คู่แท้ข้ามแผ่นดิน เจ้าหญิงแห่งลำปาง และ เจ้าราชบุตรแห่งเชียงตุง
คู่แท้..รักข้ามแผ่นดิน...
เมื่อเจ้าทิพวรรณอายุได้ 17 ปี ได้พบรักกับเจ้าฟ้าพรหมลือราชบุตรของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง.เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง.ซึ่งได้เดินทางมาเยือนนครลำปางและได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติจากเจ้าผู้ครองนครลำปาง.แต่การที่เจ้าต่างนครจะอภิเษกสมรสกันได้.จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสียก่อนและเนื่องจากขณะนั้นเชียงตุงอยู่ในบังคับของอังกฤษ.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6ทรงเกรงว่าจะมีปัญหาระหว่างประเทศได้จึงไม่ทรงอนุญาต.แต่ต่อมาก็ได้มีการหมั้นกันไว้ก่อน.จนกระทั่งพ.ศ.2465.
เมื่อเจ้าบุญวาทย์ฯถึงแก่พิราลัย.เจ้าฟ้าพรหมลือได้เดินทางมาเคารพพระศพและถือโอกาสนี้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าทิพวรรณ.จากนั้นทั้งสองพระองค์ก็ได้เดินทางกลับนครเชียงตุง.ต่อมาไม่นานเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในนครเชียงตุง.ทำให้เจ้าฟ้าพรหมลือถูกส่งตัวไปช่วยราชการที่เมืองตองกีและเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้นก็ถูกส่งไปควบคุมตัวที่เมืองโหม่วหยั่ว.
แต่ภายหลังเจ้าฟ้าพรหมลือก็ได้พาครอบครัวหนีการควบคุมของอังกฤษเข้าหาฝ่ายไทยที่ตำบลท่าก้อ.ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้การต้อนรับอย่างสมพระเกียรติและเมื่อรัฐบาลประกาศให้รวมแคว้นสหรัฐไทยเดิมเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ.จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเจ้าฟ้าพรหมลือเป็นเจ้านครเชียงตุงและให้เป็นผู้ช่วยข้าหลวงปกครองฝ่ายทหาร.ช่วยราชการสนามนครเชียงตุงด้วย.ซึ่งท่านก็ได้สนับสนุนและช่วยเหลือกองทัพไทยอย่างมากมาย...
เมื่อสงครามสิ้นสุดลง.เจ้าฟ้าพรหมลือได้อพยพครอบครัวมาอยู่ประเทศไทย.โดยพำนักที่จังหวัดลำปางก่อน.จากนั้นจึงได้ย้ายมาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อพ.ศ.2488.หลังจากเจ้าฟ้าพรหมลือถึงแก่พิราลัย เมื่อ พ.ศ.2498 เจ้าทิพวรรณ ได้ประกอบอาชีพทำไม้สัก และโรงเลื่อย โดยได้รับสัมปทานป่าไม้จากรัฐบาล
เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ ประสูติในปี พ.ศ.2440 เป็นพระราชบุตรในเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงเจ้าฟ้าเชียงตุง.ประสูติแต่ "เจ้าแม่เมือง" (อัครมเหสี) แม่เจ้าปทุมมหาเทวี(ธิดาเจ้าเมืองสิง) โดยเจ้าฟ้าพรหมลือเป็น 1 ใน 3 เจ้านายชั้นสูงของเชียงตุงที่สามารถกางสัปทนและนั่งเสลี่ยงได้ ประกอบด้วยเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงเจ้าหอคำ,เจ้าฟ้ากองไท(รัชทายาท)และเจ้าฟ้าพรหมลือ(โอรสเจ้าแม่เมือง)ในขณะที่เจ้านายคนอื่นใช้ได้แค่"จ้องคำ"(ร่มทอง).เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงนั้นได้ส่งเจ้าพรหมลือและเจ้าฟ้ากองไทไปศึกษาต่อในยุโรป.แต่ทั้งสองไม่ทันเรียนจบก็ถูกเรียกตัวกลับเชียงตุง.ทางเจ้าพรหมลือนั้นยอมกลับแต่โดยดี.แต่เจ้ากองไทนั้นได้สมัครเป็นนายทหารในกองทัพอังกฤษแล้ว.โดยส่งจดหมายชี้แจงต่อเจ้าพ่อว่า.ตนเองไม่มีหวังที่จะก้าวหน้าในเชียงตุง.เพราะไม่ได้เป็นราชบุตรเกิดแต่มหาเทวี.ไม่มีสิทธิ์ได้เป็นเจ้าฟ้าต่อจากเจ้าพ่อ.จึงขอแสวงหาความก้าวหน้าในกองทัพอังกฤษต่อไป.แต่เจ้าฟ้าก้อนแก้วก็ขอให้กลับมาก่อน.หลังจากนั้นได้มีการตั้งตำแหน่งเจ้าในทางราชการของเชียงตุง ซึ่งเจ้าชั้นสูงของเชียงตุงนั้นมี5ตำแหน่งได้แก่ เจ้าฟ้า(ครองเมือง), เจ้าแกมเมือง(อุปราชรัชทายาท), เจ้าเมืองเหล็ก,เจ้าเมืองขากและเจ้าเมืองขอน.ในการนี้เจ้าพรหมลือได้เป็นเจ้าเมืองเหล็ก.ขณะที่เจ้ากองไทได้เป็นเจ้าแกมเมืองหรือเจ้าแสนเมือง.เพราะตามศักดินาได้กินนาแสน.โดยการตั้งตำแหน่งเจ้าครั้งนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าทำไมเจ้าพรหมลือไม่ได้เป็นรัชทายาท.แต่การสืบราชสมบัติเมืองเชียงตุงนี้ไม่มีเกณฑ์แน่นอน.จึงอนุมานเอาว่าคงเป็นเพราะท่านคงเห็นว่าเจ้ากองไทมีศักดิ์เป็นพี่ของเจ้าพรหมลือ(แต่จริงๆแล้วเกิดก่อนกันไม่กี่วันเท่านั้น)จึงตั้งเป็นรัชทายาท.ทางเจ้าพรหมลือก็หันไปทำธุรกิจหลายอย่างจนร่ำรวยกว่าบรรดาเจ้านายด้วยกัน
...เจ้าทิพวรรณ.ณ.เชียงตุง.เป็นธิดาของเจ้าไชยสงคราม (น้อยเบี้ย ณ ลำปาง) กับเจ้าฝนห่าแก้ว ณ ลำปาง.ซึ่งเป็นราชธิดาในมหาอำมาตย์โท.พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต.เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย.กับแม่เจ้าเมืองชื่นราชเทวี ประสูติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2446ณ.คุ้มหลวงของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต.มีเชษฐภคินีทั้งหมด4พระองค์.เนื่องจากเจ้าทิพวรรณกำพร้าเจ้าบิดาเจ้ามารดาตั้งแต่วัยเยาว์.ดังนั้นจึงได้รับการเลี้ยงดูจากเจ้าตาคือเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตและให้การศึกษาอบรมเป็นอย่างดีร่วมกับพระราชวงศ์องค์อื่นๆ ภายในคุ้มหลวง
ขอบคุณที่มา: https://www.facebook.com/chiangtung.kengtung.shanstate/
https://sites.google.com/site/chiangtungkengtung/