Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน กินอะไรดี
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

มายากลคลื่นเสียง ทำให้น้ำไหลเป็นเกลียวได้

โพสท์โดย Impossible
 

 

 

 

 




          เคยเห็นที่ไหนไหม ที่น้ำไหลลงมาเป็นเกลียวแบบนี้ได้ แถมยังดูนิ่งเหมือนค้างเอาไว้ราวกับถูกสตัฟฟ์! 


          นี่เป็นมายากลง่าย ๆ ที่ใครก็สามารถทำตามได้หากว่าคุณมีอุปกรณ์พร้อมทุกอย่าง ตามที่ คุณ brusspup เจ้าของคลิปวิดีโอนี้ในยูทูบแจกแจงเอาไว้ ได้แก่ ลำโพง ก๊อกน้ำ (ที่สามารถเปิดน้ำได้), สายยางแบบอ่อน, สกอตเทป โปรแกรมควบคุมคลื่นเสียง และกล้องวิดีโอที่มีความเร็วจับภาพได้ 24 fps (frame per second) ซึ่งตัวสุดท้ายนี่แหละที่สำคัญมากที่จะทำให้มายากลนี้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของคุณ 

          เริ่มจากการเซตอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เข้าที่ โดยลากสายยางที่เชื่อมจากก๊อกนํ้ามาพาดไว้ที่ลำโพง ให้สายยางพาดจากด้านบนลำโพงลงมาด้านล่าง ใช้สกอตเทปแปะให้สายยางแนบไปกับลำโพง โดยให้ปลายสายยางยาวเลยออกมา 1-2 นิ้ว ตั้งกล้องให้ถ่ายได้พอดีจุดที่เซตไว้ ตั้งโปรแกรมควบคุมเครื่องเสียงให้อยู่ที่ความถี่ 24 Hz เปิดลำโพง เปิดน้ำ กดปุ่ม play จากนั้นก็รอดูความมหัศจรรย์ของสายน้ำที่จะไหลลงมาได้เลย!

          แทนที่นํ้าจากสายยางจากจะไหลลงมาตรง ๆ ตามปกติ มันจะตีเกลียวเป็นวง และดูเหมือนหยุดนิ่งอยู่อย่างนั้น ... แต่คุณจะเห็นภาพเหล่านี้ได้ก็ต่อเมื่อได้มองผ่านกล้องวิดีโอ 24 fps เท่านั้นนะ

          คำอธิบายต่อปรากฏการณ์นี้ก็คือ แรงสั่นสะเทือนจากคลื่นเสียงความถี่ 24 Hz กระทบกับสายยางจึงทำให้น้ำที่ไหลออกมีรูปร่างดังที่เห็น และกล้องที่จับภาพด้วนความเร็ว 24 fps หรือ 24 เฟรมต่อหนึ่งวินาที ซึ่งเป็นความถี่เดียวกับคลื่นเสียง จึงเสมือนจับได้ภาพเดียวกันทุก ๆ วินาที ทำให้มองภาพผ่านกล้องได้เป็นสายน้ำรูปเกลียวที่หยุดนิ่งตลอดเวลานั่นเอง ในทางกลับกัน หากคุณมองเหตุการณ์เหล่านี้ด้วยตาเปล่า จะไม่อาจเห็นกลวิเศษนี้เลย นอกเสียจากเห็นสายนํ้าไหลแบบสาดกระจายออกมาจากสายยางเท่านั้น

          คลิปวิดีโอดังกล่าวยังเสกกลให้สายน้ำดูเหมือนไหลออก และไหลกลับเข้าไปในสายยางได้ด้วย ด้วยการปรับค่าความถี่ของคลื่นเสียงไปอยู่ที่ 24 Hz ซึ่งจะทำให้สายน้ำที่เคยดูเหมือนหยุดนิ่ง ไหลออก
มาจากสายยางเป็นเกลียว แต่เมื่อเปลี่ยนความถี่ไปที่ 25 Hz กลับทำให้น้ำดูเหมือนไหลย้อนเกลียวกลับเข้าไปในสายยางได้อย่างน่ามหัศจรรย์ 

          ใครอยากพิสูจน์มายากลประการนี้ด้วยตัวเอง ลองนำไปทดลองกันดูที่บ้านได้ แต่อย่าลืมของสำคัญคือกล้องวิดีโอที่มีความพอดีกับคลื่นเสียงล่ะ ถ้าดูด้วยตาเปล่าจะพลาดโอกาสเห็นของดีได้นะ ;D 



คลิป Amazing Water & Sound Experiment #2 โพสต์โดยคุณ brusspup สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม
ที่มา: kapook
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Impossible's profile


โพสท์โดย: Impossible
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ย้อนดูโตโน่ ทุ่มสุดตัว แช่ว่านเขาอ้อท่ามกลางข้อห้าม ศักดิ์สิทธิ์ ร่วมเพศผิดธรรมชาติอาจทำลายชีวิตทำไมโตโน่ ภาคินถึงชอบแอ็คก่อนจะตอบนักข่าวในแต่ละครั้ง อยากรู้ห้ามพลาดขำๆ ตลกๆ ฮาก๊ากๆ รายวันV.1😂😂🤣มาแล้ว! เลขเด็ด "ปฏิทินท่านท้าวเวสสุวรรณ" งวดวันที่ 2 พฤษภาคม 68..อยากรวย ส่องเลย!!เลขเด็ด "เสือตกถังพลังเงินดี" งวดวันที่ 2 พฤษภาคม 68 มาแล้ว!..รีบเลยก่อนหวยหมด!!สาว 2 คนข้ามม้าล้าย ถูกรถชนดับภายในเสี้ยววิ“สถานที่อันตราย” ในประเทศจีนที่ควรระมัดระวังสำหรับนักเดินทางนักแสดงดัง "อิทากาคิ มิซุกิ" เสียชีวิตแล้วเปิดประวัติ พีช สมิทธิพัฒน์ หลีนวรัตน์ ทายาทบ้านใหญ่ธัญบุรีทำไมเยอรมนีจึงเป็นประเทศแห่งอุตสาหกรรมเคมี ?มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยืนหยัดปกป้องหลักการ แม้ต้องเผชิญกับการระงับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางสหรัฐฯเห็ดพิษ"น่ากินแต่กินไม่ได้"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เรื่องอันตรายที่ต้องระมัดระวัง หากคุณกำลังจะเดินทางไปกัมพูชา“สถานที่อันตราย” ในประเทศจีนที่ควรระมัดระวังสำหรับนักเดินทางย้อนดูโตโน่ ทุ่มสุดตัว แช่ว่านเขาอ้อท่ามกลางข้อห้าม ศักดิ์สิทธิ์ ร่วมเพศผิดธรรมชาติอาจทำลายชีวิตยิ่งฟังยิ่งช็อก! “มายด์” เปิดปากครั้งแรก ปมรักสามเส้าเห็ดพิษ"น่ากินแต่กินไม่ได้"ทำไมเยอรมนีจึงเป็นประเทศแห่งอุตสาหกรรมเคมี ?
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง