ประวัติรถไฟสายมรณะ
ทำไมสะพานข้ามแม่น้ำแคว จึงเป็นชื่อที่รู้จัดโด่งดังไปทั่วโลก มัมิใช่เพราะความอลังการ หรืองดงามตระการตาใด ๆ หากแต่ คำตอบแท้จริง มันคือความโหดร้ายทารุณ ที่เกิดขึ้นในอดีต อันขมขื่น ณ ที่แห่งนั้นต่างหาก ที่เป็นเสน่ห์อันเร้าใจไม่มีวันจบสิ้น
แต่ถ้าหาจะย้อนมองให้ลึกซึ้งลงไปอีก ความเศร้าสลดสยดสยอง ที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นประวัติศาสตร์ ยากที่จะหาใดเสมอเหมือนได้นั้น แท้จริง มันอยู่บนเส้นทางรถไฟ ที่ทอดผ่านสะพานเข้ามแม่น้ำแควแห่งนี้ ซึ่งมีระยะทางยาวไม่กี่ร้อยกิโลเมตร ที่ใช้เวลาสร้างอันรวดเร็ว และสำคัญที่สุด ก็คือ ต้องสูญเสียชีวิตคนไปถึงหนึ่งแสนคน เจ็บป่วย และพิการ อีกหลายหมื่นคน เพราะความโหดร้ายทารุณ จนทางรถไฟสายนี้ ถูกเรียกว่า "ทางรถไฟสายมรณะ"
ทางรถไฟสายมรณะ
|
ภาพถ่ายทางอากาศทางรถไฟสายมรณะ
|
ก่อนที่จะเป็นทางรถไฟสายมรณะ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และจีน หลังจากนั้นกองทัพอันมหาศาลของพระจักรพรรดิ ก็เคลื่อนพล แบบสายฟ้าแลบ บนน่านน้ำแปซิฟิก กำลังทางอากาศจากเรือบรรทุก เครื่องบิน ได้บินขึ้นถล่มฐานทัพเรือใหญ่ของสหรัฐฯ ที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ เกาะฮาวาย จนแหลกลาญ
ขณะเดียวกัน กองทัพญี่ปุ่น ก็บุกขึ้นเกาะต่าง ๆ อีกหลายแห่ง ทั้งชวา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มลายู และอินโดจีน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย สำหรับไทย ญี่ปุ่น ได้ยื่นบันทึกต่อรัฐบาล เพื่อขอเดินทัพผ่าน เพื่อไปโจมตีนอังกฤษ ที่ตั้งฐานทัพ อยู่ที่มลายูและพม่า จึงขออย่าให้ไทยขัดวาง โดยญี่ปุ่น ให้การรับรองว่า จะไม่ทำลายอธิปไตยของไทย
แต่ในระหว่างเจรจาหาข้อตกลง กองเรือรบญี่ปุ่น ได้เคลื่อนเข้าอ่าวไทายแล้ว ในคืนวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และส่งหน่วยรบขึ้นบก ตลอดแนวฝั่งทะเล ด้านตะวันออกของไทย การบุกรุกดินแดนแบบจู่โจม ทำให้เกิดการต่อสู้กัน อย่างนองเลือด ระหว่างหน่วยทหาร ตำรวจ และยุวชนทหารกับกองทัพทหารญี่ปุ่น ทุกจุดที่บุกขึ้นมา มีการปะทะกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช และประจวบคีรีขันธ์ ทำให้บาดเจ็บล้มตายกันมากมายทั้งสองฝ่าย
จนถึงเวลา 6.50 น. ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่น ก็ได้ยื่นบันทึก ถึงรัฐบาลไทยอีก ซึ่งเป็นคำแถลงในสภาพิเศษของนายพลโตโจ แม่ทัพญี่ปุ่น มีอยู่ ทั้งหมด 3 ข้อ ในข้อที่ 3 นั้นเกี่ยวโยงกับไทยโดยตรง คือ
