ทำไมหมอผ่าตัดใส่ชุดสีเขียว ไม่ใส่สีขาว พอรู้เหตุ ถึงกับได้ความรู้ขึ้นมาทันที!!
เชื่อเลยว่าคนที่เคยโรงพยาบาลและเคยเข้าห้องผ่าตัดแล้วนั้น ต้องคงเคยสงสัยกันว่า “เหตุใดทำไมหมอผ่าตัดและเจ้าหน้าที่พยาบาลในห้องผ่าตัด จะต้องใส่ชุดสีเขียวหรือสีฟ้ากันหมดทุกคนและเหมือนกันทุกโรงพยาบาลอีกด้วย ทั้งๆที่ในเวลาทำงานในห้องตรวจกลับใส่ชุดสีขาวเป็นปกติ ซึ่งทุกอย่างล้วนมีเหตุผลและถูกอธิบายเอาไว้แล้ว ดังนี้
ในปี 1914 มีแพทย์ท่านหนึ่งได้มีการยกเลิกการใส่ชุดยูนิฟอร์มสีขาวและได้มีการเปลี่ยนให้มาใส่ชุดสีเขียวหรือสีฟ้าแทน เนื่องจากในระหว่างการผ่าตัด พบปัญหาว่า สีขาวรบกวนการมองเห็นของศัลยแพทย์หลายต่อหลายครั้ง ในตอนที่ศัลยแพทย์เปลี่ยนจากการมองสีเข้ม ๆ ของเลือด มามองที่เพื่อนร่วมทีมที่ใส่ชุดขาว ปฏิกิริยานี้ก็ไม่ต่างกับการที่เราออกไปเดินในที่ที่มีหิมะและมองเห็นแสงจากดวงอาทิตย์สะท้อนที่หิมะสีขาวนั่นเอง!
แล้วทำไมไม่ใส่สีอื่นหล่ะ? ทำไมต้องเป็นสีเขียวหรือสีฟ้า ก็เพราะว่า
1) การได้มองสีเขียวหรือสีฟ้าทำให้สายตาของศัลยแพทย์ที่มองแต่สีแดงของเลือดนั้นได้ทำการหยุดพักและก็สดชื่น ไม่ล้าจากการมองสีเดิมตลอด หากแพทย์มองแต่สีแดงของเลือดและเสื้อยังสีแดงอีก ตาจะเริ่มล้า แล้วก็ตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ได้น้อยลง พอกลับมามองที่คนไข้ สัญญาณทีส่งมายังสมองก็จะยิ่งอ่อนลง ทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นความแตกต่างในแต่ละจุดของแพทย์ลดลง
2) การมองหรือโฟกัสสีแดงเป็นเวลานาน สามารถทำให้เรามองเห็นสีเขียวบนพื้นสีขาวได้ ซึ่งเป็น Illusion หรือภาพลวงตาแบบหนึ่ง เรียกว่า After Effect Illusion
ลองมองสี่เหลี่ยมสีแดง ซัก 2-3 นาที จากนั้นลองละสายตาไปมองยังพื้นสีขาวด้านข้าง จะพบว่าตัวเองมองเห็นสี่เหลี่ยมสีออกเขียวๆ ลอยอยู่ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะว่ากระบวนการการประมวลผลสีต่างๆ ในตาของเรานั้น เป็นแบบ Opponent Process นั่นเอง!
หลักการง่ายๆ ของมันก็คือ ข้อมูลที่ส่งออกมาจาตาผ่านเส้นประสาท (optic nerve) นั้นจะถ่ายทอดรหัสผ่าน 3 ช่องทางนั่นเอง 1 สำหรับความเข้มของแสง และอีก 2 สำหรับสีโอเค อย่าเพิ่งสับสนนะครับ เราเคยเรียนกันมาว่า ดวงตาเราประกอบไปด้วยเซลล์รับแสง 2 ชนิด นั่นคือ Cone cell (ไวต่อการจำแนกสีต่างๆ) และก็ Rod cell (ทำงานได้ดีในที่มีแสงน้อย) โดย Cone cells ก็แบ่งเป็น 3 ชนิดได้แก่ RGB หรือ Red, Green, Blue cone cell นั่นเอง
สิ่งที่สำคัญมากตรงนี้คือว่า คลื่นแสงที่ Cone cell แต่ละอันนั้นสามารถตอบสนอง มันมีการเหลื่อมล้ำกัน พูดอีกแบบก็คือ ไม่ใช่ Red Cone cell จะตอบสนองแต่คลื่นแสงสีแดงเท่านั้น แต่มันอาจจะตอบสนองเบาๆ ต่อคลื่นแสงใกล้เคียงๆ สิ่งนี้เค้าเรียกว่า Broadening
แล้วลองกลับมาอันเดิมที่ว่า ข้อมูลทีส่งออกมาทางตาจะถูกถ่ายทอดผ่าน 3 ช่องทางด้วยกัน
ช่องทาง 1: ดำ-ขาว
ช่องทาง 2: แดง-เขียว
ช่องทาง 3: เหลือง-น้ำเงิน
ในกรณีนี้ เราก็มุ่งไปดูเจ้าเซลล์ที่ตอบสนอง แดง-เขียว เซลล์นี้จะถูกกระตุ้นเมื่อได้รับแสงสีแดงแต่จะการทำงานจะลดลงเมื่อได้หรับแสงสีเขียว
ดังนั้นเมื่อลองจ้องหรือเพ่งดูสีแดงนานระดับนึง เซลล์ที่รับส่งสีแดงจะทำงานมาก และเริ่มล้า พอคุณหันไปมองพื้นสีขาว เซลล์ที่ส่งสีแดงก็ยังคงทำงานน้อยอยู่ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือเซลล์แดง-เขียว ทำงานได้น้อยลงนั่นเอง แทนที่มันจะกระตุ้นแดง ยับยั้งเขียว (R+,G-) ได้ตามปกติ มันเลยกลายเป็นกระตุ้นการทำงานของสีเขียวแทน ทำให้เรามองเห็นสีเขียวขึ้นมาลางๆ นั่นเอง!!