เมื่อคนเถื่อนพิชิตแผ่นดินจีน ตอนที่ 1 (ชาวมองโกล)
นับแต่อดีตมา ชาวจีนต้องทำสงครามกับชนเผ่าเหล่านี้นับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะอนารยชนทางเหนือที่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม ตั้งแต่ยุคราชวงศ์โจวซึ่งแผ่นดินจีนแบ่งเป็นแคว้นใหญ่น้อยมากมาย บรรดาแคว้นภาคเหนือต่างก็สร้างกำแพงตรงชายแดนด้านเหนือเพื่อป้องกันการโจมตี ของอนารยชน จนกระทั่งมายุคที่ราชวงศ์ฉินรวมแคว้นต่างๆเข้าด้วยกัน ฉินซีฮ่องเต้ ได้มีพระบัญชาให้สร้างแนวกำแพงเชื่อมต่อกำแพงของแคว้นเหล่านั้นและกลายเป็น กำแพงเมืองจีน แนวปราการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยรู้จัก แต่กระนั้น มหาปราการนี้ ก็ยังไม่อาจทำให้แผ่นดินปลอดจากภัยคุกคามจากเหล่านักรบคนเถื่อนได้
ตลอดเวลาอันยาวนาน มีอนารยชนหลายเผ่าเข้ารุกรานแผ่นดินจีน ทั้ง ซงหนู เซียนเป่ย คีตัน หนี่เจิน ตันกุต หลายเผ่าสามารถตัดแบ่งดินแดน ตั้งเป็นอาณาจักรของตนได้ระยะเวลาหนึ่ง ทว่ามีอยู่สองครั้งที่นักรบอนารยชนสามารถพิชิตแผ่นดินมังกรนี้ได้อย่างเบ็ด เสร็จและตั้งราชวงศ์ปกครองทั่วทั้งอาณาจักร
อนารยชนเผ่าแรกที่พิชิตดิน แดนจีนทั้งหมดได้สำเร็จ คือชาวมองโกล ชนเผ่านักรบบนหลังม้าที่เกรียงไกร ในช่วงปลายศตวรรษที่ 12 นักรบผู้ยิ่งใหญ่นาม เตมูจิน ได้รวบรวมชาวมองโกลกลุ่มต่างๆเข้าด้วยกันและผนวกรวมชนเผ่าต่าง ๆ ในดินแดนทางเหนือนอกแนวกำแพงเมืองจีน เข้าด้วยกันและก่อตั้งอาณาจักรมองโกลขึ้นในปี ค.ศ. 1206 โดย เตมูจินได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุด ทรงพระนามว่า เจงกีสข่าน
กองทัพมองโกลเข้ายึดดินแดน มากมายทั้งในเอเชียและยุโรป จนกลายเป็นจักรวรรดิ ในเวลานั้น จีนอยู่ในยุคราชวงศ์ซ่ง ซึ่งก่อนหน้า ถูกเผ่าหนี่เจินยึดดินแดนตอนเหนือไปและตั้งราชวงศ์จินขึ้น ส่วนเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ซ่งได้อพยพลงใต้ไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่หลินอัน และถูกเรียกว่า หนานซ่ง หรือ ซ่งใต้
หลัง เจงกีสข่านสวรรคต ใน ค.ศ.1227 จอมข่านโอกาได โอรสผู้สืบทอดบัลลังก์ ได้ทำศึกกับอาณาจักรจินอีกครั้ง หลังจากที่ในสมัยก่อน เจงกีสข่านเคยโจมตีอาณาจักรจินและยึดครองดินแดนไปได้กว่าครึ่ง
โอกาไดทรงวางแผนจะเดินทัพ ผ่านชายแดนหนานซ่ง จึงส่งทูตไปติดต่อกับราชสำนัก ทว่าอีกฝ่ายได้สังหารทูตมองโกลด้วยความเข้าใจผิด แต่ถึงกระนั้นใน ค.ศ.1233 ทั้งสองฝ่ายก็ได้เป็นพันธมิตรกัน โดยมองโกลได้ทำข้อตกลงที่จะมอบดินแดนของอาณาจักรจินที่อยู่ทางใต้ของแม่น้ำ เหลืองให้หนานซ่งเป็นสิ่งตอบแทน
