ที่มาของความเชื่อที่ว่า พรหมเป็นผู้สร้างโลก เป็นผู้เนรมิต ลิขิตชีวิตสัตว์ทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึงที่มาของความเชื่อนี้ไว้ว่า
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บางครั้งบางคราว
มีสมัยที่โลกนี้พินาศ โดยล่วงไปช้านาน
เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ เหล่าสัตว์โดยมากย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเอง เที่ยวไปในอากาศ อยู่ในสถานที่สวยงาม ดำรงอยู่ในภพนั้นตลอดกาลช้านาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บางครั้งบางคราวมี
สมัยที่โลกนี้กลับเจริญโดยล่วงไปช้านาน เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ ปรากฏว่าวิมาน
พรหมว่างเปล่า ครั้งนั้น สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง
จุติจากชั้นอาภัสสรพรหมเพราะสิ้นอายุ
หรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมาน
พรหมที่ว่างเปล่า แม้สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำ
เร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเอง เที่ยวไปในอากาศได้ อยู่ในสถานที่สวยงาม ดำรงอยู่ในภพนั้นตลอดกาลช้านาน
เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในภพนั้นแต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสันดิ้นรนขึ้นว่า
โอหนอแม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ต่อมาสัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้น
อาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้น
บุญ ย่อมเข้าถึงพรหมวิมาน อันเป็นสหาย
ของสัตว์ผู้นั้น แม้สัตว์เหล่านั้นก็ได้สำเร็จ
ทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเอง
เที่ยวไปในอากาศได้ อยู่ในสถานที่สวยงาม ดำรงอยู่ในภพนั้นตลอดกาลช้านาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ที่เกิดก่อนมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้มีอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น สัตว์เหล่านี้เราเนรมิตขึ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราได้มีความคิดอย่างนี้มาก่อนว่า โอหนอแม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้ และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว
แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลัง ก็มีความคิดเห็น
อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญนี้แลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐเป็นผู้บงการ เป็นผู้มีอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พวกเราอันพระพรหมผู้เจริญองค์นี้เนรมิตแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกเราได้เห็นพระพรหมผู้เจริญองค์นี้เกิดในที่นี้ก่อน ส่วนพวกเราเกิดมาภายหลัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ที่เกิดก่อน มีอายุยืนกว่า มีผิวพรรณ
งามกว่า มีศักดิ์ใหญ่กว่า ส่วนสัตว์ที่เกิด
ภายหลังมีอายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทราม
กว่า มีศักดิ์น้อยกว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากหมู่นั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว อาศัยความ
เพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียร
ที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบแล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่นตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ เกินกว่านั้นไประลึกไม่ได้
เขากล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ใดแลเป็นพรหมผู้เจริญ เป็นมหาพรหมเป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้มีอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พระพรหม
ผู้เจริญใดเนรมิตพวกเรา พระพรหมผู้
เจริญนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความ
ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยง
เสมอไปอย่างนั้นทีเดียว
ส่วนพวกเราที่พระพรหมผู้เจริญเนรมิตแล้วนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยังยืน มีอายุน้อย
มีความเคลื่อนเป็นธรรมดาจึงมาเป็นอย่างนี้... (เล่ม 11 หน้า 23 บรรทัด 4)
สรุปความหมายคือ... ที่พรหมมีความเห็นว่า
ตนเป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต ลิขิตชีวิตสัตว์ทั้งหลายนั้น ก็เพราะว่า พรหมนั้นมีความเข้าใจว่า เพราะตนได้ปรารถนาให้สัตว์เหล่าอื่นมาเกิดในที่ที่ตนอยู่ ก็มีสัตว์มาเกิด เมื่อมีสัตว์มาเกิด ก็เลยเข้าใจว่าเป็นเพราะตนเป็นผู้เนรมิตสัตว์เหล่านั้นให้เกิดมา เนื่องจากตนได้ปรารถนา แล้วก็มีสัตว์มาเกิดตามที่ตนปรารถนา แต่แท้จริงแล้ว สัตว์เหล่านั้นมาเกิดในชั้นพรหมนั้นเป็นเพราะสัตว์เหล่านั้นสิ้นกรรมในชั้นอาภัสสรพรหมเหมือนกันกับพรหมนั้นละ แต่ไม่ได้เป็นเพราะการปรารถนาหรือการเนรมิตของพรหมนั้นแต่อย่างใด
สัตว์ที่เกิดภายหลังในชั้นวิมานพรหมนั้นก็เลยเข้าใจว่า พรหมนั้นเป็นผู้เนรมิตตน ด้วยเหตุที่ว่า พรหมนั้นเกิดในที่นั้นก่อนตน
อีกอย่าง สัตว์ที่เกิดก่อนในชั้นพรหมนั้น มีอายุยืนกว่า มีผิวพรรณงามกว่า มีศักดิ์ใหญ่กว่าสัตว์ที่เกิดภายหลังในชั้นพรหมนั้น
เมื่อสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งในหมู่ที่เกิดทีหลังในชั้นพรหมนั้นสิ้นกรรมในชั้นพรรมนั้นแล้วก็มาเกิดเป็นมนุษย์ แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต แต่เป็นบรรพชิตนอกศาสนาพุทธ บวชแล้ว ก็ปฏิบัติจนได้เจโตสมาธิ มีจิตตั้งมั่น (แต่เป็นสมาธินอกศาสนา) ระลึกชาติได้ ก็ระลึกได้เฉพราะตอนที่ตนเองเป็นพรหมอยู่ในชั้นวิมานพรหมนั้นละ ที่ตนนับถือพรหมผู้เกิดก่อนว่าเป็นผู้เนรมิตตน แต่ระลึกได้แค่นั้น ระลึกยิ่งกว่านั้นไม่ได้ ก็เลยมีความเข้าใจว่า หรหมนั้นเป็นผู้เที่ยง เพราะมีอายุนาน ไม่จุติจากที่นั้นเหมือนตน เลยคิดว่าเที่ยง ส่วนเราเกิดทีหลัง เป็นผู้ไม่เที่ยง เพราะอายุสั้น จึ่งมาเกิดแบบนี้
เนื่องจาก ไม่มีปัญญาเข้าใจธรรมชาติอย่างแท้จริงว่าสัตว์ทั้งหลายไม่เที่ยง แม้จะมีอายุยืนนานแค่ไหนก็ไม่เที่ยง แม้จะอายุสั้นแค่ไหนก็ไม่เที่ยงเหมือนกันเพราะยังมีกรรม ดั่งนั้น จึ่งเกิดมีความเชื่อแบบนี้สืบต่อกันมา และนี้ก็คือที่มาของความเชื่อดั่งกล่าว
แหล่งที่มา: http://www.tripitaka91.com