Back to 1942 ประวัติศาสตร์ที่ไม่มีใครอยากจำ
“นี่คือ ประวัติศาสตร์ที่ชาวเหอหนาน ไม่สิ ชาวจีนไม่อยากจำ”
.
หลิวซีหยวน ผู้เขียนหนังสือนิยายอิงประวัติศาสตร์ชื่อดังของจีนอย่าง Remembering 1942 ซึ่งบันทึกเรืองราวการอพยพครั้งใหญ่ของชาวเหอหนานในปี 1942 ในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังปะทุขึ้น แต่นั้นไม่ใช่สาระสำคัญที่ทำให้เรื่องนี้น่าสนใจ ถ้าหากมันเป็นหนังว่าด้วยสงครามโลกที่ญี่ปุ่นรุกรานจีนแบบที่แล้ว ๆ มา เพราะเรื่องนี้นั้นมีมันพูดถึงการชาวเหอหนานนับล้าน ๆ ต้องอพยพหนีตายจากภัยแล้ง ความอดอยาก มุ่งหน้าจากถิ่นสู่มนฑลส่านซีทางตอนเหนือ
.
กระนั้นการอพยพครั้งนี้เต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย ทั้งความอดอยาก สภาพอากาศอันแสนเลวร้าย การแย่งชิง ปล้นของบรรดาทหารจีนที่ต้องการเสบียงไปรบกับพวกทหารญี่ปุ่น การโจมตีทิ้งระเบิดของญี่ปุ่น และ รัฐบาลที่ไม่สนใจใยดีพวกเขา ไม่เปิดประตูเมือง ไม่มีการต้อนรับใด ๆ จนทำให้สุดท้ายแล้วมีชาวเหอหนานเสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้จำนวนประมาณ 3 ล้านคน และพลัดพรากจากครอบครัวนับแสน ๆ คน
.
“มันคือเรื่องราวทีประวัติศาสตร์ที่น้อยคนนักจะรู้จัก เราแทบไม่พูดถึงเรื่องนี้ แถมมีคนเพียงหยิบมือที่จะจดจำเรื่องราวนี้ได้ มันไม่เคยมีในหนังสือหรือบทเรียนใด ๆ ซึ่งนั่นทำให้เรารู้ว่า ชาติของเราเลือกจำแต่ประวัติศาสตร์ที่อยากจะจำ เราจำแค่ว่า เราถูกญี่ปุ่นกระทำอย่างไร แต่ไม่จำว่า รัฐบาล และคนจีนด้วยกันกระทำกันเองอย่างไร เราหลงลืมเหตุการณ์เลวร้ายต่าง ๆ ไปมากมายเหลือเกิน”
.
แรงบันดาลใจสำคัญที่มีหนังสือเล่มนี้ขึ้นมานั้นมาจากที่หลิวซีหยวนกำลังค้นคว้าเรื่องภัยธรรมชาติแห่งศตวรรษที่ 20 ในช่วงปี 1989 ซึ่งเขาได้รับคำบอกเล่าจากเพื่อนของเขา
.
“เขาเล่าให้ผมฟังว่า ค่ายเอาชวิตซ์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สังหารคนไปกว่า 1 ล้านคนภายในเวลาเพียง 7-8 ปี แต่มันยังเทียบไมได้เลยกับภาวะความอดอยากที่เกิดขึ้นกับชาวเหอหนานในช่วงปี 1942 ซึ่งเปรียบเหมือนเอาค่ายเอาชวิตซ์มาตั้งไว้ที่เหอนานสามค่าย”
.
แรงบันดาลใจนี้ทำให้เขาเริ่มต้นศึกษาเรื่องราวที่เกิดขึ้นทันทีและทำให้เขาต้องอึ้ง เพราะ ไม่เคยยินเรื่องนี้มาก่อนเลยในชีวิต แถมการทำเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ยากมาก เพราะ มันแทบไม่มีพยานเหลือ หลักฐานก็หายากขึ้น ที่สำคัญไม่มีใครอยากจะพูดถึงเรื่องนี้อีกแล้ว
.
ด้วยเหตุนี้หลิวซีหยวนจึงตัดสินใจเดินทางกลับบ้านของเขามนฑลเหอหนานเพื่อสำรวจเรื่องราวนี้อย่างจริงจัง ผ่านบุคคลที่ยังเหลือรอด และ ร่องรอยของสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อเขียนเป็นหนัง
.
“ผมช็อกนะที่พวกเขาจำเรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้เลย คือ หายนะที่เกิดขึ้นมันน่าตกใจนะ แต่ตกใจที่พวกเขาไม่อยากพูดถึงจดจำเรื่องราวพวกนี้ แม้แต่ลูกหลานของพวกเขายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า มีเรื่องนี้เกิดขึ้น”
.
แถมยิ่งรีเสริชเรื่องก็พบว่า มีคนตายมากกว่าที่เขาคิดเอาไว้ซะอีก
.
“ผมพยายามค้นข้อมูลนะและพบว่า เฮ้ย มีคนตายเยอะกว่าที่ผมคิดซะอีก ผมเลยคิดว่า ตัวอย่างสามารถปั้นออกมาเป็นหนังสือที่ดีได้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ทัศนคติของผู้คนในเหอหนานที่มีต่อความตายในช่วงเวลาดังกล่าว”
.
หลิวซีหยวนบอกว่า สิ่งที่สำคัญในหนังสือเล่มนี้คือ การถามหาความรับผิดชอบจากใครสักคนต่างหาก
.
“เมื่อคนในยุโรปหรืออเมริกันพบกับความตาย พวกเขามักถามเสมอว่า ทำไมหรือใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แต่คนในเหอหนานกลับยังมีอารมณ์ขันได้เสมอ ยกตัวอย่างง่าย ๆ นะ ถ้าเกิดมีคนคนหนึ่งกำลังจะตาย เขาคนนั้นจะระลึกถึงเพื่อนที่ตายไปก่อนหน้านี้สามวันแล้วบอกว่า ฉันยังอยู่ได้อีกตั้งสามวันและนั่นทำให้ชีวิตของฉันมีความหมาย”
.
“นั่นคือ เหตุผลที่ผมเขียนหนังสือเรื่องนี้ขึ้นมา”
.
หลิวซีหยวนกล่าว
.
และความแรงกับเรื่องราวของประวัติศาสตร์ที่หายไปทำให้หนังสือเรื่องนี้ถูกดัดแปลงโดยเผิงเสียวกัง ผู้กำกับชาวจีนที่หยิบหนังสือมาเขียนเป็นภาพยนตร์ที่ชื่อว่า Back to 1942 ที่ถ่ายทอดภาพโศกนาฏกรรมนี้ออกมาได้อย่างน่าสะเทือนใจในแง่มุมประวัติศาสตร์ที่ไม่มีใครจดจำ ซึ่งตัวผู้กำกับหนังกล่าวเอาไว้ว่า
.
“จุดประสงค์ของหนังเรื่องนี้คือ จะทำยังไงไม่ให้มันเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก การหลงลืมมันอาจจะทำให้หลายอย่างดีขึ้น แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ช่วยเราเรียนรู้อะไรอยู่ดี เราควรจะจำมันเพื่อเรียนรู้มากกว่า”