Anthrax Letters จดหมายโรคระบาด
วันที่ 11 กันยายน 2001 ผู้ก่อการร้ายต่างประเทศได้โจมตีประเทศอเมริกา จนทำให้ชาวอเมริกันหวาดกลัว
ต่อภัยก่อการร้าย และความสูญเสีย มันเป็นช่วงเวลาที่มืดมน ความหวาดระแวง และความไม่ไว้ใจ และจากนั้น
ไม่กี่วันอเมริกาต้องหวาดกลัวการก่อการร้ายอีกครั้ง
คราวนี้มันเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่สงบสุขของพวกเขา มันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ ทั้งสิ้น
เมื่อมีใครบางคนใช้จดหมายที่ข้างในเต็มไปด้วยสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคระบาดฉับพลันส่งไปยังบุคคลสำคัญ บุคคลสาธารณะ และคนที่ได้สัมผัสกับจดหมายล้วนติดโรคถ้วนหน้า และรุกรามจนกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่น่ากลัวที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา
มันเริ่มต้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2001 เมื่อมีจดหมายลึกลับ 7 ฉบับ ส่งไปยังสำนักงานข่าว ABC, CBS, NBC, AMI
และนิวยอร์กโพสต์ อีกทั้งยังส่งไปยังวุฒิสมาชิกพรรคเดโมแครตสองคนคือ นายทอม แดชเชิล (Tom Daschle)
แห่งรัฐรัฐเซาท์ดาโคตา และ แพทริก เลฮี (Patrick Leahy) แห่งรัฐเวอร์มอนต์
จดหมายทุกฉบับล้วนเต็มไปด้วยสปอร์ของโรคแอนแทรกซ์ ซึ่งถือว่าเป็นชื้อโรคที่รุนแรงมาก มันเป็นโรคเฉียบพลัน
ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย Bacillus anthracis ซึ่งปกติแล้วจะมีผลต่อสัตว์เลี้ยงด้วยนมรวมไปถึงมนุษย์ และมีสามวิธี
ในการติดโรคนั้นคือทางผิวหนัง ทางหายใจเอาสปอร์ของแบคทีเรียเข้าไป และทางรับประทานอาหาร มันเชื้อโรค
ที่อันตรายมาก เพราะมันไร้รส ไร้กลิ่น จนไม่มีใครรู้ตัวเลยว่าติดโรคเข้าไป จนกว่าจะแสดงอาการ
โรคระบาดจะผ่านทางผิวหนังทำให้เกิดเนื้อร้าย ตอนแรกๆ จะมีขนาดเล็ก ๆ ก่อนที่จะขยายกลายเป็นสู่แผลที่เจ็บปวด
รูปแบบของโรคระบาดนี้หายยาก ถ้าได้รับการรักษาช้า แต่อย่างไรก็ตามเชื้อ อัตราป่วยตายกรณีไม่ได้รับการรักษา
ไม่สูงนัก อยู่ระหว่างร้อยละ 5-20 เท่านั้น
หากโรคระบาดเข้าระบบทางเดินอาหาร ผ่านระบบย่อยอาหาร ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทันเวลา โดยจะมี
อาการคลื่นไส้อาเจียนและเบื่ออาหาร ต่อมามีอาเจียนเป็นเลือดและท้องเสียทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ในกรณีนี้จะมีอัตรา
การป่วยตายถึงร้อยละ 50-60
อย่างไรก็ตาม หากโรคเข้าไประบบทางเดินหายใจ จะเป็นรูปแบบที่อันตรายที่สุด อาการเริ่มต้นจะมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว
หายใจขัด หายใจลำบาก และเลวร้ายมากขึ้นเมื่อมีไข้สูง หายใจลำบาก กล้ามเนื้อกระตุก ชัก แล้วตายในที่สุด
อัตราการป่วยตายของผู้ป่วยระบบนี้จะสูงมากถึงร้อยละ 80-90 หากสูดดมสปอร์โรคเข้าไป
เห็นได้ชัดคือจดหมายเหล่านี้ มีคนพยายามนำเชื้อแอนแทรกซ์มาใช้เป็นอาวุธชีวภาพ เพียงแค่ใช้งบประมาณไม่มาก
