หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การล้มละลายของระบบนิเวศ

โพสท์โดย greenpeaceth

เขียน โดย Rex Weyler นักเขียน ผู้สื่อข่าวและผู้ร่วมก่อตั้ง Greenpeace International

คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีอุตสาหกรรมหรือบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ที่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แล้วยังสามารถมีรายได้ที่มั่นคง จากรายงานที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ เมื่อไม่นานมานี้ทำให้เห็นว่า ความเสียหายทางธรรมชาติมูลค่ากว่า 2.15 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ มาจากองค์กรธุรกิจข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพียง 3,000 แห่ง ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่ามูลค่าความเสียหายทั้งหมดมีตัวเลขที่สูงกว่านี้มาก โดยบริษัทอื่น ๆ และชุมชนภายใต้ห่วงโซ่อุปทานโลกกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงจากผลกระทบนี้เช่นกัน

เป็นเวลาหลายศตวรรษที่บริษัทมากมายต่างเล่นไม่ซื่อด้วยการเรียกผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมว่า ‘ต้นทุนผลกระทบภายนอก’ (externality) เพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงที่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ตัวการที่ก่อให้เกิดมลพิษ ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศหรือทางน้ำ รวมถึงสารพิษอื่นๆในสิ่งแวดล้อม และการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิด

ณ จุดนี้เราต่างก็ทราบกันดีว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ ‘ต้นทุนผลกระทบภายนอก’ ที่จะละเลยได้ และหากให้บริษัททั้งหลายทำบัญชีสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและเที่ยงตรงตามความเป็นจริงแล้ว คงจะไม่มีบริษัทไหนเลยที่จะทำกำไรได้โดยไม่ต้องขึ้นราคาสินค้าและบริการของตน

หายนะทางอุตสาหกรรม

ส่วนหนึ่งของหนี้เหล่านี้เกิดขึ้นวันต่อวันจากการผลิตทางอุตสาหกรรม ทั้งการรั่วไหลของสารพิษ การทิ้งของเสีย และข้อผิดพลาดของเครื่องจักร ตัวอย่างเช่น ในบริเวณอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในประเทศจีนถูกเรียกได้ว่าเป็น ‘หมู่บ้านมะเร็ง’ ที่สมาชิกในชุมชนต่างกำลังต่อกรกับโรคมะเร็ง โรคพิการแต่กำเนิด และโรคอื่นๆที่เกิดจากการได้รับสารพิษ

ก่อนช่วงทศวรรษ 1960s เป็นเวลากว่าสี่สิบปีที่บริษัทจิสโซะ เคมิคอล คอเปอเรชั่น (Chisso Chemical Corporation) ในมินิมาตะ ประเทศญี่ปุ่นได้ทิ้งสารตะกั่วลงอ่าว ซึ่งมีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 1,784 คน และทิ้งให้อีกกว่าพันคนเผชิญกับปัญหาโรคพิการและโรคพิการแต่กำเนิด และในช่วงเดียวกันนั้น บริษัทฮุคเกอร์ เคมิคอล (Hooker Chemical Company) ในสหรัฐอเมริกา ก็ได้ทิ้งผลิตผลทางเคมีอย่างไดออกซิน จนทำให้ต้องขายผืนดินแห่งนั้น โดยผลกระทบที่ตามมาก็คือ มีการตรวจพบโรคพิการแต่กำเนิด การแท้งลูก และถึงกับต้องระบุว่าบริเวณนั้นถือเป็นเขตอันตราย

