ความจริงอันโหดร้ายของ “ความเหงา”
พวกเราเกือบทุกคนต้องเคยผ่านความเหงามาในจุดใดจุดหนึ่งของชีวิตแน่นอน มันคือความเจ็บปวดที่พวกเราได้รับหลังจากการเลิกรา การจากไปของคนที่เรารัก หรืออาจจะเป็นการที่ต้องย้ายไปอยู่ที่ไกลบ้าน พวกเราเปราะบางต่อความรู้สึกเหงาหรือความโดดเดี่ยว
ความเหงามักจะถูกใช้สำหรับอธิบายอารมณ์ในทางลบซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ที่เราหวังให้เป็นและความสัมพันธ์ที่เราเห็นอยู่ตอนนี้
ความรู้สึกที่ไม่เป็นที่น่าพอใจของความเหงานั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล นักวิจัยพบว่าความเหงาไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาที่เราใช้อยู่กับคนอื่นหรืออยู่คนเดียว แต่มันเชื่อมโยงกับคุณภาพของความสัมพันธ์มากกว่าที่จะเป็นปริมาณ คนที่เจอกับความเหงามักจะรู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจเขาเลย และอาจจะไม่เห็นถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ที่มีอยู่
สำหรับบางคน ความเหงาอาจจะอยู่เพียงชั่วครู่และมักจะหายไปได้อย่างง่ายดาย เช่น เมื่อเพื่อนสนิทย้ายไปที่อื่น หรือคู่สมรสเพิ่งกลับมาบ้านหลังจากไปต่างประเทศ แต่สำหรับบางคน มันไม่ง่ายเลยที่ความเหงานั้นจะหายไป เช่น เมื่อคนรักของเราเสียชีวิตหรือการเลิกราหลังจากแต่งงานกัน ความเหงานี้จะยังอยู่กับคนเหล่านี้เมื่อพวกเขาไม่สามารถหาทางพบปะกับผู้คนได้
ในมุมมองเชิงวิวัฒนาการ การที่เราให้ความไว้วางใจกับกลุ่มทางสังคมนั้นทำให้เราแน่ใจว่าเราจะอยู่รอดมากขึ้น ดังนั้นความเหงาจึงถูกมองว่าเป็นสัญญาณบอกให้เราเข้าหาคนอื่น สิ่งนี้เองทำให้มันแตกต่างเล็กน้อยกับความหิว ความกระหาย หรือความเจ็บปวดทางกายภาพ ซึ่งส่งสัญญาณให้เรากิน ดื่ม หรือหาการรักษาทางการแพทย์
อย่างไรก็ตามในสังคมยุคใหม่นี้ การปิดสัญญาณเตือนของความเหงากลายเป็นเรื่องยากมากกว่าการแก้หิว หรือกระหายเสียแล้ว ความเหงาจะยังคงอยู่หากเขาเหล่านั้นไม่ได้แวดล้อมไปด้วยผู้คนที่เป็นห่วงเขา
นักวิจัยได้พบว่าการแปลกแยกทางสังคมเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคและอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ การค้นพบจากการศึกษาในงานวิจัยหลากหลายงานระบุว่าการขาดการติดต่อกับสังคมมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยคล้ายกับการเป็นโรคอ้วนเลยทีเดียว
ความเหงาเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากมายไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเรื่องการนอนหลับ โรคจิตเสื่อม หรือแม้กระทั่งโรคหัวใจ
บางคนอาจจะมีแนวโน้มที่จะรู้สึกเหงามากกว่าคนปกติได้เนื่องจากผลทางพันธุกรรม มีหลักฐานจากการศึกษาในฝาแฝดว่า ความเหงาอาจจะถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางส่วน
ความเหงาถูกเพิกเฉยว่าเป็นปัญหาทางสุขภาพจิต นักวิจัยยังไม่มีความเข้าใจอย่างทั่วถึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเหงากับสุขภาพจิตมากนักเนื่องจากงานวิจัยส่วนใหญ่เน้นศึกษาความสัมพันธ์ของความเหงากับการซึมเศร้า
ถึงแม้ว่าความเหงากับการซึมเศร้าจะเกี่ยวข้องกันบางส่วน แต่จริงๆ แล้วมันแตกต่างกัน ความเหงาจะหมายถึงอารมณ์ความรู้สึกในเชิงลบเกี่ยวกับสังคม ในขณะที่การซึมเศร้าจะหมายรวมถึงกลุ่มความรู้สึกเชิงลบทั่วไป
แก้ไขได้อย่างไร
โดยทั่วไปแล้ว คนที่ประสบกับความเหงามักจะถูกกระตุ้นให้ไปเข้ากลุ่มสังคมหรือสร้างเพื่อนใหม่ ซึ่งตามการสันนิษฐานแล้วความเหงาจะหายไปได้ไม่นาน
แต่ในถึงอย่างนั้นมันก็ไม่ได้ง่ายเสมอไป คนเหงาเหล่านี้อาจจะมีความหวั่นวิตกกับการเข้าสังคมและทำให้พวกเขาปฏิเสธต่อพฤติกรรมเหล่านั้น สิ่งนี้อาจทำให้ผู้คนรอบข้างคนเหล่านี้ตีความผิดว่าพวกเขาไม่เป็นมิตร และทำให้ความเหงายังคงอยู่ต่อไป
มีงานวิจัยซึ่งทำการทดสอบประสิทธิภาพของการรักษาแต่ละชนิดที่แตกต่างกันในการกำจัดความเหงา ผลลัพธ์ปรากฎว่า การรักษาที่เน้นให้เปลี่ยนความคิดในเชิงลบเกี่ยวกับคนอื่นนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีที่ให้ไปเข้าสังคมหรือพบปะผู้คน
อีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพก็คือการเพิ่มคุณภาพของความสัมพันธ์ที่มีอยู่ โดยเฉพาะการสร้างความใกล้ชิด สนิทสนมกับคนรอบข้างให้มากขึ้น โดยการใช้วิธีทางจิตวิทยาเชิงบวกซึ่งเน้นการเพิ่มอารมณ์ในแง่บวกในความสัมพันธ์หรือเพิ่มพฤติกรรมทางสังคมจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับคนอื่นมากขึ้น
ในทางปฏิบัติในกลุ่มคนที่ถูกวินิจฉัยว่าป่วยทางจิตขั้นรุนแรงแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาในความเป็นอยู่และความสัมพันธ์หลังจากได้มีการแบ่งปันความรู้สึกเชิงบวกและทำกิจกรรมดีดีร่วมกับผู้อื่น อย่างไรก็ตามงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้วิธีการรักษานี้กับความเหงายังอยู่เพียงแค่ระยะเริ่มต้น
ปัจจุบันนี้เรายังคงประเมินค่าต่ำไปถึงความร้ายแรงของความเหงาซึ่งควรจะเป็นปัญหาสุขภาพสาธารณะที่ร้ายแรง ดังนั้นแล้วความท้าทายก็คือการจัดการกับความเหงาและการมุ่งเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง และที่สำคัญงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่กำลังศึกษาอยู่ทุกวันนี้เกี่ยวกับผลลัพธ์ของความเหงาต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตจึงไม่ควรถูกเพิกเฉยอีกต่อไป