กรณีรถไม่ทำ ประกันภัย ไปก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ประสบภัย
กฎหมายกำหนดให้เจ้าของ รถยนต์ มีหน้าที่ต้องทำ ประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เมื่อเจ้าของ รถยนต์ ฝ่าฝืนไม่ทำ ประกันภัย แล้ว รถยนต์ คันดังกล่าวไปก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ประสบภัย เจ้าของ รถยนต์ จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ถ้าผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ เจ้าของรถต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือถ้าเสียชีวิต ต้องรับผิดชอบค่าปลงศพ อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ หากน้อยกว่านี้ ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรม ของผู้ประสบภัย ยังคงมาขอรับส่วนที่ยังขาดอยู่ได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เมื่อกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายไปแล้ว กฎหมายกำหนดให้นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่ เรียกเงินตามจำนวนที่ได้จ่ายไป คืนจากเจ้าของ รถยนต์ รวมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น ที่จ่ายจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเพื่อเข้าสมทบอีกต่างหากภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากนายทะเบียน
สำหรับ กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย นั้น ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่ จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หากผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัท ประกันภัย
ประกันภัย หรือเจ้าของ รถยนต์ ที่ไม่จัดให้มี ประกันภัย หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ เช่น รถชนแล้วหนี เจ้าของรถที่ไม่จัดให้มี ประกันภัย ไม่จ่ายค่าเสียหาย การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯ นั้น ผู้ประสบภัยหรือทายาท ต้องยื่นภายใน 180 วัน นับแต่วันเกิดเหตุ
อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)