ขอบคุณตาตี๋ที่ปีนต้นตาล นำเอามาทำอาหารให้เราได้ทาน
ตาตี๋ปีนต้นตาล เหยียบพลาด ตอตาลจึงตำตูดตาตี๋
เป็นคำที่ใช้เล่นกันยามเด็กๆ แต่ว่ามีตาตี๋ยายตี๋หลายคนปีนไปเด็ดเอาตาลมาให้เราทานจริงๆ นะ
ผลิตภัณฑ์ตาลโตนด
1. เครื่องดื่ม เช่น น้ำตาลสด และเหล้าตาลหมัก
น้ำตาลสด
น้ำตาลสดจะเก็บได้จากต้นช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกต้นตัวเมีย ที่เรียกว่า “งวงตาล” ที่อายุต้นตาลประมาณ 10-15 ปี งวงยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ดอกบานพอประมาณ โดยปกติจะเริ่มประมาณเดือนธันวาคม ของทุกปี เนื่องจากปริมาณฝนเริ่มลดน้อยลง และงวงตาลหรือช่อดอกของต้นตาลโตนดจะเจริญเติบโตเต็มที่ในช่วงนี้ ส่วนระยะเวลาการผลิตจะสิ้นสุดปลายฤดูแล้วประมาณเดือนเมษายน หรือพฤษภาคม
ขั้นตอนที่ 1 การทำทางขึ้น
ทางขึ้นเก็บน้ำตาลหรือลูกตาลโตนด จะใช้วิธีปีนขึ้นเก็บโดยใช้ “ไม้คาบตาล” ที่ทำจากไม้ไผ่ ตีแนบขนานลำต้นจนถึงยอดตาล
ขั้นตอนที่ 2 การนวดงวงตาล
การนวดงวงตาล หรือ การคาบช่อดอก เพื่อให้งวงตาลสร้าง และเก็บน้ำหวาน ทั้งต้นดอกตัวผู้ และตัวเมียจะคล้ายกัน จะแตกต่างกันเฉพาะไม้นวดช่อดอกของต้นตัวผู้จะใช้ไม้นวดที่แบน และสั้นกว่า ส่วนของต้นตัวเมียจะใช้ไม้กลม และยาวกว่า
การนวดจะนวดที่บริเวณปลายของงวงตาล ประมาณ 3 – 4 ข้อ โดยใช้คีมไม้สอดรวบงวงตาลเข้าหากัน และนวดอย่างสม่ำเสมอด้วยไม้คาบตาลเบาๆ ทำติดกันประมาณ 3-4 วัน หลังจากนั้น ผูกงวงตาลเหล่านี้เข้าด้วยกัน เพื่อความสะดวกในการใช้กระบอกไม้ไผ่รองรับน้ำตาลต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 การปาดตาล
การปาดตาล จะใช้ “มีดปาดตาล” ปาดที่ปลายงวงตาลบางๆ แล้วผูกกระบอกไม้ไผ่ให้แน่นกับงวงตาลสำหรับรองรับน้ำตาล ตาลต้นหนึ่งจะรองรับได้ 5 –7 กระบอก ปาดวันละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเช้า รอประมาณ 6 – 10 ชั่วโมง แล้วขึ้นเก็บ พร้อมปาดใหม่อีกครั้ง และไปเก็บตอนเย็น แต่สามารถเปลี่ยนเวลาปาดให้คลุมช่วงกลางคืนได้ เพราะการปาด และรองน้ำตาลช่วงกลางคืนจะได้น้ำตาลมากเป็น 2 เท่า ของช่วงกลางวัน แต่จะทำให้งวงตาลผลิตน้ำตาลได้น้อยลงอย่างรวดเร็ว โดย 1 ช่อดอกจะปาด และให้น้ำตาลนานประมาณ 3 – 4 เดือน 1 ต้นจะให้น้ำหวานเฉลี่ยวันละ 20 – 40 ลิตร (2 ครั้ง)
กระบอกไม้ไผ่สำหรับเก็บรองน้ำตาล เกษตรกรมักรมควันไฟก่อนเพื่อให้มีสีนวล และมีกลิ่น
หอม ก่อนเก็บมักถากไม้เคี่ยมหรือไม้พะยอม แต่นิยมใช้ไม่เคี่ยมมากกว่า จำนวน 2 – 3 ชิ้น ใส่ลงในกระบอกทุกกระบอก เพื่อช่วยชะลอการบูดของน้ำตาลโตนดได้
ขั้นตอนที่ 4 การแช่งวงตาล
การแช่งวงตาลด้วยน้ำ หลังจากการนวดหรือคาบช่อดอกแล้ว เกษตรกรจะแช่ช่อดอกหรืองวงตาลที่มีดรวมกันไว้แล้ว ในกระบอกใส่น้ำเปล่า จากภูมิปัญญาของเกษตรกรพบว่าน้ำที่ใช้แช่งวงตาลควรเป็นน้ำขุ่นหรือน้ำดินโคลน เพื่อให้มีน้ำตาลสดในปริมาณที่มากขึ้น ถ้าเป็นน้ำใสจะทำให้น้ำตาลสดไหลออกไม่ดี การแช่ต้องแช่ให้ครบ 2 วัน 2 คืน พอดี ถ้าแช่น้ำนานเกินไปจะทำให้ใส่ไส้ของงวงตาลอุดตัน ทำให้น้ำตาลสดไหลไม่ดีเช่นกัน
2. น้ำตาลเข้มข้น ได้แก่ น้ำตาลปี๊ป น้ำตาลปึก น้ำตาลแว่น น้ำตาลผง
4. อาหาร เช่น แกงขั้วตาลอ่อน แกงลูกตาล เป็นต้น
4. ขนม ของหวาน เช่น จาวตาลเชื่อม ไอศครีมลูกตาล วุ้นลูกตาลเชื่อม และขนมตาล เป็นต้น
ผลอ่อนหรือลูกตาลอ่อน
– ผลอ่อนตาลที่เก็บหลังจากออกจั่น 2-3 เดือน นำมาเฉาะเอาเนื้อด้านใน ที่เรียกว่า “จาวตาล” ตาล 1 ลูก จะมีลอนตาลประมาณ 3 ลอน นำมารับประทานเป็นผลไม้ มีรสนุ่มหอมหวาน
– ลูกตาลที่แก่จัดจะมีจาวตาลเหนียว แข็ง ใช้ทำจาวตาลเชื่อม
– ลูกตาลที่แก่จัดจะมีสีเหลืองสด นำมาคั้นน้ำ และเอาเส้นใยออกจะได้น้ำสีเหลือง มีกลิ่นหอม ใช้ต้มดื่มหรือทำอาหารคาวหวาน เช่น แกงหัวตาล ขนมตาล
– ลูกตาลแก่ใช้ประดิษฐ์เป็นของเล่น เช่น ทำล้อรถเด็ก ตุ๊กตา กะลาตาล
– เนื้อตาลแก่ใช้เผาทำถ่านสำหรับผสมยาสีฟัน ผลอ่อน และจาวตาล ใช้ทำอาหารคาวหวาน