เห็นชอบ แก้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างเอกชน 60 ปีเกษียณจ่าย 10 เดือน นายจ้างฝ่าฝืนเจอคุก6เดือน
5 มกราคม 2560 ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบหลักการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน กำหนดลูกจ้างอายุครบ 60 ปีเกษียณ ถือเป็นการเลิกจ้าง และนายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยสูงสุด 10 เดือน เร่งบังคับใช้ภายในพฤษภาคม 2560 นี้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
1. การเพิ่มอำนาจคณะกรรมการค่าจ้างในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้ครอบคลุมลูกจ้างกลุ่มบางประเภท เช่น ลูกจ้างเด็ก คนพิการ และผู้สูงอายุ
2. ยกเลิกบทบัญญัติให้นายจ้างส่งสำเนาข้อบังคับที่เกี่ยวกับการทำงานให้แก่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยให้สามารถจัดเก็บสำเนาข้อบังคับเกี่ยวการทำงานไว้ที่สถานประกอบกิจการแทน
3. กำหนดให้การเกษียณอายุลูกจ้างเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ให้ถือเป็นการเลิกจ้าง และมีสิทธิ์ได้รับการชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
อัตราการจ่ายชดเชยการเกษียณอายุของลูกจ้างให้ครอบคลุมลูกจ้างทั้งระบบ และได้รับการจ่ายชดเชยจากนายจ้างตามมาตรา 144 ที่กำหนดการชดเชยการเลิกจ้างกรณีที่ลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปให้ได้รับชดเชยค่าจ้างในอัตรา 10 เดือน กรณีทำงาน 6-10 ปี ได้รับชดเชยค่าจ้าง 8 เดือน และกรณีทำงานตั้งแต่ 3-6 ปี ได้รับชดเชย 6 เดือน
หากนายจ้างฝ่าฝืนให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกินปีละ 1 แสนบาทคิดดอกเบี้ยจากการล่าช้าปีละ 15%
















