หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

จากเด็กขอทานเร่ร่อน สู่ “ดอกเตอร์”

โพสท์โดย OMGINDI

        ดอกเตอร์กองขยะ ดร.กุลชาติ จุลเพ็ญ จากเด็กขอทานเร่ร่อนสู่อาจารย์สอนวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ กับแนวคิดที่ว่า

ต้องเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนค่านิยมใหม่ อย่าไปดูถูกเด็กสายอาชีพ

อย่าให้ค่าแต่ที่ ใบปริญญา จนลืมค่าของ ใบประกาศนียบัตร

          จากเด็กขอทานเร่ร่อน จากเด็กที่คิดแค่ว่า “จะเรียนสูงๆ ไปทำไม จบแค่ ป.6 ก็พอแล้ว” จนถูกเรียกว่า “ไอ้ขี้ขโมย” เพราะครอบครัวที่แตกแยก และใช้ชีวิตเร่ร่อนมาตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ หลังจากครอบครัวแตก และวันหนึ่งแม่ได้กลับมาอยู่ด้วยกันแต่ด้วยความที่ตัวเองไม่อยากเรียนต่อ แต่ก็ไม่อยากให้แม่เสียใจจึงตั้งใจเรียนจนคะแนนดีขึ้นมาเมื่อขึ้น ป.6 เริ่มเลียนแบบเพื่อนที่ได้ที่ 1 ของห้องไม่ว่าจะเป็นการกิน มาเรียน เลิกเรียน การทำการบ้าน เป็นการลอกเลียนความขยันของคนอื่นมา จนได้โควต้าเข้าเรียนโดยไม่ต้องสอบเข้าและได้ไปอยู่ห้องคิงส์ เมื่อขึ้น ม.2 ได้มีการเลือกสาขาและสาขาที่เลือกก็คือ “สาขาช่างเชื่อม” เป็นการเลือกเรียนที่มีความสุขมากที่สุดแม้ว่าห้องนี้จะอยู่ห้องสุดท้าย การเรียนสาขานี้ก็เหมือนสาขาอื่นๆ แต่ เพิ่มวิชา “ช่างเชื่อม” เข้ามา

          จากการอยู่ห้องคิงส์ต้องแข่งกับเพื่อนร่วมห้อง เมื่อได้ย้ายมาสาขาช่างเชื่อมคนที่ต้องแข่งด้วย “แข่งกับตัวเอง”

          เหตุผลสำคัญที่ผันตัวเองจากเรียนห้องคิงส์มาเรียนช่างเชื่อม ก็เพราะตอนปิดเทอมไปช่วยแม่เก็บขยะมาขายแต่รายได้ก็ยังเท่าเดิม บางครั้งก็ได้รับบาดเจ็บกลับมาด้วย ไม่มีค่ารักษาก็ได้แค่ใส่ทิงเจอร์และกินยาทัมใจ ดร.กุลชาติ กล่าว่า “การเก็บขยะเป็นชีวิตที่เสี่ยงโชคและเสี่ยงภัยขยะเหม็นเน่าผมไม่กลัว กลัวอย่างเดียวคือกลัวการบาดเจ็บจากการเก็บขยะ แล้วมันมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและรายได้”

          หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มทำงานอยู่ที่ร้านเหล็กดัด เป็นเด็กฝึกงานแต่ก็ทำได้เพียงบางอย่างเช่น ทาสี เข้าเหล็ก ไม่สามารถทำอะไรที่เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ เครื่องไฟฟ้าหรืออ๊อกได้เลย ก็ใช้วิธีครูพักลักจำเก็บรายละเอียดแค่เพียงเพราะอยากได้ค่าแรงเท่าๆ กับพี่ๆ พี่เขาก็บอกแค่ว่า “เอ็งก็ต้องทำให้เป็น ถ้าเอ็งไม่มีประสบการณ์เอ็งก็ต้องมีวุฒิ เรื่องพวกนี้เอ็งต้องไปเรียนรู้ในโรงเรียน แต่เรื่องของประสบการณ์เอ็งมาเรียนรู้ที่ร้าน” และนั่นคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ตัดสินใจมาเรียน “ช่างเชื่อม”

          หลังจากจบ ม.3 ก็เริ่มเข้าเรียนที่วิทยาลัยเทคนิคชุมพร เด็กที่มาเรียนเทคนิคที่ผมเห็น มีทั้งคนที่ตั้งใจมาเรียน กับคนที่พ่อแม่บังคับให้มาเรียน เพราะอาชีวะให้อิสระกับเด็กมากกว่าสายสามัญ มีภาคเช้า ภาคบ่าย เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่มาเรียนได้ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย แต่เด็กที่เข้ามาเรียนโดยไม่รู้เป้าหมายของตัวเองกับกลายเป็นในทางลบกับเขากลายเป็นว่าใช้ช่องว่างตรงนั้นในแบบที่ไม่สมควรใช้ ผมบอกเลยว่านี่แหละคือสิ่งที่ภายนอกเขาเห็นแล้วไม่อยากให้ลูกเรียนอาชีวะ...จะโทษเด็กอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องโทษพ่อแม่ด้วยที่ผลักดันให้เขาไปเรียนตรงนั้น ให้เขาอยู่ไม่ถูกที่