ปี พ.ศ. 2527 ในโภปาล ประเทศอินเดีย บริษัทยูเนี่ยน คาร์ไบด์ เคมิคอล (Union Carbide Chemical Corporation) ได้ปล่อยแก๊สเมทิล ไซยาเนท ที่มีพิษถึงชีวิต ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 8,000 คน ภายในเพียงไม่กี่สัปดาห์ หายนะทางอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้รวมถึงโรคทางระบบสมอง หรือโรควัวบ้าในสหราชอาณาจักร เหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด กรณีเรือขนน้ำมัน แอกซอน วัลเดซ (Exxon Valdez) และเหตุการณ์เรือขนน้ำมันรั่วอื่นๆ รวมถึงการทิ้งขยะเป็นพิษในปี 2539 ของเหมืองมาร์คอปเปอร์ (Marcopper Mining) ในอ่าวคาร์ลันคาน ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเรียกได้ว่าได้ฆ่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในแม่น้ำโบอัคเลยทีเดียว เหตุการณ์สารไซยาไนด์บาเอียร์ แมร์ (Baia Mare) รั่วไหลลงสู่แม่น้ำซัมส์ ฆ่าปลาในแม่น้ำทิสซ่าและดานูป จากประเทศฮังการีถึงยูโกสลาเวียร์ ภัยภิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมา ในปี 2011 และภัยภิบัติต่อเนื่อง แคนาเดียน ทาร์ แซนด์ (Canadian Tar Sands) ที่ทำพิษต่อชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยมาหลายศตวรรษ หนี้ธรรมชาติของอุตสาหกรรมแนวใหม่นี้ยังรวมไปถึงความเป็นไปได้ของการสูญพันธ์ุของผึ้ง ที่จะส่งผลกระทบต่อการถ่ายเกสรในระดับโลก ผลต่อสุขภาพอันใหญ่หลวงของสารเคมีรบกวนระบบฮอร์โมน (Endorine disrupting chemicals) จากอุตสาหกรรมเคมีไฮโดรคาร์บอน และที่ขาดไม่ได้คือสภาวะโลกร้อนที่จะกระทบต่อมนุษยชาติและทุกสิ่งในธรรมชาติต่อไปในอนาคต

ภาพของนูริ บี ผู้ประสบภัยในโภปาล เธอสูญเสียบ้านและครอบครัวจากเหตุการณ์ดังกล่าว © Greenpeace / Raghu Rai

เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและส่งผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา  และเราต่างรู้แล้วว่าเกือบทุกองค์กรในโลกเศรษฐกิจในปัจจุบันยังคงทิ้งค่าค้างจ่ายไว้กับธรรมชาติมากเพียงใด

ระบบทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในความเสี่ยง

เมื่อสามปีก่อนหน้านี้ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เศรษฐศาสตร์ของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (TEEB) กรรมการนักธุรกิจโลกเพื่อสิ่งแวดล้อม (WBCSD) และบริษัทที่ปรึกษาทรูคอสท์ (Trucost) ได้จัดทำรายงานเรื่องความเสี่ยงของต้นทุนทางธรรมชาติ (Natural Capital at Risk Report) ซึ่งระบุว่าผลกระทบทางธรรมชาติต่อเศรษฐกิจโลกนั้นมีมูลค่าถึง 4.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี โดยคำนวณจากค่ารักษาด้านสุขภาพ สวัสดิการสังคม ความเสื่อมโทรมทางธรรมชาติ และมลภาวะ

รายงานชิ้นนี้ได้นำเสนอทั้งผลสำรวจของด้านอุตสาหกรรมที่กระทบต่อทุนทางธรรมชาติและทางออกเพื่อให้บริษัทต่างๆจัดสรรตัวเลขนี้เข้าสู่ระบบอย่างเป็นทางการ อีกทั้งยังสรุปโดยรวมว่า กิจกรรมของบริษัทมากมายต่างไม่สามารถสร้างรายได้ให้มากพอที่จะครอบคลุมค่าวัตถุดิบจากธรรมชาติ มลภาวะ และผลกระทบที่รุนแรงอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ผลจากรายงานนี้ได้กล่าวถึงเพียงผลกระทบ โดยวัดจากการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ไม่ได้อิงถึงผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ หรือผลกระทบต่อโครงสร้างระบบนิเวศโดยรวม แต่รายงานนี้ก็ได้ทำให้เห็นแล้วว่า ถึงอย่างไรธุรกิจข้ามชาติทั้งหลายก็ไม่สามารถที่จะจ่ายค่าเสียหายเหล่านี้ได้ครบ แล้วยังคงทำกำไรให้กับบริษัทอย่างแท้จริง

