ประวัติก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต
"ก๋วยเตี๋ยว" สันนิษฐานกันว่าประเทศไทยมีมาแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นช่วงที่อาณาจักรอยุธยาติดต่อกับชาวต่างชาติมากมาย
ประวัติก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต "ก๋วยเตี๋ยว" สันนิษฐานกันว่าประเทศไทยมีมาแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ซึ่งเป็นช่วงที่อาณาจักรอยุธยาติดต่อกับชาวต่างชาติมากมาย และชาวจีนก็ได้นำเอาก๋วยเตี๋ยวเข้ามาสู่อาณาจักรไทยโดยเป็นอาหารกินกันในเรือ มีการต้มน้ำซุป มีการใส่หมู ใส่ผักและเครื่องปรุงเพื่อความอร่อย แต่สำหรับคนไทยแล้วถือว่าเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ในยุคนั้นจึงได้นำมาประกอบเป็นอาหารอื่น ๆ บริโภคกันจนเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และเป็นการเริ่มให้มีการทำเส้นก๋วยเตี๋ยวขึ้นหลังจากนั้น
ต่อมาในสมัยจอมพลป.พิบูลย์สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายรัฐนิยมที่สนับสนุนให้ประชาชนบริโภคก๋วยเตี๋ยว เพราะเห็นว่าหากประชาชนหันมาร่วมกันบริโภคก๋วยเตี๋ยวจะเป็นการแก้ไขเศรษฐกิจของชาติในตอนนั้น เพื่อจะได้มีเงินหมุนเวียนในประเทศ ดังคำกล่าวของจอมพล ป.ในสมัยนั้นว่า อยากให้พี่น้องกินก๋วยเตี๋ยวให้ทั่วกัน เพราะก๋วยเตี๋ยวมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานพร้อมทำเองได้ในประเทศไทย หาได้สะดวกและอร่อยด้วย หากพี่น้องชาวไทยกินก๋วยเตี๋ยวคนละหนึ่งชาม วันหนึ่งจะมีคนกินก๋วยเตี๋ยวสิบแปดล้านชาม ค่าก๋วยเตี๋ยวของชาติไทยเท่ากับเก้าสิบล้านสตางค์เท่ากับเก้าแสนบาทต่อวัน เป็นจำนวนเงินหมุนเวียนมากพอใช้ เงินเก้าแสนบาทนั้นก็จะไหลไปสู่ชาวไร่ ชาวนา ชาวทะเลทั่วกันไม่ตกไปอยู่ในมือใครคนหนึ่งคนใดเพียงคนเดียว และเงินหนึ่งบาทก็มีราคาหนึ่งบาทซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เสมอ ไม่ใช่ซื้ออะไรก็ไม่ได้เหมือนอย่างทุกวันนี้ ซึ่งเท่ากับไม่มีประโยชน์เต็มที่ในค่าของเงิน
ก๋วยเตี๋ยวมีขายทั่วทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งก็มีชื่อเสียงของแต่ละสถานที่แตกต่างกันออกไป สำหรับจังหวัดปทุมธานีเรื่องของก๋วยเตี๋ยวไม่เคยเป็นรองใครและยิ่งเป็นก๋วยเตี๋ยวเรือโดยเฉพาะที่รังสิตไม่ต้องอธิบายกันมากมาย มีข่าวคราวทางหนังสือพิมพ์ และทีวี กล่าวถึงอยู่บ่อยครั้ง แม้แต่สื่อมวลชนจากต่างประเทศก็เคยนำเสนอข่าวเกี่ยวกับก๋วยเตี๋ยวเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาแล้ว
ก๋วยเตี๋ยวเรือ คือก๋วยเตี๋ยวแบบไทยชนิดหนึ่ง มีรสชาติจัดจ้าน น้ำก๋วยเตี๋ยวสีข้นคล้ายก๋วยเตี๋ยวเนื้อหรือก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น เพราะใส่เครื่องปรุงที่ต่างจากก๋วยเตี๋ยวชนิดอื่น คือ ซีอิ๊วดำ เต้าหู้ยี้เป็นต้น อีกทั้งยังมี น้ำตก คือ เลือดวัวหรือหมูผสมกับเกลือสำหรับปรุงใส่ในน้ำก๋วยเตี๋ยว
สำหรับก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตเป็นที่โด่งดังและทำให้ก๋วยเตี๋ยวเรือเป็นที่แพร่หลายไปทั่ว เนื่องจากในสมัยที่มีการตัดถนนซุดปอร์ไฮเวย์ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นถนนวิภาวดีรังสิต ช่วงสะพานข้ามคลองรังสิตจะมีร้านก๋วยเตี๋ยวทำเป็นเพิงมากมายหลายร้านขึ้นป้ายแข่งกันโดยอ้างชื่อโกฮับ เช่น ...หลานโกฮับ ...เหลนโกฮับ...เพื่อนโกฮับมากมายทำให้ผู้คนที่ขับรถผ่านมาต้องหยุดรถพักกินก๋วยเตี๋ยวทั้งขาเข้าและขาออกจนเนืองแน่น
นายเดชา กลิ่นกุสุม อดีตนายกเทศมนตรีเมืองรังสิต เล่าว่าก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตแบ่งออกเป็น 3 ยุคคือ
ยุคแรก พายเรือสำปั้นขายตามคลองรังสิต และคลองแยกเช่นคลองหนึ่ง คลองสอง และคลองสาม ฯลฯโดยโกฮับในเวลากลางวันก็จะมาขายบริเวณใต้ถุนสะพานแล้ว ปากคลองสว่าน ริมถนนพหลโยธิน
ยุคที่สอง เริ่มตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2501 ยกเรือขึ้นบก แต่นั่งขายอยู่ในเรือตามเพิงหน้าร้านค้า ซึ่งก็ยังใช้เรือสำปั้นและอุปกรณ์เดิม ๆ ซึ่งจะพบเห็นในตลาดรังสิต ริมถนนพหลโยธิน และบริเวณตลาดเซียร์ตรงสะพาน3 ปัจจุบันสะพานไม่มีแล้ว มีจำนวนหลายเจ้าด้วยกันโดยนำเอาชื่อของโกฮับมาโฆษณา
ยุคที่สาม คือยุคปัจจุบัน ราว พ.ศ.2537 ขายในแพ หรือใช้เรือต่อขนาดใหญ่(เรือเอี้ยมจุ้น) จอดลอยลำในคลองรังสิต ทอดสะพานให้คนเดินจากริมคลองเข้าไปในเรือ และแพ ขายทั้งกลางวันและกลางคืนมีจำนวนหลายสิบเจ้า
อันนี้แถม (ประวัติก๋วยเตี๋ยวเรือ)
แหล่งข้อมูล http://www.rangsit.org/sculpture/gohub/menu12.php
ขอบคุณภาพจาก www.google.com