หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ยศ จักรพรรด์ เจ้าหญิง เจ้าชาย โชกุน ญี่ปุ่น

โพสท์โดย แพงพวย

 


การขัดเลือก นางใน และนางกำนัลจีน 

https://board.postjung.com/741616.html

ฮ่องเต้ องค์ชาย ราชวงชิง

https://board.postjung.com/741243.html

ตำแหน่ง นางใน องค์หญิง มเหสี จีน

https://board.postjung.com/741609.html

 

 

จักรพรรดิและเชื้อพระวงศ์



เทนโน (てんのう, 天皇) จักรพรรดิ
     ญี่ปุ่นนั้นมีจักรพรรดิซึ่งมีความเชื่อ และ ได้รับความเคารพในฐานะร่างอวตารของเทพเจ้า สืบเชิ้อสายมาจากเทดวงอาทิตย์ "อามาเทราสึ" มาปกครองประชาชน เทนโน มีความหมายว่า เทพเจ้าที่มาจากสวรรค์ ซึ่งก็หมายความถึงองค์จักรพรรดิซึ่งเป็นผู้ปกครองสูงสุดแห่งญี่ปุ่นนั่นเอง 

โทกู (とうぐう, 東宮) หรือ โคไทชิ (こうたいし, 皇太子)องค์ชายรัชทายา
    องค์ชายรัชทายาท โอรสในองค์จักรพรรดิ ในสมัยเฮอัน ส่วนมากจะเรียกว่า โทกู ซึ่งหมายถึงวังตะวันออก ที่ประทับขององค์ชายรัชทายาท 

โทกูฮิ (とうぐうひ, 東宮妃) หรือ โคไทชิฮิ (こうたいしひ, 皇太子妃)

พระชายาในองค์ชายรัชทายาท
     ตำแหน่งพระชายาในองค์ชายรัชทายาท ในสมัยเฮอัน ส่วนมากจะเรียกว่า โทกูฮิ ที่แปลว่า พระชายาแห่งวังตะวันออก บางครั้งอาจเรียกว่า มิยาซึนโดโคะโระ (みやすんどころ, 御息所) แทนคำเรียกตามตำแหน่งก็ได้

 

ชินโน (しんのう, 親王) ตำแหน่งองค์ชาย
     องค์ชาย ส่วนมากพระโอรสในองค์จักรพรรดิ หรือพระเชษฐาและพระอนุชาในองค์จักรพรรดิ จะได้รับแต่งตั้งตำแหน่งนี้ โดยตำแหน่งพระชายาในชินโน จะเรียกว่า ชินโนฮิ (しんのうひ, 親王妃) หรือเรียกว่า

มิโกะ โน มิเมะ (みこのみめ, 皇子妃) ซึ่งหมายถึง พระชายาขององค์ชาย ชินโนมีระดับตั้งแต่ 1 พิน (一品) ถึงระดับ 4 พิน (四品) หรืออาจจะไม่มีระดับ (無品) ก็ได้ 

 

ไนชินโน (ないしんのう, 内親王) ตำแหน่งองค์หญิง 
      ฮิเมะมิโกะ (ひめみこ, 皇女) คำว่า ไน (内) หมายถึง อยู่ภายใน, ข้างใน ไนชินโนจึงเป็นตำแหน่งองค์หญิง ซึ่งอาศัยอยู่ภายในวังหลวง จนกว่าจะแต่งงาน ส่วนมากพระธิดาในองค์จักรพรรดิ หรือพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาในองค์จักรพรรดิ จะได้รับแต่งตั้งตำแหน่งนี้ มีระดับตั้งแต่ 1 พิน ถึงระดับ 4 พิน หรืออาจจะไม่มีระดับเช่นเดียวกับชินโน

 

  ในช่วงต้นของสมัยเฮอันเป็นต้นมา เริ่มมีการใช้ระบบการประกาศแต่งตั้งชินโน และไนชินโนอย่างเป็นทางการ เรียกว่า ชินโนเซนเกะ (しんのうせんげ, 親王宣下) ส่วนมากพระโอรสหรือพระธิดาในองค์จักรพรรดิที่พระมารดามีฐานันดรศักดิ์ตำแหน่งสูงหรือเป็นที่โปรดปราน มักจะได้รับประกาศแต่งตั้ง มีตำแหน่งชินโนหรือไนชินโนได้ ส่วนพระโอรสหรือพระธิดาที่ไม่ได้รับประกาศแต่งตั้ง อาจจะได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งอื่น หรือให้เป็นสามัญชนรับราชการขุนนางหรือทหารและใช้โคชินชิเซย์ (こうしんしせい, 皇親賜姓) นามตระกูลพระราชทาน เพื่อบ่งบอกว่าสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ พระโอรสหรือพระธิดาเหล่านี้เรียกว่า โชโอว (しょおう, 諸王) มีความหมายว่า เหล่าเชื้อพระวงศ์อีกมากมาย สามารถมีชีวิตเป็นของตนเองได้ โคชินชิเซย์ของโชโอวเหล่านี้ได้แก่ เครือตระกูลมินาโมโตะ (みなもとじ, 源氏)

 



โอว (おう, 王) เชื้อพระวงศ์ชาย 
     ตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ชาย มักแต่งตั้งให้กับพระโอรสในโทกู พระโอรสในชินโน พระโอรสในโอว หรือทายาทชายของลูกหลานในองค์จักรพรรดิ โดยตำแหน่ง พระชายาในโอว จะเรียกว่า โอวฮิ (おうひ, 王妃)  

 

โจโอว (じょおう, 女王) ชื้อพระวงศ์หญิง
     ตำแหน่งเชื้อพระวงศ์หญิง มักแต่งตั้งให้กับพระธิดาในโทกู พระธิดาในชินโน พระธิดาในโอว หรือทายาทหญิงของลูกหลานในองค์จักรพรรดิ

