หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ถั่วลันเตา (Sugar Pea)

โพสท์โดย มารคัส

ถั่วลันเตา (Sugar Pea)

 

ถั่วที่มีรสชาติหวาน กรอบอร่อย จนมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Sugar Pea ส่วนชื่อภาษาไทยว่า “ลันเตา” มาจากชื่อจีนว่า ห่อหลั่นเตา ซึ่งห่อหลั่น หมายถึง ฮอลแลนด์ เตา แปลว่า ถั่ว ถั่วลันเตาแบ่งออกเป็นถั่วลันเตาเมล็ด ถั่วลันเตาฝัก ถั่วลันเตายอด ถั่วลันเตาเมล็ดใช้เมล็ดแก่ไปปรุงอาหารหรือแปรรูป ถั่วลันเตาฝัก ใช้ฝักและเมล็ดอ่อนปรุงอาหาร ส่วนถั่วลันเตายอดหรือที่เรียกว่า “โตเหมี่ยว” ใช้ยอดและต้นอ่อนมาปรุงอาหาร

 

ไม่ว่าจะเป็นถั่วลันเตาประเภทใด เมื่อนำมาปรุงด้วยความร้อนจะให้รสหวานอ่อน ๆ ในแบบฉบับของผัก เพราะแป้งในเมล็ดและฝักจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล อย่างไรก็ตาม ควรปรุงแบบไฟแรงโดยใช้เวลาน้อย เพราะนอกจากจะช่วยคงความกรอบได้แล้ว ยังเป็นการคงคุณค่าสารอาหารไว้ด้วย นอกจากปรุงอาหารแล้วยังนำไปแปรรูปได้ โดยการใช้สายพันธุ์ที่เมล็ดขนาดเล็ก ผิวเมล็ดขรุขระ ฝักหรือเมล็ดสีเขียวเข้มไปทำถั่วลันเตาแช่แข็ง ส่วนสายพันธุ์ที่เมล็ดขนาดใหญ่ ผิวเมล็ดเรียบ ฝักหรือเมล็ดสีเขียวอ่อน จะนำเมล็ดไปบรรจุกระป๋อง

 

ถั่วลันเตาอุดมไปด้วยเบตาแคโรทีน สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์ และเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยบำรุงสุขภาพผิว สายตา และสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงถั่วลันเตามีไขมันต่ำแต่ให้โปรตีนสูง มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง โดยถั่วลันเตา 2 ทัพพี ให้แคลเซียมถึง 170 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าถั่วฝักยาว 4 เท่า

 

ถั่วลันเตาเป็นผักที่ให้วิตามินบี 1 สูงมาก โดยในปริมาณ 100 กรัม ให้ไทอะมินกว่าร้อยละ 60 ของความต้องการในแต่ละวันของร่างกาย วิตามินชนิดนี้จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาท ช่วยในการเผาผลาญพลังงาน และช่วยให้รู้สึกสดชื่นกระปรี๊กระเปร่า ถั่วลันเตายังเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เพราะมีโซเดียมต่ำและมีโพแทสเซียม ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลของน้ำในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่น ๆ เช่น เหล็ก โฟเลต ไนอะซิน และวิตามินซี

 

นอกจากสารอาหารต่าง ๆ แล้ว ถั่วลันเตายังอุดมด้วยเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำ ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือดและช่วยจับสารพิษก่อโรคในลกไส้ และเส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ ที่ช่วยเพิ่มปริมาณกากใยอาหารในลำไส้ ช่วยปรับสมดุลในระบบทางเดินอาหาร บรรเทาอาการท้องเสียเรื้อรัง และอาการระคายเคืองในลำไส้ ถั่วลันเตาจึงเป็นผักน่าสนใจอีกชนิดที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งในลำไส้ได้

 

 

