หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เงินคือเศษกระดาษ!! 1,000,000,000 เพื่อแลกกับสิ่งนี้ เธอไม่ยอมขาย เพราะมีอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่า

โพสท์โดย ความภักดี


 
 หมายเหตุ : บทความนี้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2558
 
“วรรณวิทย์” โรงเรียนเล็ก หัวใจยิ่งใหญ่

“มนุษย์เกิดมาพร้อมความเห็นแก่ตัวและการแก่งแย่งชิงดี”

นัก จิตวิทยาบางกลุ่มเชื่ออย่างนั้น จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีคำตอบสำเร็จรูปว่าแท้ที่จริงแล้วสัญชาตญาณดั้งเดิม ของมนุษย์เป็นแบบไหน และเราก็คงตั้งคำถามกับมันได้อย่างไม่สิ้นสุด

...แต่เรื่องราวของ “โรงเรียนวรรณวิทย์” อาจจะทำให้เราเลิกหาคำตอบ

“โรง เรียนวรรณวิทย์” เป็นโรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก มีพื้นที่ไม่ถึง 3 ไร่ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2489 ใจกลางสุขุมวิทซอย 8 หนึ่งในทำเลที่มีค่าครองชีพสูงเป็นอันดับต้นๆ ของกรุงเทพฯ แต่น่าแปลกที่โรงเรียนแห่งนี้ เก็บค่าเล่าเรียนเทอมละ 1,702 บาท สำหรับชั้นประถม และ 1,317.50 บาท สำหรับชั้นมัธยมปีที่ 1- 3
 
 
 
 
ย้อนกลับไปเมื่อ 68 ปีที่แล้ว “หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา” มองเห็นว่า บุตรหลานของชาวบ้านละแวก นั้นไม่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้ตั้งโรงเรียนวรรณวิทย์ขึ้น โดยในช่วงแรกเป็นอาคารหลังคามุงจาก สร้างขึ้นอย่างง่ายๆ มีนักเรียนเพียง 8 คน หม่อมผิวทำหน้าที่เป็นครูใหญ่และสอนด้วยตัวเอง ไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียนในช่วงแรก

แม้ในระยะต่อมาจะมีการเรียกเก็บ ค่าบำรุงการศึกษาตามสมควร แต่ก็อนุญาตให้ค้างค่าเล่าเรียนได้ เนื่องจากผู้ปกครองเด็กส่วนมากมีความเป็นอยู่ขัดสน จะเรียกว่าเป็นโรงเรียนเอกชนเพื่อสังคมก็คงไม่ผิดนัก

โรงเรียนวรรณวิทย์ในวันนี้ ประกอบไปด้วยครู 37 คน และนักเรียน 514 คน ครูใหญ่คนปัจจุบันคือ หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ อายุ 94 ปี ลูกสาวคนสุดท้องของหม่อมผิว รับหน้าที่นี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497
 
 
 
 
 

 

แม้ท่านจะมีอายุถึง 94 ปี แต่ก็ยังเดินมาทำงานที่โรงเรียนทุกวัน ท่าทางกระฉับกระเฉงแข็งแรงเกินกว่าจะเป็นคนอายุเกือบศตวรรษ แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับสุขภาพ “ใจ” เพราะท่านจะพูดคุยตอบคำถามด้วยน้ำเสียงเป็นมิตร มีเสียงหัวเราะปิดท้ายประโยคอยู่เสมอ โดยมากแล้วท่านจะแทนตัวเองว่า “ยาย”

บรรยากาศ นอกรั้วโรงเรียนค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญของยุคสมัย จากที่มีแต่บ้านคนก็กลายเป็นย่านที่เต็มไปด้วยอาคารสำนักงาน ร้านอาหารต่างประเทศ และคอนโดมิเนียมหรู

ทว่าเกือบทุกอย่างภายในรั้ว โรงเรียนแห่งนี้ ยังคงสภาพเดิมเอาไว้เหมือนในวันแรกๆ ราวกับว่ากาลเวลาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเจตนารมณ์ดั้งเดิมของผู้ก่อตั้งได้

 

