การตลาด >> “ใครเป็นใคร” ในโลว์คอสต์แอร์ไลน์เมืองไทย
การเติบโตของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำหรือโลว์คอสแอร์ไลน์
ทั่วโลก ส่งผลให้เส้นทางการบินไม่ได้จำกัดเฉพาะระยะทางบิน
ใกล้ๆเท่านั้น แบรนด์โลว์คอสแอร์ไลน์ชั้นนำจึงแบ่งเซกเม้นต์ของ
ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำออกเป็นการบินเส้นทางระยะใกล้
ภายในประเทศ , เส้นทางระยะกลางหรือระดับภูมิภาค
(5-6 ชั่วโมง) และเส้นทางระยะไกลหรือบินข้ามทวีป
(มากกว่า 6 ชั่วโมง)
เช่นเดียวกับสายการบินโลว์คอสแอร์ไลน์ในไทยที่ต่างวาง
เซกเม้นต์ในการให้บริการตามระยะทาง ภายใต้แบรนด์ที่
แตกต่างกันไป เพื่อโฟกัสการทำตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่
แตกต่างกันได้อย่างชัดเจน
1.สายการบินไทยแอร์เอเชียเริ่มเปิดให้บริการเที่ยวบินแรกใน
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 ด้วยตำแหน่งทางการตลาด
“สายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline)” รายแรกของไทย
โดยเป้าหมายหลักของธุรกิจถูกตั้งไว้ที่ การเปิดเส้นทางบินทั้ง
ในประเทศ อาเซียน เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและเอเชียใต้
ที่มีประชากรกว่า 3 พันล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่เคยเข้าถึ
งการเดินทางด้วยเครื่องบิน
2.แบรนด์ “นกแอร์” ให้คำนิยามธุรกิจของตนเองว่าเป็น
"No frills airline" แทนคำว่า low cost airlines เพราะ no frill คือ
ตัดสิ่งไม่จำเป็นทิ้งไป เนื่องจากเส้นทางการบินของนกแอร์ไม่ได้
บินเส้นทางระยะไกลเป็นหลัก จะจำกัดเวลาในการเดินทางแค่
1-3 ชั่วโมงเท่านั้น
ความโดดเด่นของสายการบินแอร์ในฐานะของการเป็นสายการ
บินต้นทุนต่ำอยู่ที่การวาง Positioning ให้อยู่กึ่งกลางระหว่าง
โลว์คอร์สอย่างไทยแอร์เอเชีย แต่ก็ไม่หรูเท่าสายการบินเต็ม
รูปแบบอย่างการบินไทย
3.แบรนด์ “ไทยสมายล์” (THAI Smile) เป็นรูปแบบหน่วยธุรกิจ
หนึ่งของการบินไทย ด้วยรูปแบบสายการบิน Light Premium
ใช้ระบบการขาย การจัดจำหน่ายร่วมกับการบินไทยผ่าน
สำนักงานขายของการบินไทย และตัวแทนจำหน่ายของ
การบินไทยทุกแห่งทำให้ใช้เงินลงทุนช่วงแรกไม่สูงเกินไป
ไทยสมายล์จึงถูกวางให้เป็นแบรนด์ที่เข้ามารองรับความ
ต้องการของลูกค้าโลว์คอสแอร์ไลน์ที่ต้องการอัพเกรดความ
สะดวดสบายขึ้นมา ขณะเดียวกันก็ยังสามารถให้บริการกลุ่ม
ลูกค้าที่ใช้สายการบินฟูลเซอร์วิสแต่ต้องการมีทางเลือกด้าน
ความคุ้มค่าแต่ก็ยังได้รับการบริการในด้านต่างๆด้วยเช่นกัน
4."ไทยไลอ้อนแอร์" เป็นแบรนด์ผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาด
โลว์คอสต์แอร์ไลน์ของไทย แต่สำหรับในประเทศอินโดนีเซีย
กลุ่ม "ไลอ้อนแอร์" ถือเป็น 1 ใน 4 สายการบินของกลุ่มทุน
ยักษ์ใหญ่ในอินโดนีเซีย ซึ่งกลุ่ม "ไลอ้อนแอร์" มีฐานะผู้นำ
ตลาดแห่งอุตสาหกรรมการบินอินโดนีเซีย ซึ่งครองส่วนแบ่ง
ตลาดมากกว่า 50% มากกว่าสายการบินแห่งชาติอย่าง
"การูด้า อินโดนีเซีย แอร์ไลน์ส" ที่มีสัดส่วน 30%
ไทยไลอ้อนแอร์เข้าสู่ตลาดโลว์คอสต์แอร์ไลน์ภายใต้แนวคิด
"Consistency Low Fare" หรือการจำหน่ายบัตรโดยสาร
เครื่องบินในระดับราคาคงที่และถูกกว่าคู่แข่ง
5."ไทยเวียดเจ็ท" เป็นสายการบินโลว์คอสต์แอร์ไลน์ที่ร่วม
ทุนระหว่าง "เวียดเจ็ทแอร์" ประเทศเวียดนาม กับ "กานต์แอร์"
ของไทย โดยได้เปิดตัวไปในช่วงกลางปี 2556 ที่ผ่านมา
และเปิดให้บริการเส้นทางบินในประเทศประกอบด้วยเส้น
ทางบินหลักจากกรุงเทพฯไปเชียงใหม่ หาดใหญ่ และภูเก็ต
โดยใช้ฐานปฏิบัติการบินที่สุวรรณภูมิ
สนับสนุนโดย
นิตยสารแมกเก็ตติ้ง (Magketing)