หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

อันตรายจากการสวมใส่เลนส์สัมผัส (Contact Lenses) ในการทำงาน และแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย

โพสท์โดย Taegukgi

ปัจจุบัน ผู้คนจานวนไม่น้อยนิยมสวมใส่เลนส์สัมผัส (Contact Lenses) เพื่อแก้ไขปัญหาสายตาผิดปกติ โดยอาจมีเหตุผลความจาเป็นที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงาน เพื่อปรับปรุงบุคลิกภาพ หรือเพื่อความสะดวกคล่องตัวในการทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น การเล่นกีฬา ถ้าใส่แว่นตาทำให้เล่นได้ไม่ถนัด ในขณะที่หลายคนก็สวมใส่โดยไม่ได้มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ แต่เป็นไปในเชิงแฟชั่น ไม่ว่าจะเพื่อเปลี่ยนสีสันของดวงตา ทำให้ดวงตาดูมีขนาดใหญ่ขึ้น ฯลฯ ทั้งนี้ เนื่องจากในประเทศไทย สามารถซื้อหาเลนส์สัมผัสได้ง่าย โดยไม่จาเป็น ต้องใช้ใบสั่งจากจักษุแพทย์ มีให้เลือกหลากหลาย และส่วนใหญ่มีราคาไม่แพง

ผู้ปฏิบัติงานที่มีโอกาสสัมผัสกับอันตรายรูปแบบต่างๆ ถือเป็นกลุ่มหนึ่งที่อาจมีการใช้เลนส์สัมผัสและสวมใส่ขณะทำงาน ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งที่ถูกวิพากษ์ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี หรืออยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นหรือสารเคมี จะมีโอกาสเกิดการระคายเคือง หรืออาจได้รับอันตรายที่รุนแรงต่อดวงตาได้

ทั้งนี้ อันตรายจากสารเคมีเข้าตา จะขึ้นกับความเข้มข้นของสารเคมี ปริมาณสารเคมีที่เข้าตา และระยะเวลาที่สัมผัส ถ้าการบาดเจ็บหรือความเสียหายของตาไม่รุนแรง จะสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ถ้ามีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องถูกวิธี และนาส่งแพทย์อย่างทันท่วงที แต่ถ้ามีความเสียหายของตารุนแรงมากจนอาจสูญเสียสมรรถภาพการมองเห็น เกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงตาบอดได้ในที่สุด

                        

 

ส่วนผู้ปฏิบัติงานที่สวมใส่เลนส์สัมผัสแบบแข็ง ซึ่งผลิตจากวัสดุที่น้าซึมผ่านไม่ได้ อาจมีความเสี่ยงจากการที่สิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นหรืออนุภาคของแข็งเล็กๆ เข้าไปติดอยู่ใต้เลนส์ เนื่องจากเลนส์สัมผัสแบบนี้จะลอยอยู่บนน้าตาด้านหน้ากระจกตา และอาจทำให้เกิดการขูดขีดหรือการบาดเจ็บที่กระจกตาได้ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้เลนส์สัมผัสแบบแข็งจะมีความเสี่ยงอันตรายมากขึ้น ถ้าต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นของแข็งกระจายตัวอยู่สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่สวมใส่เลนส์สัมผัสแบบนิ่ม พบว่ามีความเสี่ยงหรือปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ร้อนและแห้ง เนื่องจากเลนส์สัมผัสแบบนิ่มผลิตจากพลาสติกและมีส่วนประกอบของน้าหล่ออยู่มาก หากมีสารเคมีกระเด็นใส่ อาจสามารถแพร่ผ่านเข้าในเลนส์และติดอยู่ระหว่างกระจกตาและตัวเลนส์ได้ กรณีที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสีอุลตราไวโอเลทหรือรังสีอินฟราเรด จะมีการดูดซับรังสีดังกล่าวและเกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลของน้าในเลนส์สัมผัส นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมการทำงานที่ร้อนและแห้ง อาจทำให้เกิดการระเหยของน้าออกจากเลนส์และชั้นของน้าตา ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีอาการตาแห้งและรู้สึกไม่สบายตาได้

