ผักตบชวากับราชวงศ์
ผักตบชวาแน่นแม่น้ำลำคลองของไทย จนกำจัดไม่ไหว มีแหล่งกำเนิดอยู่ทวีปอเมริกาใต้
แต่เป็นที่รู้ทั่วไปมานานแล้วจากชื่อผักตบ ว่าไทยสมัย ร.5 ได้จากเกาะชวา ในอินโดนีเซีย
ตำนานไม้ต่างประเทศบางชนิดในเมืองไทย โดยพระยาวินิจวนันดร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2483 มีลึกซึ้งมากขึ้นอีก ซึ่งผมไม่เคยรู้มาก่อน จึงจะคัดมาให้อ่านเรื่องความเป็นมาของผักตบชวา มีบอกไว้ดังนี้
ผักตบชะวา (Eichornia crassipes ไอคอร์เนีย แคร็สสิปีส)
ผักตบชะวามีบ้านเดิมอยู่ในประเทศบราซิล (อเมริกาใต้) เป็นไม้ที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วทั้งโดยทางหน่อและโดยทางเมล็ด ในเวลานี้มีอยู่ทั่วไปในภาคร้อนแห่งทวีปอาเซีย
ผักตบชะวาเข้ามาเมืองไทยที่กรุงเทพฯ ครั้งแรกใน พ.ศ. 2444 คือ คราวรัชชกาลที่ 5 เสด็จประพาศชะวา พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาถ ทรงนำเอาต้นเข้ามา เนื่องด้วยทรงโปรดมาก เพราะดอกดูสวยงามคล้ายดอกกล้วยไม้ ภายหลังเข้ามาได้ราว 5-6 ปี ผักตบชะวาก็ไปปรากฏขึ้นที่กรุงเก่าเป็นครั้งแรก ภายหลังรัชชกาลที่ 5 เสด็จประพาศกรุงเก่าในปีเดียวกันนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ชาวกรุงเก่าเรียกผักตบชะวาในครั้งนั้นว่า ผักตามเสด็จ
ผักตบชะวาขึ้นไปเชียงใหม่ราว พ.ศ. 2451 โดยพญาจัน (บุญยืน) แห่งนครเชียงใหม่เป็นผู้นำพันธุ์ขึ้นไปทางเรือ ในเวลานั้นผักตบชะวาที่กรุงเทพฯ ยังไม่แพร่หลาย นัยว่าต้องไปขอจากในวัง
ที่เรียกกันว่าผักตบชะวานั้น ก็เพราะผักนี้ได้มาจากชะวา ชาวเชียงใหม่เรียกผักตบชะวาว่า บัวลอย
พระยาวินิจวนันดร (โต โกเมศ พ.ศ. 2433-2498) เกิดที่ ต. คลองเตย อ. เมือง จ. ปทุมธานี
จบ ร.ร. สวนกุหลาบ ได้ทุนรัฐบาลไปเรียนวิชาป่าไม้ ที่ประเทศอินเดีย เมื่อจบแล้วเข้ารับราชการกรมป่าไม้ พ.ศ. 2454
พ.ศ. 2484 รับคำสั่งให้ออกสำรวจป่าพุแค จ. สระบุรี เสนอกรมป่าไม้ทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์พุแค
พระยาอนุมานราชธน ประธานคณะบรรณาธิการทำสารานุกรม แห่งราชบัณฑิตยสถาน พรรณนาว่าพระยาวินิจวนันดร เป็นกำลังสำคัญของคณะบรรณาธิการฯ ได้ใช้วิชาความรู้อันกว้างขวางในทางพฤกษศาสตร์ให้เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง
อ่านจบกันไหม อย่าลืมแชร์แบ่งปันความรู้ให้คนอื่นมังน่ะ
#ใครมีรูปร.5เสด็จประพาศชวาสามารถลงเพิ่มเติมให้หน่อยขอบพระคุณมากค่ะ
แหล่งที่มา:https://www.facebook.com/ราชินี-เจ้าจอม-หม่อมห้าม-ในอดีต-679296892149559/?fref=ts