ศรีปราชญ์ ยอดกวีสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แม้วาระสุดท้ายยังไม่ทิ้งบทกวี
ใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาถือได้ว่าเป็นยุคสมัยที่บ้านเมืองมีแต่ความสงบสุข ร่มเย็น ปราศจากการรุกรานจากศัตรูภายนอก ไม่มีศึกสงครามกับบรรดาประเทศราชต่างๆ ประชาชนอยู่ดีกินดี มีการติดต่อเจรจาการค้ากับชาวต่างประเทศ แม้แต่ชาวตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา ฯลฯ ก็เข้ามาเจรจาการค้า และทำให้ในราชสำนักมีขุนนางเป็นชาวต่างประเทศในสมัยนั้นหลายท่าน หลายท่านอาทิ เช่น คอลแสตนอิน ฟอลคอน(ชาวฮอลันดา) และนอกจากนี้ในสมัยนั้นยังมีผู้ทำขนมไทยหลากหลายชนิดขึ้นมา คือ ท้าวทองกีบม้า(ชาวโปรตุเกสเมื่อบ้านเมืองสงบสุขร่มเย็น ก็ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดอารมณ์สุนทรีย์ แลด้วยอุปนิสัยดั้งเดิมของคนไทยเรานั้นเป็นคน "เจ้าบทเจ้ากลอน" คือชอบร้องรำทำเพลง ในสมัยนั้นชาวอยุธยาหลากหลายกลุ่มสนใจในวรรณคดี มีบทโคลง ฉันท์กาพย์ กลอน เกิดขึ้นมากมาย ถือได้ว่า "เป็นยุคทองของวรรณคดี"
สมเด็จพระนารายณ์เองก็โปรดปรานการแต่งโคลงกลอนเป็นอันมาก วันหนึ่งทรงแต่งโคลงสี่สุภาพขึ้นบทหนึ่งความว่า
อันใดย้ำแก้มแม่ หมองหมาย
ยุงเหลือบฤาริ้นพราย ลอบกล้ำ
พระองค์ แต่งขึ้นได้เพียงสองบาทเท่านั้น ก็ทรงแต่งต่อแล้วก็เกิดติดขัด แต่งต่ออย่างไรก็ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงทรงพระราชทานแผ่นกระดานชนวนที่ทรงแต่งบทโคลงนั้นมาประราชทานให้แก่พระยา โหราธิบดีซึ่งเป็นผู้มีความสามารถในด้านการพยากรณ์ และยังเป็นผู้แต่งโคลงกลอน อันดับต้นของกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น และพระโหราธิบดีผู้นี้ยังเป็นผู้เขียนตำราเรียนเล่มแรกของประเทศไทยที่ชื่อ จินดามณีด้วยครับ เมื่อพระยาโหราธิบดีรับแผ่นกระดานชนวน ที่มีบทโคลงที่พระองค์ทรงแต่งค้างเอาไว้แล้ว ก็พิจารณาจะแต่งต่อให้เดี๋ยวนั้น แต่ก็ไม่สามารถจะแต่งต่อได้จึงขอพระราชทานเอาไว้แต่งต่อที่บ้าน ซึ่งพระองค์ก็ไม่ขัดข้อง พอท่านพระยาโหราธิบดีกลับไปถึงบ้าน ก็นำแผ่นกระดานชนวนนั้นไปไว้ในห้องพระด้วยเป็นของสูง แล้วก็ไปอาบน้ำชำระร่างกายให้สดชื๋นเสียก่อน จะเป็นด้วยโชคชะตาชักนำ หรืออย่างไรก็ไม่ทราบแน่ ในขณะที่ท่านกำลังทำภาระกิจส่วนตัวอยู่นั้น เจ้า "ศรี" บุตรชายหัวแก้วหัวแหวนของท่าน ซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง ๗ ขวบ ได้เข้ามาในห้องพระ (นัยว่าจะเข้ามาหาผู้เป็นบิดา) ก็เหลือบไปเห็นแผ่นกระดานชะนวนที่มีโคลงกลอนแต่งเอาไว้ ๒ บาท เข้า คงเป็นด้วยความซุกซนบวกกับความเฉลียวฉลาดของเจ้าศรี ก็เลยเอาดินสอพองเขียนโคลงอีก ๒ บาท ต่อจากองค์สมเด็จพระนารายณ์
