จิตนาถ วัชรเสถียร
นาย จิตนาถ วัชรเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 ปัจจุบันอายุ 67 ปี
เริ่มเข้าศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียน มาแตร์เดอีวิทยาลัย
การศึกษาระดับประถมและมัธยมจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (AC รุ่น 72) และเดินทางไปศึกษาต่อด้าน
Commercial ที่เมืองบอบเบย์ ประเทศอินเดีย เริ่มเข้าสู่วงการเพลงเมื่ออายุได้ 22 ปี
โดยเป็นนักร้องและนักดนตรีร่วมกับวงดนตรีของคุณภัทราวดี ศรีไตรรัตน์
เล่นประจำที่โรงแรมมณเฑียร และโรงแรมสยาม อินเตอร์คอนติเนนตัล
หลังจากสะสมประสบการณ์ไม่นานก็ได้เริ่มหันมาประพันธ์บทเพลง
เพลงแรกที่ประพันธ์คือ เพลงประกอบละครเรื่อง “คนเริงเมือง (อีพริ้ง)”
ต่อมาได้ประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “วัยอลวน” เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง
“เพลงสุดท้าย” ซึ่งล้วนเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งในสมัยนั้น
เมื่อผลงานและชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงการเพลงจึงได้รับความไว้วางใจให้ประพันธ์เพลงประกอบละ
ครให้กับสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, ช่อง 5, ช่อง 7 และช่อง 9 และภาพยนตร์อีกเป็นจำนวนมาก
ตลอดระยะเวลากว่า 45 ปี ได้ประพันธ์เนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียงเสียงประสาน
และเป็นผู้อำนวยการผลิต (Producer) ทั้งเพลงประกอบภาพยนตร์ เพลงประกอบละคร
อัลบั้มเพลงกว่า 100 ชุด รวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 500 เพลงให้กับศิลปินที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก เช่น
อัญชลี จงคดีกิจ, กุ้ง กิตติคุณ, นัดดา วิยะกาญจน์, เทียรี่ เมฆวัฒนา, เพ็ญศรี พุ่มชูศรี, เศรษฐา
ศิริฉายา, สุดา ชื่นบาน, ฉันทนา กิติยพันธ์, ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล, รัตติพร ลิมปิชัย, แซม ยุรนันท์
ภมรมนตรี, สุเทพ ประยูรพิทักษ์, มัม ลาโคนิค, ด.ช. ขุนพล ฉำเย็นอุรา
ในด้านการทำงานเพื่อสังคม
ได้รับความไว้วางใจจากสำนักนายกรัฐมนตรีให้ประพันธ์บทเพลงประจำของสำนักนายกรัฐมนตรี
ประพันธ์บทเพลงให้กับกรมอาสารักษาดินแดน
ประพันธ์บทเพลงและเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อใช้ในการประชุม Asian Summit
เป็นตัวแทนของประเทศไทยในนามกรมประชาสัมพันธ์
เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านดนตรีตลอดระยะเวลา 3 ปี
ตอบแทนสถานศึกษาด้วยการประพันธ์บทเพลงในวาระต่างๆ ให้กับโรงเรียนอัสสัมชัญ,
โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา, โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
และสถาบันในเครือเซนต์คาเบรียล อีกมากมาย
ผลงาน
o ประพันธ์เพลงประกอบละครเพลงแรก เรื่อง “คนเริงเมือง (อีพริ้ง)”
o ประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์เพลงแรก เรื่อง “วัยอลวน”
o ประพันธ์ทั้งเนื้อร้อง ทำนอง เสียงประสานเพลง “เพลงสุดท้าย” ประกอบภาพยนตร์เรื่อง
“เพลงสุดท้าย” ขับร้องโดย สุดา ชื่นบาน ได้รับความนิยมอย่างสูง
จนทุกวันนี้ได้กลายเป็นเพลงประจำของเพศที่สามตลอดกาล
o ประพันธ์เนื้อร้องและทำนอง อัลบั้ม “หนึ่งเดียวคนนี้” ขับร้องโดย อัญชลี จงคดีกิจ
จนเป็นที่โด่งดังตลอดทุกวันนี้
o อัลบั้มชุด “มันอยู่ที่ใจ” และอัลบั้มชุด “ยกมาทั้งใจ” ของศิลปิน ไกรวิทย์ พุ่มสุโข
o ประพันธ์เนื้อร้อง ทำนอง เสียงประสาน อาทิ เพลง “มากเกินไป”, เพลง “ไร้รัง”, เพลง
“Angel”
o ประพันธ์เนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียงเสียงประสาน และเป็นผู้อำนวยการผลิต (Producer)
ในผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์ เพลงประกอบละคร อัลบั้มเพลงกว่า 100 ชุด
รวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 500 เพลง
o ได้รับความชื่นชอบและเชื่อถือจาก Universal Music International
ซื้อทำนองเพลงไปใส่เนื้อร้องในภาษาจีนและภาษาอังกฤษ
o ประพันธ์เพลงประกอบละครให้กับสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 และช่อง 9
เป็นจำนวนมาก
ผลงานเพื่อสังคม
o ประพันธ์เนื้อร้อง ทำนอง เสียงประสาน เพลง “สมเด็จพระพี่นาง”, เพลง “ทำดีเพื่อพ่อ”
โดยได้รับมอบหมายจากสมาพันธ์เซนต์คาเบรียล
o ประพันธ์บทเพลงประจำของสำนักนายกรัฐมนตรี
o ประพันธ์บทเพลงและเรียบเรียงเสียงประสานให้กับสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยของนาย
บรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้ในการประชุม Asian Summit
o ประพันธ์บทเพลงให้กับ อาสารักษาดินแดน และได้รับรางวัล บทเพลงสร้างสรรค์สังคม
จากกรมอาสารักษาดินแดน
o ประพันธ์บทเพลงสร้างสรรค์สังคมให้กับอาจารย์ สันติ ลุนเผ่
o เป็นตัวแทนของประเทศไทยในนามกรมประชาสัมพันธ์
เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านดนตรีเป็นระยะเวลา 3 ปี
ผลงานเพลงได้รับความสนใจนำไปเผยแพร่ยังประเทศญี่ปุ่นและอินโดนิเซีย โดยศิลปิน อัญชลี
จงคดีกิจ, ไกรวิทย์ พุ่มสุโข
o ได้รับคัดเลือกเพลง To Do or To Die ขับร้องโดย อัญชลี จงคดีกิจ ในงาน Popular Song
Contest 1985 ณ ประเทศสิงคโปร์
o เรียบเรียงเพลงและดนตรี ให้กับโรงเรียนอัสสัมชัญ ในชุดรวมบทเพลงของโรงเรียน เช่น เพลง
สดุดีอัสสัมชัญ, ใต้ร่มธงแดงขาว, กราวเกียรติศักดิ์, มานะหน่อยซิ และเพลงอื่นๆ
o ประพันธ์และเรียบเรียงเพลง ในชุด ครบรอบ 50 ปี โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา
o ประพันธ์และเรียบเรียงเพลง ในชุด ครบรอบ 72 ปี โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ
o ประพันธ์และเรียบเรียงเพลงให้กับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยสมาคมศิษย์เก่า
o ประพันธ์และเรียบเรียงเพลง ในชุด ครบรอบ 125 ปี อัสสัมชัญ เช่น เพลง 125 ปี AC
อัสสัมชัญ, เพื่อนเก่าของเราอยู่ไหน, AC ที่รัก, แด่ครูที่เกษียณ, AC Christmas tree
o ประพันธ์บทเพลงให้กับ โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม ในชุดครบรอบ 50 ปี
รางวัลเกียรติยศ
o รางวัลดีเด่นจากการประกวดบทประพันธ์เพลงของ Siam Yamaha Music Foundation ปี
พ.ศ. 2528 จากเพลง To Do or To Die
o รางวัลชนะเลิศ อันดับ 3 จากการประพันธ์บทเพลง Let us fly (ไร้รัง) โดย ไกรวิทย์ พุ่มสุโข
ในงาน Popular Song Contest 1985 ณ ประเทศสิงคโปร์
o รางวัลจากสำนักนายกรัฐมนตรี สาขารางวัลเพลงสร้างสรรค์สังคม ปี พ.ศ. 2530 จากเพลง
“รักแท้ คือ พ่อแม่ของเรา”
o รางวัลเมขลา ปี พ.ศ. 2535 สาขารางวัลเพลงประกอบละครยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง
“ริษยา”
o รางวัลเมขลา ปี พ.ศ. 2536 สาขารางวัลเพลงประกอบละครยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง
“คนบาป”
o รางวัลเมขลา ปี พ.ศ. 2536 สาขารางวัลเพลงประกอบละครยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง
“คุณหญิงนอกทำเนียบ”
o รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ปี พ.ศ. 2536 สาขารางวัลเพลงประกอบละครยอดเยี่ยม
จากละครเรื่อง “คุณหญิงนอกทำเนียบ”
o รางวัลเมขลา ปี พ.ศ. 2537 สาขารางวัลเพลงประกอบละครยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง
“เหลี่ยมลูกไม้”