สรรพคุณของถั่วลันเตา
  1. ยอดของถั่วลันเตามีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งช่วยในการบำรุงสายตาและผิวพรรณ (ยอดถั่วลันเตา)[1]
  2. ใช้บำบัดโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานเป็นประจำ[3] ด้วยการใช้ฝักอ่อนสดนำมาล้างน้ำให้สะอาดและนำไปต้มจนสุก แล้วนำมารับประทานเป็นจำ[5]
  3. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด[8]
  4. ถั่วลันเตา สรรพคุณของเมล็ดช่วยบำรุงไขมัน (เมล็ด)[8]
  5. ถั่วลันเตาอุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินบี12 และสารเลซิทิน (Lecithin) ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทมาก จึงช่วยป้องกันอาการขี้หลงขี้ลืมได้[6]
  6. ช่วยรักษาโรคหัวใจ ด้วยการใช้ฝักถั่วลันเตาทั้งฝักที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว นำไปคั้นเอาแต่น้ำให้ได้ประมาณครึ่งถึงหนึ่งแก้ว ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าและเย็น[5]
  7. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต ด้วยการใช้ฝักถั่วลันเตาทั้งฝักที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว นำไปคั้นเอาแต่น้ำให้ได้ประมาณครึ่งถึงหนึ่งแก้ว ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าและเย็น[3],[5]
  8. ถั่วลันเตาเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยละลายลิ่มเลือด เนื่องจากผู้ป่วยบางท่านได้ดื่มน้ำถั่วลันเตาแล้วมีอาการดีขึ้น เป็นความรู้ที่เล่าต่อกันมา และยังไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด[7]
  9. ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน (ยอดถั่วลันเตา)[1]
  10. ช่วยขับของเหลวในร่างกาย[3]
  11. สรรพคุณถั่วลันเตา ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด[3]
  12. คนโบราณมักใช้เถาถั่วลันเตามาต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เข้าเครื่องยาเพื่อรักษาโรคตับพิการ รักษาโรคตับทรุด ตับติดเชื้อ อาการผิดปกติในตับ และช่วยบำรุงตับ โดยนิยมใช้กับเถาลิ้นเสือ (เถา)[4],[5],[7],[8] นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยซักตับหรือทำให้ตับสะอาดและแข็งแรง (เถา,เมล็ด)[8] ส่วนฝักถั่วลันเตาก็มีฤทธิ์บำรุงตับด้วยเช่นกัน (ฝัก)[7]
  13. ช่วยถอนพิษ[1]
  14. ช่วยแก้เป็นตะคริว อาการเหน็บชา[3]
  15. ช่วยบำรุงเส้นเอ็น (เมล็ด)[8]
  16. ช่วยเพิ่มน้ำนมของสตรี[3]
  17. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของถั่วลันเตา ได้แก่ มีฤทธิ์เป็นยาคุมกำเนิด ช่วยยับยั้งคอหอยพอก ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด และลดความดันโลหิตสูง[8]

 

 