   ประเทศญี่ปุ่นมีการนับถือเทพเจ้าในศาสนาชินโต (神道) มาตั้งแต่สมัยก่อน และจักรพรรดิในสมัยเฮอันได้มีการให้ความสำคัญกับศาสนาเป็นอย่างมาก โดยการแต่งตั้งเชื้อพระวงศ์หญิงระดับไนชินโนหรือโจโอวที่มีสายเลือดใกล้ชิดจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน เป็นตัวแทนจักรพรรดิในการบรวงสวงและรับใช้เทพเจ้า เรียกว่า ไซโอว (さいおう, 斎王) โดยจะคัดเลือกรัชสมัยละ 2 คน ไซโอวจะต้องเป็นหญิงพรหมจารีย์ ยังไม่แต่งงาน และต้องทำหน้าที่อยู่ที่ศาลเจ้าตลอดจนหมดรัชสมัย เมื่อจักรพรรดิองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ก็จะทำการคัดเลือกคนใหม่ไปแทน ไซโอวคนเก่าก็สามารถกลับมาเมืองหลวงและใช้ชีวิตเช่นเดิมได้



ไซกู (さいぐう, 斎宮)
     หรือเรียกว่า อิทสึกิ โน มิยะ (いつきのみや) ตำแหน่งของไซโอวที่เดินทางไปบรวงสวงและรับใช้เทพเจ้าที่ศาลเจ้าใหญ่อิเสะ (伊勢神宮) ซึ่งเชื่อว่า มีเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ผู้ยิ่งใหญ่ อามาเทราสึ โอวมิคามิ (天照大御神) ประทับอยู่

ไซอิน (さいいん, 斎院)
     หรือเรียกว่า อิทสึกิ โน อิน (いつきのいん) เป็นตำแหน่งที่เริ่มมีในสมัยเฮอัน ตำแหน่งของไซโอวที่เดินทางไปบรวงสวงและรับใช้เทพเจ้าที่ศาลเจ้าคาโมะ (賀茂神社) ซึ่งเชื่อว่า มีเทพเจ้าประทับอยู่ 3 องค์ ได้แก่ 1) เทพคาโมะทาเคทสึโนมิ (賀茂建角身命) ผู้เป็นบิดาของ 2) เทพทามะโยริฮิเมะ (玉依姫命) ซึ่งเป็นมารดาของ 3) เทพคาโมะวาเคะอิคาซึจิ (賀茂別雷命)

 โดยปกติลูกหลานขององค์จักรพรรดิจะสืบเชื้อสายผ่านทางเชื้อพระวงศ์ชาย โดยเชื้อพระวงศ์ชั้นที่ 2-5 (ตั้งแต่พระนัดดาในองค์จักรพรรดิเป็นต้นไป) ทั้งหมดจะมีตำแหน่งเป็นโอว หรือโจโอว ซึ่งความเป็นเชื้อพระวงศ์สืบทอดจะสิ้นสุดในชั้นที่ 5 หากมีทายาทต่อในชั้นที่ 6 ก็จะถือเป็นสามัญชน ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์และไม่มีฐานันดรศักดิ์เป็นโอว หรือ โจโอว อีกต่อไป

แต่ตั้งแต่ปลายสมัยนาระตลอดมาจนถึงปลายสมัยเฮอัน ได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง พระโอรสและพระธิดาในองค์จักรพรรดิมีมากขึ้น ทำให้เชื้อพระวงศ์ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การคลังเริ่มมีปัญหา ที่สำคัญคือความบาดหมางภายในเชื้อพระวงศ์ก็เริ่มมากขึ้น จึงได้เริ่มมีการลดจำนวนเชื้อพระวงศ์ลง ซึ่งเรียกว่า ชินเซคิโคกะ (しんせきこうか, 臣籍降下) โดยการให้เชื้อพระวงศ์ที่มีอายุได้ 15 ปี ซึ่งมีสายเลือดห่างจากจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน หรือเชื้อพระวงศ์ชั้นที่ 2-5 บางกลุ่มลาออกจากฐานันดรศักดิ์มาเป็นสามัญชน ให้รับราชการขุนนางหรือทหาร และใช้โคชินชิเซย์สืบตระกูลต่อ อาจจะเป็นบัญชาจากจักรพรรดิหรือเชื้อพระวงศ์เป็นผู้ขอออกจากฐานันดรศักดิ์เองก็ได้ เชื้อพระวงศ์เหล่านี้เรียกว่า โชโอว ได้เช่นกัน ความเคารพนับถือตามฐานันดรยังมีอยู่เช่นเดิม เป็นการลดอำนาจเชื้อพระวงศ์ลงส่วนหนึ่ง โคชินชิเซย์ที่พระราชทานเมื่อทำชินเซคิโคกะ เช่น
เครือตระกูลมินาโมโตะ (みなもとうじ, 源氏) ส่วนมากพระราชทานให้กับเชื้อพระวงศ์ชั้นที่ 2
เครือตระกูลไทระ (たいらうじ, 平氏) ส่วนมากพระราชทานให้กับเชื้อพระวงศ์ชั้นที่ 3
เครือตระกูลทาจิบานะ (たちばなうじ, 橘氏)
เครือตระกูลอาริวาระ (ありわらうじ, 在原氏)
เครือตระกูลคิโยฮาระ (きよはらうじ, 清原氏) เป็นต้น 

 

 

 

 

เก็นเปย์โทวคิสึ (げんぺいとうきつ, 源平藤橘) หรือเครือตระกูลทั้ง 4 ที่ยิ่งใหญ่ในสมัยเฮอัน ได้แก่ มินาโมโตะ ไทระ ฟูจิวาระ และทาจิบานะ โดยฟูจิวาระเป็นเครือตระกูลเดียวที่ไม่ได้สืบสายจากจักรพรรดิหรือเชื้อพระวงศ์ แต่เป็นเครือตระกูลขุนนางที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมีอำนาจมากในราชสำนักและเป็นพระญาติผ่านทางจักรพรรดินีที่ส่วนใหญ่มักเป็นบุตรสาวของเครือตระกูลฟูจิวาระ หลังสมัยเฮอันเครือตระกูลเหล่านี้ได้แตกสายเป็นตระกูลย่อยหรือตระกูลใหม่อีกมากมาย ยกเว้นเพียงเครือตระกูลทาจิบานะที่ไม่มีการแตกสายเป็นตระกูลใหม่อย่างชัดเจน สนใจดูการแตกสายเป็นตระกูลนักรบของแต่ละเครือตระกูลบางส่วนได้