“ก็เมื่อก่อนนี้มันเป็นบ้านคน เด็กไม่มีที่จะเรียน ก็ถือว่าช่วยเด็ก ปลูกเป็นหลังคาจาก แล้วก็ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นหลังคากระเบื้อง เพราะว่าแม่ท่านเขียนเรื่องได้เงินเยอะ ท่านเขียนลงหนังสือเดลิเมล์ เขียนหนังสือขายด้วย เก็บเงินซื้อที่ดินทีละแปลงสองแปลง มาเป็นโรงเรียนได้ถึงวันนี้ก็ฝีมือท่านทั้งนั้นแหละ” ครูใหญ่รุจีสมรตอบพร้อมกับยกมือไหว้รูปหม่อมผิวบนฝาผนังในห้องพักครู

สำหรับ แฟนนวนิยายนิยายรุ่นเก่าๆ จะรู้จักหม่อมผิวในชื่อ “วรรณสิริ” อันเป็นนามปากกาที่ท่านใช้ในการประพันธ์นวนิยายหลายๆ เรื่อง แต่ที่ดังที่สุดก็เห็นจะเป็น “นางทาส” และ “วนิดา”

 

 

โรงเรียนวรรณวิทย์ตกอยู่ในสภาวะขาดทุนมาหลายปีอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยค่าเทอมอันน้อยนิดที่โรงเรียนเรียกเก็บ เทียบกับภาระต้นทุนในปัจจุบัน ครูใหญ่อธิบายว่าที่ยังยืนหยัดมาจนถึงทุกวันนี้ก็เพราะเงินทุนที่ได้มาจากบท ประพันธ์เรื่อง “วนิดา”
“วนิดาทำเงินให้ท่านเยอะเลย แต่เราเอามาใช้จ่ายหมดแล้ว ปกติค่าใช้จ่ายในโรงเรียนก็มาจากค่าเล่าเรียน แต่ทีนี้นักเรียนน้อยลง มันก็ไม่พอ เราก็ต้องเบิกมา แต่ว่ามันหมดไปแล้ว วนิดาทำเงินเป็นล้านเลย เขาเอาไปพิมพ์เป็นเล่มบ้าง ทำละครบ้าง”

บท ประพันธ์จากปลายปากกาของ “วรรณสิริ” จึงไม่ได้มีคุณค่าเฉพาะในวงการวรรณกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญ ที่ช่วยให้ลูกศิษย์วรรณวิทย์หลายต่อหลายรุ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

 

แม้ที่ผ่านๆ มาจะมีหลายคนแนะนำว่าให้ขึ้นค่าเล่าเรียนมากกว่านี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นตามยุคสมัย แต่นั่นคือสิ่งที่ขัดต่อเจตนารมณ์ดั้งเดิมของผู้ก่อตั้งโรงเรียน

“แม่ ท่านอุตส่าห์เขียนหนังสือ ค่อยๆ เก็บเงิน ซื้อที่ทำโรงเรียน อยากให้เด็กมีที่เรียน ถึงผู้ปกครองไม่ค่อยมีเงิน แต่เราต้องให้เด็กมีที่เรียนถ้าเราอยากให้เด็กได้ดี แต่ว่าเด็กที่นี่ดีนะ เขาจบไปแล้ว ก็ยังกลับมาหาโรงเรียนอยู่ เขาไม่ลืม แวะมาเยี่ยมเรื่อยๆ” ครูใหญ่ตอบพร้อมรอยยิ้มในแววตา

ไม่ใช่แค่ค่าเทอมเท่านั้น แต่ค่าครองชีพในโรงเรียนแห่งนี้ถูกคิดคำนวณมาแล้วว่าต้องอยู่ในอัตราที่ต่ำ ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นักเรียนโรงเรียนวรรณวิทย์จึงซื้อข้าวกลางวันได้ในราคาเพียงจานละ 20 บาทเท่านั้น

 

 

“ยายเก็บค่าเช่าที่ขายของในโรงอาหารวันละ 300 บาท ขายอาหารมันใช้น้ำล้างจานเยอะ เราจ่ายค่าน้ำแพงมาก แต่ไม่อยากไปเก็บค่าเช่าที่แพงๆ เพราะเขาจะได้ไม่ต้องไปขึ้นค่าอาหารเด็ก” ครูใหญ่ตอบอย่างเรียบง่าย