การเป็นกรดของน้ำทะเล การประมงเกินขนาด และเขตมรณะในมหาสมุทร ทำให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจการประมง © Alex Hofford / Greenpeace

รายงานนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเกษตร ป่าไม้ ประมง เหมืองแร่ การใช้งาน และผลิตผลของไฮเปอร์คาร์บอน ซีเมนต์ เหล็ก กระดาษ และปิโตรเคมี โดยลงลึกไปตามภูมิภาค และตัวบ่งชี้ทางสิ่งแวดล้อม ข้อมูลได้เปิดเผยว่าในแต่ละภูมิภาคแล้ว ไม่มีส่วนไหนที่ทำกำไรได้มากพอต่อการชดใช้ค่าหนี้ธรรมชาติของตน โดยทั้งหมดทั้งมวลแล้ว มีค่าหนี้ธรรมชาติเป็นจำนวนถึง 7.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี หรือ ร้อยละ13 ของผลผลิตทางเศรษฐกิจโลกในปี 2552

ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมส่วนมาก ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ร้อยละ 38 ของทั้งหมด) ปริมาณน้ำ (ร้อยละ 25) และผืนดิน (ร้อยละ 24) ที่ใช้ มลพิษทางอากาศ (ร้อยละ 7) และมลพิษทางน้ำ (ร้อยละ 5) รวมถึงขยะของเสีย (ร้อยละ 1)

ถึงอย่างไร สิ่งที่จะทำให้เราแปลกใจได้คงจะเป็นผลกระทบที่รุนแรงที่สุดที่มาจากภาคอุตสาหกรรม อย่างการผลิตของสารไฮเปอร์คาร์บอน ที่นักนิเวศวิทยาต่างก็พูดถึง แต่ในขณะเดียวกัน การผลิตอาหารให้แก่คน 7.4 พันล้านคน ก็เป็นตัวบ่งบอกความเสียหายที่ไม่น้อยไปกว่ากัน การทำปศุสัตว์ การผลิตข้าวสาลีและข้าว ต่างก็ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของหนี้สิ่งแวดล้อมที่มีมากอยู่แล้วเป็นทุนเดิมเช่นกัน

ลำดับผลกระทบที่มากที่สุดโดยวัดเป็นภูมิภาค (จากตาราง 1 และ 2 ในรายงาน)

  1. การผลิตพลังงานจากถ่านหิน -  เอเชียตะวันออก และอเมริกาเหนือ

  2. การปศุสัตว์ขนาดใหญ่ - แอฟริกาใต้ และเอเชียใต้

  3. โรงงานอุตสาหกรรมเหล็ก และเหล็กกล้า - เอเชียตะวันออก

  4. การทำไร่ข้าวสาลี - เอเชียตอนใต้

  5. การผลิตพลังงานจากถ่านหิน - อเมริกาเหนือ

  6. การทำนาข้าว - เอเชียใต้

ผลกระทบที่รุนแรงที่สุดนั้นมาจากการเกษตรและการปศุสัตว์ขนาดใหญ่ ซึ่งทรัพยากรอันทรงคุณค่าที่เป็นปัจจัยหลักในการดำรงอยู่ของระบบชีวภาคถูกใช้และแปลงเป็นผลิตผลเพื่อประโยชน์ในการผลิตอาหารเพียงอย่างเดียว เกษตรกรรมสมัยใหม่นั้นอาศัยการพึ่งพากับ ไฮโดรคาร์บอน ปุ๋ยและยาค่าแมลง โดยสิ่งเหล่านี้ต่างนำไปสู่สภาวะโลกร้อน การหยุดชะงักของวัฏจักรสารอาหาร และการปนเปื้อนในระบบนิเวศ ในขณะที่ผืนดินก็ถูกทำให้ปนเปื้อนและหมดสภาพ

