เทพแห่ง "โอลิมปัส"
สภาเทพแห่ง "โอลิมปัส"
กำเนิดของซูส
ตำนานการถือกำเนิดของเทพซูสมีอยู่ว่า เทพีไกอาเทพมารดาแห่งผืนดิน ได้สมรสกับเทพยูเรนัสเทพแห่งท้องฟ้า และมีบุตรกลุ่มแรกคือ เหล่าเทพไททันซึ่งสร้างความภาคภูมิแก่เทพยูเรนัสมาก แต่ทว่าบุตรต่อๆมาของเทพีไกอากลับอัปลักษณ์และน่ากลัว เช่น ยักษ์ไซคลอปส์ที่มีตาข้างเดียวกลางใบหน้า และอสุรกายน่าเกลียดต่างๆ ทำให้เทพยูเรนัสพิโรธโยนบุตรเหล่านั้นลงไปขังในคุกทาร์ทะรัสใต้พิภพ
เทพีไกอาแค้นเทพยูเรนัสมากจึงยุยงให้เหล่าเทพไททันก่อกบฏ ไม่มีเทพองค์ใดที่กล้าชิงบัลลังก์พระบิดายกเว้นเทพโครนัส และจากการช่วยเหลือจากเทพีไกอาทำให้เทพโครนัสชิงอำนาจได้สำเร็จ ทว่าเทพโครนัสไม่ได้ทำตามสัญญาที่จะปลดปล่อยอสูรผู้เป็นน้อง เทพีไกอาจึงสาปแช่งว่าบุตรที่จะเกิดมาของโครนัสจะชิงอำนาจไปเหมือนกับที่บิดาเคยทำ
เทพโครนัสตระหนักมากเพราะหลังจากนั้นไม่นาน เทพีรีอา พระชายาก็ตั้งครรภ์ เมื่อได้ข่าวการประสูติ เทพโครนัสจึงบุกเข้าไปในตำหนักพระชายาและจับทารกผู้เป็นสายเลือดของตนกลืนลงท้องไป และครรภ์ต่อๆมาของเทพีรีอาก็เช่นกัน ส่งผลให้เทพีรีอาเศร้าเสียใจอย่างมาก
โครนัสให้กำเนิดบุตรและธิดารวมหกองค์ คือ เฮสเทีย เฮดีส ดีมิเตอร์ โพไซดอน เฮรา ซูส ซึ่งพอกำเนิดมาได้ถูกโครนัสจับกลืนลงท้องไปแต่เนื่องด้วยซูสหนีออกมาได้ จึงรอให้ตัวเองโตแล้วกลับมาช่วยอีก 6 องค์ในภายหลัง เนื่องจาก เฮสเทีย เฮดีส ดีมิเตอร์ โพไซดอน และเฮรา เป็นเทพจึงไม่ตายตอนอยู่ในท้องของโครนัส
กำเนิดของฮีรา
ฮีราเป็นบุตรองค์ที่ 3 ของโครนัสและรีอา พระนางถูกโครนัสกลืนลงท้องไปตั้งแต่เพิ่งถือกำเนิดเนื่องจากคำสาปของไกอาที่ว่าบุตรของโครนัสจะโค่นอำนาจของโครนัสเหมือนกับที่โครนัสได้โค่นอำนาจของยูเรนัส แต่ต่อมาเทพีรีอาได้ซ่อนซีอุสผู้เป็นบุตรองค์สุดท้องไว้และนำซีอุสกลับมาเพื่อแก้แค้นโครนัส และนำพี่ๆที่ถูกกลืนเข้าไปอยู่ในท้องของโครนัสออกมา เทพีฮีราจึงปรากฏกายขึ้น
เชื่อกันว่าเทพีฮีราถูกเลี้ยงดูมาโดยไททันทีธิส และมหากาพย์อิเลียด ในครั้งที่ฝ่ายทรอยกำลังได้เปรียบเพราะซูสได้หนีจากเขาโอลิมปัสไปยังเขาไอดาเพื่อให้การช่วยเหลือชาวทรอย ฮีราได้อ้างว่าจะไปพบกับเทพีทีธิส เพื่อจะได้ขอยืมเครื่องแต่งกายที่สวยที่สุดจากอะธีน่าและสร้อยคอแห่งความปรารถนาจากอะโฟรไดท์ไปใช้ในการล่อลวงให้ซูสหันเหความสนใจจากสงครามแห่งทรอย เปิดทางให้โพไซดอนได้นำกำลังไปถล่มชายฝั่งทรอย