พื้นที่ขนาดเล็กที่รองรับนักเรียนกว่า 500 คน และในอดีตเคยมากที่สุดเกือบ 1,000 คน ทำให้ต้องใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าทุกตารางนิ้ว เวลาแปดนาฬิกาตรง สนามกีฬากลางโรงเรียนจะทำหน้าที่เป็นลานเข้าแถวเคารพธงชาติ เวลาพักกลางวัน มันจะเป็นทั้งสนามบาส สนามฟุตบอล ส่วนเสาธงก็ทำจากเสาไม้เล็กๆ ตรึงไว้กับหลังคาของอาคาร

 

 

แนวคิดในการใช้พื้นที่ของโรงเรียนเล็กๆ แห่งนี้คือ “เลือกใช้ตามความจำเป็น ภายใต้ข้อจำกัดที่มี” แม้แต่ชั้นวางของข้างโต๊ะครูใหญ่ ก็ยังถูกดัดแปลงให้เป็นสหกรณ์โรงเรียนสำหรับขายอุปกรณ์การเรียน ระหว่างที่พูดคุยกับครูใหญ่ จะมีนักเรียนเข้ามาซื้อดินสอยางลบเป็นระยะ โดยมีครูใหญ่ทำหน้าที่เป็นคนขาย ท่านยังคิดเงินได้อย่างแม่นยำ พูดคุยเป็นกันเองกับเด็กทุกคน

 

 

วรรณวิทย์ไม่มีเสียงออดไฟฟ้า แต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนคาบเรียน รองครูใหญ่จะเคาะระฆังหน้าห้องพักครูเป็นสัญญาณ เด็กๆ ก็จะทยอยเดินจากห้องนั้นไปห้องนี้ เป็นภาพที่เกิดขึ้นทุกวันที่นี่ ตั้งแต่ 68 ปีที่แล้ว

โรงเรียนแห่งนี้ไม่มีคอมพิวเตอร์ วิธีการสื่อสารที่ทันสมัยที่สุดคือระบบเสียงตามสายและไมโครโฟน กระดานดำกับชอล์กคือสื่อการเรียนการสอนอย่างเดียวที่มี โดยครูใหญ่บอกว่าครูส่วนมากมากของที่นี่อายุเกิน 60 ปีแล้ว ถึงจะไม่ใช่คนทันสมัยอะไรนัก แต่ก็ยังมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์

“ครูที่นี่อยู่ กันมานานแล้ว รองครูใหญ่ก็อายุตั้ง 81 เป็นครูกันมาตั้งกี่สิบปีแล้ว อยู่ด้วยกันมาเรื่อยๆ ส่วนครูเด็กๆ ก็จะเป็นเด็กที่จบไปจากที่นี่ ครูอาวุโสมีประมาณครึ่งนึง ที่อายุเกิน 60 ขึ้นไปจะเยอะหน่อย มีมากกว่าครูสาวๆ ก็แล้วกัน สอนกันวันละ 4 คาบ 5 คาบ พวกเรารักโรงเรียน รักวรรณวิทย์ ก็ต้องสู้ เราเกิดมาเป็นคนต้องสู้”

ครูใหญ่เน้นว่าอายุ ไม่ใช่อุปสรรคในการมาสอนหนังสือ “หัวใจ” ต่างหากที่สำคัญ เพราะถ้าไม่มีใจรัก ก็จะไม่สามารถให้ถ่ายทอดวิชาความรู้ที่ดีๆ ให้กับเด็กได้

“สอนเด็ก ต้องเป็นกันเองกับเด็ก ให้วิชาเต็มที่ อย่าเช้าชามเย็นชาม ทำหน้าที่ของตัวให้สมบูรณ์ เด็กก็จะรัก เพราะเด็กเขารู้ คนไหนดีหรือไม่ดี เพราะเขาฉลาด”

ครูของโรงเรียนวรรณวิทย์ได้ค่าตอบ แทนไม่มากนัก หากจะเปรียบเทียบกับโรงเรียนเอกชนแห่งอื่น “โรงเรียนของเราโชคดีนะ มีแต่ครูดีๆ ทั้งนั้นเลย เขาจะไปหางานที่ไหนก็ได้ ที่จ่ายเงินเดือนแพงๆ แต่ก็ยังอยู่ที่นี่”

 

 