 

ขุนนางสมัยเฮอันของญี่ปุ่น

 สภาของราชสำนักญี่ปุ่นนั้นเรียกว่า ไดโจวคัน (だいじょうかん, 太政官) ซึ่งขุนนางระดับสูงที่มีอำนาจในไดโจวคันหรือที่เรียกว่า คุเกียว (くぎょう, 公卿) นั้น จะต้องมาจากคุเกะ (くげ, 公家) หรือเครือตระกูลชนชั้นสูง (เก็นเปย์โทวคิสึ ก็เป็นหนึ่งในนั้น) และต้องเป็นโดโจวเคะ (どうじょうけ, 堂上家) ซึ่งเป็นคุเกะที่สามารถนั่งบนพื้นร่วมกับองค์จักรพรรดิได้ คุเกียวและตำแหน่งขุนนางระดับสูงที่สำคัญมีดังนี้

 

จักรพรรดินี พระชายา และพระสนม

 โคคิว (こうきゅう, 後宮) หรือวังหลังของจักรพรรดิญี่ปุ่น ในวังหลังของญี่ปุ่นนั้นไม่มีมหาดเล็กหรือขันทีเหมือนเกาหลีหรือจีน การงานต่างๆ ทั้งหมดในวังหลังเป็นหน้าที่ของนางข้าหลวง ดังนั้นถ้าไม่นับพระโอรสหรือพระธิดาที่ยังไม่ได้แต่งงานแล้ว ผู้ที่อยู่ในวังหลังนี้จะเป็นสตรีทั้งหมด

 

 

ไทโคไทโกว (たいこうたいごう, 太皇太后) พระอัยยิกา
     ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 2 ขั้น หรือเป็นพระอัยยิกาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน อาจจะมีฐานะเป็นพระอัยยิกาแท้ๆ หรือพระอัยยิกาเลี้ยงของจักรพรรดิก็ได้

 

 

โคไทโกว (こうたいごう, 皇太后) พระมารดาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน 
     ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 1 ขั้น หรือตำแหน่งพระมารดาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน ถ้าจักรพรรดิองค์ปัจจุบันไม่ได้เป็นพระโอรสที่เกิดแต่จักรพรรดินีองค์ก่อน พระมารดาจะมีตำแหน่งเป็นโคไทฮิ (こうたいひ, 皇太妃) หรือโคไทฟูจิน (こうたいふじん, 皇太夫人) ก่อน ซึ่งส่วนมากมักจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นโคไทโกวในภายหลัง ในรัชสมัยนั้นก็จะมีโคไทโกวเป็น
2 พระองค์ มีกรณีพิเศษเพียงครั้งเดียวในสมัยจักรพรรดิโกเรเซย์ ทรงมีจักรพรรดินีพร้อมกัน 3 พระองค์ จึงใช้โคไทโกวเป็นตำแหน่งจักรพรรดินีองค์แรกสุด

 


คโกว (こうごう, 皇后) ภรรยาเอกซึ่งมีศักดิ์สูงสุดในการปกครองฝ่ายใน 


    
 ตำแหน่งจักรพรรดินีของจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน เป็นภรรยาเอกซึ่งมีศักดิ์สูงสุดในการปกครองฝ่ายใน ใช้เรียกจักรพรรดินีในช่วงต้นสมัยเฮอัน ภายหลังหากรัชสมัยจักรพรรดิใดทรงมีจักรพรรดินีพร้อมกัน 2 พระองค์ โคโกวจะเป็นตำแหน่งจักรพรรดินีที่แต่งตั้งก่อน

 

จูกูว (ちゅうぐう, 中宮) ตำหนักกลาง 
     จูกูว หมายถึง ตำหนักกลาง ซึ่งเป็นที่ประทับของจักรพรรดินี ตำแหน่งจักรพรรดินีของจักรพรรดิองค์ปัจจุบันเช่นเดียวกับโคโกว เป็นภรรยาเอกซึ่งมีศักดิ์ในการปกครองฝ่ายใน ในตอนแรกเป็นคำเรียกแทนโคโกวเท่านั้น ต่อมาใช้เรียกจักรพรรดินีในช่วงกลางสมัยเฮอันเป็นต้นไป ภายหลังหากรัชสมัยจักรพรรดิใดทรงมีจักรพรรดินีพร้อมกัน 2 พระองค์ จูกูวจะเป็นตำแหน่งจักรพรรดินีที่แต่งตั้งทีหลัง 

 

 

ฮิ (ひ, 妃) ภรรยาในจักรพรรดิขั้นที่ 2 
     ตำแหน่งภรรยาในจักรพรรดิขั้นที่ 2 รองจากจักรพรรดินี เทียบเท่าพระชายา ตำแหน่งนี้มีได้ 2 คน ถ้าได้เป็นพระมารดาในจักรพรรดิองค์ต่อไป จะมีตำแหน่งเป็นโคไทฮิ ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งตำแหน่งฮิ จะต้องเป็นพระธิดาในจักรพรรดิองค์ก่อนๆ (ไนชินโน ระดับ 4 พินขึ้นไป) เท่านั้น แต่ก็มีบางครั้งที่เชื้อพระวงศ์หญิงระดับโจโอว ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งฮิ แต่ก็มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้น 

 

ฟุจิน (ふじん, 夫人) ภรรยาในจักรพรรดิขั้นที่ 3
     ตำแหน่งภรรยาในจักรพรรดิขั้นที่ 3 ในสามรัชสมัยแรกสมัยเฮอัน ตำแหน่งนี้มีได้ 3 คน ถ้าได้เป็นพระมารดาในจักรพรรดิองค์ต่อไป จะมีตำแหน่งเป็นโคไทฟุจิน ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งตำแหน่งฟุจิน จะต้องเป็นธิดาของขุนนางระดับคุเกียว ภายหลังตำแหน่งนี้ถูกยกเลิก

 