"รัฐบาลญี่ปุ่น ได้พยายามที่จะกระทำทุกทางแล้ว ด้วยสันติวิธี ในการเจรจา ที่กรุงวอชิงตัน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงจำเป็นต้องทำสงครามกัน และนอกจากนั้น ถ้าจะมองดูสงครามทางด้านยุโรปแล้ว จะเห็นได้ว่า สงครามได้ใกล้เข้ามา จะถึงอิรัก แะลอิหร่านอยู่แล้ว น่ากลัวว่าอาจลุกลามมาถึงประเทศไทยได้ เพราะฉะนั้น พวกเราชาวเอเชีย จะต้องร่วมมือกัน เพื่อทำให้เอเชีย เป็นของคนเอเชีย บัดนี้ ประเทศญี่ปุ่น ได้เตรียมสู้รบกับข้าศึกของเราแล้ว ไม่ใช่จะมาต่อสู้กับคนไทยเลย ถึงแม้จะมีการต่อสู้กัน และกองทัพญี่ปุ่น ได้ผ่านประเทศไทยไปแล้ว ญี่ปุ่น ก็จะไม่ถือว่า ไทยเป็นข้าศึก แต่ถ้าหาว่า ไทยจะร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับญี่ปุ่นแล้ว คำว่า เอเชียเป็นของคนเอเชีย ก็จะเป็นอันสำเร็จผลแน่ และประเทศไทย อันเป็นประเทศเอกราชอยู่แล้วนั้น ก็จะเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว สิ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นของจากไทยคือ ขอให้กองทัพของญี่ปุ่น ผ่านผืนแผ่นดินไทยไป เท่านั้น ทั้งนี้ ก็ด้วยความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ เพราะฉะนั้น จึงใคร่ของความสะดวก โดยขออย่าให้กองทัพทั้งสองต้องมารบกันเองเลย เพราะญี่ปุ่น ไม่ถือว่าไทยเป็นศัตรู จึงหวังว่า ไทยจะมีความสามัคคีร่วมมือกับญี่ปุ่น ในความจำเป็นครั้งนี้ กับขอให้จัดกำลังตำรวจ ระวังรักษาชาวญี่ปุ่น ที่พำนักอยู่ในประเทศไทยทั่วไปด้วย"
รัฐบาลไทย ได้เปิดประชุมด่วนอย่างเคร่งเครียด พิจารณาจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งนอกประเทศ และภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสู้รบตามแนวฝั่งทะเล ไทยมีแต่เสียเปรียบ ในที่สุด จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี จึงตัดสินใจสั่งให้หยุดยิง และระงับการต่อสู้ทุกด้าน ยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านได้ เมื่อเวลา 7.30 น. ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484
ถึงรุ่งขึ้นกลางปี พ.ศ. 2485 ญี่ปุ่นก็ประสบชัยชนะในแปซิฟิก และเอเชียอาคเนย์ โดยสิ้นเชิง
ระยะแรก ๆ นั้น ญี่ปุ่น ได้ลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ และเสบียงต่าง ๆ จากสิงคโปร์ ผานช่องแคบมะละกา ไปยังเมาะละแหม่ง และร่างกุ้ง ประเทศพม่า แต่การลำเลียงทางทะเล ถูกโจมตีจากการทิ้งระเบิดของเครื่องบินฝ่ายพันธมิตร อยู่ตลอดเวลา ญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนเส้นทางลำเลียงเป็นทางบก โดยการสร้างทางรถไฟ ให้เชื่อมต่อกัน จากสิงคโปร์ขึ้นมาทางสงขลา ถึงกรุงเทพฯ และผ่านไปกาญจนบุรี เพื่อเข้าพม่าทางเมาะละแหม่ง และร่างกุ้ง