ก็สามารถใช้เชื้อเป็นอาวุธชีวภาพ ทำให้ผู้ติดเชื้อได้อย่างง่ายดาย และจากเหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน
และอีก 17 คนติดเชื้อ ทั้งหมดสูดดมเชื้อแบคทีเรียเข้าไป
ซึ่งต่อมามีการเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “โจมตีด้วยแอนแทรกซ์” หรือเรียกว่า อเมริแทรกซ์
การโจมตีจดหมายแอนแทรกซ์ถูกแบ่งเป็นสองระลอก ระลอกแรกมี 5 ฉบับประทับตาลงสวันที่ 18 กันยายน 2001
ส่งไปยังข่าวเอบีซี , ซีบีเอส , ข่าวเอ็นบีซี และ นิวยอร์กโพสต์ต่อมาวันที่ 9 ตุลาคมก็จดหมายสองฉบับก็ส่งให้
ผู้รับวุฒสมาชิกทอม แดชเชิล และแพทริก ลีฮี
ผลของโจมตีครั้งนี้ ทำให้มีผู้ได้รับเชื้อนี้เป็นอาวุธชีวภาพผ่านทางจดหมายที่ประเทศอเมริกาจำนวนหลายคน
โดยทางการหายใจถึง 11 ราย และพบ 11 รายที่เป็นโรคที่ผิวหนัง และ 5 รายที่ติดต่อผ่านทางการหายใจนั้นเสียชีวิต
และผู้เสียชีวิตรายแรกคือโรเบิร์ต สตีเวนส์ (Robert Stevens) ที่เสียชีวิตจากการส่งจดหมายที่ทำงาน และหนึ่ง
ในผู้ป่วยนั้นมีเด็กอยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่าผู้ส่งจดหมายไม่สนใจเลยว่าผู้รับเคราะห์จะเป็นใคร
แน่นอนว่าตำรวจเริ่มตามล่าหาคนส่งจดหมาย เชื่อว่าจดหมายทั้งหมดถูกส่งจากตู้จดหมายในพรินซ์ตัน ของรัฐนิวเจอร์ซีย์
และหลังจากตรวจตู้จดหมายหลายตู้ น่าเป็นตู้ที่ตั้งใกล้มหาวิทยาลัยพรินซ์ เพราะนักวิจัยพบเชื้อสปอร์แอนแทรกซ์ข้างใน
การวิเคราะห์ลายมือก็สรุปได้ว่าจดหมายทั้งหมดนั้นมีเจ้าของคนเดียวกัน
แต่คำถามที่ตามมาก็คือ สาเหตุวัตถุประสงค์ของตัวผู้ส่งจดหมาย ว่ามีเป้าหมายอะไรกันแน่ เพราะแม้ว่าจะเป็นจดหมาย
ใส่แอนแทรกซ์ แต่ด้านการสร้างความเสียหายนั้นถือว่าน้อยมาก (แต่ก็มากพอที่ทำให้ชาวอเมริกันต้องหวาดผวากันทั้งประเทศ)
จนไม่สามารถระบุแน่ชัดว่าเป็นฝีมือของผู้ก่อการร้าย หรือวางแผนกันเป็นกลุ่ม แม้ว่าจะมีข้อสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือ
ของผู้ก่อการร้ายจากต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ไม่ได้พบกลุ่มก่อการร้ายต่างประเทศที่น่าจะเป็นตัวกลางเลย
ทำให้เอฟบีไอหันมาสนใจที่จะก่อการร้ายในประเทศที่เป็นไปได้มากกว่า
บรูซ เอ็ดเวิร์ด ไอวินส์
แม้ว่าเนื้อหาของจดหมายจะเขียนข้อความในเชิงเกลียดอเมริกาว่า “ไปตายซะอเมริกา และอิสราเอล” หากแต่ทางการได้ออกมาเปิดเผยผลการสอบสวน ว่าจดหมายอีโบล่านั้นน่าจะเป็นฝีมือของคนในประเทศมากกว่าคนนอกประเทศ และเชื่อว่าเชื้อที่ใช้ในการก่อการร้ายน่ามาจากห้องปฏิบัติการทางการทหารของสหรัฐ
ต่อมาวันที่ 6 สิงหาคม 2008 อัยการของรัฐบาลกลางได้ประกาศตัวผู้ต้องสงสัยคนหนึ่งที่น่าเหลือเชื่อ เพราะว่าผู้ต้องสงสัย
คนนั้นคือนายบรูซ เอ็ดเวิร์ด ไอวินส์ Bruce Edwards Ivins เป็นนักวิจัยอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธชีวภาพ วัย 62 ปี
ของห้องแลบสถาบันการแพทย์ป้องกันภัยจากอาวุธชีวภาพ ที่ฟอร์ตเดทริค รัฐ แมรี่แลนด์ของสหรัฐฯ (United States
Army Medical Research Institute of Infectious Diseases)
ตามประวัติของบรูซ เขาเกิดในครอบครัวที่พ่อเป็นเภสัชกร เจ้าจองร้านขายยาท้องถิ่น และมีความสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์
ศึกษาเล่าเรียกจนได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องแลบสถาบันการแพทย์ป้องกันภัยจากอาวุธชีวภาพ และได้รับยกย่องว่า
เป็นนักจุลชีววิทยาที่มีฝีมือ ซึ่งศึกษาโรคติดเชื้อแอนแทรกซ์ มาตลอด 18 ปี และเขาก็เป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ที่เข้าตรวจสอบ
คดีจดหมายแอนแทรกซ์ร่วมกับเอฟบีไอด้วย
อย่างไรก็ตาม จากการสอบสวนของเอฟบีไอ พบว่าบรูซมีอาการทางจิต และมีประวัติไม่ชอบวุฒิสมาชิก และการสอบสวน
ก็เชื่อมโยงว่าบรูศมีส่วนเกี่ยวข้องกับจดหมายแอนแทรกซ์ ศาลยุติธรรมกลางสหรัฐ (DOJ) รับคำฟ้องของ FBI สหรัฐ
ให้มีการจับกุมบรูซ เอ็ดเวิร์ด ไอวินส์ ในข้อหาเป็นเป็นผู้แพร่เชื้อไวรัส Anthrax ผ่านจดหมายไปยังวุฒิสมาชิกการ
ประกาศครั้งนี้ทำให้ชื่อของบรูซได้รับจารึกว่าเขาเป็นผู้ก่อการร้ายชาวอเมริกันที่เลวร้ายที่สุดตลอดกาล
หากแต่ผลสุดท้ายเอฟบีไอก็ไม่สามารถจับกุมเขา (และไม่รู้แน่นอนว่าเขาเป็นตัวการตัวจริงหรือไม่) เนื่องจากนายบรูซ
ก็ชิงฆ่าตัวตายเสียก่อนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2008 โดยสาเหตุการตายคือเขากินยาไทลีนอลจำนวนมาก ผสมกับโคดีอีน
ซึ่งเป็นส่วนผสมของยาแก้ไอ ทำให้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าบรูซเป็นตัวการของจดหมายแอนแทรกซ์หรือไม่
ในเดือนกุมภาพันธ์ของปี 2010 เอฟบีไอได้ปิดการสืบสวนอย่างเป็นทางการ ว่าจดหมายโรคระบาดแอนแทรกซ์นั้น
เป็นฝีมือของด็อกเตอร์บรูซวินส์แต่เพียงผู้เดียว แน่นอนว่าหลายคนไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปของเอฟบีไอมากนัก เพราะเห็นว่า
เอฟบีไอปิดคดีก่อนกำหนด และไม่ค่อยสืบสวนอย่างละเอียดมากนัก นอกจากนี้เหตุผลสำคัญคือคำกล่าวอ้างว่า
ด็อกเตอร์บรูซก่อเหตุก็เนื่องจากมีปัญหาทางจิต รวมไปถึงการฆ่าตัวตายที่ยังคงเป็นปริศนาว่าเป็นการจัดฉากหรือเปล่า
แน่นอนว่าหลายคนเชื่อว่าจดหมายเชื้อโรคนั้นเป็นทฤษฏีสมคบคิดของอเมริกาเพื่อสร้างความหวาดกลัวแก่พลเมือง
ของอเมริกามากขึ้น เพื่อให้ตระหนักถึงภัยก่อการร้าย เพื่อจะหาความชอบธรรมในการทำสงครามอีรัก พูดง่ายๆ
ด็อกเตอร์บรูซเป็นเพียงแค่หมากตัวหนึ่งที่อเมริกาเลือกเท่านั้น
แน่นอนว่าทฤษฏีที่ว่าอีรักอยู่เบื้องหลังการโจมตีนี้ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน ผลจากความเชื่อนี้ก็ทำให้เกิดสงครามอีรักตามมาในอนาคตด้วย ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นไร ควันหลงที่ตามมานั้น จดหมายเชื้อโรคได้ส่งผลกระทบต่อการเมือง ทำให้อเมริกาต้องทุ่มเงินในการวิจัยสงครามชีวภาพและการเตรียมความพร้อม ซึ่งมีโครงการมากมายเกิดจากเหตุการณ์ก่อการร้ายดังกล่าว