ประโยชน์ของถั่วลันเตา

  1. ประโยชน์ถั่วลันเตา ถั่วลันเตามีเส้นใยอาหารอยู่มาก จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี[1]
  2. ถั่วลันเตานอกจากจะมีเส้นใยอาหารสูงแล้ว ยังมีไขมันต่ำ และอยู่ในรูปของไขมันไม่อิ่มตัว การรับประทานเป็นประจำ จึงไม่มีผลเสียต่อสุขภาพแต่อย่างใด[7]
  3. ถั่วลันเตาเป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพราะถั่วชนิดนี้มีโซเดียมเพียง 5% ของปริมาณสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ต่อวัน ซึ่งถือว่าน้อยมากๆ ดังนั้นมันจึงเป็นถั่วที่ถูกโฉลกกับผู้ที่เป็นโรคความดันสูง[7]
  4. ถั่วลันเตามีโปรตีนสูงกว่าพืชผักทั่วไป มีทั้งแป้ง และน้ำตาล ทำให้มีความหวานน่ารับประทาน พ่อแม่อาจริเริ่มให้ลูกรักการรับประทานผักได้ด้วยการผักถั่วลันเตาอ่อนๆ ให้ลองชิมก่อน เด็กอาจจะชอบเพราะความหวาน และยังเป็นการปลูกฝังนิสัยการรับประทานผักให้เด็กได้เป็นอย่างดี[7]
  5. สำหรับบางคนอาจใช้น้ำถั่วลันเตาเพื่อเป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กที่มีความผิดปกติทางด้านโภชนาการ หรือขาดสารอาหาร ผอมแห้ง รวมไปถึงเด็กที่มีอาการท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเป็นฟอง มีกลิ่นเหม็นหืนและค่อนข้างเหนียว[7]
  6. ถั่วลันเตาหรือซุปถั่วลันเตา สามารถช่วยให้อาการทุเลาลงหรือหายไปได้ เพราะส่วนกากที่ผสมอยู่ในน้ำถั่วลันเตานั้น จะช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารช่วยจับสารพิษก่อโรคต่างๆ และช่วยเพิ่มการดูดซึมอาหารให้ดียิ่งขึ้น ช่วยรักษาอาการของโรคไอบีเอส (Irritable Bowel Syndrome) หรือโรคลำไส้หงุดหงิด เมื่อดื่มน้ำปั่นถั่วลันเตาแล้วอาการจะดีขึ้นมาก แต่ต้องเป็นน้ำถั่วลันเตาที่นำไปต้ม แล้วเสิร์ฟแบบอุ่นๆ พร้อมทั้งเติมผลกระวานและขิงเข้าไปด้วยพอให้ออกรสร้อน[7]
  7. ถั่วลันเตาประเภทกินเมล็ดเป็นผักที่นิยมใช้ในอาหารจีนประเภทผัดผัก ผัดถั่วลันเตา หรือนำไปต้ม ทำไข่ยัดไส้ แกงจืดใส่หมู ข้าวผัดอเมริกัน ใช้เป็นส่วนประกอบในเบเกอรี่ อย่างเช่น พิซซ่า แซนวิส ไส้ขนมปัง หรือใช้เป็นเครื่องเคียงในเสต็ก ฯลฯ[1]
  8. ส่วนถั่วลันเตาประเภทกินฝัก เราจะใช้ฝักถั่วที่ยังอ่อนอยู่นำมาใช้ปรุงอาหาร ด้วยการนำไปผักกับหมูหรือกุ้ง ผัดน้ำมันหอย ผัดผักรวมมิตร ใช้ลวกจิ้มกินกับน้ำพริก ทำเป็นแกงแคร่วมกับผักต่างๆ แกงเลียง แกงส้ม หรือทำแกงจืดหมูสับ เป็นต้น ส่วนฝักแก่ก็นำมาปลอกแยกเอาแต่เมล็ดมารับประทานเป็นผัก[1]
  9. เรามักนิยมใช้ยอดของต้นถั่วลันเตาพันธุ์กินยอดมาใช้ปรุงอาหาร และยังให้โปรตีนมากกว่าผักทั่วๆ ไป หากนำมาใช้ผัดจะมีรสหวานและกรอบแต่ควรผัดด้วยไฟแรงอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้คุณค่าทางอาหารสูญหายไปมากนัก[1]
  10. เมล็ดถั่วลันเตา สามารถนำไปต้มดอง หรือทำเป็นถั่วกระป๋องขาย[4]
  11. ใช้แปรรูปเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำเป็นผักแช่แข็ง นำไปต้ม คั่ว หรืออบกรอบกับเกลือเป็นขนมขบเคี้ยวก็ได้ ซึ่งก็มีอยู่หลากหลายรูปแบบด้วยกัน[1]

 

 

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วลันเตา ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 81 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 14.45 กรัม
  • น้ำตาล 5.67 กรัม
  • เส้นใย 5.1 กรัม
  • ไขมัน 0.4 กรัม
  • โปรตีน 5.42 กรัม
  • วิตามินเอ 38 ไมโครกรัม 5%
  • เบต้าแคโรทีน 449 ไมโครกรัม 4%
  • ลูทีน และ ซีแซนทีน 2,477 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี1 0.266 มิลลิกรัม 23%
  • วิตามินบี2 0.132 มิลลิกรัม 11%
  • วิตามินบี3 2.09 มิลลิกรัม 14%
  • วิตามินบี6 0.169 มิลลิกรัม 13%
  • วิตามินบี9 65 ไมโครกรัม 16%
  • วิตามินซี 40 มิลลิกรัม 48%
  • วิตามินอี 0.13 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินเค 24.8 ไมโครกรัม 24%
  • ธาตุแคลเซียม 25 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุเหล็ก 1.47 มิลลิกรัม 11%
  • ธาตุแมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม 9%
  • ธาตุแมงกานีส 0.41 มิลลิกรัม 20%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 108 มิลลิกรัม 15%
  • ธาตุโพแทสเซียม 244 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุโซเดียม 5 มิลลิกรัม 10%
  • ธาตุสังกะสี 1.24 มิลลิกรัม 13%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