เป็นที่เปิดเผยต่อมาภายหลังว่า ญี่ปุ่นได้วางแผนไว้แล้วอย่างรอบคอบ และแยบยล ก่อนประกาศสงครามกับพันธมิตร เกี่ยวกับภูมิประเทศในแถบนี้ โดยญี่ปุ่นส่งสายลับ ปลอมตัวเข้ามาอยู่ในเมืองไทยในลักษณะของ ผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ รวมทั้งเป็นพรานเบ็ด ในแม่น้ำแคว เพื่อวัดระดับ ความลึกของน้ำ และเป็นนักนิยมไพร เพื่อสำรวจเส้นทางวางรางรถไฟ พร้อมกับคำนวณ ตัวเลข จำนวนเงินที่จะใช้จ่ายในการสร้าง ปรากฏว่า สูงมากจึงชะลอไว้ก่อน แต่เมื่อมีความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ ญี่ปุ่นจึงตัดสินใจสร้าง
ทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งกลายเป็นชื่อที่ควบคู่ไปกับสะพานข้ามแม่น้ำแคว ที่เลื่องลือกระฉ่อนไปทั่วโลก จึงเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2485 นั่นเอง ก่อนลงมือสร้าง ญี่ปุ่นได้เสนอแผนการสร้างทางรถไฟ เริ่มจากชุมทางหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี แล้วต่อไปยังประเทศพม่า ทางด้านเมาะละแหม่ง ดังกล่าว ต่อรัฐบาลไทย ทางหัวหน้า คณะรัฐบาล คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผสม ขึ้นมาพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ตามที่ฝ่ายกองทัพญี่ปุ่นเสนอมา ซึ่งคณะกรรมการ ประกอบด้่วย
- พันเอก เชย พันธุ์เจริญ เป็นประธานในการสร้างทางรถไฟ
- ร้อยโท คำ ปัทมาดิสต์ เป็นกรรมการฝ่ายทหาร
- หม่อมหลวง ทองคำเปลว ทองใหญ่ เป็นกรรมการฝ่ายทหาร
- พันโท หม่อมเจ้า พิสิษฐดิส ดิสกุล
- พันตรี หม่อมเจ้า ประเสริฐศรี ชยางกูร ประจำกองอำนวยการผสม
คณะกรรมการฝ่ายไทย และฝ่ายกองทัพญี่ปุ่น ได้เปิดประชุึมกัน ครั้งแรก ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2485 ผลสรุปออกมา กองทัพญี่ปุ่น ของสร้างทางรถไฟเอง ขอให้ไทยอำนวยความสะดวกให้ตามสมควร แต่ฝ่ายไทยแย้งว่า ขอเป็นฝ่ายสร้างเอง โดยให้ญี่ปุ่นส่งวัสดุที่จะใช้ในการสร้างให้ไทย และมีข้อแม้ว่า ภายหลังการวางรางเสร็จแล้ว ขอมิให้กองทัพญี่ปุ่นเรียกคืนไป