พื้นดินที่ได้รับการปนเปื้อน สารพิษและการหมุนเวียนของสารอาหารที่ถูกหยุดชะงัก ล้วนส่งผลให้ผลิตผลทางการเกษตรลดน้อยลง © Martin Jehnichen / Greenpeace

การเกษตร การปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมต่างทำให้ทรัพยากรทางน้ำหมดสิ้นลง น้อยครั้งที่น้ำบนผิวดินหรือน้ำบาดาลจะได้รับค่าชดเชยหลังจากการถูกนำไปใช้ และการกระจายน้ำก็ยิ่งทำให้ทรัพยากรทางน้ำลดน้อยลงไปเช่นกัน แม่น้ำ ทะเลสาบ และน้ำชั้นใต้ดินได้ถูกลดปริมาณลงไปในทั่วโลก

อย่างที่เราทราบกันว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสัญลักษณ์ของผลกระทบที่ร้ายแรงต่อทุกระบบนิเวศบนโลกนี้ และจากรายงานดังกล่าว มีการคาดการณ์ว่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกได้ถูกคิดเป็นเงินไปแล้วกว่า 2.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ต้นตอของการปล่อยก๊าซเหล่านี้  คือการผลิตพลังงานความร้อน เหล็ก และปูนซีเมนต์ โดยสิ่งที่ส่งผลเสียหลัก ๆ คือการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน รายงานยังได้แจกแจงครอบคลุมถึงค่าเสียหายที่มาจากสินค้าอุปโภคบริโภคทุกชนิด ซึ่งต่างก็มีส่วนได้ส่วนเสียต่อค่าหนี้ค้างจ่ายต่อธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ต้นทุนคาร์บอนที่จะนำมาจัดการและรักษาน้ำ การปล่อยก๊าซมีเธนจากการปศุสัตว์ก็เป็นตัวพิสูจน์ที่สำคัญอีกตัวหนึ่งเช่นกัน

การลดลงของภูมิต้านทานของพืช อุทกภัย โรคต่างๆ ความเป็นกรดของมหาสมุทร และความสูญเสียทางความหลากหลายทางชีวภาพ ต่างมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จากการอ้างอิงจากรายงานสเติร์น ปี 2549 ของสหราชอาณาจักร  (2006 UK Stern report) หากปรับเป็นตัวเลขตามอัตราเงินเฟ้อแล้ว ผลกระทบทางสังคมจากสภาวะโลกร้อนในปัจจุบันนั้นมีจำนวนสูงกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหนึ่งตันตามตัวชี้วัดของคาร์บอนไดออกไซด์

มลพิษจากอุตสาหกรรมต่ออากาศ ดิน และน้ำ ได้บวกจำนวนเงินอีก 8 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เข้าไปในค่าต้นทุนทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจาก ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ อนุภาคต่างๆ และภาวะน้ำทะเลขาดอากาศ ที่ลดจำนวนความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นบ่อนทำลายการประมง

การบริโภคและต้นทุนทางธรรมชาติ

ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมต่างๆ ถูกส่งผ่านมาถึงยังทุก ๆ อย่างที่มนุษย์บริโภค ทุกๆสินค้าที่เราซื้อต่างก่อให้เกิดค่าหนี้สิ่งแวดล้อมไว้ทั้งสิ้น การลดการบริโภคจึงเป็นส่วนหนึ่งในทุก ๆ วิธีเพื่อความยั่งยืนที่แท้จริง

ในรายงานได้แสดงถึงการที่ผู้บริโภคในประเทศร่ำรวยได้ซื้อสินค้าและบริการจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องต่อกรกับผลกระทบต่อทรัพย์สินทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่สุด โดยที่กระบวนการแปรรูปอาหารได้สร้างผลพวงจำนวนมากไปตามห่วงโซ่อุปทาน ดังที่ตารางนี้แสดง

ลำดับผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานที่ร้ายแรงที่สุด

  1. การแปรรูปถั่วเหลืองและเมล็ดน้ำมัน

  2. การชำแหละและแปรรูปสัตว์

  3. การแปรรูปสัตว์ปีก

  4. อุตสาหกรรมแป้งข้าวโพด

  5. อุตสาหกรรมน้ำตาล

ผู้บริโภคในประเทศที่ร่ำรวยต่างเพลิดเพลินไปกับเหล่าสินค้าราคา ‘ถูก’ นี้ จากประเทศผู้ผลิตที่ไม่ได้ชดใช้ต้นทุนทางธรรมชาติคืนอย่างเต็มจำนวน ทำให้กลุ่มประเทศที่จนกว่า ถูกทิ้งให้รับผิดชอบค่าทรัพย์สินทางสิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไป

รายงานนี้ได้เสนอให้รัฐบาลในแต่ละประเทศระบุมูลค่าต้นทุนทางธรรมชาติอย่างชัดเจนและจัดตั้งนโยบายเพื่อช่วยเหลือบริษัทต่างๆให้สามารถรวมจำนวนเงินนี้เข้ากับต้นทุนการผลิตได้ อีกทั้งยังเตือนรัฐบาลและบริษัทต่างๆให้เตรียมรับมือกับโลกแห่งการควบคุมการใช้ทรัพยากร ที่แต่ละประเทศจะต้องเผชิญกับการขาดแคลนต้นทุนทางธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้น และค่าสิ่งแวดล้อมที่จะต้องชดใช้หากต้องเกี่ยวพันกับการเก็บเกี่ยวทรัพยากรเหล่านี้ ถึงแม้ทรัพยากรบางประเภทจะเป็นพลังงานหมุนเวียน แต่พลังงานทุกชนิดมีจำกัด และการบริโภคเหล่านั้นต่างก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายทางระบบนิเวศ

ว่าด้วยรายงานด้านความเสี่ยงรายงานหนึ่งจากบริษัท มิวนิค รี (Munich Re) ภาวะโลกร้อนได้ทำให้เหตุการณ์ภัยแล้งในสหรัฐอเมริกาเมื่อไม่นานมานี้รุนแรงขึ้น ซึ่งเกี่ยวเนื่องไปยังความสูญเสียของพืชอย่างข้าวโพดและถั่วเหลือง โดยคิดเป็นเงินกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งของสาเหตุของเหตุไฟฟ้าดับเป็นเวลาสองวันในประเทศอินเดียในปี 2555 เกิดจากภัยแล้งที่ทำให้ชาวนาจำเป็นต้องใช้เครื่องสูบน้ำสำหรับระบบชลประทาน

รายงานของทรูคอสต์ (Trucost) หรือองค์กรสหประชาชาติคาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายต่อปีของผู้บริโภคเมล็ดพันธุ์และถั่วเหลืองกว่า 5 หมื่นล้านคน รวมไปถึงผลกระทบทางสังคมที่จะตามมาจะเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินที่ถูกกล่าวว่าเป็น ‘ผลกำไร’ ของโลกธุรกิจสมัยใหม่ ดูเหมือนจะเป็นเพียงภาพลวงตาที่สร้างขึ้นจากการละเลยหลักการคำนวณเบื้องต้น กว่าหลายศตวรรษที่มนุษย์ได้ใช้สินทรัพย์ที่เป็นของขวัญจากธรรมชาติโดยเรียกสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นรายได้ แบบแผนโครงสร้างทางอุตสาหกกรมในปัจจุบันจึงอาจจะถูกมองได้ว่า เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการล้มละลายทางระบบนิเวศแล้วก็เป็นได้ ถือเป็นโชคอันดีของเราที่มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เข้มข้นมากมายจากนักเศรษฐศาสตร์ระบบนิเวศ อย่าง Herman Daly, Hazel Henderson, John Stuart Mill, Nicholas Georgescu-Roegen, Donella Meadows, Mark Anielski และท่านอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้อธิบายระบบเศรษฐกิจในอนาคตที่จะคำนึงถึงและสามารถชำระค่าหนี้สิ่งแวดล้อมคืนแก่ธรรมชาติได้ไว้แล้วอีกด้วย

โดย Rex Weyler: นักเขียน ผู้สื่อข่าว และผู้ร่วมก่อตั้ง Greenpeace International

แปลโดย Piraorn Suvanbenjakule อาสาสมัครกรีนพีซ จากบทความภาษาอังกฤษ Ecological Bankruptcy


ลิงค์ข้อมูลเศรษฐศาสตร์ระบบนิเวศ:

John Stuart Mill (1806-1873), proposed a "stationary state" economy: J.S. Mill.

