หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) ขัดขวางปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไร

โพสท์โดย greenpeaceth

คุณอาจจะคิดว่า “มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (ISSF)” กำลังทำงานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทร แต่แท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรมากไปกว่าการเป็นฉากหน้าให้กับเหล่าอุตสาหกรรมปลาทูน่าซึ่งยังกอบโกยสร้างผลกำไรจากการทำลายล้างสิ่งมีชีวิตในทะเลและระบบนิเวศของมหาสมุทรโลก และเอารัดเอาเปรียบแรงงานโดยเฉพาะแรงงานบนเรือประมง

อุตสาหกรรมทูน่ากำลังเปลี่ยนแปลงและปรับตัวอย่างรวดเร็ว บริษัทที่มีความก้าวหน้า ในตลาดปลาทูน่าหลักๆ ของโลกได้ตอบสนองข้อเรียกร้องว่าการประมงปลาทูน่าจะต้องไม่ทำลายมหาสมุทรและไม่กดขี่ขูดรีดแรงงาน แต่ถึงแม้ว่าจะมีความคืบหน้า แต่บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งยังคงหาวิธีการในการทำงานแบบเดิมโดยไม่แยแสต่อข้อห่วงใยด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงานของผู้บริโภค

แล้วทำไมบริษัทเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงได้เข้ามาร่วมกับมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (ISSF)?

อุตสาหกรรมปลาทูน่ายักษ์ใหญ่ก่อตั้งและสนับสนุนเงินทุนให้กับมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล(ISSF)

ตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่กรีนพีซและองค์กรสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ทำงานรณรงค์ท้าทายให้อุตสาหกรรมปลาทูน่าทำการเปลี่ยนแปลงวิธีการประมงแบบทำลายล้าง โดยสมาชิกทั้ง 8 ผู้ร่วมก่อตั้ง ISFF ล้วนเป็นบริษัทปลาทูน่ายักษ์ใหญ่ของโลกและขณะนั้นเป็นผู้ควบคุมตลาดปลาทูน่ากระป๋องกว่าครึ่งหนึ่งของโลก เงินสนับสนุนมากกว่า 300,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อก่อตั้งมูลนิธิได้มาจากบริษัท ไทยยูเนี่ยน และชิ้คเก็นออฟเดอะซี และมีอีกสองสามบริษัท เช่น บัมเบิลบี ที่สนับสนุนเงินราว 250,000 เหรียญสหรัฐในปี  2555 และยังมีผู้ผลิตอุปกรณ์ประมงของประเทศสเปนที่ผลิตทุ่นติดตามที่ใช้กับอุปกรณ์ล่อปลาที่เรียกว่า Fish Aggregating Devices (FADs) ก็ร่วมเป็นผู้สนับสนุน

การใช้เครื่องมือประมงทำลายล้างอย่าง FADs ร่วมกับอวนล้อมจับนั้นยังไร้กฏหมายควบคุมที่มีประสิทธิภาพดีพอ  จึงเป็นอุปสรรคหลักของการปกป้องมหาสมุทรเนื่องจากอุตสาหกรรมปลาทูน่ายังคงสามารถใช้ช่องว่างนี้ทำลายสิ่งแวดล้อมต่อไป  ซึ่ง ISSF ก็ได้ใช้ช่องว่างนี้ปฏิเสธที่จะควบคุมการใช้อุปกรณ์ล่อปลา FADs  แต่กลับใช้คำเรียกสร้างภาพ “ECO—FADs” หรืออุปกรณ์ล่อปลาที่อ้างว่าแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นไร้ผลและสร้างผลกระทบเช่นกัน จึงแสดงให้เห็นว่า ISSF ยอมก้มหัวให้กับอุตสาหกรรมทูน่ามากกว่าที่จะยอมทำงานเพื่อหาทางออกที่แท้จริงจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม  และแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ISSF เชื่อมโยงอยู่กับสมาคมค้าอาหารทะเล