          การเรียนอาชีวะนั้นเราไม่ได้แข่งกันเรียนเก่ง แต่เราฝึกฝนให้มีความชำนาญ ใครเก่งก็ต้องขยัน เพราะเขาวัดความสำเร็จกันที่ “ผลของงาน”

          จากตอนแรกที่ตั้งเป้าหมายไว้แค่เรียนจบแค่ ป.6 จนขยับสูงขึ้นมาเรื่อยๆ เพื่อที่จะเรียนต่อปริญญาตรีก็ต้องกู้ กยศ.และกลับมาใช้เงินกู้โดยการเป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาตรี แต่ก็ยังคงคิดต่อว่าเรียนจบป.ตรี ไปสอนป.ตรีนักศึกษาก็ไม่มั่นใจในการสอนของตัวเองแน่นอน จึงเดินหน้าเรียนต่อ ป.โท พอจบโทก็อยากหาใบรับรองจากที่อื่นที่ไม่ใช่ในประเทศ จึงเลือกที่จะเรียน Nippon Institute of Technology, Japan ในระดับปริญญาเอก

          และเลือกเรียนในสาขาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะ เพราะตลาดที่เมืองไทย รถยนต์ญี่ปุ่นเยอะที่สุด โรงงานญี่ปุ่นเยอะที่สุด บริษัทญี่ปุ่นเยอะ ถ้าจบมาแล้วเปลี่ยนใจไม่เป็นอาจารย์ก็ไม่ตกงานแน่นอน

          แต่เนื่องจากสื่อสารไม่ได้ในการอธิบายผลงานต่างๆ จึงลงมือปฏิบัติเพื่อเป็นการอธิบาย เมื่อเขาเห็นผลงาน เขาเลยพยายามที่จะสื่อสารด้วย “ผมต่างจากคนอื่นตรงที่ว่า คนไทยคนอื่นวิ่งหาเขาเพื่อไปขอความข่วยเหลือ ซึ่งคนญี่ปุ่นบอกว่าคุณต้องช่วยเหลือตัวเองก่อน เขาถึงจะช่วยคุณ แต่เข้าหาเขาโดยการเข้าไปช่วยเขา ไม่ใช่เขามาช่วยผม”

          “หลังจากเรียนจบกลับมา มีทั้งความรู้และทักษะ การเป็นครูมันทำให้ทักษะและความสามารถของผมมีค่ามากขึ้น นอกจากการให้ความรู้เด็กแล้วอีกสิ่งที่สำคัญคือ ผมอยากเปลี่ยนทัศนคติที่คนมีต่อเด็กสายอาบีพให้ได้ว่า พวกเขามีคุณภาพไม่แพ้เด็กสามัญ”

สุดท้าย ดร.กุลชาติ จุลเพ็ญ บอกว่า

เปลี่ยนค่านิยม

ปัญหาของการศึกษาตอนนี้คือการตัดสินใจเลือกเรียนครับ

การประกอบอาชีพ ในโลกใบนี้มีทั้งที่เป็น “มันสมอง” และ “ฝีมือชน”

หากลูกหลานของคุณชอบเก็บความรู้ใส่หัว แต่ไม่ถนัดทางปฏิบัติ ก็มาทางสายสามัญ

แต่เขาถนัดหรือสนใจ “สายอาชีพ” ก็ควรผลักดันให้เด็กเป็น “ฝีมือชน” ของชาติไปเลย

เลือกให้ถูกสาย และต้องเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนค่านิยมใหม่

อย่าไปดูถูกเด็กสายอาชีพ อย่าให้ค่าแต่ที่ใบปริญญาจนลืมค่าของใบประกาศนียบัตร

          ปัจจุบันบ้านเราไม่ได้เป็น “คลังสมอง” ของโลก แต่เป็น “คลังฝีมือ” ของโลก คนที่ไปออกงานสำคัญๆ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศส่วนใหญ่ คือ “ช่างฝีมือ” ทั้งนั้นนะครับ

ที่มา: คู่สร้างคู่สม
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
OMGINDI's profile


โพสท์โดย: OMGINDI
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
52 VOTES (4/5 จาก 13 คน)
VOTED: Noina stupid, Ployza, ท่านจอมพลขวัญใจมหาชน, Rinnn, Mark Za
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
10 อาหารไม่เข้าคู่ อย่ากินพร้อมกันจะดีเกิดเหตุกราดยิงบนถนนในรัฐโอไฮโอชายผู้ที่ถูกรางวัลสูงที่สุดในไทยสาวกังวลหลังลูกที่คลอดออกมาตาเล็กมาก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
การจัดการภัยพิบัติยั่งยืน (Sustainable Disaster Management)...How to ?กาซาเผชิญภาวะขาดสารอาหารขั้นรุนแรงเราใช้ชีวิตคุ้มค่าแค่ไหน?เกอิชา ศิลปินแห่งมหรสพ ไม่ใช่อาชีพอย่างว่า!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ความรัก, ประสบการณ์ชีวิต
10 วิธีมูฟออนให้ได้แนวคิดรับมือกับความเสียใจจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีต!ไม่รู้เเต่มั่น!! เมื่อมีคนเข้าใจผิดว่าป้ายตกเเต่งรถคำว่าเเท็กซี่ เป็นรถเเท็กซี่จริง ๆ เเล้วเอามาโพสต์เหน็บในกลุ่ม งานนี้โดยชาวเน็ตฟาดกลับจนจุกเมื่อฉันรับบทเป็น call center
ตั้งกระทู้ใหม่