Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

แพทย์ชี้….โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA โรคพันธุกรรมที่ต้องระวังก่อนมีลูก...!!!

เนื้อหาโดย Big MaMa

แพทย์ชี้….โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA โรคพันธุกรรมที่ต้องระวังก่อนมีลูก...!!! 

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ SMA (Spinal muscular Atrophy) เป็นโรคที่พบอุบัติการณ์เกิดเป็นอันดับต้นๆของโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม พบได้ประมาณ 1 คน ใน 10,000 คนของเด็กแรกเกิดในแต่ละปี  อัตราของคนที่เป็นพาหะของโรคมีมากถึง 1 คน ใน 50 คน 

แพทย์หญิงนิศารัตน์ สุนทราภา ผู้อำนวยการแพทย์ฝ่ายวิชาการ ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. กล่าวว่า โรค SMA เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอด แบบ Autosomal Recessive โดยถ้าทั้งพ่อและแม่ เป็นพาหะทั้งคู่ บุตรจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 1 ใน 4 ต่อการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง อาการของโรค SMA จะแสดงออกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตั้งแต่เด็ก และแย่ลงเรื่อยๆเมื่ออายุมากขึ้น โดยผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียการควบคุมของกล้ามเนื้อ ส่งผลต่อการคลาน ลุกนั่ง การเดิน หากอาการเป็นมากจะไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนและการหายใจ ทำให้ไม่สามารถกำจัดเสมหะได้ และอาจเกิดการสำลัก และปอดอักเสบติดเชื้อตามมา รวมทั้งไม่สามารถหายใจเองได้ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ในระยะท้ายๆ ของโรค  ที่ผ่านมายังไม่มีการตรวจคัดกรองโรคที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตรวจคัดกรองคู่สมรสที่เป็นพาหะของโรค SMA พ่อ-แม่ จะทราบว่าตัวเองเป็นพาหะของโรคนี้ หลังจากที่ตัวเองคลอดบุตร และพบว่าบุตรมีอาการของโรคนี้

 

แพทย์หญิงนิศารัตน์ สุนทราภา กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยโรคนี้จะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษโดยเฉพาะในเรื่องของการหายใจ การป้องกันการสำลักและติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับครอบครัวที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA หรือสงสัยว่าอาจจะเป็นพาหะของโรค ควรมาตรวจเลือดเพื่อคัดกรอง และหากพบว่าเป็นพาหะของโรค ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน สามารถตรวจคัดกรองตัวอ่อน จากการทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อคัดตัวอ่อนที่ปราศจากโรค ใส่กลับเข้าโพรงมดลูก เพื่อลดโอกาสการมีบุตรที่ป่วยด้วยโรค SMA ได้ โดยสามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองโรคพันธุกรรมก่อนตั้งครรภ์ หากคุณพ่อคุณแม่เป็นคู่พาหะของโรคก็สามารถใช้เทคนิค PGD-PCR ซึ่งเป็นเทคนิคในการตรวจคัดกรองโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ในตัวอ่อนจากการทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อให้บุตรที่เกิดมาแข็งแรง ปราศจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง  SMA ได้”

            ด้าน นายวิสุทธิ์ ทรงสถิตสกุล  หนึ่งในครอบครัว ผู้มีประสบการณ์ในการเลี้ยงดูบุตรทั้งสองคน        ที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA มานานถึง 12 ปี เปิดเผยว่า ไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีโรคแบบนี้เกิดขึ้น จนได้มาประสบกับตนเอง เมื่อภรรยาตั้งครรภ์ลูกสาวคนแรก น้องเกรซ- ดญ. สิริฉาย  ทรงสถิตสกุล อายุได้ 6-7เดือน จึงได้สังเกตเห็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เมื่อลูกสาวไม่สามารถชันคอได้ เป็นแบบนี้อยู่บ่อยครั้ง เพียงได้แต่คิดว่าอาการนี้คงไม่รุนแรงมากนัก อาจเป็นอาการเมื่อยตัวธรรมดาทั่วไป พยายามให้ลูกลองชันคออีกหลายครั้ง แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงเริ่มกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้น และได้พาลูกสาวและภรรยาเข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอ ผลคือคุณหมอแจ้งว่าเป็น สัญญาณโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง  SMA ซึ่งจะส่งสัญญาณทั้งหมด 3 ช่วงใหญ่ๆ คือ 1.ช่วงตั้งครรภ์ บุตรในครรภ์จะดิ้นน้อยมาก 2.ช่วงแรกเกิด 1-3 เดือน บุตรจะไม่ค่อยถีบแขนและขา 3.ช่วง 5-6 เดือน บุตรจะชันคอได้น้อย และทรงตัวลำบาก

