คู่มือการปลูกและการดูแลรักษาดอกพิทูเนียแบบมืออาชีพ
ไฮ !! สวัสดีปีใหม่ค่าาาา 2017 กันเข้ามาเเล้ววว
เพื่อนๆสบายดีกันไหมจ้าาา ขอให้มีความสุข สุขภาพเเข็งแรง ร่ำรวยๆ ตลอดปี กันเลยทุกคนจ้าาา
วันนี้มิคุ ก็มาพร้อมกับ คู่มือการปลูกดอกไม้ ตอนรับปี 2017 กันเลยทีเดียวจ้าา
คู่มือดอกไม้วันนี้คือ คู่มือการปลูกและการดูแลดอกพิทูเนีย นั้นเองง (มี 3 ตอนนะคะ มิคุเห็นที่เว็บอัพตอน1 อยู่เลย ) ปะ เผื่อจะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยนะคะ
ตอนที่ 1 การเพาะเมล็ด และ การดูแลต้นกล้า
คู่มือการปลูกและการดูแลรักษาพิทูเนียแบบมืออาชีพ
พิทูเนียเป็นไม้ดอกที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากสีสวย ดอกมีลักษณะโดดเด่น และมีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือก โดยทั่วไปพิทูเนียดอกใหญ่เช่นพันธุ์ดรีมและปริซึ่ม จะนิยมปลูกในสภาพอากาศเย็นซึ่งจะให้ดอกใหญ่และมีสภาพต้นที่สมบูรณ์กว่าปลูกในสภาพอากาศร้อน หากต้องการปลูกพิทูเนียในสภาพอากาศร้อนควรเลือกพิทูเนียที่ให้ดอกขนาดกลางเช่นพันธุ์มิราจและเมอร์ลินจะทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดี ขนาดดอกสม่ำเสมอ ให้ดอกสีสด ทรงพุ่ม
การเพาะเมล็ดและการดูแลต้นกล้า
- การเพาะเมล็ด
เมล็ดของพิทูเนียที่จำหน่ายจะมี 2 แบบคือแบบ ปกติ (Raw seed) และเมล็ดเคลือบ (Pelleted seed) ซึ่งจะมีวิธีการเพาะที่แตกต่างกันดังนี้
เมล็ดแบบปกติ (Raw Seed) เนื่องจากเมล็ดมีขนาดเล็กมาก (ประมาณ 10,000 เมล็ดต่อกรัม) จึงควรใช้วิธีหว่านก่อนแล้วจึงย้ายต้นกล้าลงถาดหลุมอีกที
การหว่าน : วัสดุอุปกรณ์
- ตะกร้าพลาสติกมีความสูงประมาณ 1-1.5 นิ้ว
- พีทมอสสำหรับเพาะเมล็ด
- ถังพ่นน้ำแบบฝอย
- แป้งฝุ่นทาตัวสีขาว
วิธีการ
- ทำการผสมพีทมอสกับสารเคมีกันเชื้อรา Propamocarb hydrochloride (อัตรา 0.4 ซี.ซี ต่อน้ำ 1 ลิตร) คลุกเคล้าให้เข้ากันสังเกตวัสดุเพาะจับตัวเป็นก้อนและมีน้ำซึมตามร่องนิ้วเล็กน้อย
- ใส่วัสดุเพาะลงในตะกร้าหนาประมาณครึ่งนิ้ว ปาดผิวหน้าวัสดุเพาะให้เรียบ พ่นน้ำให้ชุ่ม
- เทเมล็ดใส่มือ (ระวังอย่าให้มือเปียก) ผสมแป้งทาตัวเล็กน้อยคลุกเคล้าให้แป้งติดเมล็ด
- หยิบเมล็ดมาพอประมาณ ทำการหว่านในตะกร้าให้กระจายอย่าให้ติดกันเป็นกระจุกเพราะจะยากต่อการย้ายลงถาดหลุม โดยเราสามารถสังเกตจากแป้งที่เคลือบเมล็ดได้
- ย้ายไปไว้ในทีพรางแสง 80 – 90% พ่นน้ำฝอยละเอียดทำมุมเฉียงขึ้นให้น้ำตกลงบนวัสดุเพาะ อย่าให้โดนวัสดุเพาะโดยตรงและอย่าปล่อยให้แห้งจะทำให้เมล็ดไม่งอกได้ ในระยะนี้จะใช้เวลประมาณ 4-5 วันในการงอก
- เมื่อต้นกล้ามีใบเลี้ยง 1 คู่แล้วซึ่งจะใช้ระยเวลาประมาณ 7-8วัน จึงทำการย้ายต้นกล้าลงถาดหลุม
เมล็ดแบบเคลือบ (Pelleted Seed) จะมีขนาดใหญ่และมีสีที่ทำให้มองเห็นชัดจึงสามารถเพาะลงถาดหลุมได้โดยตรง
การเพาะลงถาดหลุม : วัสดุอุปกรณ์
- ถาด 288
- คีมคีบปลายแหลม (Forecep)
- พีทมอส
- ถังพ่นน้ำแบบฝอย