คนทั่วไปอาจเชื่อว่าสำหรับผู้คนในวัยปลดเกษียณ คงไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการได้พักผ่อนอยู่ภายใต้ชายคาบ้านอย่างสงบ แต่การใช้ชีวิตหลังเกษียณในแบบฉบับของคุณครูโรงเรียนวรรณวิทย์ คือการเดินทางมาทำงานที่ตัวเองรักทุกวัน และได้อยู่ท่ามกลางเด็กๆ ในชั้นเรียน

ครูพิสมัย ชื่นอังกูร รองครูใหญ่ วัย 81 ปี เล่าให้ฟังว่าที่ยังมาทำงานกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เป็นเพราะความผูกพัน ตัวท่านเองทำงานที่นี่มาแล้ว 57 ปี ครูคนอื่นๆ ก็เช่นกัน ส่วนมากจะสอนมาตั้งแต่ยังเป็นสาว

ถึงแม้ว่าความคิดและพฤติกรรมของ เด็กๆ อาจเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ครูที่นี่เชื่อว่า “ลูกศิษย์ก็คือลูกศิษย์” หน้าที่อย่างหนึ่งของครูคือต้องรับผิดชอบต่ออนาคตของพวกเขา ต้องอบรมสั่งสอนอย่างเต็มที่ อย่างน้อยก็เพื่อไม่ให้นักเรียนหลงเดินทางผิด

“เห็น เด็กไปได้ดี ครูก็ดีใจ” คุณครูพิสมัยสรุป และบางทีประโยคสั้นๆ นี้อาจจะสะท้อนความหมายของการเป็นครูได้ดีที่สุด โรงเรียนเก่าแก่แห่งนี้อาจไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ สิ่งที่เราเห็นมีเพียงแค่ “ครู” ที่มีจิตวิญญาณแห่งความเสียสละอย่างเต็มเปี่ยม

คงจะไม่เป็นการกล่าวเกินไปนัก หากจะสรุปว่า สิ่งที่ประกอบกันเป็น “โรงเรียนวรรณวิทย์” ทั้งหมด คือ “ความเสียสละ” ที่จับต้องได้

ถึง ครูใหญ่จะบอกว่าโรงเรียนประสบปัญหาขาดทุนมาตลอด และเงินสำรองจากบทประพันธ์ “วนิดา” ก็ถูกนำมาใช้ในกิจการของโรงเรียนจนหมด แต่ก็ไม่เคยคิดตกลงใจยอมรับการเสนอซื้อจากนักลงทุนที่หมายตาทำเลทองแห่งนี้แม้แต่ครั้งเดียว แม้ว่าที่ดินเล็กๆ ผืนนี้จะมูลค่านับพันล้านบาท

 

“ใครมาซื้อก็ไม่ขาย จะขายทำไม มีเด็กๆ เรียนอยู่ บางคนเขายังไม่ได้บอกว่าจะซื้อเท่าไร ไม่ได้สนใจเพราะไม่ขายอยู่แล้ว ก็นี่โรงเรียนของใครล่ะ โรงเรียนของเรา ที่ดินของแม่เรา นักเรียนของเรา อนาคตของเด็กอยู่ตรงนี้ มันประเมินค่าไม่ได้หรอก”


จากคำตอบของหัวเรือ ใหญ่วัย 94 ปี แสดงให้เห็นแล้วว่า “เงิน” อาจซื้อได้ทุกอย่าง ยกเว้นโรงเรียนวรรณวิทย์ และอุดมการณ์ของครูผู้เสียสละ ถึงแม้จะประสบปัญหาขาดทุนมาตลอดจนเงินทุนสำรองจากบทประพันธ์ “วนิดา” หมดลง แต่ก็ไม่เคยล้มเลิกความตั้งใจที่อยากให้เด็กด้อยโอกาสทุกคนมีที่เรียน หนังสือ

“เงินจากวนิดาหมดแล้วนะ แต่ยังไม่คิดหรอก ยังไงยายก็จะทำโรงเรียนต่อ อะไรที่เป็นทุกข์ ไม่ต้องไปคิด นี่ไงถึงอายุยืน ถึงเวลามันอยู่ตรงหน้าแล้วเราค่อยแก้ ตอนนี้เราก็ปล่อยมันไปก่อน เรายังไม่รู้ว่าเหตุการณ์อะไรมันจะเกิดขึ้นในอนาคต เราค่อยๆ แก้ไป” ครูใหญ่ตอบพร้อมเสียงหัวเราะปิดท้ายประโยคเช่นเคย

 

 

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของโรงเรียนเล็กๆ กับภารกิจที่ยิ่งใหญ่ หัวใจของผู้คนสมัยนี้อาจแห้งแล้งและหยาบกระด้าง ด้วยว่าเราชาชินกับความเห็นแก่ตัวของเพื่อนร่วมโลก แต่อย่างน้อยที่สุด ยังมีหญิงชราหนึ่งคนที่ยินดีใช้ทั้งชีวิตของตัวเองวางเป็นเดิมพัน เพื่อประคับประคองอนาคตของเด็กๆ เอาไว้ในสองมืออย่างเต็มใจ

โฆษณาของเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ความภักดี's profile


โพสท์โดย: ความภักดี
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
116 VOTES (4/5 จาก 29 คน)
VOTED: MOS MOS, เทย์เลอร์ สวิฟต์, โยนี, เอ๋ง ไม่ดัดจริต, Lovethailand, สำนึกดีมีมั้ย..สาส, ซาอิ, บัน, Thorsten, Sakda Phuekjarone, เหม่ย อิง, ศรัญ, njack, โอคาล่ามาร์ชตื๊ดชึ่ง, ป้าสวย, CARE AND FAIR, กุ้งฝอย, ณ เหนือ, ความภักดี
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ซูเปอร์สตาร์ที่ไม่มีงานแสดง แต่เป็นเศรษฐีระดับพันล้านนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ตั้งกรรมการสอบ ปมไอลอว์ตั้งคำถามเล่มจบ ป.เอกของ "สว.สมชาย" ข้อความคล้ายหลายแหล่งเมื่อสาวเจอความทรงจำที่หายไป..มาอยู่ที่ใต้สะพานลอยสำนักงานพุทธฯ สั่งตรวจสอบ พ่อแม่ "น้องไนซ์" เชื่อมจิตเขมรเตรียมฉาย หนังบางระจันเวอร์ชั่นเขมร อ้างหมู่บ้านบางระจันมีที่มาจากกัมพูชา!😆 มาดูภาพถ่ายชีวิตในเมืองในมุมมองของช่างภาพแนว Street photo (1/2) 😉"พิชิต" แกนนำ คปท. ฉะ "สว.วันชัย" กุข่าวปฏิวัติ สร้างเกราะป้องกัน ไม่ใช่การปฏิวัติแต่ "โทนี่-ยิ่งลักษณ์" ไม่เหมือนเดิมอวัยวะร่างกายกลัวอะไรที่สุดของความพยายาม!! เมื่อคุณพ่อเผลอทำเงินตกในเครื่องทำลายเอกสาร เลยให้ลูกชายช่วยต่อให้ใหม่ใช้เวลา 3 สัปดาห์ เเละเเล้วก็สำเร็จ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ตั้งกรรมการสอบ ปมไอลอว์ตั้งคำถามเล่มจบ ป.เอกของ "สว.สมชาย" ข้อความคล้ายหลายแหล่งที่สุดของความพยายาม!! เมื่อคุณพ่อเผลอทำเงินตกในเครื่องทำลายเอกสาร เลยให้ลูกชายช่วยต่อให้ใหม่ใช้เวลา 3 สัปดาห์ เเละเเล้วก็สำเร็จดวงรายสัปดาห์ ทั้ง 7 วัน ระหว่างวันที่ 22–28 เมษายน 2567 พยากรณ์โดย อ.กุ้งพยากรณ์เปิดเผย 2 กระบวนท่าลับ ใน 10,000 กระบวนท่าต่อสู้ ของท่านปรมาจารย์ ซานกิมซอน ฝ่าเท้าโต้เงาคลื่น และ อ้อมแขนถล่มขุนเขาคดีฆ่ๅชำแหละยัดถุงดำ เป็นฝีมือชาวญี่ปุ่น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
3 จิตวิทยาที่คุณควรรู้exceed: เกิน มากกว่าผลไม้ที่ช่วยคลายร้อน ช่วยดับกระหายได้ดีTikTok เคล็ดลับปั่นคลิปปังยอดวิวหลักหมื่น
ตั้งกระทู้ใหม่