คุณวิสุทธ์ ยังกล่าวอีกว่า ในอดีตที่ผ่านมา ถือได้ว่ามีความประมาทในการเลี้ยงลูก เนื่องด้วยเป็นช่วงที่กำลังสร้างครอบครัวมีภาระเยอะ จึงต้องทำงานหนัก เป็นผลให้ไม่ได้ดูแลลูกเท่าที่ควร ทำให้ลูกต้องเข้าห้องไอซียูถึง 3 ครั้ง พร้อมทำให้เกิดคำถามขึ้นในใจว่า ผมจะหาเงินไปทำไม ถ้าผมไม่มีลูก จึงตัดสินใจลาออกจากงานมาดูแลลูกตั้งแต่ลูกอายุได้ 4 ขวบ และได้ให้คำสัญญากับตัวเองไว้ว่า ชีวิตนี้ผมไม่ขออะไรอีกแล้ว ผมจะขออยู่กับลูกไปจนวันตายเลย ทุกครั้งที่ผมไปโรงพยาบาล คุณหมอที่เป็นอาจารย์หมอ มักจะถามผมว่า ที่บ้านมีอุปกรณ์อะไรบ้างเช่น เครื่องช่วยหายใจ  ผมตอบไปว่า ไม่มีครับคุณหมอ ไม่มีเลยสักชิ้น มีแต่อุปกรณ์ คือ ชีวิตผมเนี่ยแหละที่ดูแลเขา และดูแลเขามาตลอด ผมเอาชีวิตแลกชีวิต และมันก็คุ้มกับที่เราได้มา เพราะตอนนี้ลูกสาวของผมอายุได้ 12 ขวบแล้ว และยังแข็งแรงอยู่”

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ “ท้องปลอดโรค ลูกปลอดภัย” สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร 081 622 6444  หรือ ส่งรายละเอียดมาที่อีเมลล์  pgd_assist@thaisuperiorart.com

 

                                                                             # # #

เนื้อหาโดย: Big MaMa
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Big MaMa's profile


โพสท์โดย: Big MaMa
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
4 VOTES (4/5 จาก 1 คน)
VOTED: zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
มัดรวมเลขเด็ดสำนักพิมพ์ ไทยรัฐ เดลินิวส์บางกอกทูเดย์ งวดวันที่ 1 เมษายน 25685 อันดับ ตึกที่สูงที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน!กระเป๋านักเรียนญี่ปุ่น รันโดเซรุ กระเป๋าที่ไม่ใช่เป็นแค่กระเป๋า"ชื่อสูตร เลขมาครบล่าง" ไทย 1 เมษายน 2568 @คุณยายวารีคนบ้าหวยสิบเลขขายดี แม่จำเนียร งวด 1/4/68เลขเด็ด สำนักดัง เณรน้อย+คนสัมผัสเลข+เงินเทวดา+หวยดังวัดป่า งวดวันที่ 1 เมษายน 2568ตึกร้าง "สาธรยูนีค ทาวเวอร์" ที่กำลังถูกพูดถึงในช่วงนี้!พม่า : โศกนาฏกรรมมัณฑะเลย์สกายวิลล่ารวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้จ้า ส่วนข้อคิดประจำวันคือ ทอดมันนั้นกินดิบๆ ไม่ได้ ต้องเอาไปทอดก่อน ถึงจะกินได้ ขอบคุณมากครับพรุ่งนี้รวย! เลขเด็ดจาก AI งวดวันที่ 1 เมษายน 2568..รีบส่องกันเลย!!ชายคนหนึ่งใช้ ChatGPT โต้แย้งคดีรถยนต์ผิดกฎจราจร และชนะคดีด้วยนายกฯ แพทองธาร’ ลงพื้นที่ติดตามค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม ให้กำลังใจทุกหน่วยงาน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"เก๋ไก๋" งานเข้า! โซเชียลวิจารณ์หนัก หลังเผยคลิปนาทีหนีแผ่นดินไหวตึกหน่วยงานราชการเริ่มมีปัญหาหลังแผ่นดินไหว! ทั้งตึกสั่นและรอยร้าวเพียบงานเข้าลุงสมนิจ! เจ้าของบัตรตัวจริงเข้าแจ้งความ หลังแอบอ้างเป็นภรรยารวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้จ้า ส่วนข้อคิดประจำวันคือ ทอดมันนั้นกินดิบๆ ไม่ได้ ต้องเอาไปทอดก่อน ถึงจะกินได้ ขอบคุณมากครับ
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
TIMELINE ผลงานด้านคมนาคม : คุณพ่อสุขวิช รังสิตพลชวนมาทำความรู้จักกับช่วง “Pluto Time” แสงตอนเที่ยงของดาวพลูโตที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้บนโลกของเราเครามีโกส (Kerameikos)สาวๆ ระวังตัวกันให้ดีๆ "ภูมิแพ้น้ำoสุจิ"..มีอาการน่าเป็นห่วง!
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง