หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ทำไมอเมริกาถึงพิมพ์ดอลล่าได้เอง

Share แชร์บอร์ด ข่าววันนี้ โพสท์โดย SpiderMeaw

ทำไมอเมริกาถึงพิมพ์ดอลล่าได้เอง

เรื่องในตอนนี้ผมจับเนื้อหามาจาก กมล กมลตระกูล ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นะครับ

อย่างที่อ่านกันไปในตอนที่ 1-3 นายมูกาเบ้ เคยทำยังไงเอาไว้ บุช, โอบาม่าก็กำลังดำเนินรอยตามแบบนั้นเช่นกันครับ หากยังไม่หักดิบเปลี่ยนนโยบาย เส้นทางที่สหรัฐอเมริกากำลังเดินไปจุดหมายคือ Hyperinflation อย่างแน่นอน

ไม่สำคัญว่า จะเป็น ซิมบับเวียน ดอลลล่าร์ห์ หรือ US ดอลลล่าร์ห์
เมื่อกระทำ“เหตุ” อย่างเดียวกัน ก็ย่อม ให้ “ผล” ที่ไม่ต่างกัน.

ในตอนที่เกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หลายๆ คนหลายๆ สำนักวิเคราะห์กันว่าปัญหาของซับไพรมหรือหนี้ด้อยคุณภาพในภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นต้นเหตุของวิกฤตการณ์ แต่อันที่จริงสาเหตุเศรษฐกิจขาลงทางด้านเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐยังไม่ใช่สาเหตุหลักของหายนะของค่าเงินดอลลาร์ และจุดเริ่มความล่มสลายของระบบเศรษฐกิจอเมริกันในทศวรรษหน้า

สาเหตุที่แท้จริงคือ การซื้อขายน้ำมันในตลาดโลกกำลังจะเปลี่ยนไปใช้เงินตราสกุลอื่น เช่น ยูโรหรือเยน ที่เกิดจากการผลักดันของประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอลา และล่าสุดในการประชุมกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันหรือโอเปก (OPEC) ครั้งที่ 146 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ที่เมืองอาบูดาบี ประเทศสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ผ่านมานี้ อิหร่านได้กระโดดเข้ามาผลักดันแนวคิดนี้อย่างจริงจัง โดยเสนอให้ตั้งธนาคารโอเปกขึ้นมา และให้เลิกซื้อขายน้ำมันในตลาดโลกด้วยเงินดอลลาร์

ทำไมการเลิกใช้เงินดอลลาร์เป็นการคุกคามเศรษฐกิจอเมริกา

ปีที่แล้วอเมริกาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (current account deficit) $811 พันล้านเหรียญ - 8.11 ล้านล้านเหรียญ หรือ 6% ของจีดีพี ตัวเลขนี้ คือ รายจ่ายที่มากกว่ารายรับ

การที่อเมริกาเป็นประเทศเดียวที่สามารถ ขาดดุลชำระเงินและขาดดุลการค้าได้มากขนาดนี้ หรือ เรียกว่า “การขึ้นรถฟรี (free rider)” ก็เพราะได้ใช้อิทธิพลทำข้อตกลงกับกลุ่มประเทศโอเปกเมื่อปี 1971ให้การซื้อขายน้ำมันโลกใช้เงินดอลลาร์เพียงสกุลเดียว

ข้อตกลงนี้ทำให้ทุกประเทศที่บริโภคน้ำมัน ต้องสะสมเงินดอลลาร์เพื่อใช้ในการซื้อน้ำมันเข้าประเทศ และการซื้อขายน้ำมันโลกร้อยละ 85 ซื้อขายกันนอกประเทศสหรัฐอเมริกา และหมุนเวียนกันอยู่ภายนอกอเมริกา

ยกตัวอย่างสมมติว่าไทยอยากได้ดอลลล่าร์มาเก็บไว้ ก็เอาข้าวไปให้อเมริกา อเมริกาก็เอาเงินดอลลล่าร์มาให้ไทย เป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยน บังคลาเทศอยากได้ดอลลล่าร์ ก็เอาเครื่องนุ่งห่มไปให้อเมริกาเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยน


ดังนั้นเงินที่ดอลลล่าร์ที่พิมพ์ออกมานี้ก็คือเงินที่ใช้ในการซื้อสินค้าหรือจ่ายหนี้ให้ประเทศที่อเมริกานำเข้าสินค้านั่นเอง มาตรฐานชีวิตคนอเมริกัน จึงสูงที่สุดในโลก เพราะพิมพ์เงินออกมาซื้อฟรี กินฟรีสินค้าจาก ทั่วโลก หรือลงทุนในประเทศอื่นๆเพื่อหากำไร ส่งกลับเข้าประเทศ ประเทศที่ขายสินค้าให้ อเมริกาก็นำเงินดอลลาร์มาเป็นเงินสำรอง หรือนำมาไว้ใช้ซื้อน้ำมันมาบริโภค และเพื่อนำเข้ามาผลิตสินค้าไว้ขายอเมริกาต่อไปเป็นวงจรไป

หรือไม่ก็นำมาซื้อพันธบัตรของรัฐบาลอเมริกัน (U.S. Treasury Bonds) ซึ่งก็คือ นำเงินที่ขายสินค้าได้ดุลมาให้อเมริกาที่เป็นผู้บริโภคกู้เพื่อนำมาซื้อสินค้ากลับไปกินไปใช้ใหม่ (recycle)


ด้วยเหตุนี้ ธนาคารกลางสหรัฐจึงสามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาได้อย่างไม่จำกัด (ตามข้อตกลงของไอเอ็มเอฟ โดยที่ไม่ต้องมีทองคำมาสำรองตามจำนวนที่พิมพ์ออกมา) และไม่ต้องหวั่นว่าจะเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นภายในประเทศ

ตัวเลขในปี 2007 จีน ถือพันธบัตรอเมริกันไว้ทั้งสิ้น 396.7 พันล้านเหรียญ หรือเกือบๆ 4 แสนล้านเหรียญ ส่วนญี่ปุ่นเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ที่สุดของอเมริกา คือ 582.2 พันล้านเหรียญ หรือเกือบ 6 แสนล้านเหรียญ

ประเทศผู้ขายน้ำมันก็นำเงินดอลลาร์มาขาย ในตลาดเงิน - Foreign Exchange Markets (Forex) เช่น ที่ลอนดอน หรือนิวยอร์ก สิงคโปร์ ให้ประเทศที่ต้องการบริโภคน้ำมันซื้อไปเพื่อใช้ซื้อน้ำมันต่อไป

เงินดอลลาร์จึงหมุนเวียนอยู่ภายนอกอเมริกาเป็นเช่นนี้มาหลายสิบปีติดต่อกันมา

แต่วงจรนี้กำลังจะถูกทำให้สะดุด และอเมริกาจะยอมไม่ได้ เพราะว่าถ้าปล่อยให้มันเกิดขึ้น หนี้สินจำนวน 8.11 ล้านล้านเหรียญที่อเมริกาเป็นหนี้ชาวโลก ก็ต้องหามาจ่าย และอเมริกาก็ไม่มีเงินนี้จ่าย นอกจากจะต้องขายทรัพย์สิน หรือบริษัทไปสักครึ่งประเทศ

ประธานาธิบดีซัดดัมแห่งอิรักบังอาจท้าทาย ความเป็นอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของอเมริกา โดยขายน้ำมันของตน ด้วยเงินยูโรแทนดอลลาร์ ในปี 2000 และเปลี่ยนเงินสำรองประเทศของตนเป็นยูโรด้วย ทำให้หลายๆ ประเทศ ที่ซื้อน้ำมัน จากอิรักต้องเปลี่ยนตามไปด้วย

ความต้องการ (demand) ดอลลาร์ในตลาดโลกจึงทยอยลดลง ในปี 2002 เงินดอลลาร์ มีค่าลดลงร้อยละ 18 พอถึงปี 2003 อเมริกา จึงบุกอิรัก โดยอ้างว่ามีอาวุธนิวเคลียร์ (อิหร่าน อาจจะโดนเช่นเดียวกัน) จากนั้นก็เปลี่ยนการ ซื้อขายน้ำมันของอิรักจากเงินยูโรกลับมาเป็น เงินดอลลาร์ใหม่

อิหร่านเริ่มยุติการซื้อขายน้ำมันของตนจากเงินดอลลาร์มาเป็นเงินยูโรแทนเมื่อปี 2003 และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ค่าเงินดอลลาร์ก็ลดลงแล้วถึงร้อยละ 30 ในวันนี้ ตามหลักความต้องการซื้อ (demand) และความต้องการขาย (supply) เมื่อความต้องการซื้อลดลง ราคาของสิ่งนั้นก็ลดตามด้วย

การแก้เกมของอเมริกาคือ การปั่นราคาน้ำมันโลกให้สูงขึ้นเพื่อสร้างความต้องการซื้อดอลลาร์ให้อยู่ในระดับเดิม ทุกวันนี้ราคาน้ำมันจึงพุ่งทะยานขึ้นเกือบแตะ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลแล้ว

ถ้าวิธีนี้ไม่ได้ผล อเมริกาอาจจะตัดสินใจ โจมตีอิหร่านเหมือนเช่นที่ทำกับอิรักด้วยเหตุผลเดียวกันคือ กำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โดยใช้ยุทธวิธี “โจมตีก่อนแล้วพิสูจน์ทีหลัง” (pre-emptive strike )

อย่างไรก็ตามอิหร่านเป็นประเทศใหญ่กว่าอิรักมาก มีประชากรมากกว่า ถ้าอเมริกาโจมตี และเข้ายึดครอง ก็อาจจะเป็นสงครามยืดเยื้อกว่าสงครามอิรัก และอาจจะต้องลงทุนด้วยชีวิต ทหารอเมริกันมากกว่าอิรักอีกหลายเท่า

คนอเมริกันจำนวนมากจึงไม่เห็นด้วย รวมทั้งสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่ง เจ้าหน้าที่ รัฐบาล และสื่อมวลชน ดังนั้นจึงมีรายงานวิจัย เผยแพร่ออกมาว่าอิหร่านได้ยุติการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์มาแล้วตั้งแต่ปี 2003 เพื่อป้องกัน ไม่ให้ประธานาธิบดีบุชโจมตีอิหร่านเสียก่อน แล้วพิสูจน์ทีหลัง

ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ ก็ยุติการขาย น้ำมันของตนด้วยเงินดอลลาร์ไปแล้ว แต่ขายเป็นเงินยูโรแทน ดังนั้นโอกาสที่ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่ากลับมามีอิทธิพลในตลาดเงินโลกเหมือนเดิมจึงมีโอกาสน้อย หรือเป็นไป ไม่ได้เลย

สถานการณ์ข้างต้นเป็นสัญญาณขาลงของอภิมหาอำนาจที่ครองความเป็นเจ้ามาเป็นเวลาเกือบ 60 ปี ซึ่งสั้นกว่ายุคล่าอาณานิคมที่ยาวนานเป็นร้อยปี

ผมย้อนกลับไปข้อความข้างต้นที่ผมจั่วหัวไว้ครับว่า “ไม่สำคัญว่า จะเป็น ซิมบับเวียนดอลลล่าร์ หรือ US ดอลลล่าร์ เมื่อกระทำ“เหตุ” อย่างเดียวกัน ก็ย่อม ให้ “ผล” ที่ไม่ต่างกัน” ครับ

จากเหตุการณ์ที่เล่ามา ย่อมส่งผลถึงประเทศที่ยึดเอาเงินดอลลาร์เป็นพ่อหรือพระเจ้าโดยไม่ยอมเปลี่ยนเงินสำรองของชาติ ไปเป็นเงินสกุลอื่น และทำให้เราพอมองออกว่าทำไมอเมริกาถึงต้องหาเรื่องซัดดัมแห่งอิรัก ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย และกำลังโจมตีอิหร่านในข้อหามีอาวุธนิวเคลียร์


ปล. เป็นบทความเก่าๆหลายปีมาแล้วครับ ใครเป็นศัตรูของพญาอินทรีย์ ท้ายที่สุดคืออาชญากรโลก ตามที่ฮอลิวูดร่วมกันครอบงำโลกมาเป็นเวลานาน

 