เจ้าศรีจึงแต่งต่อความว่า
อันใดย้ำแก้มแม่ หมองหมาย
ยุงเหลือบฤาริ้นพราย ลอบกล้ำ
ผิวชนแต่กราย ยังยาก
ใครจักอาจให้ช้ำ ชอกเนื้อ เรียมสงวน
ในบทโคลงมีดังนี้
คือ สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งไว้ในสองบาทแรก มีความหมายว่า "มีสิ่งอันใดหนอที่ทำให้แก้มของน้องนางอันเป็นที่รักต้องหมองลงไป หรือว่าจะเป็นยุง เหลือบ ริ้น ผีพราย เข้ามาทำให้เป็นเช่นนี้" ดูความหมายของบทกลอนของพระองค์แล้ว ท่านกล่าวขึ้นมาลอย ๆ เหมือนจะรำพึงรำพันทำนองนั้น ที่นี้มาดูเจ้าศรีแต่งต่อบ้าง มีความหมายดังนี้ " เฮ้อ..คงไม่มี ใครคนใดในแผ่นดินนี้ที่จะเข้าไปย่างกรายนางได้ง่าย ๆ หรอก (เพราะขืนเข้าไปยุ่งมีหวังหัวขาด ด้วยเป็นนางห้ามของเจ้าแผ่นดิน) ดังนั้น คงไม่มีใครหรอกนะที่จะบังอาจไปทำให้แก้มของนวลนาง อันเป็นที่รักและหวงแหนต้องชอกช้ำไปได้"
กล่าว ถึงท่านพระยาโหราธิบดี หลังจากอาบน้ำชำระร่างกายเสร็จ ก็รีบรุดเข้ามาในห้องพระ พอเหลือบไปเห็นแผ่นกระดานชะนวนเข้า "ลมแทบใส่" เพราะรู้แน่ต้องเป็นฝีมือเจ้าศรีไม่ใช่ใครอื่นหนอยแน่ไอ้หมอนี่ ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ต้องจับมาฟาดให้ก้นลายเสียให้เข็ด แต่พออ่านบทกลอนที่เจ้าศรีมันแต่งต่ออารมณ์โกรธก็พลันระงับโดยสิ้นเชิง เฮ้ย ลูกเรามันแต่งดีนี่หว่า เราเองถ้าจะให้แต่งต่อและดีกว่ามันคงทำไม่ได้ เอาวะ เป็นไงก็เป็นกัน ต้องนำทูลเกล้า ฯ ถวายในวันพรุ่งนี้ดู
พอวัน รุ่งขึ้นหลังจากเข้าเฝ้าถวายแผ่นกระดานชะนวนแด่องค์สมเด็จพระนารายณ์แล้ว พระองค์ ทรงทอดพระเนตรเห็นบทโคลงที่แต่งต่อ ก็ทรงพอพระราชหฤทัย ตรัสชมเชยพระยาโหราธิบดีเป็นการใหญ่ พร้อมกับจะปูนบำเหน็จรางวัลให้ เอาล่ะซิครับ เรื่องมันชักจะไปกันใหญ่ หากท่านพระยาโหราธิบดีรับพระราชทานบำเหน็จโดยไม่ได้กราบทูลความจริงให้ทรง ทราบหากวันใดล่วงรู้ความจริงเข้า โทษสถานเดียวคือ "หัวขาด" ด้วย "เพ็ดทูล" พระเจ้าอยู่หัว ดังนั้น ท่านจึงกราบบังคมทูลความจริงให้ทรงทราบว่าแท้ที่จริงแล้ว ?ผู้ที่แต่งโคลงต่อจากพระองค์ มิใช่ข้าพระพุทธเจ้า แต่เป็นเจ้าศรีบุตรชายของข้าพระพุทธเจ้า ซึ่งทำไปด้วยความซุกซน ต้องขอพระราชทานอภัยโทษแก่มันด้วย ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา?