ด้วยความช่วยเหลือของมอง โกล ทำให้กองทัพซ่งสามารถทำลายล้างอาณาจักรจินลงได้สำเร็จ จากนั้น กองทัพซ่งจึงยกพลเข้าสู่ไคฟง เมืองหลวงเดิมของราชวงศ์ซ่ง ทว่ากลับถูกกองทัพมองโกลเข้ายึดเมืองเอาไว้ก่อนที่กองทัพซ่งจะไปถึง จากนั้น กองทัพมองโกลจึงยกพลลงภาคใต้
เมื่อพบว่า พวกมองโกลเปลี่ยนจากมิตรเป็นศัตรู ฝ่ายหนานซ่งจึงระดมพลเข้าต้านทานอย่างเต็มที่ ประกอบกับทหารมองโกลไม่คุ้นเคยกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของดินแดนตอน ใต้ ทำให้ทั้งคนและม้าล้มป่วยลงเป็นอันมาก จนต้องล่าถอยกลับไป
สงครามเต็มรูปแบบของมองโกล และหนานซ่ง เริ่มขึ้นใน ค.ศ.1235 ซึ่งในการรบกับอาณาจักรหนานซ่งนี้ ถือเป็นการศึกที่ยืดเยื้อและรุนแรงที่สุดเท่าที่ชาวมองโกลเคยเผชิญมา โดยในช่วงแรก มองโกลได้วางแผนยกทัพเข้ามณฑลเสฉวนซึ่งถือเป็นก้าวแรกในการพิชิตดินแดนทาง ใต้
อย่างไรก็ตาม จากเสฉวน หากจะเข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำฉางเจียง อันเป็นที่ตั้งของนครหลินอัน เมืองหลวงของหนานซ่งนั้น ต้องผ่านเมืองเซียงหยางและฟ่านเจิงซึ่งเป็นหน้าด่านสำคัญ ซึ่งหากยึดสองเมืองนี้ได้ ก็จะเป็นการเปิดเส้นทางทางน้ำสู่นครหลินอัน ทว่าทั้งสองเมืองมีกำลังป้องกันเข้มแข็ง โดยตั้งสองเมืองตั้งอยู่คู่กันคนละฝั่งของแม่น้ำฮั่นสุ่ย ซึ่งหากเมืองหนึ่งถูกโจมตี อีกเมืองก็สามารถไปช่วยได้ทันท่วงที ประกอบกับเวลาดังกล่าว มองโกลยังติดพันการศึกในยุโรป จึงไม่อาจทุ่มเทกำลังมาพิชิตเมืองทั้งสองได้ จนทำให้ต้องยุติการศึกลงชั่วคราว ในปี ค.ศ.1248
เมืองเซียงหยางในปัจจุบัน
ต่อมา ในปี ค.ศ. 1251 หลังจอมข่านมองเก โอรสของโตลุย พระอนุชาจอมข่านโอกาไดขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ส่งทัพเข้ารุกรานตะวันออกกลางและจัดกองทัพอีกสายเพื่อเข้าตีหนาน ซ่ง โดยครั้งนี้ มองเกข่านทรงมีบัญชาให้ กุบไล พระอนุชาของพระองค์นำทัพเข้ายึดแคว้นต้าหลี่ ในยูนนาน เพื่อใช้เป็นที่มั่นสำหรับเข้าตีหนานซ่ง
กองทัพมองโกลพิชิตต้าหลี่ ได้ใน ค.ศ. 1253 แต่ก็เกิดสงครามต่อเนื่องกับเวียตนามจนล่วงถึง ค.ศ.1254 จึงเสร็จสิ้นการศึก จากนั้น พวกมองโกลจึงสะสมเสบียงและไพร่พลเพื่อเตรียมรุกสู่หนานซ่ง
โดยใน ค.ศ. 1257 จอมข่านมองเกได้นำทัพออกจากมองโกเลียเข้าสู่จีนตอนใต้และมาถึงเสฉวนใน ปี ค.ศ.1258 ทว่าการเดินทัพที่ยาวนาน บนเส้นทางทุรกันดาร ประกอบกับทหารมองโกลส่วนใหญ่เป็นคนทางเหนือไม่คุ้นกับสภาพอากาศทางใต้ ทำให้ไพร่พลล้มป่วยลงจนเหลือกำลังพลที่จะทำศึกได้ เพียงสองในสาม นอกจากนี้ ยังเผชิญการต่อต้านที่รุนแรงตลอดเส้นทางที่ผ่าน ทำให้เคลื่อนทัพได้ล่าช้า
