท๊อปคอมเม้น
ความคิดเห็นที่ 14
สมาชิกหมายเลข 3807596
เพราะฉะนั้นง่ายๆเลยคือ ถ้าคุณทำให้เด็กวางตำแหน่งสระได้ถูกต้อง ก็ไม่ต้องไปใช้การจำแบบพิเรนทร์ ที่เด็กต้องนั่งท่องแบบนกแก้วนกขุนทองแบบที่เป็นอยู่ ซึ่งวิธีการวางสระให้ถูกตำแหน่งผมก็อธิบายหลักการคร่าวๆไปแล้ว ส่วนครูที่คิดว่ามีเทคนิคที่เจ๋งกว่าก็สอนไปสิ
ไม่ใช่ว่าหวังจะแก้ปัญหาตำแหน่งสระเล็กน้อย กลับได้ปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมคือ เด็กต้องมาท่องจำอะไรตั้งมากมายทั้งที่ไม่ควรจำ คิดถึงผลกระทบบ้างสิครับ
อย่าพูดว่าไม่เป็นไร เพราะถึงแม้เด็กโรงเรียนเขา จะไม่ใช่ลูกผมหลานผม เขาก็เป็นเด็กที่เป็นกำลังของชาติในอนาคตเช่นกัน ที่กำลังถูกระบบบีบอัดให้ต้องท่องจำ ในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์อะไร จะให้ผมไม่ห่วงได้อย่างไร
จริงๆเด็กแค่3-4ขวบ ไม่ควรได้จับดินสอด้วยซ้ำ ดูอย่างฟินแลนด์นะครับ เขาจะให้เด็กได้ผจญภัยกับธรรมชาติก่อน ส่วนการศึกษาไทยน่ะหรอ นอกจากจะหอบลูกมาเข้าโรงเรียนตั้งแต่สองขวบแล้ว โรงเรียนยังหาอะไรไม่รู้ มาให้เด็กท่องจำอีก ผลสัมฤทธิ์ก็ชี้ให้เห็นแล้วหนิครับ แล้วเรายังจะให้การท่องจำสำคัญกว่าการเรียนรู้อยู่อีกหรือ
ไม่เชื่อลองหาเด็กสารสาสน์4ขวบมาซักสองคน แล้วก็2ขวบที่ไม่เคยอ่านหนังสือเลย แค่คนเดียวก็พอ ผมจะสอนเขาเอง สอนแค่ว่า กอ-เอีย เกีย ปอ-เอีย เปีย พอเขาคุ้นกับเสียง แล้วเราถามเขาว่า แล้ว ลอ-เอีย อะไร เขาจะตอบได้ทันทีว่า ลอ-เอีย เลีย ในขณะที่ถ้าเราใช้วิธีของสารสาสน์สอนเด็กสารสาสน์เอง ถามเด็กว่า เอ-ลอ-อี-ยอ อ่านว่าอะไร เขาจะตอบไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่ธรรมชาติของเสียง เสียงเลยผสมกันไม่ได้ แต่จะอ่านได้ก็ต่อเมื่อ เด็กเคยอ่านและจำคำนี้มาแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธีนี้ ต้องจำเท่านั้นถึงจะอ่านได้ เวลาเด็กเจอคำใหม่ ก็จะไม่สามารถอ่านได้ด้วยตัวเอง ต่างจากเด็กที่เราสอนแบบเดิม ที่ถ้าเราถาม วอ-เอีย บอ-เอีย มอ-เอีย ทั้ง44ตัวอักษร เขาก็ตอบได้ทันทีโดยไม่ต้องจำ
สรุปง่ายๆคือ วิธีของสารสาสน์ สามารถแก้ปัญหาการเขียนผิดได้เล็กน้อย แต่สร้างปัญหาทำให้เด็กอ่านไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม แล้วอย่าพูดว่าไม่เป็นไร เพราะมันส่งผลต่อพัฒนาทางสมองเด็กแน่นอน ที่สำคัญไม่ต้องเชื่อในการทดสอบในย่อหน้า6ที่ผมแนะนำ แต่จงไปทดลองทำ แล้วคุณจะรู้ว่า มันเป็นปัญหาจริง แก้ไขเถอะครับ
วันก่อนเจอชื่อกระทู้เขียนผิดเยอะมากมาย รู้สึกจริงๆ นะ คนยุคใหม่ "โง่" มากขึ้น
ความโง่ในที่นี้ไม่ใช่เพราะ "ไม่รู้หนังสือ" แล้วนะ ไม่ใช่ยุคเรียนมาน้อยจบ ป.4 กันแล้วนะถึงได้เขียนหนังสือผิด มันเป็นความไม่รู้ที่ตัวบุคคล แต่เพราะอะไรบุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้นกลับมีเยอะเหลือเกินทั้งๆ ที่ก็ได้เรียนเขียนอ่านกันทั้งนั้น มันเป็นที่อะไร? ระบบการศึกษาเราถอยหลังเข้าคลองเหรอ?
คำง่ายๆ กลับไม่รู้ จำไม่ได้ว่าสะกดอย่างไร เขียนอย่างไร เรื่อง "คะ" "ค่ะ" แล้วเขียนกลายเป็น "นะค่ะ" นี่ธรรมดาไปเลย
แอบคิดจริงๆ นะ ถ้ามีลูกจะโฮมสคูลโลดเลยดีมั้ย?
นั่นมันสระ "อัว" ไม่ใช่เหรอ?
"เสีย" ต้องสะกดว่า "เอ-สอ-อี-ยอ-เสีย"?
นั่นมันสระ "เอีย" ไม่ใช่เหรอ?
"เสือ" ต้องสะกดว่า "เอ-สอ-อือ-ออ-เสือ"?
นั่นมันสระ "เอือ" ไม่ใช่เหรอ?
"บรรจง" ต้องสะกดว่า "บอ-รอ-รอ-บัน-จอ-งอ-จง"?
นั่นมัน "รอ-หัน" กับสระ "โอะ" (ลดรูป) ไม่ใช่เหรอ?
"บรรจงร้อยเป็นมาลัย" สะกดว่า "บอ-รอ-รอ-บัน-จอ-งอ-จง-รอ-ไม้โท-ออ-ยอ-ร้อย-เอ-ปอ-ไม้ไต่คู้-นอ-เป็น-มอ-อา-มา-ลอ-ไม้หันอากาศ-ยอ-ไล"
นึกว่าคาถาชินบัญชร
ถ้ากลัวเด็กเขียนไม่ถูก ทำไมไม่สอนแบบนี้ไปเลย มาขนาดนี้แล้ว เอาให้สุดไปเลย
"เสือ" ไม้หน้า-สอเสือ-พินท์อิ-ฟันหนู-ตัวอออ่าง"
"เสีย" ไม้หน้า-สอเสือ-พินท์อิ-ฝนทอง-ตัวยอยักษ์"