เมื่อ องค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงสดับความจริงจากพระยาโหราธิบดี แทนที่จะทรงกริ้ว กลับทรงพอพระราชหฤทัยยิ่งขึ้น ถึงกับทรงพระสรวลลั่นท้องพระโรง และตรัสกับท่านพระยาโหรา ฯว่า " บ๊ะ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น พ่อเก่งอย่างไร ดูรึ ลูกชายก็เก่งปานกัน หากเราจะขอให้เจ้านำบุตรของท่านเข้าถวายตัวเพื่อรับราชการแต่บัดนี้ เจ้าจะว่ากระไร ?" พระยาโหร ฯ ได้ยินเช่นนั้น ก็ถวายบังคมยกมือขึ้นเหนือเศียร รับใส่เกล้า ฯ ใส่กระหม่อม แล้วจึงกราบบังคมทูลว่า "ขอเดชะ พระอาญาไม่พ้นเกล้า ฯ การที่พระองค์ทรงโปรดที่จะให้เจ้าศรีบุตรชายของข้าพระพุทธเจ้า เข้าถวายตัวเพื่อรับราชการนั้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น แต่เนื่องจากบุตรของข้า ฯ ยังเยาว์วัยเพียง ๗ ชันษา ยังซุกซนและไม่ประสาในการที่จะรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท เอาไว้ให้เขาเจริญวัยกว่านี้สักหน่อย ค่อยว่ากันอีกที ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา "
เมื่อเจ้าชีวิตแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ รับทราบคำกราบบังคมทูลจากพระยาโหร ฯ แล้ว ก็ทรงเห็นจริง และตรัสว่า หากเจ้าศรีเจริญวัยพร้อมที่จะเข้ารับราชการได้เมื่อไร ขอให้ท่านอย่าบิดพลิ้ว นำมันมาถวายตัวเราจะชุบเลี้ยงให้เป็นใหญ่เป็นโตต่อไป
จะ ว่าไปแล้ว ท่านพระยาโหราธิบดีนั้น ท่านรู้อยู่แก่ใจของท่านดีว่า หากให้เจ้าศรีเข้ารับราชการเมื่อไร ก็เร่งเวลาให้เจ้าศรีอายุสั้นมากเท่านั้น ด้วยทราบอุปนิสัยใจคอลูกชายของท่านดี ประกอบกับพื้นดวงชะตาที่ได้คำนวณเอาไว้ บ่งบอกชัดเจน ว่า เจ้าศรีอายุจะสั้นด้วยต้องอาญา ดังนั้น เมื่อองค์สมเด็จพระนารายณ์ทวงถามเรื่องเจ้าศรีทีไร ท่านพระยาโหรก็ต้องหาเรื่องกราบทูลผลัดผ่อนเรื่อยไป จนกระทั่งเจ้าศรีอายุได้ ๑๕ ปี ได้ศึกษาสรรพวิทยาการต่าง ๆ จากท่านพระยาโหร ฯ ผู้เป็นพ่อจนหมดสิ้นแล้ว ท่านพระยาโหร ฯ จึงได้ถามความสมัครใจว่า อยากจะเข้าไปรับราชการในวังหรือไม่ ซึ่งเจ้าศรีนั้นก็ดีใจ และเต็มใจที่จะเข้าไปรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ดังนั้น เมื่อพระนารายณ์ทรงทวงถามอีกครั้งหนึ่ง ท่านพระยาโหรฯ จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือผลัดผ่อนได้อีก
แต่ก่อนที่จะนำเจ้าศรีเข้า ถวายตัวนั้น ได้ทรงขอพระราชทานคำสัญญาจากสมเด็จพระนารายณ์ ๑ ข้อ คือ " เมื่อเจ้าศรีเข้ารับราชการแล้ว หากกาลต่อไปภายหน้า ถ้ามันกระทำความผิดใด ๆ ที่ไม่ใช่ความผิดต่อราชบัลลังก์ และมีโทษถึงตาย ก็ขอได้โปรดงดโทษตายนั้นเสียหากจะลงโทษจริง ๆ ก็ขอเพียงให้เนรเทศให้พ้นไปจากเมือง อย่าให้ต้องถึงกับประหารชีวิต" ซึ่งพระองค์ก็ทรงพระราชทานสัญญานั้นโดยดี ทำให้ท่านพระยาโหร ฯ บรรเทาความวิตกกังวลไปได้มากทีเดียว