จนล่วงเข้า ค.ศ. 1259 ทัพมองโกลก็มาถึงเมืองเซียงหยาง ทว่าระหว่างเข้าโจมตีเมือง จอมข่านมองเกก็สวรรคต โดยบางตำรากล่าวว่า ทรงสวรรคตหลังได้รับบาดเจ็บสาหัสขณะนำทัพเข้าตีเมือง ขณะที่บางตำราบอกว่า จอมข่านสวรรคตเพราะโรคติดต่อ
การสวรรคตของจอมข่านมองเก ก่อให้เกิดความวุ่นวายในอาณาจักร โดยแม้ เจ้าชายกุบไลจะขึ้นครองราชย์เป็นกุบไลข่าน ทว่า อาริคโบเก พระอนุชาของพระองค์ได้รวบรวมเหล่าขุนศึกเข้าต่อต้าน โดยอ้างว่า กุบไลข่านฝักใฝ่ชาวฮั่นมากเกินไป จนสุดท้ายจึงเกิดเป็นสงครามกลางเมือง ส่งผลให้การโจมตีหนานซ่งต้องเว้นระยะไป
กุบไลข่าน
จนเมื่อกุบไลข่านปราบฝ่าย ตรงข้ามได้สิ้นซากในปี ค.ศ.1264 พระองค์จึงวางแผนพิชิตหนานซ่งอีกครั้ง โดยในศึกนี้ จักรวรรดิมองโกลได้ระดมกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์จากดินแดนต่าง ๆ ในปกครองมาอย่างเต็มที่
ในปี ค.ศ. 1268 หลังยึดหัวเมืองต่างๆในเสฉวนแล้ว จอมพลบายัน แม่ทัพคู่ใจกุบไลข่านได้นำทัพมองโกลตีเมืองเซียงหยางและฟ่านเจิงอีกครั้ง โดยขั้นแรก ฝ่ายมองโกลใช้กองเรือโจมตีกองเรือขนเสบียงของทั้งสองเมือง พร้อมทั้งสร้างป้อมค่ายสำหรับล้อมเมือง ซึ่งกว่าที่มองโกลจะสามารถตัดเส้นทางลำเลียงของอีกฝ่ายได้ ก็ต้องใช้เวลาถึงสี่ปี แต่กระนั้น แนวป้องกันที่แข็งแกร่งของเมืองทั้งสองก็ทำให้กองทัพมองโกลยังไม่อาจเอาชนะได้
จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1273 กุบไลข่านได้ส่งกำลังเสริมมาพร้อมอาวุธใหม่ นั่นคือ เครื่องเหวี่ยงหินขนาดยักษ์ หรือ counterweight Trebuchet ที่สามารถยิงก้อนหินได้ไกลถึง 500 เมตร และยิงหินที่หนัก 300 กิโลกรัมได้ ในขณะที่เครื่องยิงหินแบบเดิมนั้น ยิงได้ไม่เกิน 100 เมตร และยิงหินน้ำหนักไม่เกิน 50 กิโลกรัม
จักรพรรดิซ่งม่อจง
ไม่นาน กองทัพมองโกลก็ตามมาถึง เหวินเทียงเสียงได้นำทัพเข้าต้านอย่างดุเดือด แต่ก็พ่ายแพ้และถูกจับเป็นเชลยก่อนถูกประหารชีวิตในภายหลัง ส่วนกองกำลังหนานซ่งพลัดถิ่นได้ใช้กองเรือหลบหนีลี้ภัยล่องลงทางใต้
กุบไลข่านทรงบัญชาให้แม่ ทัพเรือ จางหงฟ่าน ซึ่งเป็นแม่ทัพชาวฮั่นที่มาสวามิภักดิ์นำกองเรือติดตามกองเรือหนานซ่ง โดยทัพเรือมองโกลได้เข้าโจมตีกองเรือหนานซ่งที่อ่าวหยาเหมิน โดยแม้ฝ่ายหนานซ่งจะมีไพร่พลมากกว่าสองแสน ขณะที่จางหงฟ่านมีทหารเพียงสองหมื่น ทว่าการวางแผนรบที่ผิดพลาด ทำให้หนานซ่งต้องปราชัยยับเยิน ลู่ซิ่วฟู่อุ้มจักรพรรดิน้อยกระโดดลงทะเลฆ่าตัวตาย ส่วนจางซื่อเจี๋ยนำเรือรบไม่กี่ลำหนีออกทะเลหลวงและหายสาบสูญ เป็นอันปิดฉากราชวงศ์ซ่งโดยชาวมองโกลได้ยึดครองแผ่นดินจีนทั้งหมดอย่าง สมบูรณ์