ประเทศใดบ้างที่ห้ามสตรีมุสลิมสวม “นิกอบ” และ “บุรก้า”?
คงได้ทราบข่าวไปแล้วว่ารัฐทีชีโน สวิตเซอร์แลนด์ ได้ผ่านกฎหมาย "ห้ามผู้หญิงสวมใส่เสื้อผ้าครอบคลุมใบหน้าในที่สาธารณะ" แล้วทราบไหมคะว่าการคลุมหน้าแบบใดบ้างที่ผิดกฎหมาย?
การคลุมผ้าของสาวมุสิมนั้นมีหลายแบบ แต่ที่เราคุ้นตาและคุ้นเคยกันนั้นเรียกว่าการคลุม "ฮิญาบ" แต่ยังมีการคลุมผ้าแบบอื่นๆอีกหลายแบบ แต่ที่ออกกำหมายห้ามมานั้นเป็นการคลุมผ้าแบบ “นิกอบ” และ “บุรก้า” แล้ว นิกอบกับบุรก้าแตกต่างจากฮิญาบตรงไหน? ไปดูรูปประกอบกันค่ะ
ฮิญาบนั้นจะคลุมแค่สวนของศรีษะ เส้นผม และใบหู แต่เหลือใบหน้าเอาไว้
ฮิญาบ
การคลุมนิกอบนั้นจะปิดทั้งส่วนของศรีษะ เส้นผม ใบหู รวมทั้งใบหน้า เหลือไว้เพียงแค่ส่วนดวงตาเท่านั้น
นิกอบ
ในขณะที่บุรก้าจะเป็นการคลุมแบบมิดชิดมากกว่าเพราะจะคลุมหมดทั้งศรีษะ เส้นผม ใบหู และใบหน้า ส่วนดวงตานั้นบางครั้งจะเป็นผ้าแบบตาข่ายโปร่งคลุมไว้อีกชั้น หรือเป็นผ้าแบบโปร่งบางเบาคลุมเอาไว้
บุรก้า
บุรก้า
รัฐทีชีโน สวิตเซอร์แลนด์ ไม่ได้เป็นประเทศแรกและประเทศเดียวที่ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการคลุมผ้าของสตรีมุสลิมในที่สาธารณะออกมาบังคับใช้ ก่อนหน้านี้ประเทศเบลเยียมและประเทศฝรั่งเศสได้ออกกฎหมายห้ามหญิงชาวมุสลิมสวมเครื่องแต่งกายที่ปกคลุมใบหน้าอย่างมิดชิดหรือที่เรียกว่า "นิกอบ" และ "บุรกา" ตามที่สาธารณะมาแล้ว
ประเทศที่ออกคำสั่งแบนชุดบุรกาในปัจจุบันนั้นประกอบไปด้วย ฝรั่งเศส,เบลเยียม,ชาด,5 รัฐในแคเมอรูน,เมืองดิฟฟาในสาธารณรัฐไนเจอร์,เมือง Brazzaville ในคองโก และ รัฐทีชีโน สวิตเซอร์แลนด์ ในขณะที่คำสั่งแบนบางส่วนของเครื่องแต่งกายนั้นก็มีประกาศใช้ในบางประเทศ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีคำสั่งห้ามสตรีคลุมหรือปิดบังใบหน้าเมื่อเดินทางไปยังโรงเรียน,โรงพยาบาลหรือใช้บริการระบบขนส่งมวลชน
เมือง Novara ของอิตาลีมีคำสั่งห้ามการคลุมหน้าเช่นกัน แต่ไม่มีการตั้งค่าปรับสำหรับการละเมิดกฎข้อนี้ ในประเทศตุรกีผู้หญิงที่จะสามารถคลุมหน้าได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมและสถาบันตำรวจ.
ซ้ำขออภัยค่ะ