ผลกระทบของมาตรการพิมพ์เงิน (QE) ของสหรัฐ

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ประกาศมาตรการพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรเป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 13 กันยายน (QE3) ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นดีใจ
และปรับตัวขึ้นกว่า 1.5% ทั้งนี้เพราะมาตรการที่ประกาศเกินความคาดหมายของตลาด คือ เฟดประกาศว่าจะซื้อ MBS (หลักทรัพย์ที่มีบ้านเป็นหลักประกัน) เดือนละ 40,000 ล้านบาทเริ่มต้นวันที่ 14 กันยายนเป็นต้นไปและคงดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับต่ำไปจนถึงกลางปี 2015 ที่สำคัญคือ จะดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างยิ่ง (highly accommodative) และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วก็จะยังดำเนินนโยบายดังกล่าวต่อไปอีกนาน (considerable time after economic recovery strengthens) เป็นที่เข้าใจว่านโยบายทุ่มเงินอย่างไม่จำกัดจำนวนจะดำเนินต่อเนื่องจนกระทั่งการว่างงานปรับตัวลงเหลือ 7% หรือต่ำกว่านั้น มาตรการ QE3 นี้นักวิเคราะห์บางคน บอกว่าน่าจะเรียกว่า “QE infinity” มากกว่า เพราะไม่มีการกำหนดขอบเขตแต่อย่างใด และ Bank of America-Merrill Lynch คาดการณ์ว่าขั้นต่อไปเฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอีกเดือนละ 45,000-60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป แปลว่า เฟดจะพิมพ์เงินเข้าระบบเดือนละเกือบ 100,000 ล้านเหรียญอย่างต่อเนื่องถึงปี 2015 คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งใหญ่กว่า QE1 และ QE2 รวมกัน

ทั้งนี้มาตรการ QE ที่ทำมาในอดีตนั้น ทำให้งบดุลของธนาคารกลางสหรัฐขยายตัวจาก 900,000 ล้านเหรียญมาเป็น 2,800,000 ล้านเหรียญในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา (ขณะที่งบดุลของอีซีบีเพิ่มจาก 1.1 ล้านล้านยูโรมาเป็น 3.1 ล้านล้านยูโรในช่วงเดียวกัน) ทั้งนี้หนี้ของธนาคารกลางนั้นส่วนใหญ่ก็คือธนบัตร (เงิน) ที่พิมพ์ออกมาสู่ระบบเศรษฐกิจนั่นเอง ซึ่งมาตรการคิวอีถือว่าเป็นมาตรการที่เป็นมิตรกับนักลงทุนมากที่สุด เพราะการที่ธนาคารกลางซื้อพันธบัตรคุณภาพดีออกจากมือของประชาชนนั้น ย่อมเป็นการผลักดันให้ประชาชนมีเงินที่จะนำไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ ดังนั้นนักลงทุนจึงมองว่าเมื่อมีข่าวร้ายว่าเศรษฐกิจทรุดตัวลง (เช่น การว่างงานเพิ่มขึ้น) แทนที่จะกลัวว่าผลประกอบการของบริษัทจะตกต่ำลง ก็จะมองว่าธนาคารกลางจะต้องเพิ่มมาตรการคิวอีเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจ ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าราคาหุ้นจะไม่ตกมีแต่ขึ้น คือ เชื่อว่า Bad news is good news เพราะเมื่อมีข่าวร้ายในเชิงของปัจจัยพื้นฐานก็จะมีมาตรการคิวอี (ข่าวดี) ออกมาพยุงหุ้น เพราะธนาคารกลางสหรัฐสรุปว่าการพยุงหุ้นคือกลไกที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจนั่งเอง

สภาวการณ์เช่นนี้นักลงทุนส่วนใหญ่ย่อมมีความพึงพอใจอย่างมากและเกือบทุกคนจะสนับสนุนมาตรการคิวอีอย่างไม่มีเงื่อนไข น้อยคนที่จะมองต่างมุมจากธนาคารกลางของสหรัฐหรืออีซีบี แต่ผมได้พบบทความที่มองต่างมุม 2 บทความซึ่งขอนำมาสรุปให้อ่านในครั้งนี้ครับ

บทความแรกเขียนโดย Ruchir  Sharma หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มหภาคของกองทุน Morgan Stanley  ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Financial Times วันที่ 10 กันยายน 2012 สรุปว่าการพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมากทำให้เงินทะลักไปสู่การเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาอาหารและราคาน้ำมัน เห็นได้จากตาราง 1

ปัญหาคือเมื่อคิวอีทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น กำลังซื้อของประชาชนก็ลดลง แปลว่าคิวอีจะไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่นหากคิวอี 3 ผลักดันให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับสูงขึ้นเกินกว่า 120 เหรียญต่อบาร์เรลก็จะทำให้ผู้บริโภคต้องใช้เงินเพื่อซื้อน้ำมันคิดเป็นสัดส่วนเกินกว่า 6% ของรายได้ ซึ่งการศึกษาในอดีตพบว่าที่ระดับดังกล่าวผู้บริโภคจะเริ่มลดการบริโภคสินค้าอื่นๆ ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงในกลางปี 2010 และ 2011 นอกจากนั้นก็ยังพบว่าเมื่อราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น 20 เหรียญต่อบาร์เรล จีดีพีสหรัฐจะลดลง 0.3% และเงินเฟ้อจะปรับเพิ่มขึ้น 0.3%

ที่สำคัญคือคิวอีนั้นกระทบคนจนมากกว่าคนรวย เพราะสัดส่วนของรายจ่ายของคนจนที่ต้องนำไปใช้ในการซื้ออาหารและพลังงานนั้นสูงกว่าสัดส่วนของคนร่ำรวยอย่างมาก (ตาราง 2)

นอกจากนั้นคนที่รวยที่สุด 10%ของประเทศก็ยังถือหุ้นมากถึง 75% ของหุ้นทั้งหมดอีกด้วย กล่าวคือมาตรการคิวอีนั้นช่วยคนรวยและทำให้คนจนลำบากมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

นาย Sharma สรุปว่าธนาคารกลางสหรัฐกำลังพยายามฝืนธรรมชาติในการใช้คิวอีมาอุ้มเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำอย่างรุนแรง กล่าวคือโดยปกติแล้วเมื่อเศรษฐกิจเผชิญกับวิกฤติทางการเงิน เศรษฐกิจจะตกต่ำอย่างรุนแรงและใช้เวลา 7 ปีกว่าจะฟื้นตัว (เช่นกรณีของไทยในปี 1997 ซึ่งกว่าทุกอย่างจะเข้าสู่สภาวะปกติก็ต้องใช้เวลา 5-6 ปี) แต่ธนาคารกลางสหรัฐพยายามอุ้มให้เศรษฐกิจตกต่ำเล็กน้อยเพียง 1 ปี แต่ก็ส่งผลให้เกิดความบิดเบือนและเกิดผลกระทบข้างเคียงดังกล่าว

อีกบทความหนึ่งเขียนโดยนาย Peter Fisher หัวหน้าฝ่ายการลงทุนในตราสารหนี้ของกองทุน BlackRock ลงใน Financial Times เช่นกัน กล่าวตำหนิวิธีคิดของธนาคารกลางสหรัฐว่าการพิมพ์เงินออกมากดดอกเบี้ยลงให้ต่ำทั้งดอกเบี้ยระยะยาวและดอกเบี้ยระยะสั้นนั้นจะไม่ได้ทำให้เกิดการปล่อยสินเชื่อเพิ่ม (ซึ่งจะถูกนำไปลงทุนฟื้นเศรษฐกิจ) แต่อย่างใดเพราะหากคนให้กู้ได้ดอกเบี้ยต่ำเพียง 1-1.5% (พันธบัตร 5-10 ปี) ก็จะทำให้คนไม่อยากปล่อยกู้ กล่าวคือจะต้องตอบให้ได้ว่าหากผลตอบแทนจากการปล่อยกู้ต่ำแล้ว ทำไมจึงจะมีการปล่อยกู้มากขึ้น? ทั้งนี้ทาง Fisher กลับมองว่าเมื่อธนาคารกลางสหรัฐเข้าไปซื้อพันธบัตรมาเก็บเอาไว้เป็นจำนวนมากทำให้พันธบัตร (สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยสุด) ราคาสูงมาก (ดอกเบี้ยต่ำมาก) นักลงทุนที่มีเงินอยู่ในมือก็จะไม่กล้าซื้อพันธบัตรราคาแพงดังกล่าว เพราะกลัวว่าราคาพันธบัตรจะปรับลดลงในอนาคต (เพราะดอกเบี้ยจะต้องปรับขึ้นกลับไปสู่ระดับปกติ) คนที่คาดการณ์เช่นนั้นก็จะยอมถือเงินเอาไว้ (เก็บซุกใต้หมอน) ดีกว่านำเอาเงินไปลงทุนที่มีความเสี่ยง กล่าวคือมาตรการคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐอาจกำลังนำไปสู่กับดักสภาพคล่อง (liquidity trap) ก็ได้ หมายความว่าธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินเข้าไปเท่าไหร่ประชาชนก็จะเก็บเงินกองเอาไว้เฉยๆในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ได้นำเอาไว้ใช้ทำประโยชน์แต่อย่างใด