เมื่อเจ้าศรีเข้าถวายตัวรับ ราชการแล้ว พระนารายณ์ทรงให้เจ้าศรีอยู่ในตำแหน่งมหาดเล็กรับใช้ใกล้ชิด เมื่อเสด็จไปไหน ก็ทรงให้เจ้าศรีติดตามไปด้วยทุกหนแห่ง ทรงโปรดปรานเจ้าศรีเป็นอย่างมากด้วยทุกครั้งที่ทรงติดขัดเรื่องโคลงกลอน ก็ได้เจ้าศรีนี่แหละช่วยถวายคำแนะนำ จนสามารถแต่งต่อได้ มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระนารายณ์นึกสนุก และอยากจะให้ความสามารถของเจ้าศรีเป็นที่ปรากฎ จึงได้แต่งโคลงกลอนขึ้นบทหนึ่ง แล้วให้ข้าราชบริพาร ตลอดจนนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลายที่เข้าเฝ้า ณ ที่นั้น ช่วยกันแต่งต่อ ทำนองประกวดประชันกันปรากฎว่า ไม่มีผู้ใดแต่งโคลงกลอนได้ดีและถูกพระทัยเท่ากับของเจ้าศรี ถึงกับทรงพระราชทานพระธำมะรงค์ให้และตรัสว่า "เจ้าศรี เจ้าจงเป็นศรีปราชญ์ ณ บัดนี้ เถิด" นับแต่นั้นมา คนทั่วไปจึงเรียก "ศรีปราชญ์" สืบต่อกันมาจนทุกวันนี้
ในสมัยนั้น เป็นสมัยที่ทุกคนนิยมพูดจากันด้วยโคลงกลอน ว่ากันสด ๆ แม้กระทั่งยามเฝ้าประตูพระราชวัง ก็ยังสามารถแต่งโคลงกลอนโต้ตอบกับศรีปราชญ์ได้ดังมีบันทึกเอาไว้ เมื่อศรีปราชญ์ได้รับพระราชทานพระธำมะรงค์แล้ว ก็สวมไว้ที่นิ้ว พอผ่านประตูวัง ทหารยามเห็นเข้า ก็ถามว่า " แหวนนี้ท่านได้ แต่ใดมา " ศรีปราชญ์ ตอบว่า "เจ้าพิภพโลกา ท่านให้ " ยามถามต่อ "ทำชอบสิ่งใดนา วานบอก" ศรีปราชญ์ตอบอีกว่า " เราแต่งโคลงถวายไท้ ท่านให้ รางวัล"
ศรี ปราชญ์รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทอยู่หลายปี จนเป็นหนุ่มฉกรรจ์ ด้วยนิสัยเจ้าชู้ตามอารมณ์ของกวี บวกกับความคึกคะนอง และถือตัวว่าเป็นคนโปรดของพระนารายณ์ จึงทำให้ศรีปราชญ์ต้องโทษถึงกับติดคุกหลายครั้ง ด้วยมักไปทำรุ่มร่าม แต่งโคลงเกี้ยวพาราสีบรรดาสาวใช้ในวัง แต่พอพ้นโทษมาก็ไม่เข็ดหลาบ มีอยู่ครั้งหนึ่ง บังอาจไปเกี้ยวพาราสี "พระสนมเอก" ของพระนารายณ์ที่ชื่อท้าวศรีจุฬาลักษณ์ของพระนารายณ์เข้าแล้วเมื่อผ่านมาวัน หนึ่งศรีปราชญ์เดินถือโคลนมั้งครับ แล้วคนรับใช้ของท้าวศรีจุฬาลักษณ์จึงขัดขาศรีปราชญ์ทำโคลนหกลงใส่ท้าวศรี จุฬาลักษณ์ ถัดจากนั้นมีข้ารับใช้พระนารายณ์มาเห็นซึ่งไม่ชอศรีปราชญ์อยู่แล้วจึงนำความ ไปกราบทูลพระนารายณ์ เมื่อเรื่องทราบถึงพระกรรณของพระนารายณ์ พระองค์ก็ทรงกริ้ว และมีคำสั่งให้ประหารชีวิตแต่ระลึกถึงสัญญาที่ได้ให้ไว้แก่พระยาโหราธิบดี ผู้เป็นบิดา จึงทรงรับสั่งให้เนรเทศศรีปราชญ์ ไปอยู่ ณ เมืองนครศรีธรรมราช