 เนียวโงะ (にょうご, 女御) ภรรยาในจักรพรรดิขั้นที่ 3 เทียบเท่าพระสนมเอก

     ภรรยาในจักรพรรดิขั้นที่ 3 เทียบเท่าพระสนมเอก เนียวโงะ หมายถึง สตรีผู้มีเกียรติในองค์จักรพรรดิ เดิมเป็นอีกหนึ่งชื่อเรียกตำแหน่ง ฮิน (ひん, 嬪) ซึ่งเป็นตำแหน่งภรรยาในจักรพรรดิขั้นที่ 4 ในช่วงต้นของสมัยเฮอัน แต่เมื่อตำแหน่งฟุจินถูกยกเลิก เนียวโงะจึงเป็นตำแหน่งขั้นที่ 3 แทน ถ้าได้เป็นพระมารดาในจักรพรรดิองค์ต่อไป จะมีตำแหน่งเป็นโคไทฟุจินเช่นเดียวกัน ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งเนียวโงะ มักจะเป็นธิดาของคุเกียวระดับเสนาบดี และเชื้อพระวงศ์หญิงระดับโจโอว โดยโจโอวที่ได้ตำแหน่งนี้จะเรียกว่า โอวเนียวโงะ
(王女御) บางรัชสมัยองค์จักรพรรดิอาจจะไม่ได้รับไนชินโนมาเป็นพระชายา ตำแหน่งฮิก็จะว่างไว้ ดังนั้นจึงมีหลายรัชสมัยที่เนียวโงะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจรองจากจักรพรรดินีได้

 

 

โคอิ (こうい, 更衣) เทียบเท่าพระสนม  

     ตำแหน่งภรรยาในจักรพรรดิขั้นที่ 4 เทียบเท่าพระสนม เดิมเป็นชื่อเรียกนางข้าหลวงที่ทำหน้าที่เป็นพนักงานพระภูษาของจักรพรรดิ
โคอิ หมายถึง การผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า ซึ่งเป็นงานที่ต้องใกล้ชิดกับองค์จักรพรรดิมากที่สุด ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งโคอิ มักจะเป็นธิดาของคุเกียวระดับที่ปรึกษาราชสำนัก รวมถึงธิดาขุนนางขั้น 4 ลงมา และเชื้อพระวงศ์หญิงระดับโจโอว ตำแหน่งโคอิ เรียกอีกอย่างได้ว่า
มิยาซึนโดโคะโระ (御息所, คำเดียวกับที่ใช้กับโทกูฮิ) ในที่นี้มีความหมายถึง พลับพลาสำหรับพักผ่อนของจักรพรรดิ มิยาซึนโดโคะโระ จึงใช้เรียกพระสนมขั้นโคอิที่เป็นที่โปรดปรานในองค์จักรพรรดิ เปรียบเหมือนกับเป็นพระสนมที่สามารถเป็นที่ผ่อนคลายสบายใจให้พระองค์ได้ 

 

นางข้าหลวงสูงศักดิ์และฝ่ายงานในวังหลัง



     เนียวคัน (にょかん, 女官) หรือ นางข้าหลวง เรียกได้อีกอย่างว่า นางใน เป็นข้าราชสำนักฝ่ายในของสตรีในวังหลัง คอยทำหน้าที่รับใช้องค์จักรพรรดิ จักรพรรดินี พระชายาและพระสนมต่างๆ รวมถึงจัดการงานต่างๆ ทั้งหมดภายในวังหลัง บรรดาเชื้อพระวงศ์ ขุนนางน้อยใหญ่ มักจะส่งธิดาเข้ามาเป็นนางข้าหลวงในตำแหน่งต่างๆ เพื่อฝึกฝนกิริยามารยาท รวมถึงเพิ่มโอกาสให้ธิดาสามารถใกล้ชิดจักรพรรดิมากขึ้นเพื่อเลื่อนฐานะต่อไปได้ ผู้ที่มาเป็นนางข้าหลวงมีทั้งเชื้อพระวงศ์หญิงระดับโจโอว ธิดาขุนนางและข้าราชสำนักทั้งสูงต่ำ รวมถึงภริยาของขุนนางก็สามารถเข้ามาถวายการรับใช้ในวังหลวงได้ โดยนางข้าหลวงมีรายละเอียดตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

 

1) ตำแหน่งนางข้าหลวงที่ถวายตัวกับ จักรพรรดิ


    

 ตำแหน่งนางข้าหลวงที่เมื่อหากได้รับแต่งตั้งแล้ว เท่ากับมีสิทธิ์ได้ถวายตัวอย่างไม่เป็นทางการ มีอยู่ 3 ตำแหน่ง เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ถวายงานใกล้ชิดองค์จักรพรรดิในหน้าที่เลขานุการ ได้แก่ ไนชิโนคามิ, ไนชิโนสุเกะ และ ไนชิโนโจว (尚侍, 典侍, 掌侍) ตำแหน่งนางข้าหลวงระดับหัวหน้า รองหัวหน้า และผู้ช่วยกองเลขานุการภายในตามลำดับ หากได้รับความโปรดปรานนางข้าหลวงทั้งสามตำแหน่งนี้อาจได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมหรือสูงกว่านี้ได้ แต่หากไม่ได้รับการแต่งตั้ง ก็ยังถือเป็นสตรีในองค์จักรพรรดิ เป็นนางข้าหลวงสูงศักดิ์ และสามารถถวายงานจักรพรรดิต่อไปได้ 

นางข้าหลวงตำแหน่งอื่นๆ หากได้รับความโปรดปรานและได้ถวายตัวกับองค์จักรพรรดิ ถือเป็นนางข้าหลวงสูงศักดิ์ มักจะได้รับการเรียกอย่างให้เกียรติต่อท้ายชื่อตระกูล บ้านเกิด ชื่อสถานที่หรือตำหนักว่า ซึโบเนะ (つぼね, 局) หรือ โดโนะ (どの, 殿) เช่น 
โทสะ โน ซึโบเนะ (土佐局), ซันโจ โน ซึโบเนะ (三条局), โบมอน โดโนะ (坊門殿) เป็นต้น

 