Thomas Malthus: An Essay on the Principle of Population, 1798; often dismissed but correct about ecological limits. If Malthus Was So Wrong, Why Is Our World In Trouble? William Catton, 1998; Malthus marginalized, Albert A. Bartlett, 1998.

Nicholas Georgescu-Roegen, The Entropy Law and the Economic Process, (1971)

Frederick Soddy: Wealth, Virtual Wealth and Debt (1926)

Donella Meadows, et. al., Limits to Growth (D. H. Meadows, D. L. Meadows, J. Randers, W. Behrens, 1972; New American Library, 1977)

Herman Daly, Steady-State Economics (1977, 1991); Essay by Daly: From a Failed Growth Economy to a Steady-State Economy

Mark Anielski: Genuine Wealth website and book The Economics of Happiness.

Hazel Henderson, Paradigms in Progress, (1995)

Solutions magazine, Ida Kubiszewski, editor, forum for biophysical economics.

Gail Tverberg: Our Finite World

Degrowth economics, Serge Latouche, Le Monde diplomatique


ที่มา: Greenpeace Thailand

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
greenpeaceth's profile


โพสท์โดย: greenpeaceth
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
VOTED: zerotype, cutiebarbie, เฒ่าลามก, อาล์ฟเตอร์
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ลูกค้าหนุ่มเศร้า หลังรีวิวชุดกีฬาที่ซื้อมา แต่ดันพลาดเห็นหนอนน้อยชาวลาวไม่ทน! หลังหนุ่มจีนโพสทิ้งเงินกีบลงในถังขยะ ทำคนลาวถึงกับไม่พอใจ?เพื่อน "ออกัส" ซัดแหลก..พระเอกดังต่างหาก ถูกข่มขู่ให้กราบเท้า!!iPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!เจ้าหญิงแห่งจอร์แดน ยิงโดรนอิหร่านตก 5 ลำ."Colosseum" โคลอสเซียม ณ อิตาลีเขมรแสบ! นำภาพเก่าสถานท่องเที่ยวไทย ที่เต็มไปด้วยกองขยะมาเล่นไทย?เกมพลิก!! เมื่อหนุ่ม ๆ เเอบเเม่ไปหาปลา เกือบโดนด่า เเต่พอเห็นลูกได้ปลาตัวใหญ่กลับบ้าน เสียงเปลี่ยนทันทีเลยนะเเม่
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ลาบูบู้" ไม่รอด โดนเขมรเคลมเรียบร้อยแล้ว..บอกรากเหง้ามาจาก "หน้ากาล"เขมรแสบ! นำภาพเก่าสถานท่องเที่ยวไทย ที่เต็มไปด้วยกองขยะมาเล่นไทย?torment: ทรมาน ระทมทุกข์อิหร่านขู่ถล่มที่ตั้งนิวเคลียร์ ของอิสราเอลด้วยขีปนาวุธ"Colosseum" โคลอสเซียม ณ อิตาลี
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
กลูซิทอลผง, Glucitol Powder, กลูซิตอลผง, น้ำตาลกลูซิทอล, Crystalline Glucitol, Glucitol Sugarอิหร่านขู่ถล่มที่ตั้งนิวเคลียร์ ของอิสราเอลด้วยขีปนาวุธคนไข้วัย 72 ติดเชื้อโควิดนาน 613 วัน ก่อนกลายพันธุ์ในร่างกายกว่า 50 ครั้งชาวเน็ตจีนวิจารณ์หลังสถานีรถไฟใหม่หน้าตาเหมือนโกเต็ก
ตั้งกระทู้ใหม่