 

 

คำแนะนำในการรับประทานถั่วลันเตา

  • ถั่วลันเตาเป็นถั่วที่มีสารพิวรีน (Purine) ปานกลาง ดังนั้นผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงผิดปกติ ควรลดปริมาณการรับประทานถั่วลันเตาลงเพราะสารพิวรีนจะทำให้การขับถ่ายกรดยูริกทางปัสสาวะลดลง ส่งผลทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคนิ่ว โรคไตอักเสบ และโรคเกาต์ได้[2]
  • ถั่วลันเตาเป็นหนึ่งในผักที่มักมีสารปนเปื้อนหรือยาฆ่าแลงผสมอยู่ ดังนั้นก่อนการนำมาปรุงอาหารควรล้างให้สะอาดเสียก่อน[2] ด้วยการนำฝักถั่วมาล้างให้สะอาดหลายๆ น้ำ และการล้างผักที่ดีควรแช่ไว้ในน้ำให้ไหลรินสักช่วงเวลาหนึ่ง[7]
  • การเลือกซื้อถั่วลันเตา ควรเลือกฝักที่สดหักแล้วดังเป๊าะ ถ้าหนังเหี่ยวเหนียงยาน ยอมงอไม่ยอมหัก แบบนี้ไม่ควรซื้อมาผัดกิน เมื่อซื้อถั่วลันเตาจากตลาดมาแล้วก็ให้รับนำไปล้างน้ำให้สะอาดแล้วแช่ไว้ในตู้เย็นทันทีเพื่อคงความสด เพราะถ้าหากทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องเพียงแค่ 3 ชั่วโมง ก็จะทำให้ความหวานและความกรอบลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
มารคัส's profile


โพสท์โดย: มารคัส
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: ginger bread, Tabebuia, ท่านฮั่ว แมวหน้าง้ำ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
10 อันดับเลข ยอดฮิต หวยแม่จำเนียร 16/11/67เลขเด็ด อ.ออร่า ตารางทักษามหารานี"ว่าที่บ่าวสาว แม็ค-วิว เปิดบ้านสุดอบอุ่นที่แคนาดา พร้อมโมเมนต์สุดพิเศษ"ลาก่อนพระปีนเสา! เจ้าอาวาสวัดสามชุกสั่งไล่ออกสังกัดวัด หลังพฤติกรรมไม่เหมาะสมครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่มีความละอาย"รวมเลขเด็ดโค้งสุดท้าย! เลขดังจากโซเชียล ลุ้นรวยหวย 16/11/67"เลขเด็ดเจ๊ฟองเบียร์
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"แซมมี่-แชมป์ ฉลองลอยกระทงในสไตล์คู่รักสุดเก๋ ธีมสลับร่างสุดฟิน"ฟิล์ม ถูกกล่าวหาหลอกผู้เสียหาย ลงทุนน้ำมัน พบผู้เสียหายหลายร้อยคน มูลค่ารวมเกือบ 800 ล้านปลาปักเป้า ปลาที่มีความสามารถในการพองตัว แม้แต่ "ลูกปลาปักเป้า" ก็ยังสามารถพองตัวได้อย่างน่าทึ่งราคาทองร่วงหนัก
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ชาวต่างชาติอึ้ง เจอความใจดีของคนไทย ทั้งช้อปปิ้งสุดฮา กินข้าวบนเสื่อ และรถเสียยังช่วยทันทีลิซ่าประเดิมจอเงิน ชาวเกาหลีดราม่าหนัก บทแม่บ้านรีสอร์ทใน The White Lotus แฟน ๆ แห่ปกป้อง“ตัวหอมจากภายใน! เคล็ดลับง่าย ๆ ที่ทำได้จริง ทุกเพศทุกวัย”“เทคนิคป้อนยาน้องหมาแบบง่าย ๆ ให้สุนัขกินยาสบายใจ ไม่ต้องบังคับ!”
ตั้งกระทู้ใหม่