ว่าด้วยเรื่อง " ...ๆ " ? ...หลังจากที่น้องแพท ณปภา อุทาน "อุ้ย..."ออกอากาศสดจนกลายเป็นประเด็นทางสังคมไปแล้ว
ว่าด้วยเรื่อง " _ี ๆ "
หลังจากที่น้องแพท ณปภา อุทาน "อุ้ย..."ออกอากาศสดจนกลายเป็นประเด็นทางสังคมไปแล้ว ผมก็ยังไม่จบเรื่องนี้ ไหนๆก็ไหนแล้ว เลยพยายามไปค้นคว้าเรื่อง "_ีๆ" ให้กลายเป็นเรื่องวิชาการให้จงได้ โดยสปิริตของนักวิชาการว่างั้น และได้พบแง่มุมที่น่าสนใจดังนี้ครับ
ผมเคยอ่านคเณศปุราณะ มีอัธยายะนึงเล่าตำนานพระวรทวินายก ว่า พระอินทร์ไปเป็นชู้กับเมียฤษีตนหนึ่ง และถูกสาปให้มี "ภค" เต็มตัว
ด้วยความสงสัย ก็ไปเปิดดิกชันนารีสันสกฤต พบว่า "ภค" แปลว่าอวัยวะเพศหญิงนี่เอง แต่น่าแปลกที่นอกจากจะแปลว่า อวัยวะเพศหญิงแล้ว ภค ยังแปลว่าโชค ความงาม ศรี ความรัก ฯลฯ เหมือนกับที่เราเรียกพระพุทธเจ้า และพระเจ้าด้วยคำเดียวกันนี้ว่า "ภควาน" (ภควัต =ผู้มีพระภาค คือผู้มีโชค) หรือเทวดาผู้หญิงว่า ภควตี
น่าสนใจว่า _ี(ภค) กับ ความมีโชค ศรี ความงาม มันใช้คำเดียวกัน
ไปลองเปิดดิกสันสกฤตคำอื่นที่เกี่ยวกับ _ี ดู เช่น "โยนี" (โยนิ) ซึ่งนอกจากจะแปลว่า อวัยวะเพศหญิงแล้ว ยังแปลได้ว่า ที่เกิด มูลเหตุ ขุมทรัพย์ นิธิ ที่เกิดของแก้วมณี รัตนากร ฯลฯ
คำนี้(โยนี) _ีเป็นคำคำเดียวกับขุมทรัพย์ บ่อรัตนมณี ฯลฯ ความหมายดีๆอีกอันแล้ว
เอ้า ลองเปิดคำว่า "_ี" ตรงๆในดิกสันสกฤตเลย คำว่า "..." หรือ "......" เป็น คำอุทานแสดงถึงความอัศจรรย์ใจ หรือประหลาดใจ
อันที่สาม _ี =คำอุทานแสดงความอัศจรรย์ใจ น่าอัศจรรย์
ส่วนอีกคำที่หลายท่านสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของคำว่า... ในภาษาไทย คือ "...น" อันแปลว่าบกพร่อง ต่ำ คับแคบ เช่น ...นยาน =ยานแคบ ...นชาติ = กำเนิดต่ำ คำนี้ดูจะเป็นคำเดียวที่มีลักษณะในเชิงลบ แต่คำนี้ โดยตัวมันเองกลับไม่ได้แปลว่าอวัยวะเพศหญิงตรงๆอย่างคำอื่นๆในภาษาสันสกฤต ข้อนี้น่าสงสัย (อันนี้จะเป็นอีกประเด็นครับว่าคำ "..." ในภาษาไทยมาจากไหน)
ทำไมภาษาสันสกฤต ถึงให้คำเรียก "..." มีความหมายในเชิงบวกซ้อนอยู่ด้วยค่อนข้างมาก ผมสันนิษฐานว่า ก็เพราะคนโบราณมอง... ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เกิดของสิ่งทั้งปวง ปราศจาก...เสียแล้ว ชีวิตจะมาจากไหน ไร้...ก็ไร้ความอุดมสมบูรณ์ ...จึงเป็นทั้งโชค และเป็น นิธิ (ขุมทรัพย์) จึงควรอุทานด้วยความอัศจรรย์ใจ
"อุ้ย..." ของน้องแพท ถ้าคิดซะว่าเป็นคำสันสกฤต ... ก็เป็นเสียงอุทานด้วยความอัศจรรย์ใจครับ
(ในภาพคือ ลัชชาเคารี, ลัชชา= ความละอาย , เคารี = เจ้าแม่แห่งธัญพืช เป็นรูปเคารพเจ้าแม่โบราณแห่งความอุดมสมบูรณ์ของอินเดีย ที่ถูกขุดค้นพบ เธอไม่มีหน้าตา แต่มีเศียรดอกบัวแสดงถึงแผ่นดิน และสภาพก่อนมีอัตตาของมนุษย์ เธอถือดอกบัวสองมือ( เหมือนพระลักษมี) เท่ากับแผ่นดินหรือความสมบูรณ์ ปทุมถันเธอเปลือยเปล่าเต่งตึง แสดงถึงภาวะแม่ที่หล่อเลี้ยงชีวิต เธอนอนกับดิน ฉีกขา แหก... แสดงโยนี ครรโภทร แผ่นดิน อันเป็น แหล่งเกิดของชีวิตทั้งปวง)
http://www.sator4u.com/paper/1548