หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ทีดีอาร์ไอชี้ “เน้นสิ่งปลูกสร้างไม่ใช่ทางออกจัดการน้ำ” แนะใช้ “กลไกราคาที่ดิน-ภาษี”แก้ปัญหาระยะยาว

Share แชร์บอร์ด ข่าววันนี้ โพสท์โดย dominiqa

ทีดีอาร์ไอชี้ “เน้นสิ่งปลูกสร้างไม่ใช่ทางออกจัดการน้ำ” แนะใช้ “กลไกราคาที่ดิน-ภาษี”แก้ปัญหาระยะยาว

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เผยจากการติดตามผลการปรับตัวหลังน้ำท่วม 54 พบการแก้ปัญหาแยกส่วน ยังเน้นแต่สิ่งปลูกสร้าง ไร้พื้นที่ให้น้ำอยู่ ส่งผล คน ระบบนิเวศเผชิญผลกระทบระยะยาว แนะใช้เครื่องมือใหม่ๆ ที่ไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างมาแก้ปัญหา ยกกลไกราคาที่ดิน ภาษีป้องกันน้ำท่วมเป็นตัวอย่าง ย้ำหนทางแก้ไขทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม ภายใต้แนวคิดการบูรณาการการจัดการน้ำและที่ดินทำไปพร้อมกันทั้งระบบ

การประชุมระดมความคิดเห็น “เมืองกับการจัดการน้ำ” โดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมกับ International Development Research Centre (IDRC) ที่ผ่านมา มีข้อเสนอเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยเห็นตรงกันว่า ต่างฝ่ายไม่ควรแก้ปัญหาเรื่องน้ำและพัฒนาเมืองแบบแยกส่วน อีกทั้ง การเน้นแต่สิ่งปลูกสร้างเพื่อป้องกันน้ำท่วมจะสร้างผลกระทบระยะยาว ควรใช้เครื่องมือใหม่ๆ เช่น เก็บภาษีในเขตป้องกันน้ำท่วม นำไปชดเชยพื้นที่รับน้ำ หรือกลไกราคาที่ดิน มาช่วยแก้ปัญหา และที่สำคัญต้องให้ทุกภาคส่วน ได้มีบทบาทในการกำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาควบคู่กับเรื่องผังเมืองและที่ดิน เพื่อร่วมกันจัดสรรพื้นที่รับน้ำและพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมให้ชัดเจน

ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) อธิบายว่า ปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันที่สร้างผลกระทบมากขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเกิดจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการน้ำ เนื่องจากในภาวะวิกฤติน้ำท่วมในปี 2554 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการบริหารจัดการน้ำแบบกระจายอำนาจ ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดจัดการแบบต่างคนต่างทำ

ส่วนการปรับตัวหลังอุทกภัยปี 2554 ทั้งภาคครัวเรือน อุตสาหกรรม ชุมชนเมือง และหน่วยงานภาครัฐ ยังคงเน้นแต่สิ่งก่อสร้าง  ซึ่งจากการวิจัยของทีดีอาร์ไอ พบว่า รัฐบาลยังละเลยการพัฒนากฎหมาย กฎเกณฑ์ หรือกระบวนการด้านการจัดการน้ำ และการควบคุมการใช้ที่ดินในทุกระดับการปกครอง ขณะเดียวกัน สิ่งก่อสร้างบางอย่าง ยังทำให้น้ำท่วมรุนแรงมากขึ้น หรือไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้ เช่น การสร้างเขื่อนกั้นในคลองหรือแม่น้ำ ทำให้ลดพื้นที่น้ำไหล หรือการสร้างกำแพงยักษ์ริมแม่น้ำ ทำให้น้ำยกตัวขึ้น กรณีนี้จึงต้องคำนึงถึงเรื่องการจัดการที่ดิน ที่ยังเป็นปัญหาระยะยาว ซึ่งยังไม่มีการแก้ไขร่วมด้วย เนื่องจากการขยายตัวของเมืองที่มีจำนวนอาคาร บ้านเรือนเพิ่มขึ้นในพื้นที่ที่จำกัด ส่งผลให้ไม่มีที่ให้น้ำอยู่ ที่ท้ายสุดเกิดปัญหาน้ำท่วมและน้ำเสีย เพราะสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ

ด้าน ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษา ด้านการวิจัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทีดีอาร์ไอ กล่าวถึง การดำเนินการบริหารจัดการน้ำที่จะต้องสร้างกลไกการทำงานที่ชัดเจน มีความโปร่งใส และเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์

“การบริหารจัดการ ควรดูว่าเรื่องไหนควรจัดการแบบรวมศูนย์หรือแบบกระจายอำนาจ เมื่อถึงเวลาจะคิดหาแนวทางป้องกันน้ำท่วม ไม่ควรแยกเป็นรายจังหวัด ควรเอาพื้นที่ทางภูมิศาสตร์มาเป็นเกณฑ์ เพื่อป้องกันปัญหาพื้นที่รับน้ำเฉพาะพื้นที่ รวมถึง การกำหนดสิทธิ์ หรือการกำหนดเขตพื้นที่ป้องกันน้ำท่วม ควรออกกฎหมาย ประกาศหรือกำหนดเขตพื้นที่รับน้ำหรือพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมให้ชัดเจน มีความโปร่งใส และกำหนดวันและเวลาที่จะปล่อยน้ำที่แน่นอน เพื่อจะให้เกิดกลไกอื่นๆ สามารถทำงานได้ชัดเจนตามมาด้วย”

