หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ปรากฏการณ์ท้องฟ้าสีแดง ไม่ต้องสะพรึง วิทยาศาสตร์มีคำตอบให้ท่าน

โพสท์โดย SpiderMeaw

 

ปรากฏการณ์ท้องฟ้าสีแดง #ไม่ต้องสะพรึง #วิทยาศาสตร์มีคำตอบให้ท่าน

มาฟังพี่มะพลอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ ตามนี้ครับ

"การที่ท้องฟ้ายามเย็นเป็นสีแดงนั้น เกิดจากการกระเจิงของแสง (scattering) เนื่องจากการกระเจิงของแสงนั้น จะเกิดขึ้นได้ดีกว่าในแสงที่มีความยาวคลื่นสั้น แสงที่มีสีฟ้าจึงจะสามารถกระเจิงได้ง่ายกว่าสีแดงเป็นอย่างมาก การกระเจิงของแสงสีฟ้านี้เอง ที่ทำให้เราเห็นท้องฟ้าในเวลากลางวันเป็นสีฟ้า"

มติพล ตั้งมติธรรม // ปรากฏการณ์ท้องฟ้าสีแดง

หากใครได้เห็นท้องฟ้ายามเย็นของกรุงเทพในวันนี้ อาจจะเห็นว่าท้องฟ้ามีสีแดงกว่าปรกติเล็กน้อย แล้วเพราะอะไรท้องฟ้ายามเย็นถึงเป็นสีแดง และการที่มันมีสีแดงกว่าปรกตินี้มันเกิดจากอะไรกันแน่?

การที่ท้องฟ้ายามเย็นเป็นสีแดงนั้น เกิดจากการกระเจิงของแสง (scattering) เนื่องจากการกระเจิงของแสงนั้น จะเกิดขึ้นได้ดีกว่าในแสงที่มีความยาวคลื่นสั้น แสงที่มีสีฟ้าจึงจะสามารถกระเจิงได้ง่ายกว่าสีแดงเป็นอย่างมาก การกระเจิงของแสงสีฟ้านี้เอง ที่ทำให้เราเห็นท้องฟ้าในเวลากลางวันเป็นสีฟ้า

แต่ในเวลาเย็นนั้น แสงอาทิตย์ต้องเดินทางเฉียดผิวโลกมากขึ้น ทำให้ต้องผ่านชั้นบรรยากาศที่หนาขึ้น จึงมีการกระเจิงที่เพิ่มขึ้น เมื่อแสงความยาวคลื่นสั้นอื่นๆ ถูกกระเจิงไปหมดแล้ว เราจึงสังเกตเห็นแสงสีแดงที่กระเจิงได้น้อยกว่า ในปริมาณที่มากกว่าแสงความยาวคลื่นอื่นๆ ด้วยเหตุนี้เองเราจึงสังเกตเห็นท้องฟ้าในยามเย็นเป็นสีส้มแดง เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Atmospheric Extinction หรือ Reddening

เนื่องจากการกระเจิงของแสงนั้นขึ้นอยู่กับฝุ่นในชั้นบรรยากาศของโลก ในบางครั้งที่มีฝุ่นเยอะเป็นพิเศษ เช่นในบริเวณที่มีเถ้าภูเขาไฟหรือไฟป่าลอยมา เราอาจจะพบว่าแสงสนธยามีความแดงเป็นพิเศษ (อย่างไรก็ตาม ในเย็นวันที่ 27 ตุลาคม 2558 นี้ไม่ได้มีฝุ่นจากแหล่งที่กล่าวมาแล้วมากเป็นพิเศษแต่อย่างใด)

ความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะมีฝุ่นมากหรือไม่ แต่แสงอาทิตย์สนธยานั้นก็แดงอยู่ทุกวัน แต่เราอาจจะไม่เห็นเมฆเป็นสีแดงทุกวัน เพราะว่าถ้าหากวันไหนฟ้าใสไม่มีเมฆเลย เราก็จะไม่สามารถเห็นแสงสีแดงของอาทิตย์ที่ลับขอบฟ้าไปแล้วสะท้อนอยู่บนฟ้า ในทางตรงกันข้าม ถ้าวันไหนเต็มไปด้วยเมฆทั้งหมด ก็อาจจะบดบังดวงอาทิตย์ทำให้ไม่สามารถมองเห็นแสงอาทิตย์ได้เช่นกัน ดังนั้นการที่จะเห็นเมฆสีแดงตอนอาทิตย์ตกได้ เราจำเป็นต้องมีเมฆอยู่เบื้องบน แต่ไม่มีเมฆระหว่างทางที่จะมาบดบังแสงอาทิตย์

มีคำกล่าวของทางกะลาสีฝรั่ง ที่กล่าวเอาไว้ว่า

Red sun at night, sailors' delight.
Red sun at morning, sailors take warning

ซึ่งเป็นวิธีการพยากรณ์อากาศแบบพื้นบ้าน โดยกล่าวเอาไว้ว่าแสงสนธยาแดงในยามเย็น จะบอกถึงอากาศที่ดีในวันรุ่งขึ้น แต่แสงสนธยาแดงก่ำในตอนเช้านั้น จะหมายถึงพายุฝนฟ้าคะนองที่กำลังจะมา และเรือเล็กไม่ควรออกจากฝั่

