พบหลุมดำไม่ได้ดูดเข้าไปอย่างเดียว บางทีก็ “เรอ” ออกมาด้วย
เชื่อกันมานานว่า หลุมดำนั้น “ดูดลูกเดียว” แม้แต่แสงก็หลุดรอดออกมาไม่ได้
แต่เมื่อเร็วๆนี้ จากการเปิดเผยของ Eric Schlegel นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส และทีมงาน ที่อาศัยภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา พบว่า หลุมดำมวลมากใจกลางกาแล็กซีแคระ NGC 5195 ได้พ่นอะไรบางอย่างออกมา
ห่างโลกออกไป 26 ล้านปีแสง มีกาแล็กซี 2 แห่งกำลังเข้า “สัมผัส” กัน นั่นคือกาแล็กซีกังหันแสนสวย NGC 5194 (ล่างซ้ายในภาพ) และ กาแล็กซีแคระ NGC 5195 (บนซ้ายในภาพ)
ทั้ง 2 กาแล็กซีมีหลุมดำมวลมากอยู่ตรงกลาง
ภาพที่เห็นสวยๆคือภาพแสงธรรมชาติจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล แต่พอเอากล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา ซึ่งมองเห็นแต่แสงในย่านรังสีเอ็กซ์ มาส่องดู ก็ปรากฏเป็นภาพสีฟ้าด้านขวาบน นั่นคือ เห็นหลุมดำใจกลางกาแล็กซีแคระ NGC 5195 กำลังพ่นมวลแก้สร้อน 2 กลุ่ม (ขีดเส้นขาวๆ) ออกมา (แก้สนี้คือ HII อ่านว่าเอชทู เป็นไอโอไนซ์ของอะตอมไฮโดรเจน)
Eric Schlegel อธิบายเรื่องนี้ว่า การสัมผัสกัน ซึ่งจริงๆคือการชนกันของกาแลคซี่ทั้งสองแห่ง จะทำให้เกิดมวลแก๊สร้อนขึ้นในปริมาณมหาศาล แก๊สพวกนี้จะถูกหลุมดำที่อยู่ใกล้ๆดูดเข้าไป การดูดกลืนสสารและวัสดุปริมาณมหาศาลเข้าไปทำให้หลุมดำเกิดอาการ “เรอ” ออกมา (outburst) ซึ่งเชื่อว่าเรอที่ออกมาจากหลุมดำนี้มีสสารออกมามากเพียงพอที่จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดอยู่โดยปกติเมื่อสมัยจักรวาลของเรายังมีอายุน้อยๆ
ทีมงานได้แถลงการค้นพบครั้งนี้ในงานประชุมสมาคมดาราศาสตร์อเมริกันครั้งที่ 227 th ที่ฟลอริดาที่เพิ่งจัดไปเมื่อต้นเดือนมกคราคมที่ผ่านมา