2) ตำแหน่งนางข้าหลวงต้นห้อง

 เนียวโบ (にょうぼう, 女房) หรือ นางข้าหลวงต้นห้อง นางข้าหลวงคนสนิทที่ติดตามรับใช้ข้างกายเจ้านายฝ่ายในของตนอย่างใกล้ชิด ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกองงานวังหลัง เนียวโบ ถือ เป็นนางข้าหลวงระดับกลางไปจนถึงระดับสูงในวังหลวง ทำหน้าที่คอยรับใช้ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า ดูแลกิจวัตรประจำวันของเหล่าเจ้านายฝ่ายใน รวมถึงเป็นเพื่อนคอยพูดคุยในแต่ละวัน นอกจากนี้ยังเป็นตัวแทนในการรับส่งจดหมายและติดต่อกับผู้อื่น หากมีคนมาขอเข้าพบก็ต้องเป็นคนจัดตารางเข้าพบและทำการต้อนรับ หากมีจัดงานพิธีหรืองานหลวงก็เป็นผู้ช่วยจัดการตระเตรียมข้าวของต่างๆ แทนเจ้านายฝ่ายในของตน เนียวโบแต่ละตำหนักสามารถแบ่งตามศักดิ์ได้ 3 ระดับ คือ

+ โจโร (じょうろう, 上臈) เป็นเนียวโบระดับสูง เนียวโบที่เป็นธิดาของคุเกียวระดับเสนาบดีจะจัดอยู่ในขั้นโจโร ไนชิโนคามิและไนชิโนสุเกะก็จัดอยู่ในขั้นโจโรเช่นกัน ส่วนเนียวโบที่เป็นธิดาของคุเกียวระดับอื่นจะจัดอยู่ในขั้น โคะโจโร (こじょうろう, 小上臈)
+ จูโร (ちゅうろう, 中臈) เป็นเนียวโบระดับกลาง เรียกอีกอย่างว่า เมียวบุ (みょうぶ, 命婦) โดยเนียวโบที่เป็นธิดาของข้าราชสำนักขั้น 5 ขึ้นไป เรียกว่า ไนเมียวบุ (ないみょうぶ, 内命婦) ส่วนเนียวโบที่เป็นภริยาของข้าราชสำนักขั้น 5 ขึ้นไป เรียกว่า เงะเมียวบุ (げみょうぶ, 外命婦) ทั้งหมดจัดอยู่ในขั้นจูโร ไนชิโนโจวก็จัดอยู่ในขั้นจูโรเช่นกัน  
+ เงะโร (げろう, 下臈) เป็นเนียวโบระดับล่าง เรียกอีกอย่างว่า เนียวคุโรโดะ (にょくろうど, 女蔵人) เป็นเนียวโบที่เป็นธิดาของตระกูลซามูไรหรือธิดาของข้าราชสำนักประจำศาลเจ้า ทั้งหมดจัดอยู่ในขั้นเงะโร เนียวคุโรโดะมีหน้าที่รับคำสั่งจากเนียวโบระดับสูงกว่า

 

 

3) ตำแหน่งนางข้าหลวง สิบสองกองงานวังหลัง

  โคคิวจูนิชิ (こうきゅうじゅうにし, 後宮十二司) หรือสิบสองกองงานฝ่ายในแห่งวังหลัง แต่ละกองมีหน้าที่จัดการงานในด้านต่างๆ ทั้งหมดของฝ่ายใน นางข้าหลวงที่ไม่ได้เป็นเนียวโบจะอยู่ประจำในกองงานเหล่านี้ โดยแต่ละกองงานส่วนมากจะมีนางข้าหลวงระดับหัวหน้าอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ หัวหน้า (尚) รองหัวหน้า (典) และผู้ช่วย (掌) ซึ่งตำแหน่งนางข้าหลวงทั้งสิบสองกองงานมีรายละเอียดดังนี้

นางข้าหลวงประจำกองงานมีตั้งแต่ขั้น 3 ชั้นเอก ลงไป คือ กองพระคลัง (蔵司)
นางข้าหลวงประจำกองงานมีตั้งแต่ขั้น 3 ชั้นรอง ลงไป คือ กองเลขานุการภายใน (内侍司) 
นางข้าหลวงประจำกองงานมีตั้งแต่ขั้น 4 ชั้นเอก ระดับบน ลงไป คือ กองห้องเครื่อง (膳司), กองภูษาเย็บปัก (縫司)
นางข้าหลวงประจำกองงานมีตั้งแต่ขั้น 6 ชั้นเอก ระดับบน ลงไป คือ กองน้ำจัณฑ์ (酒司)
นางข้าหลวงประจำกองงานมีตั้งแต่ขั้น 6 ชั้นรอง ระดับบน ลงไป คือ กองงานอักษร (書司), กองโอสถ (薬司), กองพระราชดำเนิน (殿司)
นางข้าหลวงประจำกองงานมีตั้งแต่ขั้น 7 ชั้นเอก ระดับบน ลงไป คือ กองศาสตราวุธ (兵司), กองทวารบาล (闈司)
นางข้าหลวงประจำกองงานมีตั้งแต่ขั้น 7 ชั้นรอง ระดับบน ลงไป คือ กองพระตำหนัก (掃司), กองงานน้ำ (水司)

 

 

  นอกจากนี้ยังมี เนียวจู (にょじゅ, 女嬬) ซึ่งเป็นนางข้าหลวงระดับต่ำคอยรับคำสั่งทำงานต่างๆ ประจำอยู่ในแต่ละกองงาน ยกเว้นกองห้องเครื่องและกองงานน้ำ จะมี อุเนเมะ (うねめ, 采女) นางข้าหลวงระดับต่ำที่ถวายการรับใช้ในเวลาเสวยพระกระยาหารประจำอยู่ในกองงานแทน ส่วนกองน้ำจัณฑ์ไม่มีทั้งเนียวจูและอุเนเมะประจำอยู่

 

 

ยุคโชกุน 

โชกุนไม่ได้เป็น จักพรรดิ แต่เป็น รัฐบาลทหาน เป็น เจ้าแคว้นที่ ใหญ่ และรวมอำนาจแคว้นต่าง ๆ 