- ทำการผสมพีทมอสกับสารเคมีกันเชื้อรา Propamocarb hydrochloride (อัตรา 0.4 ซี.ซี ต่อน้ำ 1 ลิตร) คลุกเคล้าให้เข้ากันสังเกตวัสดุเพาะจับตัวเป็นก้อนและมีน้ำซึมตามร่องนิ้วเล็กน้อย
- นำพีทมอสที่ผสมแล้วใส่ถาดหลุมให้เต็มหลุม
- ทำการเจาะหลุมโดยใช้ถาดเปล่าวางบนถาดที่จะทำการเพาะ กดลงอย่างเบามือ โดยหลุมที่เกิดจะต้องไม่ลึก เมื่อเราวางเมล็ดลงไปสามารถเห็นเมล็ดได้อย่างชัดเจน (หลุมที่ลึกจะทำให้เมล็ดไม่งอกหรืองอกช้าได้)
- พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา Propamocarb hydrochloride (อัตรา 1.0 ซี.ซี ต่อน้ำ 1 ลิตร) ก่อนวางเมล็ด
- ทำการวางเมล็ดลงไป 1 หลุม ต่อ 1 เมล็ด
- ย้ายไปไว้ในทีพรางแสง 80 – 90% พ่นน้ำฝอยละเอียดทำมุมเฉียงขึ้นให้น้ำตกลงบนวัสดุเพาะ อย่าให้โดนวัสดุเพาะโดยตรงและอย่าปล่อยให้แห้งจะทำให้เมล็ดไม่งอกได้ ในระยะนี้จะใช้เวลประมาณ 4-5 วันในการงอก
**พิทูเนียต้องการแสงในการงอก ดังนั้นห้ามกลบเมล็ด**
- การดูแลต้นกล้า
ระยะที่ 1 เป็นระยที่เริ่มงอกจะใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน ระยะนี้ต้องดให้น้ำอย่างสม่ำเสมออย่าให้วัสดุเพาะแห้งหรือเปียกจนเกินไป (วัสดุเพาะแห้งจะทำให้ต้นกล้าชะงักและตาย วัสดุเพาะเปียกจนเกินไปจะทำให้ต้นกล้าเน่า) ระยะนี้ยังคงต้องพรางแสง 80 – 90% อยู่
ระยะที่ 2 มีใบเลี้ยงแผ่เต็มที่ 1 คู่ ใช้เวลาประมาณ 2-3 วันจากระยะที่ 1 ระยะนี้ควรพรางแสงเพียง 50% เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นกล้ายืดและเป็นโรคเน่าคอดิน การให้น้ำสามารถให้เป็นแบบพ่นฝอยหรือให้น้ำแบบใต้ถาด ช่วงเวลาการให้น้ำสังเกตว่าผิววัสดุเพาะเริ่มเป็นสีน้ำตาลอ่อนจึงเริ่มให้น้ำจนชุ่ม ระวังอย่าให้ต้นกล้าเหี่ยวเพราะจะไม่ฟื้น ในระยะนี้ยังไม่ต้องการปุ๋ยเนื่องจากในพีทมอสยังมีปุ๋ยอยู่
ระยะที่ 3 ระยะนี้จะมีใบจริง 1 คู่แล้วซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-6 วันจากระยะที่ 2 ระยะนี้ต้องการแดดจัด ไม่ควรทำการพรางแสง จะทำให้ต้นกล้ายืดและอ่อนแอ การให้น้ำสามารถใช้หัวบัวรดน้ำแบบละเอียดได้ โดยควรให้น้ำเมื่อผิวหน้าวัสดุแห้งและต้นกล้ายังไม่เหี่ยว แล้วจึงให้น้ำจนชุ่ม วิธีการนี้จะทำให้ต้นกล้าแข็งแรง ไม่เป็นโรคได้ง่าย การให้ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยสูตร 15 -0-0 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 ppmN หรือ 3 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ใน 1 สัปดาห์ในทำการให้ปุ๋ย 6 วัน อีก 1 วันเป็นน้ำเปล่า ในระยะนี้ควรพิจารณาปรับค่า pH ของน้ำให้เป็น 4.7-5.0 หรือให้วัสดุเพาะมีค่า pH อยู่ที่ 5.5-5.8 เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
ระยะที่ 4 ระยะนี้จะมีใบจริง 2 คู่ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 7-8 วันจากระยะที่ 3 การดูแลต้นกล้าระยะนี้จะทำการดูแล
เหมือนระยะที่ 3
ไว้ทางเว็บอัพตอน2 ตอน3 จะเอามาเเบ่งปันอีกนะคะ