โครนัส
ไททันโครนัสหรือเทพโครนอส (Cronos หรือ Kronos) เป็นผู้นำและไททัน (Titan) รุ่นแรกที่มีอายุน้อยที่สุด ซึ่งเป็นทายาทของเทพีจี (Gaea) พระแม่ธรณี และเทพยูเรนัส (Uranus) เทพแห่งท้องนภา เทพโครนัสได้ทำการโค่นบัลลังก์ของพระบิดาเทพยูเรนัส และขึ้นครองบัลลังก์ในช่วงยุคทอง
หลังจากถูกจีผู้มารดาสาบแช่ง โครนัสตระหนกมากเพราะหลังจากนั้นไม่นาน เทพีรีอา พระชายาก็ตั้งครรภ์ เมื่อได้ข่าวการประสูติ เทพโครนัสจึงบุกเข้าไปในตำหนักพระชายาและจับทารกผู้เป็นสายเลือดของตนกลืนลงท้องไป และครรภ์ต่อๆ มาของเทพีรีอาก็เช่นกัน ส่งผลให้เทพีรีอาเศร้าเสียใจอย่างมากความคับแค้นใจทำให้เทพีรีอาตัดสินใจเก็บบุตรคนสุดท้องเอาไว้ โดยแสร้งส่งก้อนหินห่อผ้าให้เทพโครนัสไป ทารกซุส (Zeus) ถูกเลี้ยงดูอย่างดีโดยเหล่าชนเผ่า จนเติบใหญ่แข็งแรงและหวนกลับไปตามคำร้องขอของมารดา
เทพโครนัสพ่ายแพ้แก่บุตรตามคำทำนาย แต่ไม่ได้ถูกจองจำในตรุทาร์ทารัสเหมือนไททันตนอื่นๆ แต่เขากลับหลบหนีไปหลังจากถูกบังคับให้สำรอกบุตรที่เคยกลืนออกมา ด้วยความเป็นเทพเจ้าทำให้เหล่าเทพที่ถูกกลืนลงไปไม่ตายซ้ำยังเติบโตขึ้น เรียงลำดับได้ดังนี้
1.เทพฮาดีสหรือพลูโต จ้าวแห่งยมโลก เป็นผู้ปกครองพิภพบาดาลและโลกคนตาย มีเทพีเพอร์ซิโฟเนธิดาเทพีเซเรสเป็นมเหสี
2.เทพโปเซดอนหรือเนปจูน จ้าวแห่งท้องทะเล ปกครองน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียนและน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้ มีเทพีแอมฟิไทร์หรือ อัมฟิตรีติ เป็นมเหสี
3.เทพีดิมิเทอร์หรือเซเรส เทพีแห่งพันธุ์พืช ธัญญาหารและการเพาะปลูก มีธิดากับเทพซุสหนึ่งองค์คือ เทพีเพอร์ซิโฟเน
4.เทพีเฮราหรือจูโน เทพีแห่งการสมรส เป็นมเหสีของเทพซุส ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องหึงหวง มีโอรสและธิดากับเทพซุส 3 องค์คือ เฮฟเฟสตุส ฮีบีกับ อาเรส
ด้วยเหตุที่ว่าเทพโครนัสมีความเกี่ยวเนื่องกับยุคทอง เขาจึงได้รับการสักการะในฐานะเทพแห่งฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งรวมไปถึงการเก็บเกี่ยวพืชผลเช่น ข้าว ธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตร และการเดินไปข้างหน้าของกาลเวลาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ภาพของเทพโครนัสมักถือเคียวไว้ในมือ ซึ่งพระองค์ใช้ในการเก็บเกี่ยวพืชผล และเป็นอาวุธที่พระองค์ใช้โค่นบัลลังก์เทพยูเรนัส ในกรุงเอเธนส์ (Athens) วันที่ 12 ของทุกๆ เดือน ถูกเรียกว่าวันฮีคาทอมบาเอียน (Hekatombaion) ซึ่งจะมีงานเทศกาลชื่อว่า เทศกาลโครเนีย (Kronia) จะจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เทพโครนัสสำหรับฤดูเก็บเกี่ยว พระนามของเทพโครนัส
อพอลโล
เฮอร์มีสมีชื่อในตำนานเทพเจ้าโรมันว่า เมอร์คิวรี่ เป็นเทพผู้คุ้มครองเหล่านักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจรผู้เร่ร่อน กวี นักกีฬา นักประดิษฐ์ และพ่อค้า อาจเรียกได้ว่า เฮอร์มีสเป็นเทพแห่งการสื่อสารมีของวิเศษคือหมวกและรองเท้ามีปีก บุตรของเฮอร์มีส ได้แ่ก่ เทพแพน(Pan) เทพเฮอร์มาโฟรไดทัส(Hermaphroditus) และเทพออโตไลคัส(Autolycus)
เมอร์คิวรี่ หรือ เฮอร์มีส เป็นเทพที่มีผู้รู้จักมาก เนื่องจากมีรูปปรากฏคุ้นตามากกว่าเทพองค์อื่นๆ คนมักนำรูปเทพองค์นี้ หรืออย่างน้อยก็ของวิเศษอย่างหนึ่ง คือ รองเท้ามีปีก มาแสดงเป็นเครื่องหมายถึงความเร็ว นอกจากรองเท้าแล้ว หมวกและไม้ถืออันศักดิ์สิทธิ์ ทำให้เวลาเดินทางจะไปอย่างรวดเร็ว ว่ากันว่า ไปเร็วเพียงความคิด ทีเดียว
สำหรับหมวกและรองเท้ามีปีกของเฮอร์มีสนั้นเรียกว่า เพเตซัส(Petasus) และทาลาเรีย(Talaria) เป็นของที่ได้รับประทานจากซูสเทพบิดาซึ่งโปรดให้เฮอร์มีสเป็นเทพพนักงานสื่อสารประจำพระองค์ ส่วนไม้ถือศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า คาดูเซียส(Caduceus) เดิมเป็นของเทพอพอลโลใช้ต้อนวัวควายในครอบครอง ครั้งหนึ่งเฮอร์มีสขโมยวัวของอพอลโลไปซ่อน อพอลโลรู้ระแคะระคายดังนั้นจึงมาทวงถามให้เทพภราดรคือวัวแก่เธอ
เฮอร์มีสยังเยาว์อยู่ กลับย้อนถามว่าวัวอะไรที่ไหนกันไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยิน อพอลโลจึีงไปฟ้องร้องต่อเทพบิดาซูสให้ไกล่เกลี่ยให้เฮอร์มีสคืนวันให้ ต่อมาอพอลโลได้วัวคืนแล้วก็ไม่ถือโทษเทพผู้น้อง แม้ว่าวัวจะขาดจำนวนไป 2 ตัว เพราะเฮอร์มีสเอาไปทำเครื่องสังเวยเสียแล้วก็ตาม อพอลโลเห็นเฮอร์มีสมีพิณคันหนึ่งเรียกว่า ไลร์ เป็นของที่เฮอร์มีสประดิษฐ์ขึ้นเองด้วยเอ็นวัวขึงกับกระดองเต่าก็อยากได้จึงเอาไม้คาดูเซียสไปขอแลก ไม้ถือคาดูเซียสจึงเป็นของเฮอร์มีสด้วยเหตุนี้และถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของเฮอร์มีสแต่ครั้นนั้น