การที่ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เลนส์สัมผัส หากทำงานอยู่คนเดียวหรืออยู่ในบริเวณที่ห่างไกลผู้อื่น อาจมีความเสี่ยงอันตรายมากกว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ดวงตา เนื่องจากไม่มีผู้ให้การช่วยเหลือ นอกจากนี้ การที่เลนส์สัมผัสหลุดหรือหล่นหายอาจเป็นอีกปัญหาหนึ่ง ซึ่งทำให้คุณภาพการมองเห็นลดลงอย่างฉับพลัน และอาจได้รับอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สภาวะที่การมองเห็นมีผลกระทบต่อความปลอดภัย กรณีที่มีการใช้เลนส์สัมผัสร่วมกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยของใบหน้าและดวงตา เช่น หน้ากากป้องกันสารเคมีชนิดคลุมศีรษะ หากเกิดปัญหาขึ้นกับเลนส์สัมผัสที่สวมใส่ จะมีความยุ่งยากขึ้นในการเปลี่ยนหรือแก้ไข ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องระวังเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในอีกแง่มุมหนึ่ง พบว่าการสวมใส่เลนส์สัมผัสปฏิบัติงาน อาจให้ผลเชิงบวกในการช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมสัมผัสกับดวงตาโดยตรง และช่วยลดหรือป้องกันการบาดเจ็บได้เช่นกัน ทำให้เกิดความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้คอนแทคเลนส์ในการทำงาน และข้อมูลการศึกษาผลกระทบในเรื่องนี้ยังคงมีอยู่อย่างจากัด อีกทั้งข้อมูลรายงานการบาดเจ็บจากการทำงาน มักไม่มีรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เลนส์สัมผัสของผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ

สถาบันอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งสหรัฐอเมริกา (NIOSH) ได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสในการทำงานขึ้น โดยในช่วง ๒-๓ ทศวรรษก่อนหน้านี้ NIOSH ไม่แนะนำให้ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายสวมใส่เลนส์สัมผัสในทุกกรณี อย่างไรก็ตาม ในภายหลังได้มีผลการศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายแห่ง เช่น สมาคมจักษุวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา สมาคมนักเคมีแห่งสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา ฯลฯ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานสามารถสวมใส่เลนส์สัมผัสขณะทำงานได้อย่างปลอดภัย หากมีมาตรการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม

จากรายงานการศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมุ่งเน้นการทดสอบเกี่ยวกับการดูดซับ/ดูดกลืนกรด ด่าง และสารตัวทำละลายบางกลุ่มของเลนส์สัมผัส โดยพบว่าการดูดซับและปลดปล่อยสารเคมีส่วนใหญ่เข้าสู่เนื้อเยื่อดวงตา ไม่มีผลต่อความรุนแรงของการเกิดอันตรายอย่างมีนัยสาคัญ ถึงแม้ว่าจะมีรายงานเพิ่มเติมที่พบว่ากรณีของไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์และเอธิลแอลกฮอล์ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาที่รุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาทดลองเหล่านี้ มิได้มีการประเมินการสัมผัสสารเคมีในสภาพแวดล้อมที่แท้จริง และมิได้มีการพิจารณาผลกระทบเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตาร่วมด้วย ซึ่งการที่ผู้ปฏิบัติงานใช้เลนส์สัมผัสแทนแว่นสายตา อาจทำให้การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตาอื่นๆ เช่น แว่นนิรภัย ครอบตานิรภัย หน้าตาป้องกันสารเคมี ฯลฯ เป็นไปได้สะดวก ไม่เกะกะ อีกทั้งช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น

                                                    

 

NIOSH จึงได้มีการทบทวนและปรับปรุงข้อเสนอแนะในเรื่องนี้ และออกแนวปฏิบัติที่ลดความเข้มงวดของการใช้เลนส์สัมผัสในสภาพแวดล้อมการทำงาน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีรายงานความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีที่กาหนดใน NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards 2004 ในส่วนของสำนักบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งสหรัฐอเมริกา (OSHA) ปัจจุบันยังมีข้อแนะนำไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เลนส์สัมผัสในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ อะคริโลไนไทรล์ เมธิลีนคลอไรด์ 1,2-ไดโบรโม-3-คลอโรโพรเพน, เอธิลีนออกไซด์ และเมธิลีนไดอะนิลี