จากนั้น ก็มีการประชุมกันอีก ซึ่งการเจรจา ได้พูดถึงรายละเอียดมากมาย พลตรี เซจิ โมริยา นายทหารหัวหน้าผู้แทนฝ่ายกองทัพญี่ปุ่น ได้กล่าวเน้นว่า ญี่ปุ่น มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการรบต่อไปอีก ดังนั้น การสร้างทางรถไฟไทย - พม่า จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และยืนยันจะขอสร้างเอง เพื่อให้รวดเร็ว เพราะญี่ปุ่น มีวิศวกรที่ชำนาญกว่า และให้สัจจะว่า ทางสายนี้ กองทัพพระจักรพรรดิ จะสร้างให้แล้วเสร็จภายในเวลา 1 ปี
แต่ปัญหาที่ติดตามมาก็คือ การสร้างทางรถไฟ จะต้องกระทบกระเทือน ต่ประชาชน ที่ทางรถไฟพาดผ่านไป เพราะญี่ปุ่นทำโดยความรดวเร็ว อาจไม่คำนึง ถึงผลกระทบต่อคนไทยที่รัฐบาลรับผิดชอบ เรื่องนี้ญี่ปุ่นยอมรับ และบอกว่า เมื่อจำเป็น ก็ต้องจ่ายเงินให้เป็นการตอบแทน
การเจรจายังหาข้อยุติไม่ได้ ฝ่ายไทยจึงเสนอให้แบ่งตอนกันสร้าง โดยไทย จะเริ่มสร้างจากชุมทางหนองปลาดุก ไปถึงกาญจนบุรี จากนั้น ต่อไปถึง เจดีย์สามองค์ ให้ญี่ปุ่นสร้าง ญี่ปุ่นแย้งว่า การแบ่งตอนกันสร้างนั้น ถ้าได้ลงมือทำงานกันจริง ๆ แล้วจะลำบากและขลุกขลักมาก ไทยจึงไม่จำเป็น ต้องสร้างก็ได้ เป็นแต่ช่วยเหลือในการเวนคืนที่ดิน เครื่องมือและอุปกรณ์ก็พอ เรียกว่าร่วมมือกัน ไทยตอบว่า หาญี่ปุ่นทำเกรงว่า จะพูดกับทางงานฝ่ายช่าง ไม่รู้เรื่อง ดังนั้น ให้ไทยทำช่วยตอนที่ง่าย ๆ ส่วนตอนยาก ๆ ก็ให้ญี่่ปุ่นทำไป
ญี่ปุ่นอ้างว่า ที่จะไปทำนั้น มีทหารญี่ปุ่นมาก เชลยก็มาก เกรงกว่า จะมีเรื่องกัน ไทยว่า เรื่องนี้ จะคอยดูแลราษฎรไม่ให้ไปเกิดการโต้เถียงกัน แต่เรื่องที่ญี่ปุ่น จะไปเที่ยวขุดดินในที่ของเขาเหล่านั้นไปถมทางรถไฟ ปัญหาใหญ่ต้องเกิดขึ้นแน่ เพราะเป็นทั้งที่นาและบ้าน จึงควรจะให้ไทยทำตั้งแต่หนองปลาดุก ถึงกาญจนบุรี ตามที่เสนอไปแล้ว จากนั้นให้ญี่ปุ่นสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว และทำทางรถไฟ ต่อไป ก็น่าจะหมดปัญหา ญี่ปุ่นยังไม่แน่ใจถามว่า แล้วไทยจะสร้างเสร็จภายใน 1 ปี หรือ ไทย...รับรองเสร็จแน่ ญี่ปุ่น..60 กิโลเมตร ที่จะรับไปทำนั้น ขอให้อยู่ภายใต้ บังคับบัญชาของญี่ปุ่นได้หรือไม่ ไทย... ขอให้ยอมรับในหลักการก่อนว่า จะยินยอม หรือไม่ ส่วนการบังคับบัญชานันเราจะจัดการต่อให้เรียบร้อย ญี่ปุ่น..อยากรู้ว่า จะให้ใครสร้าง ไทย... เอาใครสร้างนั้น ไม่ต้องถาม สร้างให้เสร็จก็แล้วกัน
การเจรจา ญี่ปุ่นตกลงยอมรับข้อเสนอของไทย โดยตกลงว่า งานที่ฝ่ายไทยทำ คือ พูนดินแนวทางที่จะวางรางรถไฟ จากชุมทางหนองปลาดุก ถึงแม่น้ำแควใหญ่ ส่วนการวางรางเหล็กนั้นเป็นของญี่ปุ่น ภายหลังตกลงกันได้ จึงมีการสำรวจร่วมกัน ระหว่างวิศวกรไทย และญี่ปุ่น ฝ่ายไทยมีนายชาติชาย จันทรโปรย นายช่างทางสาย กาญจนบุรี และ ม.ร.ว. ปราณเนาวศรี เนาวรัตน์ นายช่างผู้ช่วยกองแบบแผน ส่วนฝ่ายญี่ปุ่น มีร้อยตรี คาวาซากิ เป็นหัวหน้าคณะ เริ่มออกเดินทางสำรวจ ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2485 ด้วยขบวนรถไฟจากหัวลำโพง เวลา 7.40 น. ไปลงที่ สถานีบ้านโป่ง แล้วใช้รถยนต์ต่อไปจนถึงกาญจนบุรี จากนั้น ก็ทำการสำรวจ ไปจนถึงไทรโยค ต้นแม่น้ำแม่กลอง