ใน ระหว่างการเดินทาง ศรีปราชญ์ได้แต่งโคลงกลอน ที่เรียกว่า "กำสรวลศรีปราชญ์" บรรยายถึงความรู้สึก ที่ต้องพลัดพรากจากบิดามารดา บ้านเรือนที่สุขสบาย องค์พระนารายณ์เจ้าชีวิต ตลอดจน นางอันเป็นที่รัก เอาไว้น่าฟังมาก ถือเป็นเพชรเม็ดงามของวรรณคดีไทยชิ้นหนึ่งในยุคปัจจุบัน และเมื่อเดินทางไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว ก็ได้รับการต้อนรับขับสู้อย่างดีจากเจ้าพระยานครฯ ให้อยู่รับราชการด้วยกัน เพราะถึงอย่างไร ศรีปราชญ์นั้น แม้จะถูกเนรเทศ แต่ก็ไม่ได้ถูกปลดจากตำแหน่ง หรือลดศักดินาให้ลงไปเป็นไพร่อย่างนักโทษทั่วไป
ศรี ปราชญ์รับราชการอยู่กับเจ้าพระยานครฯ ได้นานหลายเดือน ซึ่งเจ้าพระยานครฯ ก็โปรดปรานศรีปราชญ์ไม่น้อย ด้วยเป็นคนฉลาด มีความรู้ความสามารถหลายอย่าง เป็นที่ปรึกษาในข้อราชการต่าง ๆได้อย่างดี แต่เมื่อเวลาล่วงมาวันหนึ่งนะครับอานุภรรยาน้อยของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เกิดชอบในบทกลอนที่ศรีปราชญ์แต่งขึ้น และทรงหลงรักศรีปราชญ์และทรงลอบส่งสาสน์ไปให้ศรีปราชญ์แต่เมื่อศรีปราชญ์ อ่านสาสน์เข้านั้น ก็คิดจะตอบกลับไปว่ารักของเราคงเป็นไปไม่ได้ แต่เกิดโชคร้ายเมื่อขุนนางราชสำนักมาเห็นสาสน์นี้เข้าจึงเกิดเข้าใจผิดและนำ ความไปกราบทูลแก่เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชว่า ภรรยาน้อยของท่านลักลอบคบชู้กับเจ้าศรีปราชญ์ เมื่อทราบความดังนั้นเจ้าเมืองก็ทรงกริ้วมากจึงนำคู่กรณีทั้งสองมาพบกัน แต่ภรรยาได้ใช้มารยาหญิงใส่ร้ายป้ายสีว่า ศรีปราชญ์เป็นคนเริ่มก่อน เจ้าเมืองก็หลงเชื่อและสั่งประหารศรีปราชญ์
ในลานประหารที่เป็นเนินดินปนทราย ก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบ ศรีปราชญ์ได้ใช้
หัวแม่เท้าเขียนบทโคลงสี่สุภาพลงบนพื้น ใจความว่า
ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง
หลัง จากศรีปราชญ์ตายวันหนึ่ง เมื่อพระนารายณ์ทรงแต่งโคลงกลอนติดขัด หาคนแต่งต่อให้ถูกพระทัยไม่ได้ ก็ทรงระลึกถึงศรีปราชญ์ ก็ตรัสให้มีหนังสือเรียกตัวกลับ เมื่อพระองค์ทรงทราบข่าวว่า ตอนนี้ศรีปราชญ์ได้จากโลกนี้ไปแล้ว ด้วยต้องโทษประหารจากเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ก็ทรงพระพิโรธ ตรัสว่า
"อ้าย พระยานครศรีฯ มันถือดีอย่างไร? ที่บังอาจสั่งประหารคนในปกครองของกูโดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดของอ้ายศรีฯ นั้น ขนาดมันล่วงเกินกูในทำนองเดียวกัน กูยังไว้ชีวิตมันเลย ไม่ได้การไอ้คนพรรค์นี้เอาไว้ไม่ได้" ว่าแล้วก็ตรัสให้นำเจ้าพระยานครศรีฯไปประหารชีวิต ด้วยดาบเล่มเดียวกันกับที่ประหารศรีปราชญ์