ไม้คาดูเซียส นี้แต่เดิมเป็นไม้ถือมีปีกเพียงเท่านั้น ต่อมาเฮอร์มีสถือไปพบงู 2 ตัว กำลังต่อสู้กัน เฮอร์มีสเอาไม้ทิ่มเข้าไประหว่างกลางเพื่อห้ามการวิวาท งูก็เลื่อยขึ้นมาพันอยู่กับไม้โดยหันหัวเข้าหากัน ตั้งแต่นั้นมางูนี้ก็พันอยู่กับไม้ถือคาดูเซียสตลอดมา และไม้ถือคาดูเซียสก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย ภายหลังได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของวงการแพทย์มาจนบัดนี้
เฮอร์มีสไม่แต่จะเป็นเทพสื่อสารของซูสเท่านั้น หากยังเป็นเทพครองการเดินทาง การพาณิชย์ และตลาด เป็นที่บูชาของพวกหัวขโมยและมีหน้าที่เป็นมัีคคุเทศก์คอยนำวิญญาณคนตายไปสู่ยมโลกด้วย จนได้รับนามอีกชื่อหนึ่งว่า ไซโคปอมปัส(Psychopompus) สรุปว่าการสื่อสารและการเป็นคนกลางในกิจการทุกอย่างตกเป็นภาระของเฮอร์มีสหรืออยู่ในความสอดส่องทั้งสิ้น ส่วนการที่เฮอร์มีสเป็นที่นับถือบูชาของพวกขโมยก็คงเนื่องจากการขโมยวัวของอพอลโลนั่นเอง
สิ่งที่น่าแปลกประการหนึ่งในตัวเฮอร์มีสก็คือ แม้ว่าจะเป็นโอรสของซูสเทพบดีกับนางไมอา ซึ่งเป็นอนุ แต่ทว่าทรงเป็นโอรสองค์เดียวของซูสที่ราชินีขี้หึงเทพีฮีร่าไม่เกลียดชัง กับเรียกหาให้เฮอร์มีสอยู่ใกล้ๆ เสมอ
เทพีอาร์ทีมิส ทันทีที่ลืมตาดูโลก เธอก็ร้องขออาภรณ์แห่งนักล่าสัตว์จากเสด็จพ่อของเธอและท่านก็ประทานคันธนูทองพร้อมกระบอกธนู ซึ่งเธอได้ใช้ประหัตประหารในการผจญภัยครั้งแรกๆ ร่วมกับแฝดอพอลโล ซึ่งหลังจากนั้นอาร์ทีมิสก็เลิกราชการออกผจญภัยโดยเด็ดขาด และพึงพอใจที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศทุรกันดารในป่าดิบคาเดีย แห่งอาร์คาเดีย และตั้งปณิธานที่จะกลายเป็นผู้อนุรักษ์ธรรมชาติที่นั้น
นางกำนัลที่ล้อมกายของเธอที่ได้รับการเลือกสรรแล้วนั้น คือ นางไม้ 12 ตนซึ่งมีหน้าที่ดูแลฝูงหมาล่าเนื้อที่ดุร้ายของเธอ นอกเหนือจากปณิธานในการให้ความอุดมสมบูรณ์กับสิ่งต่างๆ แล้ว สิ่งที่อาร์ทีมิสรักมากก็คือธรรมชาติและการกีฬาทุกชนิด เธอไม่มีเวลาให้เพศตรงข้าม เพราะเธอหวงแหนพรหมจารีของตนอย่างยิ่ง ทั้งไม่ยอมให้ข้าราชบริพารรอบข้างประพฤติเรื่องกามวิสัียอีกด้วย
เมื่อครั้งหนึ่งนางไม้ คัลลิสโต(Callisto) ซึ่งอยู่ในหมู่นางกำนัลของเธอยินยอมให้ซูสมามีสัมพันธ์สวาทด้วย อาร์ทีมิสถึงกับบันดาลโทสะตามล่าตามล้างนางไม้ตนนั้น ซูสเองก็พยายามป้องกันคัลลิสโตจากความโกรธเกรี้ยวของลูกสาว โดยเปลี่ยนนางให้เป็นหมี แต่ก็ไม่อาจห้ามโทสะของอาร์ทีมิสให้อ่อนลงได้ ในที่สุดนางหมีก็ถูกหมาล่าเนื้อรุมล้อมฉีกเนื้อและอาร์ทีมิสก็ประหารนางด้วยคมธนูของเธอเอง