หลังจากยุคสมัยเฮอัน เป็น ต้นมา อำนาจเต็มที่ในการปกครองประเทศญี่ปุ่นขององค์จักรพรรดิก็เริ่มน้อยลง เกิดสงคราม อำนาจถูกเปลี่ยนมือมาอยู่ที่ โชกุนแห่งรัฐบาลทหารบาคุฟุ (ばくふ, 幕府) ซึ่งก็ยังเกิดสงครามแย่งชิงอำนาจจากโชกุนอยู่เรื่อยๆ จากโชกุนแห่งคามาคุระบาคุฟุ ของเครือตระกูลมินาโมโตะ เรื่อยมาถึงโชกุนแห่งมุโรมาจิบาคุฟุ ของเครือตระกูลอะชิคางะ จนมาถึงยุคสมัยเอโดะ ราชสำนักขององค์จักรพรรดิมีบทบาทเหลือเพียงทางศาสนา การอนุญาตและพิธีการแต่งตั้งต่างๆ ที่โชกุนไม่จัดการพระจักรพรรดิ แล้ว เป็น จักรพรรดิ เอง ก็เพราะ สมัยก่อนนั้น จักรพรรดิ เป็นดัง เทพมาจุติ โชกุน เลยเก็บ จักรพรรดิ เอาไว้ ในตำแหน่งผู้นำทาง ศาสนา อำนาจต่างๆ มีไม่มากเท่าแต่ก่อน ส่วนอำนาจการปกครองอยู่ที่โชกุนแห่งเอโดะบาคุฟุ ของเครือตระกูลโทคุงาวะ ซึ่งปกครองยาวนานกว่า 260 ปี

 

เซย์อิไทโชกุน (せいいたいしょうぐん, 征夷大将軍)
    โชกุน เดิมทีเป็นตำแหน่งของแม่ทัพใหญ่ที่ถูกส่งไปปราบปรามอานารยชน ในสมัยนาระจนถึงสมัยเฮอัน ต่อมามีความหมายถึงตำแหน่งหัวหน้าของรัฐบาลทหารบาคุฟุ ซึ่งถืออำนาจในการปกครองญี่ปุ่นแทนจักรพรรดิและกุมอำนาจบังคับบัญชาทหารสูงสุด ตระกูลที่สามารถขึ้นเป็นโชกุนได้ต้องสืบสายเลือดจากราชวงศ์และจะมีการสืบทอดตำแหน่งกันภายในตระกูล ซึ่งจะถูกแต่งตั้งโดยพระบรมราชโองการขององค์จักรพรรดิ ในบางสมัยที่โชกุนอ่อนแอ จักรพรรดิก็อาจสามารถกุมอำนาจบริหารและกองทัพไว้ในการควบคุมของพระองค์ได้ 

 

ไดเมียว (だいみょう, 大名)

ตำแหน่งเจ้าเมืองหรือเจ้าแคว้น
  เจ้าเมืองหรือเจ้าแคว้น สำคัญรองลงมาจากโชกุน อยู่ภายใต้การปกครองของโชกุนหรือจักรพรรดิ คำว่าไดเมียวเริ่มใช้ในสมัยคุโรมาจิ สมัยก่อนมีความหมายถึงหัวหน้าตระกูลที่ถือครองพื้นที่ทำไร่นาต่างๆ ในอาณาเขตประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดเป็นแคว้นใหญ่น้อยต่างๆ มากมาย ความยิ่งใหญ่ขึ้นอยู่ขนาดของอาณาเขตที่ตนครอบครองอยู่ ไดเมียวต่างก็มีเมืองและกำลังทหารของตนเอง เมื่ออำนาจของจักรพรรดิหรือโชกุนเริ่มน้อยลง ไดเมียวแต่ละแคว้นจึงมีการทำสงครามและตั้งตนเป็นใหญ่มากมายอยู่เรื่อยๆ บางสมัยไดเมียวบางตระกูลจึงอาจมีอำนาจมากกว่าโชกุนได้ ไดเมียวในสมัยเอโดะ

 

ฮิเมะ (ひめ, 姫)

คุณหนูผู้สูงศักดิ์หรือท่านหญิง
     ไม่ใช่ชื่อตำแหน่งเจ้าหญิงหรือองค์หญิง แต่เป็น คำเรียกอย่างให้เกียรติสำหรับธิดาของคุเกียว ธิดาของเครือตระกูลชนชั้นสูงที่เรียกว่าคุเกะ ธิดาของตระกูลโชกุนและธิดาของไดเมียวซึ่งเป็นเจ้าแคว้นต่างๆ ซึ่งรวมถึงธิดาบุญธรรมด้วย คำว่า ฮิเมะ ที่หมายถึงเจ้าหญิงหรือองค์หญิงที่เป็นเชื้อพระวงศ์ในจักรพรรดิ คือ ฮิเมะมิยะ (ひめみや, 姫宮) ซึ่งใช้กับไนชินโนและโจโอวเท่านั้น ดังนั้นหากเรียกว่าฮิเมะเพียงแค่สองพยางค์ มักจะเป็นการเรียกหญิงสาวอย่างให้เกียรติโดยมีความหมายประมาณว่า คุณหนูผู้สูงศักดิ์หรือท่านหญิงนั่นเอง

 ในสมัยเอโดะ ตำแหน่งโชกุนเป็นของตระกูลโทคุงาวะ บ้านเมืองเริ่มสงบสุข ภายในปราสาทเอโดะซึ่งเป็นที่อยู่ของโชกุนและครอบครัวรวมถึงบริวารรับใช้มากมาย จึงได้เริ่มมีการจัดระเบียบใหม่ โดยเริ่มในสมัยโชกุนรุ่นที่ 2 ได้เริ่มสร้างโอโอขุ (おおおく, 大奥) ขึ้นภายในส่วนลึกของปราสาท โดยให้โอโอขุเป็นที่อยู่ของมารดา บุตรธิดา และภรรยาทั้งหลายของโชกุน รวมถึงนางกำนัลภายในปราสาท

  ห้ามให้ผู้ชายอื่นนอกจากโชกุนเข้าออกโอโอขุ เรียกได้ว่าเป็นฝ่ายในของโชกุนในปราสาทเอโดะก็ไม่ผิด โดยมีคาสุกะ โน ซึโบเนะ ผู้เป็นแม่นมของโชกุนรุ่นที่ 3 เป็นหัวหน้าที่คอยควบคุมดูแลคนภายในโอโอขุเป็นคนแรก และเป็นผู้วางรากฐานระเบียบกฎเกณฑ์ของโอโอขุเอาไว้

