ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาสากลของเหล่านักวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร ?
Nazi Germany Library of Congress/Al Aumuller/Getty Images
จะเห็นว่า กว่า 98% ของบทความวิทยาศาสตร์ที่ได้ถูกเผยแพร่ในทุกวันนี้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็จะมีภาษาละตินแฝงอยู่ด้วย (เนื่องจากการเรียกชื่อบางอย่างต้องใช้ภาษาละติน เพราะภาษาไม่มีความกำกวม) โดยนักวิจัยต่างๆ เริ่มหยุดใช้ภาษาละตินในศตวรรษที่ 17 กาลิเลโอ นิวตัน และคนอื่นๆ ก็เริ่มเขียนชิ้นงานวิจัยโดยใช้ภาษาที่ตนถนัด เพราะพวกเขาเชื่อว่าการเขียนงานวิจัยที่ไม่ใช่ภาษาที่ถนัดจะทำให้การทำงานลำบากมากขึ้น ในศตวรรษที่ 19 ภาษาทางด้านวิทยาศาสตร์หลักๆ จะได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ
แต่แล้วภาษาเยอรมันก็โดนลดบทบาทลงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยนักวิจัยจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเบลเยียมได้ก่อตั้งองค์กรด้านวิทยาศาสตร์ เช่น International Astronomical Union ขึ้นมา และตัดภาษาเยอรมันออกจากงานวิทยาศาสตร์ในที่สุด นานเข้าก็เหลือแต่ภาษาอังกฤษที่ยังนิยมใช้ในการเขียนงานวิจัย
สิ่งที่ทำให้ภาษาอังกฤษมีบทบาทมากขึ้นนั่นคือ สงครามเย็น ระหว่างยุค 50 และ 60 โดยงานวิจัยจะถูกเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ และรัสเซีย ซึ่งในปี ค.ศ. 1970 สหภาพโซเวียตก็ล่มสลาย ทำให้ภาษารัสเซียในงานวิจัยวิทยาศาสตร์หายไปด้วย
ต่อมา กลางปี ค.ศ. 1990 ก็เริ่มนิยมเขียนบทวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน Michael Gordin นักประวัติศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ ของ Princeton University ได้กล่าวว่า “เราไม่มีทางเลือก” (ที่จะหลีกเลี่ยงการเผยแพร่งานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ)
ที่มา popsci
โพสท์โดย: moses