ทางรถไฟสายมรณะ ไต่ไปตามหน้าผา ริมแม่น้ำแควใหญ่ อย่างหวาดเสียว
|
หลายแห่งของทางรถไฟ ต้องข้ามเหวไป ในสภาพที่เห็นในภาพนี้
|
การสำรวจครั้งที่ 2 โดยคณะสำรวจชุดเดิม ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2485 ครั้งนี้ได้เดินทางไปจนถึงชายแดนไทย - พม่า และต่อมาอีกหลายครั้ง ได้มีการนัดหมายพบกัน ระหว่างฝ่ายไทยกับทหารญี่ปุ่น ซึ่งสร้างทางรถไฟ ในเขนพม่า โดยเดินทางเข้ามาทางเมืองเมาะละแหม่ง ถึงสังขละ ซึ่งการเดินทาง ครั้งนี้ ญี่ปุ่นทางพม่ามีนายทหาร 5 นาย ใช้ช้าง 5 เชือก ควาญประจำช้างอีก 8 คน และมีคนนำทางเป็นคนไทย
เมื่อการสำรวจเป็นที่เรียบร้อย ทางรถไฟสายมรณะ ก็เริ่มขึ้น ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 โดยญี่ปุ่นเป็นฝ่ายวางรางเหล็กไปตามแนวบนพูนดิน ที่ไทยสร้างจาก สถานีชุมทางหนองปลาดุก ถึงท่ามะขาม อำเภอเมือง กาญจนบุรี ระยะทาง 55 กิโลเมตร ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำ สร้างทั้งสะพานไม้และสะพานเหล็กไปพร้อม ๆ กัน ทั้งรางและสะพานไม้ใช้เวลาสร้าง 4 เดือน สามารถให้รถไฟเดินทางเป็นครั้งแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 จนถึงเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน สะพานที่เป็นเหล็ก จึงสร้างเสร็จ
ทางรถไฟสายมรณะ นับจากสะพานข้ามแม่น้ำแคว ญี่ปุ่นสร้างต่อไปที่เขาปูน 2 กิโลเมตร ต่อไปยังบ้านเก่า ระยะทาง 31 กิโลเมตร ไปท่ากิเลน 8 กิโลเมตร ไปวังสิงห์ 12 กิโลเมตร ไปลุ่มสุ่ม 2 กิโลเมตร ไปวังโพ 4 กิโลเมตร ไปช่องแคบ 7 กิโลเมตร ไปท่าเสา (ซึ่งเป็นแคมป์เชลยศึก เรียกแคมป์ท่าเสา ต่อมาเรียกสถานีน้ำตก) 9 กิโลเมตร ไปไทยโยคใหญ่ 38 กิโลเมตร ไปลิ่นถิ่น 13 กิโลเมตร ไปบ่อน้ำร้อน หินดาด 17 กิโลเมตร ไปท่าขนุน (ทองผาภูมิ) 20 กิโลเมตร ไปเกริงไกร 32 กิโลเมตร ไปกุงกุย 12 กิโลเมตร ไปแก่งกล้วย 32 กิโลเมตร แล้วไปเชื่อมต่อกับ ทางรถไฟจากเมาะละแหม่ง ที่บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ รวมเส้นทางที่ญี่ปุ่น เป็นฝ่ายสร้าง 239 กิิโลเมตร ถ้ารวมทั้งหมดของทางรถไฟที่สร้างขึ้นใหม่ ตั้งแต่ หนองปลาดุก ถึงสุดปลายทาง มีความยาว 294 กิโลเมตร