 

สตรีภายในโอโอขุมีหลายระดับและหลายตำแหน่ง ซึ่งมีดังนี้

 

 

 

ภรรยาโชกุน คนก่อน  

ถ้าโชกุน เสียชีวิต มิไดโคะโระ ต้อง เข้าพิธีตัดผม 

มิไดโดโคะโระ (みだいどころ, 御台所)ภรรยาเอกในโชกุน 

  ภรรยาเอกของโชกุน เป็นเจ้านายหญิงที่มีศักดิ์สูงสุดในโอโอขุ ผู้ที่จะมาเป็นมิไดโดโคะโระต้องเป็นไนชินโน โจโอว หรือฮิเมะผู้เป็นธิดาของชนชั้นสูงคุเกะ โดยจำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเซกเกะ (せっけ, 摂家) ที่เป็นคุเกะระดับชั้นสูงสุด ซึ่งมีเพียง 5 ตระกูล ทั้งหมดล้วนสืบสายมาจากตระกูลฟูจิวาระ ได้แก่ โคโนเอะ, คุโจ, นิโจ, อิจิโจ และ ทาคะซึคาสะ เมื่อโชกุนเสียชีวิต มิไดโดโคะโระจะต้องปลงผมและสามารถอยู่ในปราสาทต่อไปได้ มีตำแหน่งเป็น โอมิไดโดโคะโระ (大御台所)

 

ซคุชิทสึ (そくしつ, 側室)

 อนุภรรยาของโชกุน 
    อนุภรรยาของโชกุน ซึ่งจะเลือกจากนางกำนัลตำแหน่ง โอจูโร หากให้กำเนิดลูกสาว จะได้รับการเรียกอย่างให้เกียรติว่า โอฮาระซามะ (お腹様) แต่ถ้าให้กำเนิดลูกชายจะเรียกว่า โอเฮยะซามะ (お部屋様) และถือเป็นอนุภรรยาอย่างเป็นทางการ เมื่อโชกุนเสียชีวิต หากโซคุชิทสึเป็นมารดาของโชกุนคนต่อไป เมื่อปลงผมแล้วสามารถอยู่ในปราสาทต่อได้ แต่ถ้าคนไหนไม่ได้ให้กำเนิดลูกเมื่อปลงผมแล้วต้องออกไปอยู่นอกปราสาท

 

 

อขุโจวจู (おくじょちゅう, 奥女中) นางกำนัลที่ทำหน้าที่รับใช้ภายในปราสาท

1) โอขุโจวจูระดับบน (御目見以上) รับใช้ต่อหน้าโชกุนได้



โจโรโอโตชิโยริ (上臈御年寄)
     เป็นตำแหน่งระดับสูงสุด ของนางกำนัลในโอโอขุ มักจะเป็นผู้ติดตามรับใช้ที่เข้ามาในโอโอขุพร้อมกับมิไดโดโคะโระเมื่อตอนแต่งงาน และจะอยู่รับใช้ใกล้ชิดไปตลอด บางสมัยผู้ที่อยู่ตำแหน่งนี้อาจจะเป็นแม่นมที่เลี้ยงดูโชกุนก็ได้ โดยมากจะเป็นสตรีมีอายุที่มีฐานะเป็นธิดาของคุเกะ ซึ่งจะถูกคัดเลือกเป็นอย่างดี ทำหน้าที่คอยดูแลใกล้ชิด ตลอดจนเป็นที่ปรึกษา ให้กำลังใจ และสนับสนุนมิไดโดโคะโระและโชกุนอยู่ข้างกาย นอกจากนี้ยังรับผิดชอบงานด้านพิธีการต่างๆ ภายในปราสาทด้วย 

 

 


โอโตชิโยริ (御年寄)
   ผู้ควบคุมดูแลงานทุกอย่าง รวมถึงนางกำนัลทุกคนภายในโอโอขุทั้งหมด อำนาจสูงสุดในโอโอขุมัก จะอยู่ที่ โอโตชิโยริ นอกจากนี้ยังคอยรับใช้ใกล้ชิดโชกุนและมิไดโดโคะโระ ซึ่งจะรับใช้แยกกันต่างหาก มักเป็นสตรีวัยกลางคนที่เกิดในตระกูลซามูไรชั้นสูงที่ขึ้นตรงต่อโชกุนโทคุงาวะหรือที่เรียกว่าฮาตาโมโตะ (旗本) โอโตชิโยริยังเป็นคนจัดการรายชื่อโอจูโรเพื่อให้โชกุนคัดเลือกไปเป็นอนุภรรยาด้วย หากโอจูโรที่ได้รับการคัดเลือกมีทายาทให้โชกุน โอโตชิโยริที่เป็นผู้สนับสนุนก็จะมีอำนาจมากขึ้นตามไปด้วย

 

จูโดะชิโยริ (中年寄)
     นางกำนัลที่คอยเป็นผู้ช่วยและทำงานตามคำสั่งของโอโตชิโยริ รวมถึงเป็นตัวแทนของโอโตชิโยริในบางเรื่อง และยังทำหน้าที่คอยตรวจสอบยาพิษในอาหารแต่ละอย่างด้วย

 

 

โอจูโร (御中﨟)
     นางกำนัลที่คอยดูแลรับใช้โชกุนและมิไดโดโคะโระ ซึ่งจะรับใช้แยกกันต่างหาก หากโอจูโรคนไหนมีชาติตระกูลค่อนข้างดี มีความสามารถและอดทน โอโตชิโยริอาจจะทำรายชื่อส่งให้โชกุนเพื่อคัดเลือกไปเป็นอนุภรรยาได้ โดยส่วนมากเลือกจากโอจูโรฝั่งที่คอยรับใช้โชกุนมากกว่าหรือหากโชกุนโปรดปราน โอจูโรคนไหน ก็สามารถเลื่อนเป็น อนุภรรยาได้เช่นกัน โอจูโรที่ได้เป็นผู้หญิงของโชกุนแล้วจะเรียกว่า โกไนโชว โน คาตะ