ดังนั้น NIOSH จึงได้เสนอแนะให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสวมใส่เลนส์สัมผัสในการทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายได้ โดยต้องมีการปฏิบัติตามข้อแนะนำและมาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม แม้เลนส์สัมผัสอาจช่วยลดอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีในบางกรณี แต่ไม่อาจถือเป็นอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยของดวงตา และผู้ปฏิบัติงานยังคงต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตาอื่นๆ ตามความเหมาะสมและความจาเป็น ทั้งนี้ NIOSH ได้กาหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสวมใส่เลนส์สัมผัสในการทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี เพื่อให้สถานประกอบการมีการกาหนดนโยบายและมาตรการปฏิบัติ ได้แก่

 

๑. จัดให้มีการประเมินอันตรายหรือการบาดเจ็บต่อดวงตา ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย ผู้ที่มีการสวมใส่เลนส์สัมผัส รวมทั้งผลกระทบจากการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยของใบหน้าและดวงตาในกลุ่มผู้ใช้เลนส์สัมผัส เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการ โดยผู้ที่มีการใช้เลนส์สัมผัส ควรมีข้อมูลบันทึกในแฟ้มประวัติด้านสุขภาพและหน่วยปฐมพยาบาล

๒. จัดให้มีการประเมินการสัมผัสสารเคมี (Chemical Exposure Assessment) ในผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งจัดระบบข้อมูลสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลคุณสมบัติทางเคมี ข้อมูลด้านอันตราย ขีดจำกัดการสัมผัส การปฐมพยาบาล ฯลฯ เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

๓. จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยของใบหน้าและดวงตา สำหรับผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายหรือการบาดเจ็บดวงตาจากสารเคมี โดยพิจารณาตามความเหมาะสมกับสารเคมีที่เกี่ยวข้อง เช่น ไอระเหย ของเหลว หรือฝุ่น จะต้องให้ครอบตานิรภัยหรือหน้ากากป้องกันสารเคมีแบบเต็มหน้า และอาจมีการใช้หน้ากากนิรภัยเพิ่มเติมถ้าจาเป็นทั้งนี้ ไม่มีข้อกำหนดพิเศษสาหรับผู้ที่สวมใส่เลนส์สัมผัส

                                       

๔. จัดให้มีนโยบายการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ที่ครอบคลุมการปฏิบัติของผู้ที่สวมใส่เลนส์สัมผัสให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด รวมทั้งกาหนดข้อจำกัดเขตพื้นที่หรืองานที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับผู้ใช้เลนส์สัมผัส ทั้งนี้ ข้อจำกัดในการสวมใส่เลนส์สัมผัสทำงานของผู้ปฏิบัติงานที่มีความไวต่อการตอบสนองของดวงตาสูงหรือมีความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย ควรให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของจักษุแพทย์ ซึ่งพิจารณาเป็นรายๆ ไป

๕. จัดให้มีการอบรมความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยมีการให้ข้อมูลครอบคลุมเกี่ยวกับอันตรายต่อดวงตาและแนวปฏิบัติที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีการสวมใส่เลนส์สัมผัส

๖. กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้เลนส์สัมผัสและทำงานเกี่ยวกับสารเคมี มีการแจ้งให้หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานทราบ เพื่อให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสมกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

 

 

๗. จัดให้มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลตามข้อกำหนดของกฎหมาย และควรมีการฝึกอบรมผู้ที่ทำหน้าที่ปฐมพยาบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องถึงวิธีการถอดเลนส์สัมผัสออกจากดวงตาผู้ประสบอันตราย ซึ่งอาจเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรีบดาเนินการเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่รุนแรงขึ้น แต่ในบางสถานการณ์ เช่น เลนส์สัมผัสละลายติดดวงตา ต้องให้จักษุแพทย์เป็นผู้ดาเนินการ

