รวมสุดยอดความรู้รอบตัว และความรู้รอบโลก
ความรู้รอบตัว และความรู้รอบโลก
- ไดโนเสาร์สายพันธุ์อะไรใหญ่ที่สุดในโลก?
ไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ ไดโนเสาร์สายพันธุ์ ไซส์โมซอรัส (Seismosaurus) เป็นไดโนเสาร์ร่างยักษ์ที่มีความสูงถึง 50 เมตร หรือราวๆตึก 12 ชั้น ส่วนเรื่องของน้ำหนักคงไม่ต้องพูดถึง เพราะในขณะที่มันก้าวเดิน ถึงกับทำให้แผ่นดินสะเทือนคล้ายกับแผ่นดินไหวเลยทีเดียว และสายพันธุ์ได้โนเสาร์ที่เล็กที่สุดก็คือไดโนเสาร์สายพันธุ์ คอมพ์ซอกเนธัส (Compsognathus) เป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดลำตัวประมาณ 70 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเพียง 3 กิโลกรัมเท่านั้น
- มนุษย์เรารู้จักการใช้ไฟ ตั้งแต่เมื่อไร?
มนุษย์ในยุคโบราณกลัวไฟเป็นอย่างมาก เพราะพวกเขาเชื่อว่าไฟสามารถเผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่างได้ ซึ่งจากหลักฐานในอดีตพอสรุปได้ว่า มนุษย์ปักกิ่งที่มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 400,000 ปีที่แล้วเป็นมนุษย์ยุคแรกที่รู้จักใช้ไฟ พวกเขาใช้ไฟให้ความอบอุ่น ขับไล่สัตว์และให้ความสว่างตอนกลางคืน โดยที่ไม่ต้องหลบอยู่แต่ในถ้ำและเริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่นการเลี้ยงสัตว์ สร้างบ้าน และการเพาะปลูก
- เส้นขาวๆ ที่เห็นตามหลังเครื่องบิน เกิดจากอะไร?
ในขณะที่มีเครื่องบิน บินผ่านบนท้องฟ้า เรามักจะเห็นเส้นสีขาวๆ พาดอยู่ นั่นไม่ใช่ไอเสียที่เกิดจากเครื่องบิน แต่เป็นเกล็ดน้ำแข็งบนท้องฟ้า เหตุผลก็เพราะว่า ในขณะที่เครื่องบิน บินอยู่บนฟ้า ก็มักจะปล่อยควัน ที่ร้อนระอุออกมาทางท่อไอเสีย ซึ่งควันที่ว่านี้จะมีไอน้ำปะปนอยู่ด้วย และเมื่อไอน้ำร้อนๆไปเจอกับอากาศเย็นจัดก็จะจับตัวกันเป็นเกล็ดน้ำแข็งขาวๆ ดังนั้น เส้นสีขาวๆที่เราเห็นพาดอยู่หลังเครื่องบินบนท้องฟ้าก็คือ เกล็ดน้ำแข็งนั่นเอง
- ปรากฏการณ์ฟ้าแลบและฟ้าร้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร?
อันที่จริงแล้วปรากฏการณ์ฟ้าแลบ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจาการที่หยดน้ำหรือเกล็ดน้ำแข็งที่มีปริมาณมากที่ได้ตกลงมาเป็นฝนหรือลูกเห็บ แต่เมื่อมีปริมาณมากขึ้นก็จะเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าขึ้นโดยประจุบวกจะอยู่ด้านบนของก้อนเมฆ ส่วนด้านล่างของก้อนเมฆจะเป็นประจุลบ เมื่อเมฆสองก้อนเคลื่อนที่เข้าใกล้กันก็จะเกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้าไปมา ทำให้เกิดเป็นแสงแวบขึ้น หรือที่เรียกว่า ฟ้าแลบ และในระหว่างที่เกิดการระเบิดทำให้มีเสียงดังสนั่นหวั่นไหว เราจึงได้ยินเป็นเสียงฟ้าร้องนั่นเอง
- ทำไมในแต่ละปี มีจำนวนวันไม่เท่ากัน?
ทำไมบางปีมี 365 วัน แต่บางปีมี 366 วันล่ะ จริงๆแล้ว 1 ปี มี 365.2422 วัน แต่การนับแบบนี้ยุ่งยากมากเราจึงตัดให้เหลือเพียง 365 วันและเศษที่เหลือนั้นก็เอามารวมกันโดย 4 ปีจะมีวันเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน นั่นคือ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ นั่นเอง ถ้าอยากรู้ว่าปีไหน มี 366 วันก็หาได้ง่ายๆ โดยให้เอาปีคริสต์ศักราชหารด้วย 4 ถ้าปีไหนหารได้ลงตัวก็จะมี 366 วันนั่นเอง
- กล้องอินฟราเรด มองทะลุเสื้อผ้าได้อย่างไร?
แสงที่มองเห็นได้ คือแสงที่มนุษย์เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ส่วนรังสีอินฟราเรดเป็นแสงที่มีความยาวคลื่นมากกว่าที่ดวงตาของมนุษย์เราจะมองเห็น แต่สามารถทะลุผ่านวัตถุอย่างเช่นเสื้อผ้าเข้าไปได้ ในขณะที่แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นๆไม่สามารถทำได้ เมื่อกล้องอินฟราเรดทะลุผ่านเสื้อผ้าเข้าไปกระทบกับผิวหนังของเรา ก็จะสะท้อนรังสีอินฟราเรดกลับออกมา จะทำให้ได้ภาพของสิ่งที่อยู่ใต้เสื้อผ้าเป็นภาพขาวดำ แต่ถ้าเสื้อผ้าที่ใส่อยู่นั้นไม่ใช่ผ้าไหมหรือผ้าไนลอนแล้ว รังสีอินฟราเรดก็ไม่สามารถส่องผ่านเข้าไปได้ง่ายๆ แต่การใช้กล้องรังสีอินฟราเรดแอบดูร่างกายผู้ของอื่นถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย และเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่ายิ่ง
- แว่นที่มองเห็นในที่มืด เป็นอย่างไร?