หากจะนำเอามาโยงกับประเทศไทยผมก็ขอกล่าวถึงบทความของดร.บัณฑิต นิจถาวรที่ลงในกรุงเทพธุรกิจเมื่อ 10 กันยายน ซึ่งแสดงความกังวลว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทย “ขณะนี้ขยายตัวจากการเร่งตัวของการใช้จ่ายที่มาจากการสร้างหนี้ (debt-driven spending-led economy)” ดังนั้นนโยบายการเงินจะต้องนำปัจจัยนี้มาพิจารณาในการกำหนดทิศทางดอกเบี้ย ทั้งนี้ ดร.บัณฑิตกล่าวต่อไปว่า “อัตราดอกเบี้ย ณ ระดับปัจจุบันไม่ได้เป็นข้อจำกัดต่อการใช้จ่ายในประเทศ” และสรุปว่า “ในทุกวิกฤติที่เกิดขึ้นในโลกต้นเหตุจะเหมือนกัน คือมาจากการก่อหนี้ที่เกินพอดี”

ผมเห็นด้วยกับดร.บัณฑิตและมีประเด็นเพิ่มเติมว่ามาตรการกดดอกเบี้ยลงให้ต่ำ (ทั้งดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว) ของสหรัฐอเมริกาและยุโรปอย่างต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้านั้นย่อมจะเป็นสิ่งที่จะท้าทายประเทศไทยอย่างมาก เพราะเรากำลังเห็นต่างชาติเพิ่มการถือครองพันธบัตรรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมาก (เงินทุนไหลเข้า) ในขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ของไทยก็ได้เริ่มกู้ยืมเงินจากต่างประเทศแล้ว

Tags : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ปล. เป็นการแก้ไขปัญหาของตัวเองที่ง่ายที่สุดในโลก ซึ่งถ้าทั้งโลกอ้างอิงกับความร่ำรวยของอเมริกัน ผมว่างานนี้จบข่าวแน่นอนครับ เพราะมันอัดฉีดเงินกันตลอดเวลา แถมด้วยเงินเฟ้อก็ไม่เกิด แน่นอนครับช้าหรือเร็วเท่านั้นยังงัยตัวเลขของอเมริกาก็ต้องดีขึ้น เว้นแต่เกิดเหตุการไม่คาดฝันเท่านั้นเอง

ขอบคุณที่มา: ทองเนื้อเก้า สามชิกเวบไซต์พันทิป
http://pantip.com/topic/30689869
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
SpiderMeaw's profile


โพสท์โดย: SpiderMeaw
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
40 VOTES (4/5 จาก 10 คน)
VOTED: Macus, ไทยเฉย, โอ๊ย, แมวฮั่ว แมวขี้น้อยใจ, หนูนา นครยก, 916, หนูชอบแดกโคยยยยยยยยย, zerotype, มารคัส
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ครูหนุ่มชาวจีนโพสต์รูปตัวเอง เปรียบเทียบสมัยก่อนเเละหลังทำงานได้ 6 ปี เปลี่ยนไปจริง ๆ 😌เขมรแอบหนาว! หลังไทยเตรียมเสนอ ชุดไทย-มวยไทย ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมต่อ'ยูเนสโก้'ลาวขุดพบเจอหีบกะไหล่โบราณ รอการเปิด คาดว่าน่าจะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ!"บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขังมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุด และมีอายุมากที่สุดในภาคอีสานของไทยจดไว้เลย!! 2ตัวล่าง 78ให้มาตรงๆ 1 เมษายน 2567เปิดบ้านซุปตาร์ "ลิซ่า BLACKPINK" ที่เกาหลีใต้ มูลค่ากว่า 200 ล้าน..ฉลองวันเกิดครบ 27 ปีCIB ร่วม อย. ทลายแก๊ง ขายอาหารเสริม อาหารหลอกรักษาโรคร้าย มูลค่ากว่า 10 ล้านบาทประเทศที่ระบบการศึกษา มีมาตรฐานดีเยี่ยมมากที่สุดในปัจจุบัน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ประเทศที่ระบบการศึกษา มีมาตรฐานดีเยี่ยมมากที่สุดในปัจจุบันจดไว้เลย!! 2ตัวล่าง 78ให้มาตรงๆ 1 เมษายน 2567
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
CIB ร่วม อย. ทลายแก๊ง ขายอาหารเสริม อาหารหลอกรักษาโรคร้าย มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท"บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขังWhoscall เปิดให้เช็กข้อมูลหลุด โดยการกรอกเบอร์มือถือ"ทนายตั้ม" หอบหลักฐาน "บิ๊กตำรวจ" รับส่วยให้ "บิ๊กเต่า" ตรวจสอบแล้ว
ตั้งกระทู้ใหม่