ซึ่งถ้าหากเราอิงตามคำทำนายนี้ เราจะทำนายได้ว่าวันพรุ่งนี้จะต้องอากาศดีอย่างแน่นอน เพราะถ้าหากเราสามารถเห็นแสงสีแดงของดวงอาทิตย์ฉายไปยังบนเมฆได้ ก็แสดงว่าท้องฟ้าทางทิศตะวันตกที่ลับขอบฟ้าไปนั้นจะต้องเป็นฟ้าใสที่ปราศจากเมฆอย่างแน่นอน และนั่นหมายความว่าลมจากทิศตะวันตกจะต้องกำลังพัดเอาฟ้าใสมาในวันรุ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม คำทำนายพื้นบ้านนี้สามารถใช้ได้เฉพาะกับทางประเทศแถบเขตอบอุ่นเพียงเท่านั้น เนื่องจากในแถบอบอุ่นนั้น ลมจะมีทิศทางในการพัดจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเป็นส่วนมาก (เนื่องจากการหมุนของโลก) แต่สำหรับประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเรานั้น ทิศทางของลมนั้นไม่ได้มีทิศทางที่แน่ชัดตายตัวเช่นในแถบเขตอบอุ่น และพยากรณ์อากาศของกทม. ก็ดูเหมือนจะทำนายว่าวันรุ่งขึ้นน่าจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง

ซึ่งหากเราสงสัยว่าระหว่างคำทำนายของกรมอุตุกับสีเมฆนั้น อันไหนแม่นกว่ากัน วิธีที่สามารถพิสูจน์ได้ไม่ยาก ก็คือรอดูวันพรุ่งนี้ และหากเราทำการสังเกตและจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอเพื่อเปรียบเทียบ เราก็จะสามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าวิธีใดมีความแม่นยำมากกว่าอย่างมีนัยะสำคัญทางสถิติ

นอกจากนี้ ในทางดาราศาสตร์นั้น กระบวนการ Extinction นี้ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ที่เฉพาะชั้นบรรยากาศของโลกเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อเราสังเกตดาวฤกษ์ผ่านกลุ่มเนบิวลาหรือแถบฝุ่นของกาแล็กซีทางช้างเผือก เราก็จะพบว่าดาวฤกษ์เบื้องหลังนั้นสี "แดง" กว่าอย่างเห็นได้ชัด เราเรียกว่า Interstellar Extinction นอกไปจากนี้บริเวณที่ฝุ่นหนามากๆ เราอาจจะไม่สามารถสังเกตเห็นดาวฤกษ์ในช่วงความยาวคลื่นแสงปรกติได้เลย แต่เรายังสามารถสังเกตเห็นได้ผ่านทางความยาวคลื่นอินฟราเรดหรือวิทยุ ที่มีความยาวคลื่นสูงกว่าเป็นอย่างมาก

ภาพ: แม่น้ำเจ้าพระยากับฝั่งธนบุรียามเย็น วันที่ 27 ตุลาคม 2559

ขอบคุณที่มา: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page,
มติพล ตั้งมติธรรม
https://www.facebook.com/matiponblog/photos/a.255101608033386.1073741828.255096768033870/524622887747922/?type=3&theater
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
SpiderMeaw's profile


โพสท์โดย: SpiderMeaw
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: มารคัส, Thorsten, แมวฮั่ว แมวขี้น้อยใจ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ทำไมจู่ๆ lกย์ 700 คนถึงพร้อมใจกัน "ฟ้องร้องแอป Grindr"ชาวเน็ตแห่แชร์ หนุ่มประกาศขายบ้านด่วน!..เหตุผลสุดอึ้งเขมรมาเหนือเมฆ เรียกประชาชนที่อยู่รอบนครวัดมาให้ทำการปรับปรุงบ้านใหม่ ให้เน้นรูปทรงบ้านให้เป็นทรงโบราณ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวจะได้ฟินๆเขมรดราม่า วิจารณ์กันเอง! หลังเห็นมังกรที่ทำขึ้นมา? ลั่น มังกรหรือหนอนน้ำ!😃แค๊ปชั่นกวนโอ๊ยย!!..ฮาๆ..คลายเครียดๆ🤪นักเรียนมุสลิมในเยอรมันเผย "ศาสนาของเรา อยู่เหนือกฎหมาย!!"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
พลังมหัศจรรย์ของ "เกลือ" เปลี่ยนการซักผ้าให้สะอาดง่ายเขมรมาเหนือเมฆ เรียกประชาชนที่อยู่รอบนครวัดมาให้ทำการปรับปรุงบ้านใหม่ ให้เน้นรูปทรงบ้านให้เป็นทรงโบราณ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวจะได้ฟินๆยังจำ " คลิปแรก " ของโลกบน YouTube กันได้ไหมชายชาวยูเครนประท้วงกฎหมายเกณฑ์ทหาร ในโปแลนด์
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
"แมนยู" ซัด "เชฟฟิลด์" ยับ 4-2!!ฮีโร่ที่แท้จริง!! แม่เอาตัวบังลูก จากเหตุหลังคาถล่มผดส.เครื่องบิน เห็น UFO บินผ่านเครื่องบินเฉลยแล้ว สาเหตุที่ชาวจีนทำเครื่องบินวุ่นยกลำ
ตั้งกระทู้ใหม่