อาร์ทีมิสเป็นผู้สร้างให้กฏของความงามและความบริสุทธิ์ของป่าแต่จะบันดาลความโหดร้ายต่อคนที่กล้าขัดขืน
ชายคนใดที่บังเอิญได้เห็นเธอวิ่งนำหน้านางไม้ 12 ตน ล้อมรอบด้วยหมาล่าเนื้อวิ่งเวียนเห่า ยามที่เธอยกคันธนูขึ้นเล็งกวางตัวงาม ควรจะรีบหลบตามองไปทางอื่นก่อนที่อาร์ทีมิสจะหันมาเห็นประกายตาที่เต็มไปด้วยอารมณ์ปรารถนาอันมิอาจซ่อนเร้น ความสง่าและความงามของเธอ คือ สัญลักษณ์ของความลึกลับของผู้หญิง ซึ่งผู้ชายชอบตามล่าอยู่เสมอ
ในฐานะของเทพีผู้รักษาบ้าน พระนางเป็นผู้ที่สร้างบ้านขึ้นเป็นคนแรก วิหารของพระนางอยู่ที่กรุงโรม ซึ่งจะได้รับการบวงสรวงจากสาวพรหมจารี พระนางมีสัญลักษณ์เป็นไฟอันเป็นนิรันดร
กระนั้นเจ้าแม่ก็ไม่ลดละความพยายาม คงดั้นด้นเรียกหาธิดาไปตามทาง มิได้ห่วงถึงภาระหน้าที่ประจำที่เคยปฏิบัติแต่อย่างใด ดอกไม้ทั้งปวงจึงเหี่ยวเฉาเพราะขาดฝนชะโลมเลี้ยง พืชพันธุ์ธัญญาหารถูกแดดแผดเผาจนเหี่ยวเฉา ในที่สุดเจ้าแม่ก็สิ้นหวัง ลงนั่งพักที่ริมทางแล้วร้องไห้อย่างคร่ำครวญ
เวลาผ่านไปเมื่อได้รู้ถึงที่อยู่ของธิดาดังนี้แล้วเจ้าแม่ดีมิเตอร์จึงรีบไปอ้อนวอนเทพปริณายกให้ช่วย ซูสอนุโลมตามคำวอนขอ โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าเพอร์ซิโฟเน่ไม่ได้เสพเสวยสิ่งใดในระหว่างที่อยู่บาดาล จะให้ฮาเดสส่งเพอร์ซิโฟเน่ขึ้นมาอยู่กับมารดา แล้วมีเทวบัญชาให้เฮอร์มีสลงไปสื่อสารแก่ฮาเดสในยมโลก เจ้าแดนบาดาลจำต้องยอมโอนอ่อนจะส่งเพอร์ซิโฟเน่คืนสู่ดีมิเตอร์แต่ในขณะนั้นภูตครองความมืดแอสกัลละฟัส(Ascallaphus) ร้องประกาศขึ้นว่า ราชินีแห่งยมโลกได้เสวยเมล็ดทับทิมแล้ว 3 เมล็ด ในที่สุดจึงตกลงกันเป็นที่ยุติว่า ในปีหนึ่งๆ ให้เทพีเพอร์ซิโฟเน่อยู่กับฮาเดสในยมโลก 3 เดือน สำหรับเมล็ดทับทิมที่เสวยเมล็ดละเดือนแล้วให้กลับขึ้นมาอยู่กับมารดาบนพิภพอีก 3 เดือนสลัีบกันอยู่ทุกปีไป
ด้วยเหตุนี้เมื่อเทพีเพอร์ซิโฟเน่อยู่กับมารดา โลกจึงอยู่ในระยะกาลของวสันตฤดู พืชพันธุ์ธัญญาหารนานาชนิดผลิดอกออกผล และเมื่อเทพีเพอร์ซิโฟเน่ลงไปอยู่ในบาดาล โลกก็ตกอยู่ในระยะกาลของเหมันตฤดู พืชผลทั้งปวงร่วงหล่นซบเซา อันเป็นความเชื่อของชาวกรีกและโรมันโบราณ