พระราชประวัติ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ
พระประวัติ
ประสูติกาล
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2548 เวลา 18.35 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลศิริราช เป็นพระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กับท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี ที่ขณะนั้นยังเป็นหม่อมในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
คณะแพทย์ถวายพระประสูติโดยการผ่าตัด เมื่อแรกประสูติ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงมีน้ำหนัก 2,680 กรัม ความยาวพระองค์ 47 เซนติเมตร รอบพระเศียร 31 เซนติเมตร ลืมพระเนตรเวลา 19.00 นาฬิกา มีพระพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง พระเนตรโต พระนาสิกโด่ง[1]
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานพระนามว่า "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ" เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และพระราชทานเสมาอักษรพระปรมาภิไธยภ.ป.ร.ทองคำ ส่วนพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชตินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาธิคุณอธิบายพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ว่า ผู้ทำประทีปคือปัญญาให้สว่างกระจ่างแจ้ง , ผู้ทำเกาะคือที่พึ่งให้รุ่งเรืองโชติช่วง
ต่อมา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เขียนพระนามของ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เป็นภาษาอังกฤษ ว่า His Royal Highness Prince Dipangkorn Rasmijoti [2]
การสมโภช
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ได้มีพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ ในพระที่นั่งอนันตสมาคม ตามพระราชประเพณี เมื่อพระเจ้าหลานเธอฯ มีพระชนมายุครบ 1 เดือน
นอกจากนี้ ในวาระที่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงเจริญพระชันษาครบ 1 ปี ในวันที่ 29 เมษายน 2549 กรมธนารักษ์ จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ชนิดราคา 50 บาท ทำด้วยทองแดงผสมนิกเกิล น้ำหนัก 21 กรัม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 36 มิลลิเมตร จำนวนผลิตไม่เกิน 500,000 เหรียญ ลวดลายด้านหน้ากลางเหรียญมีพระรูป พระเจ้าหลานเธอฯ ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ภายในวงขอบเหรียญด้านขวามีข้อความว่า "พระองค์เจ้า" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "ทีปังกรรัศมีโชติ" ด้านหลังกลางเหรียญมีข้อความว่า "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงเจริญพระชันษา 1 ปี 29 เมษายน 2549 50 บาท" ภายในวงขอบเหรียญด้านขวา มีรูปลูกไก่ยืนอยู่บนหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งสำหรับม้วนเก็บแผ่นจารึก เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย"
พระกรณียกิจ
วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เสด็จไปยังห้องสมุดฝ่ายประถมศึกษาโรงเรียนจิตรลดา เพื่อร่วมกิจกรรมงานสัปดาห์รักการอ่าน[3]
วันที่ 2 ตุลาคม ปีเดียวกันนั้น พระองค์ก็ได้รับเกียรติบัตรรพร้อมรางวัล "งานประหยัดน้ำ-ไฟ" ที่จัดขึ้นประจำในโรงเรียนจิตรลดา ด้วยพระองค์ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อพระสหาย[4]
วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ได้เสด็จไปยังสนามกีฬากลาง พื้นที่ควบคุมในพระองค์ 904 เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในการประทานถ้วยรางวัลพระราชทานและถ้วยรางวัลประทานแก่ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับประเภทต่าง ๆ ในรายการ "หนูน้อยเจ้าเวหา"[5][6]
- สโมสรผู้รักสวนสัตว์แห่งประเทศไทย
พระเกียรติยศ
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ (29 เมษายน พ.ศ. 2548 — ปัจจุบัน)พระอิสริยยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
สิ่งอันเนื่องด้วยพระนาม
- การศึกษา
- หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- หอประชุมทีปังกรรัศมีโชต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
- หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
- อาคารทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
- อาคารทีปังกรวิทยกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
- อาคารวชิรารัศมิ์ทีปังกร โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์
- ห้องสมุดทีปังกรรัศมีโชติ
- การแพทย์ และการสาธารณสุข
- อาคารสถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กปฐมวัย “ทีปังกรการุณยมิตร” สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
- อาคารทีปังกรการุณยมิตร โรงพยาบาลสาขา ศูนย์อานามัยที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
- ศูนย์พัฒนาเด็กทีปังกรรัศมีโชติ กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยทีปังกร การุณยมิตรเทศบาลตำบลงิม อำเภอปง จังหวัดพะเยา
- ศูนย์ทีปังกรพัฒนาพิพัฒน์ (ทวีวัฒนา) มูลนิธิเด็ก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
- ศาสนสถาน
- อาคารปฏิบัติธรรมทีปังกรรัศมีโชติ วัดบางไผ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
- อื่นๆ
- อุทยานการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์ ทีปังกรรัศมีโชติ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
แหล่งที่มา: http://google.co.th