(御内証の方)

 

 

โอเคียคุอะชิไร (御客会釈)
     นางกำนัลที่ทำหน้าที่คอยต้อนรับให้การรับใช้และให้ความสะดวกสบายแก่แขกหญิงจากโกซันเกะ และโกซันเกียว สามตระกูลสาขาหลักและรอง

ของโทคุงาวะ รวมถึงแขกหญิงจากเหล่าไดเมียวที่มาเยือนในปราสาท

 

โอโคโชว (御小姓)

 นางกำนัลอายุน้อย
     นางกำนัลอายุน้อย ที่มีหน้าที่ทำงานต่างๆ ตามคำสั่งและคอยปรนนิบัติทุกอย่างรอบตัวของมิไดโดโคะโระ ส่วนมากอายุประมาณ 7-15 ปี และมี

โอกาสเลื่อนตำแหน่งเป็นโอจูโรได้

 

โอโมเตะซึไค (表使)
     นางกำนัลที่ได้รับการฝึกฝนจนเป็นที่ไว้วางใจและรับคำสั่งจากโอโตชิโยริ รับผิดชอบการจัดซื้อของใช้ที่จำเป็นเข้าโอโอขุ

 

โอคิตเตะคาคิ (御切手書)
     นางกำนัลที่ดูแลหนังสืออนุญาตสำหรับการเข้าออกประตูระหว่างโอโอขุกับภายนอกปราสาท

โอโจวงุจิ (御錠口)
     นางกำนัลที่ทำหน้าที่ดูแลกุญแจประตูทางเข้าออกภายในปราสาทระหว่างโอโอขุและนากาโอขุ (中奥, ส่วนที่พักของโชกุน)

 

โกยูฮิทสึ (御右筆)
     นางกำนัลที่ดูแลและจดบันทึกเอกสารและจดหมายต่างๆ รวมถึงบันทึกตรวจสอบของขวัญบรรณาการที่ได้รับจากแขก

โอทสึงิ (御次)
     นางกำนัลที่รับผิดชอบด้านการขนย้ายจัดเก็บและทำความสะอาดของขวัญบรรณาการ อุปกรณ์สำหรับห้องบูชาพระ อุปกรณ์ในการชงชา อุปกรณ์สำรับอาหาร เป็นต้น และยังมีหน้าที่ควบคุมดูแลงานเฉลิมฉลองภายในปราสาท

 

โอโทงิโบซึ (御伽坊主)
     นางกำนัลอาวุโสที่มีหน้าที่ดูแลปรนนิบัติโชกุน ทั้งโกนผม การผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า และสิ่งอื่นๆ รอบตัว

โกฟุคุโนมะ (呉服の間)
     นางกำนัลที่มีหน้าที่ตัดเย็บเสื้อผ้าสวมใส่สำหรับโชกุนและมิไดโดโคะโระ รวมถึงดูแลเสื้อผ้าของแต่ละคนในโอโอขุ

 

 

2) โอขุโจวจูระดับล่าง (御目見以下) ไม่มีสิทธิ์รับใช้ต่อหน้าโชกุน

โอซันโนมะ (御三の間) ดูแลการจัดระเบียบและทำความสะอาดห้องนางกำนัลระดับสูง
โอฮิโระซาชิกิ (御広座敷) ดูแลอาหารเวลามีแขกในโอโอโขุ
โอนาคาอิ (御仲居) ดูแลการเตรียมสำรับอาหารต่างๆ ในห้องครัว
โอฮิโนบัน (御火の番) ดูแลการจุดไฟตอนกลางคืน
โอชะโนมะ (御茶の間) ดูแลการชงน้ำชาสำหรับหลังมื้ออาหารของมิไดโดโคะโระ
โอซึไคบัน (御使番) ดูแลกุญแจประตูห้องต่างๆ ในโอโอขุ
โอสึเอะ (御末) ดูแลตักน้ำในห้องครัวและห้องอาบน้ำ และทำความสะอาดอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ

 

     นอกจากนี้ยังมี เฮยะงาตะ (部屋方) นางกำนัลที่เป็นเหมือนสาวใช้ประจำตัวนางกำนัลระดับสูงกว่า ดูแลทั้งเรื่องการแต่งตัว ล้างหน้า หวีผม ทานอาหาร ดูแลห้องพัก รวมทั้งปรนนิบัติรับใช้ในเรื่องอื่นๆ ด้วย

 

 

ที่มา:
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
แพงพวย's profile


โพสท์โดย: แพงพวย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
60 VOTES (4/5 จาก 15 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เปิดตัวตำรวจสาว นางฟ้าผู้พิสูจน์หลักฐาน สวยและเก่ง ช่วยคลี่คลายคดีแอมไซยาไนด์ทบ.มีคำสั่งให้ พล.ท.ณรงค์ สวนแก้ว เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ถูกย้ายจากตำแหน่ง หลังเกิดกรณีซ้อมที่รุนแรง"เต๋า ทีวีพูล" ลั่น สินค้า "แอน จักรพงษ์" ขายหมดเกลี้ยง Miss Universe 2024 กระแสเกินต้านนางเอกดังสุดเศร้า กับการสูญเสียครั้งใหญ่ โพสต์อาลัยรักสุดหัวใจ"สภาพพังยับ! ยูทูบเบอร์สาวทำเล็บที่อินเดีย รู้ราคาแล้วอยากร้องไห้"6 วิธีเติมพลังใจในวันศุกร์ เพื่อเตรียมพร้อมรับวันหยุดสุดสัปดาห์'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่""ผู้บริหารมาม่าไขปริศนา ยอดขายพุ่งเพราะเศรษฐกิจแย่ หรือแค่คิดไปเอง?"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าหมอเหรียญทองกำลังมองหาสถานที่เช่าสำหรับตั้งซูเปอร์คลินิก เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีบัตรทองจากโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะครูสงสัยทำไม นร.ชายใส่กระโปรง..รู้เหตุผลแล้วบอกเลย ใจนายแมนมาก
ตั้งกระทู้ใหม่