ความเชื่อมโยงระหว่าง ISSF กับสถาบันประมงแห่งชาติ สถาบันประมงแห่งชาติมีบทบาทในการตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมประมง มีการจ้างบริษัทประชาสัมพันธ์ชื่อ Counterpoint Strategies ที่เคยทำงานให้กับสมาพันธ์ฟอร์มาลดีไฮด์ (สารพิษอันตรายที่ใช้ในการฆ่าเชื้อหรือดองศพ) ในสหรัฐอเมริกา และกลุ่มผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมน้ำมันในช่วงการระเบิดของแท่นขุดเจาะน้ำมันดีพวอเตอร์ฮอไรซัน (Deepwater Horizon blowout) ในอ่าวเม็กซิโก  เมื่อปี 2553-2556   สถาบันประมงแห่งชาติได้จ่ายเงินจ้าง Counterpoint Strategies มากกว่าครึ่งล้านเหรียญสหรัฐ และในประวัติการทำงานของอดีตรองผู้อำนวยการ Counterpoint Strategies ได้เขียนไว้ว่า เธอเคย “ทำงานอย่างใกล้ชิดกับระดับผู้บริหารของแบรนด์ทูน่า 3 ลำดับต้นของโลกเพื่อปกป้องผลประโยชน์จากการประท้วงของนักกิจกรรมสิ่งแวดล้อม”(National Fisheries Institute: NFI)ในสหรัฐอเมริกา  เป็นเรื่องที่น่าติดตาม สถาบันประมงแห่งชาติได้วิจารณ์กลุ่มคนที่ตั้งคำถามต่ออุตสาหกรรมประมงอย่างดุเดือด ประธานของสถาบันประมงแห่งชาติคนปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นผู้ดูแลเงินของ ISSF ส่วนประธานคนปัจจุบันของ ISSF เคยเป็นผู้อำนวยการของสถาบันประมงแห่งชาติ  ความเชื่อมโยงนี้มีความสำคัญเพราะจุดยืนของสถาบันประมงแห่งชาติคือสนับสนุนสถานะที่เป็นอยู่ของอุตสาหกรรมประมงอย่างเต็มที่  สถาบันประมงแห่งชาติ และบริษัทที่เป็นสมาชิกของ ISSF บางแห่งได้เป็นผู้สนับสนุน “ทูน่าฟอร์ทูมอโร่ TunaForTomorrow” ที่ทำสื่อประชาสัมพันธ์โจมตีกรีนพีซว่าข้อมูลไม่ถูกต้องและมักจะโจมตีบุคคลากรของกรีนพีซ

ดังนั้น เราจะเชื่อ ISSF ในการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างไรในขณะที่ ISSF มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสมาคมการค้าอย่างสถาบันประมงแห่งชาติที่จ้างบริษัทประชาสัมพันธ์ที่คอยปกป้องพฤติกรรมทำลายล้างและตักตวงทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางทะเลของอุตสาหกรรมประมง

มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล(ISSF) และยุทธศาสตร์ที่เอากำไรอยู่เหนืออาหารทะเลที่ยั่งยืน

ภาพที่จัดทำโดยอดีตผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของ Counterpoint Strategies แสดงถึงมุมมองของบริษัทประชาสัมพันธ์และลูกค้าอย่างสถาบันประมงแห่งชาติ ต่อบทบาทของตนและบทบาทของ ISSF ซึ่งมีความชัดเจนว่า ISSF และสถาบันประมงแห่งชาติทำหน้าที่ปกป้องแบรนด์อาหารทะเลของสหรัฐอเมริกาจากกลุ่มรณรงค์สิ่งแวดล้อม

ภาพนี้แสดงให้เห็นว่า ISSF เป็นกันชนระหว่างแบรนด์ทูน่ากับองค์การจัดการประมงระดับภูมิภาค (RFMOs: Regional Fisheries Management Organizations) ซึ่งรับผิดชอบในการออกกฏเกณฑ์การทำประมงปลาทูน่าและป้องกันการทำประมงเกินขนาด

อีกภาพหนึ่งจัดทำโดยอดีตผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของ Counterpoint Strategies แสดงอย่างชัดเจนโดยตรงว่าสถาบันประมงแห่งชาติและบริษัทที่ร่วมกับ ISSF ทำหน้าที่กีดกันกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการจูงใจให้ผู้ค้าปลีกหยิบยกปัญหาการประมงปลาทูน่าอย่างไร

มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล(ISSF): อาหารทะเลที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงหรือเกราะกำบังที่เบี่ยงเบนการวิพากษ์วิจารณ์

การขึ้นต่อเงินทุนจากอุตสาหกรรมของมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (ISSF) ความสัมพันธ์กับสถาบันประมงแห่งชาติ และการพึ่งพาบริษัทประชาสัมพันธ์ที่มีชื่อเสียงในแง่ไม่ดีนักอาจพอเข้าใจได้หาก ISSF สนับสนุนเรื่องความยั่งยืนและผลักดันบริษัทที่เป็นสมาชิกของตนทำให้ห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลปราศจากการทำลายล้างมหาสมุทร ในทางตรงกันข้าม บริษัทอุตสาหกรรมปลาทูน่าใช้สถานะการเป็นสมาชิกของ ISFF เพื่อหลบเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์

ในขณะที่ผู้เล่นอื่นๆ ในแวดวงอุตสาหกรรมนี้กำลังหาทางแก้ปัญหา   แต่สิ่งที่ ISSF อ้างว่าข้อกำหนดต่างๆเป็นข้อริเริ่มด้านความยั่งยืนส่วนใหญ่นั้นเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่มีอยู่แล้ว  บริษัทต่างๆ ที่ตระหนักถึงความยั่งยืนกำลังหาแหล่งสินค้าปลาทูน่าที่มาจากการประมงที่ไม่ใช้อุปกรณ์ล่อปลา (FADs) บริษัทเหล่านี้ยังยืนยันไม่ไห้มีการกดขี่ขูดรีดแรงงานในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลของตน ซึ่ง ISFF ไม่สนใจเลย

หลายปีก่อน มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล(ISSF) ขอให้กรีนพีซเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านสิ่งแวดล้อม และกรีนพีซก็ได้ปฏิเสธอย่างสุภาพ เนื่องจากเรารู้และตระหนักว่าผลลัพธ์ทั้งหมดที่ออกมาและสิ่งที่ ISSF เลือกจะไม่สนใจนั้นจะถูกกำหนดจากการที่ต้องพึ่งพาเงินสนับสนุนจากอุตสาหกรรม บ่อยครั้ง เราพบว่าบทบาทของISSF คือการเบี่ยงแบนความสนใจจากปัญหาที่แท้จริงและประวิงเวลาในการรับรองถึงทางออกของปัญหา

การที่ ISSF พยายามสร้างภาพว่าเป็น “อีโค” หรือทำเพื่อสิ่งแวดล้อม และการเพิกเฉยต่อประเด็นการทารุณแรงงานและการประมงเบ็ดราว ทำให้ ISSF กลายเป็นเพียงฉากบังหน้าที่คอยปกป้องสมาชิกของตน ซึ่งนั่นห่างไกลจากการเป็นอุตสาหกรรมทูน่าที่ยั่งยืนแท้จริง เมื่อสิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นคำถาม ISSF และเหล่าสมาชิกจึงไม่สามารถอ้างสิทธิอ้างเสียงที่จะบอกว่ากำลังทำงานเพื่อปกป้องอนาคตของมหาสมุทรและรับผิดชอบต่อผู้บริโภคปลาทูน่ากระป๋องได้ เราสนับสนุนเรียกร้องให้บริษัทปลาทูน่าแบรนด์ ต่างๆ รวมถึงผู้ให้เงินทุนกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลงทุนลงแรงไปยังโครงการอื่นๆ แทนที่จะเป็น ISSF


ที่มา: Greenpeace Thailand

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
greenpeaceth's profile


โพสท์โดย: greenpeaceth
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: zerotype, Carrrot
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สุสานลับใต้ดิน ทำไมไม่มีใครกล้าเปิด "สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้"AI หลุดบอกเลข งวด 16 เมษายน 2567เลขเด็ดคุณไก่ วุฒินันท์ สอนศรี งวด 16 เมษายน 2567
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ทำไมเวลาซื้อผ้าอนามัย ต้องห่อใส่หนังสือพิมพ์ ?เขมรว่าไง! โดรนที่ใช้แสดงในงานปีใหม่เขมร ก็คือผลงานคนไทย!ทหาร ลาพักร้อนช่วงสงกรานต์ กลับบ้านมาหาแม่ ถูกคนร้ายบุกรัวกระสุนเสียชีวิตหน้าบ้านสงกรานต์ "ยิ่งลักษณ์" แวะมาทานอาหาร สรงน้ำพระ ที่นี่
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
มือเบสวง The Gazette เสียชีวิตแล้ว!!คนตาบอดสีได้รับอนุญาตให้เป็นตำรวจ"เฮนรี แควิลล์" หรือ "ซุปเปอร์แมน" กำลังจะเป็นพ่อคน!!ภูเก็ตเกาะสวรรค์ โซเชียลตาไว เห็น นทท.ชาย-หญิง ลงเล่นทะเลเขาทำอะไรกัน ? ท่าคุ้นๆ
ตั้งกระทู้ใหม่