จะรู้ได้อย่างไรว่า...กำลังบริโภคผงชูรสปลอม
ผงชูรส มีอีกชื่อที่รู้จักกันดีคือ โมโนโซเดียมกลูตาเมต ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นเจ้าตำหรับผลิตผงชูรส ได้ออกกฎหมายห้ามการผลิตและใช้ผงชูรสมา 30 ปีแล้ว แต่เมืองไทยเรากลับนิยมใช้กันจัง
โดยผงชูรสนั้นจะผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง หรือกากน้ำตาล แต่ในผงชูรสปลอมนั้นจะพบว่ามีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อร่างกายคือ มีการใช้บอแรกซ์ หรือน้ำระสานทอง เป็นส่วนประกอบ หรือบางครั้งอาจพบว่ามีการผสมสาร โซเดียมเมตาฟอสเฟต ซึ่งต่างเป็นอันตรายต่อร่างกายเมื่อรับประทานเข้าทั้งคู่ ซึ่งเราจะมาดูกันว่าเรามีวิธีทดสอบผงชูรสปลอมด้วยตัวเองได้อย่างไรกันบ้าง
โดยมากผงชูรสปลอม ในซองหรือกระป๋องหนึ่งๆ มักจะประกอบทั้งผงชูรสแท้และผงชูรสปลอมทั้งสองชนิด คือ โซเดียมเมตาฟอสเฟต และบอแรกซ์
วิธีทดสอบผงชูรสปลอม
1. ตรวจหาสารบอแรกซ์
ทำได้โดยการนำผงชูรส 1 ส่วนผสมกับน้ำเปล่า 10 ส่วน คนให้เข้ากัน จากนั้นนำกระดาษขมิ้นจุ่มให้เปียก หากพบว่ามีสารบอแรกซ์ผสมอยู่จริง กระดาษขมิ้นจะเปลี่ยนไปเป็นสีส้ม-แดง ซึ่งสามารถตีความได้ว่า ผงชูรสนั้นเป็นผงชูรสปลอม แต่หากกระดาษขมิ้นไม่เปลี่ยนสี แสดงว่าไม่มีบอแรกซ์เจือปนอยู่
2. ตรวจหาโซเดียมเมตาฟอสเฟต
ให้ละลายผงชูรสลงในน้ำสะอาดครึ่งถ้วย จากนั้นเติมปูนขาวและกรดน้ำส้มลงไป คนเข้าเข้ากันแล้ววางทิ้งไว้ ซึ่งหากพบว่ามีการตกตะกอน แสดงว่าผงชูรสนั้นมีส่วนผสมของโซเดียมเมตาฟอสเฟต ซึ่งหมายความว่าเป็นผงชูรสปลอม
วิธีทดสอบผงชูรสปลอมอาจใช้การตรวจหาสิ่งเจือปนอันตรายทั้งสองวิธีร่วมกัน หากทดสอบแล้วพบว่ากระดาษขมิ้นไม่เปลี่ยนสี และน้ำในแก้วไม่มีการตกตะกอน ก็จะมั่นใจได้ว่าผงชูรสที่เรามีอยู่นั้น เป็นผงชูรสจริงที่สามารถรับประทานได้โดยไม่มีอันตราย เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้คุณแม่บ้านมีความสุขกับการทำอาหารได้อย่างมั่นใจแล้ว
นอกจากจะใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์แล้ว เวลาบริโภคผงชูรสจะให้ระสชาดต่างกันด้วยคือ
1. ผงชูรสแท้ (Monosodium Glutamate = MSG)
เมื่อใช้ผงชูรสนี้ปรุงอาหารทำให้เกิดความรู้สึกว่าอาหารมีรสดี ชวนรับประทานยิ่งขึ้น ก็เนื่องจากผงชูรสไปกระตุ้นปุ่มรับรสสัมผัสที่บนลิ้นของเราให้รับรสได้ไวขึ้น จึงรู้สึกเหมือนว่าอาหารมีรสเปรี้ยว เค็มหวานมากขึ้น คืออร่อยมากขึ้นนั่นเอง
ผงชูรสแท้นี้หากใช้พร่ำเพรื่อ หรือใช้ปริมาณมากเกินควรก็จะเป็นอันตรายได้ ปกติคนเราจะบริโภคผงชูรสได้ในปริมาณวันละ 120 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม นั่นคือคนที่มีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม จะรับประทานผงชูรสได้ไม่เกินวันละ 6 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชาพูน ทั้งนี้ยกเว้นทารกอายุตํ่ากว่า 1 ปีและหญิงมีครรภ์
อาการพิษของผงชูรสที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากโซเดียมกลูตาเมตที่สะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไป ทำให้มีอาการผิดปรกติที่ตา แน่นหน้าอก ร้อนไหม้ตามกระพุ้งแก้ม ลิ้น และด้านหลังลำคอ บางครั้งปวดศีรษะอย่างรุนแรง เป็นเหน็บชาที่แขนขา ปากชา ลิ้นหนา กระหายน้ำ ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยที่โหนกแก้ม กล้ามเนื้อหัวใจถูกบีบ หายใจฝืด หน้าซีดและเย็น เหงื่อออกมากผิดปรกติ ทำให้สติปัญญาความคิดเสื่อมโทรม
2. ผงชูรสปลอม
เนื่องจากผงชูรสแท้มีผู้นิยมมาก และราคาค่อนข้างแพง จึงมีการปนปลอมผงชูรสกันขึ้น เช่น เจือปนน้ำตาล หรือเกลือ เป็นการเพิ่มปริมาณ และใช้สารเคมีเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อันตรายของผงชูรสปลอม โดยเฉพาะบอแรกซ์ยิ่งมีมากขึ้น เนื่องจากบอแรกซ์ เป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร จะเข้าไปสะสมในกรวยไต ทำให้บริเวณนั้น และท่อปัสสาวะอักเสบ อาจเป็นอันตรายถึงตายได้ ยิ่งรับประทานเข้าไปมากจะทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องร่วง ช็อคและตาย
สำหรับโซเดียม เมตาฟอสเฟตในผงชูรสปลอม ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้ท้องร่วง