๘. กรณีเกิดอุบัติเหตุสารเคมีเข้าตาผู้ปฏิบัติงานที่สวมใส่เลนส์สัมผัส ให้รีบทำการชะล้างด้วยน้ำที่ไหลอย่างต่อเนื่อง หรือน้ำสะอาดปริมาณมากทันที และทำการถอดเลนส์สัมผัสออกอย่างรวดเร็วหากกระทำได้ ก่อนนำตัวส่งจักษุแพทย์ สิ่งที่ไม่ควรทำคือ ไปพบจักษุแพทย์โดยไม่มีการล้างตามาก่อน เนื่องจากสารเคมีอาจทำลายเยื่อบุตา กระจกตาและส่วนต่างๆ จนเกิดความเสียหายที่รุนแรง ยากต่อการรักษาให้เป็นปกติได้

๙. ผู้ปฏิบัติงานที่สวมใส่เลนส์สัมผัสทำงาน ควรได้รับคาแนะนำให้รีบถอดเลนส์สัมผัสออกด้วยมือที่ล้างสะอาดแล้ว ทันทีที่เริ่มมีอาการระคายเคืองตา น้ำตาไหล หรือเกิดความผิดปกติของดวงตาและการมองเห็น

๑๐. สำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการ ควรมีการกาหนดเขตจากัดพื้นที่ และมาตรการความปลอดภัยของผู้ที่สวมใส่เลนส์สัมผัสด้วย

ข้อเสนอแนะในข้างต้นนี้ NIOSH กาหนดขึ้นเพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับการทำงานที่อาจได้รับอันตรายจากสารเคมีต่อดวงตา มิได้ครอบคลุมสำหรับอันตรายในรูปแบบอื่นๆ เช่น ความร้อน รังสี หรือสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นฟุ้งกระจายอย่างแน่นหนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานเชื่อม ซึ่งจะมีอนุภาคฝุ่น ฟูมโลหะ หรือสารเคมีในบรรยากาศ รวมทั้งสะเก็ดไฟและความร้อน ไม่แนะนำให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เลนส์สัมผัส ส่วนกรณีที่มีรายงานว่าเลนส์สัมผัสสามารถละลายติดกับกระจกตาเนื่องจากสัมผัสกับประกายไฟนั้น ได้มีการตรวจสอบแล้วว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากวัสดุที่ผลิตเลนส์สัมผัส มีคุณสมบัติไม่ละลายตัวได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติงานที่อยู่บริเวณใกล้เคียง แต่ไม่ได้ทำงานเชื่อมโดยตรง จะต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะสมกับสภาพอันตรายที่มีอยู่ในบริเวณนั้นๆ

 

 

ที่มา: สำนักความปลอดภัยแรงงาน
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Taegukgi's profile


โพสท์โดย: Taegukgi
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
56 VOTES (4/5 จาก 14 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หนุ่มจะบวชทั้งที..ดันมีมารตามมาผจญไบเดน ฮึ่ม " ทุกคนต้องอยู่ใต้กฏหมายเดียวกัน ""ลุงดอนใจดี" ย้ำอาหารที่ร้านไม่แพง และยังคงขายราคาเดิมสาวเรียกรถผ่านแอป..แทบจะเป็นลม เมื่อได้เห็นรถอากาศร้อนจัด ทุเรียนระเบิดคาต้นสาวโพสต์เทียบ ข้าวผัดอเมริกัน ห่างกันแค่ปีเดียว ทำไมสภาพเป็นแบบนี้"ข่าวดี"คนเล่นfacebook อย่าพลาดโอกาสในที่สุด พี่เสกก็จะไป 'พันธุ์ทิพย์' แล้ว!!!ดราม่าแมว ‘หนูหรั่ง’ เหมาะสมไหม? เอาแมวมาเดินในสนามบินสุวรรณภูมิ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สาววัย 60 สร้างประวัติศาสตร์ คว้าตำแหน่งมิสยูนิเวิร์สบัวโนสไอเรสสาวใจดีทำ CPR ให้ลูกหมูกลางถนน"ลุงดอนใจดี" ย้ำอาหารที่ร้านไม่แพง และยังคงขายราคาเดิมสาวเรียกรถผ่านแอป..แทบจะเป็นลม เมื่อได้เห็นรถพอได้ยิ้ม!! เมื่อพนักงานในร้านอาหารเป็นคนไทยใหญ่ ภาษาอาจจะไม่คล่อง เวลารับออเดอร์ลูกค้าก็จะได้เมนูเเปลกใหม่เเบบนี้
ตั้งกระทู้ใหม่