แว่นอินฟาเรดหรือกล้องอินฟาเรด เป็นอุปกรณ์ของทหารหรือตำรวจที่จะต้องปฏิบัติภารกิจในที่มืดๆ ซึ่งกล้องที่ว่านี้ จะช่วยให้มองเห็นวัตถุในที่มืดได้ เพราะมันมีประสิทธิภาพในการจับความร้อนของสิ่งต่างๆ เช่น ความร้อนจากร่างกายของสิ่งมีชีวิต แต่ภาพที่ได้จะไม่เหมือนกับที่เรามองเห็นในที่มีแสงสว่างทั่วไป
- ทำไมพายุ จึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน?
พายุที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ก็มักจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป เช่น ถ้าเกิดในมหาสมุทรแอตแลนติก แถบชายฝั่งเม็กซิโก จะเรียกว่า พายุเฮอริเคน ถ้าเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ในทวีปยุโรปจะเรียกว่า วิลลี่ ถ้าเกิดในมหาสมุทรอินเดีย จะเรียกว่า ไซโคลน ส่วนพายุที่เกิดทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก จะเรียกว่า พายุไต้ฝุ่น และเนื่องจากพายุไต้ฝุ่นมักเกิดในแถบโซนร้อน จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พายุโซนร้อน และนอกจากนี้พายุที่เกิดในภูมิภาคเดียวกัน แต่อาจจะมีความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปด้วย
- เพราะเหตุใด ไก่จึงกินก้อนกรวด?
ในบางครั้งเราจะสังเกตเห็นว่า นอกจากอาหารที่เราให้ตามปกติแล้ว ไก่ยังจิกกินก้อนกรวดเล็กๆเข้าไปด้วย ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารของมันก็ตาม และไก่ที่ว่านี้ ก็ไม่มีฟันสำหรบเคี้ยวอาหารเหมือนสัตว์ทั่วไป แต่ไก่มีอวัยวะพิเศษที่เรียกว่า กึ๋น ซึ่งเป็นกระเพาะที่ 2 ทำหน้าที่ย่อยอาหารจากกระเพาะที่ 1 ด้านในกึ๋นจะประกอบด้วย ผนังที่มีกล้ามเนื้อหนาๆ ใช้บดอาหาร และยังมีก้อนกรวดที่ไก่กินเข้ามา เพื่อช่วยย่อยอาหารให้เป็นชิ้นเล็กๆนั่นเอง
- การทักทายกันโดยการหอมแก้ม มีความเป็นมาอย่างไร?
บางคนเชื่อว่าการทักทายโดยการหอมแก้มกันในปัจจุบัน เริ่มมาจากที่ชาวเอสกิโมแสดงความรักโดยการถูจมูกของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่บางคนเชื่อว่าในสมัยก่อนเมื่อทหารได้รับบาดเจ็บ หมอที่ทำการรักษาจะใช้ปากดูดเลือดที่แผลออกมา และการกระทำดังกล่าวก็ได้ถูกพัฒนามาเป็นการหอมหรือจูบเพื่อแสดงความรักต่อกัน และยังมีอีกหนึ่งเหตุผลที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทักทายโดยการหอมแก้ว นั่นคือวัฒนธรรมการทักทายโดยใช้จมูกชนกันของชาวอินเดียตั้งแต่ครั้งอดีต ซึ่งก็ได้ถูกพัฒนาต่อมาเป็นการทักทายโดยหอมแก้มกันจนกระทั่งในปัจจุบัน
- การทักทายโดยการจับมือกัน มีความเป็นมาอย่างไร?
มีหลายเหตุผลที่พอเชื่อได้ว่าการทักทายโดยการจับมือกันในปัจจุบัน ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวอาหรับโบราณแสดงความเคารพโดยการจูบที่มือของอีกฝ่าย แต่วันหนึ่งผู้ชายที่อายุมากกว่าเกิดไม่สบายใจที่ต้องจูบมือผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่า พวกเขาจึงตกลงกันว่า จะใช้การจับมือแทนการจูบมือ และตั้งแต่นั้นมาการจับมือก็เป็นการทักทายและเป็นการให้ความเคารพซึ่งกันและกัน จนกระทั่งในปัจจุบัน
- ทำไมเข็มทิศจึงชี้ไปแต่ทางทิศเหนือเท่านั้น?
โลกของเราใบนี้เป็นเหมือนแม่เหล็กขนาดมหึมา และปล่อยแรงแม่เหล็กออกไปทั่วรัศมีโดยรอบ โดยที่ขั้วโลกเหนือมีคุณสมบัติเป็นขั้วโลกใต้ และขั้วโลกใต้มีคุณสมบัติเป็นขั้วโลกเหนือ และเข็มทิศซึ่งเป็นแม่เหล็ก จึงหันไปทางทิศเหนือ (ขั้วโลกเหนือ) ซึ่งเป็นแม่เหล็กขั้วโลกใต้นั่นเอง
แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/c/SivakornPookanha