ดร.อดิศร์ เสนอวิธีการจัดการน้ำด้วยโครงสร้างภาษีน้ำท่วมเป็นทางเลือก โดยการเก็บภาษีน้ำท่วมจากพื้นที่ในเขตที่ได้รับการป้องกันน้ำท่วม และนำเงินรายได้ไปจ่ายให้กับพื้นที่ที่ถูกทำเป็นแหล่งรับน้ำ เพื่อให้เกิดการชดเชยที่เป็นธรรม ซึ่งการดำเนินงานเช่นนี้อาจต้องทำโดยรัฐบาลกลาง เพราะต้องมีการถ่ายโอนเงินข้ามเขตจังหวัด ลำพังการปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถกระทำได้ แต่ในอีกทางหากมีการให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องพื้นที่และเขตน้ำท่วมที่ชัดเจนแล้ว ข้อมูลเหล่านี้จะมีผลต่อราคาที่ดิน ก็สามารถใช้กลไกราคาที่ดินได้ โดยไม่ต้องมีการเก็บภาษีน้ำท่วมก็เป็นได้

 

“พื้นที่ไหนก็ตาม ที่ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่ป้องกันน้ำท่วม ผู้คนก็จะสนใจอยากย้ายไปอยู่ในพื้นที่นั้น ทำให้ราคาที่ดินก็จะสูงขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าของราคาที่ดินนั้น ซึ่งก็จะทำหน้าที่เป็นภาษีในตัวเอง” ดร.อดิศร์ อธิบาย

ดังนั้น แนวทางจัดการน้ำต้องมาควบคุมการพัฒนาการใช้ที่ดินในระยะยาว และจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดด้านผังเมือง สร้างกฎเกณฑ์การใช้ที่ดินใหม่ เพื่อพัฒนาเมืองไปสู่เมืองน่าอยู่ สนับสนุนให้มีกฎหมายและเครื่องมือใหม่ๆ เช่น ภาษีที่ดิน การชดเชยที่เป็นธรรม พร้อมทั้งให้มีกระบวนการที่ให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ภายใต้แนวคิดพัฒนาแบบบูรณาการกันทั้งระบบ.

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
dominiqa's profile


โพสท์โดย: dominiqa
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
8 VOTES (4/5 จาก 2 คน)
VOTED: paktronghie, zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เมื่อท่านรมต.ลาว เม้นแซะไทย ลั่น ถึงลาวไม่หลุดพ้นจากประเทศด้อยพัฒนา..แต่ลาวไม่มีขอทานแบบไทย!?กุนขแมร์โวย! หลัง ‘เสี่ยโบ้ท‘ โพสแจ้งยกเลิกการแข่งขันทั้งหมดกับเขมรกลางดึกเลขลับปฏิทินสุริยคติ เข้า 2 ตัวบนตรงๆ 26 ตาม 1 เมษายน 2567พบใบชาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ในสุสานราชวงศ์ฮั่น ค้นพบใบชาโบราณอายุกว่า 2,150 ปีในสุสานจักรพรรดิจีนปรี๊ดเลย! "ครูไพบูลย์" โดนแซวว่าเล็ก..โต้กลับทันที "ผมเล็กหรือคุณโบ๋" กันแน่นักดื่มกระทิงแดง กำลังมองหากระป๋อง ที่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ข้างใต้แม่น้ำที่อันตรายที่สุดในโลก6 ชนิดอาหารที่ทานประจำทำให้แก่เร็ว!ความน่ารักสดใส ของปลาคาร์ฟที่แหวกว่ายผ่านท่อระบายน้ำข้างถนนในญี่ปุ่น
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สถานีโทรทัศน์หนึ่งเดียวในประเทศลาว ที่ยังออกอากาศอยู่ในปัจจุบัน6 ชนิดอาหารที่ทานประจำทำให้แก่เร็ว!เมื่อท่านรมต.ลาว เม้นแซะไทย ลั่น ถึงลาวไม่หลุดพ้นจากประเทศด้อยพัฒนา..แต่ลาวไม่มีขอทานแบบไทย!?ลุงเปิดพัดลมคลายร้อนทั้งวันทั้งคืน จนช็อตไฟไหม้บ้านทั้งหลัง 🥺
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
"ศรีสุวรรณ" รีเทิร์น ลุยฟ้อง ครม.-มท.1 ใช้อำนาจโดยมิชอบก่อสร้างถนนผ่านสวนเฉลิมพระเกียรติ ขัดต่อกฎหมายสลดหนุ่มติดตั้งเครื่องปั้มน้ำเชือกขาดพลัดตกบ่อดับ 2ไร่แม่ฟ้าหลวง เปิดหอคำน้อยโชว์ภาพเขียนอายุกว่า 120 ปีโจรใต้ลอบยิงทหารพรานหญิง
ตั้งกระทู้ใหม่