เปิดตำนานความเป็นมาของ ยามอุบากอง หรือยามพม่าแหกคุก (สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตของคุณได้)
ประวัติความเป็นมาของ ยามอุบากอง หรือยามพม่าแหกคุก
ในยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ ในโลกแห่งเทคโนโลยีในปัจจุบัน หลายคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ศาสตร์แห่งความเชื่อ และการพยากรณ์ เป็นของคู่กับคนไทยเรา มาตั้งแต่สมัยอดีต เพราะคนในสมัยก่อนไม่ว่าจะทำอะไร เกี่ยวกับงานอันเป็นมงคล งานอวมงคล หรือแม้กระทั่งก่อนจะออกเดินทาง หรือติดต่อธุระค้าขายที่ใด ก็ต้องมีเรื่องของการดูฤกษ์ยามเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ นัยน์ว่าเพื่อให้กิจการงานต่าง ๆ ที่กำลังทำอยู่นั้น มีความเจริญก้าวหน้า ประสบความสำเร็จราบรื่นดี และตำราการดูฤกษ์ยามที่เก่าแก่และมีมนต์ขลัง ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุด สืบทอดมาหลายรุ่นหลายสมัยตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ที่เรามักจะเคยได้ยินและก็คุ้นหูกันดีก็คือ ตำรา "ยามอุบากอง"
ตำรายามอุบากอง เป็นตำราดูฤกษ์งามยามดีในช่วงเวลาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เวลาเดินทาง, ก่อนออกรถ, เปิดร้านหรือเปิดกิจการค้าขาย, พบปะเจรจากับลูกค้า และนำเสนอผลงานต่างๆ คนในสมัยก่อนมักนิยมและยึดถือการดูฤกษ์ยามมงคลตามตำราอุบากอง เพราะมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า ไม่ว่าจะทำอะไรถ้าถือฤกษ์ยามตามเวลาที่ยามอุบากอง ได้กำหนดไว้แล้ว ก็มักจะประสบโชคดี และประสบความสำเร็จสมความมุ่งมาดปรารถนา ตามที่คาดหวังเอาไว้เสมอ
ยามอุบากอง หรือมักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยามพม่าแหกคุก เป็นศาสตร์แห่งการดูฤกษ์ยามอย่างหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล เป็นยามที่คนในสมัยก่อน ยึดถือเอาไว้ดูวันและเวลาที่เหมาะสม จัดสรรให้เป็นฤกษ์งามยามดี สำหรับการเดินทางหรือประกอบกิจการงานต่าง โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ในรุ่นปู่ย่าตายายของเรา ต่างเชื่อมั่นและยึดถือตำรายามอุบากองอย่างเคร่งครัดและจริงจัง
ประวัติความเป็นมาของ “ยามอุบากอง”
คำว่า “อุบากอง” นั้น อันที่จริงแล้วเป็นชื่อของนายทหารเอกยศขุนพลของพม่า ที่ได้คุมกำลังทหารส่วนหนึ่งบุกเข้าโจมตี เมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่ต้นรัชกาล แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ของไทยเรา จากข้อมูลที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ ได้ระบุเอาไว้ว่า นายทหารเอกยศขุนพลของพม่า ที่มีนามว่า “อุบากอง” ได้คุมกำลังทหารส่วนหนึ่งบุกเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งเมื่อแรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย ในปีพุทธศักราช 2350 ในคราที่พระเจ้าปะดุง ยก 9 ทัพมาตีไทยนั่นเอง แต่ด้วยเหตุผลประการใดไม่ได้ปรากฏหลักฐานเอาไว้ ในครานั้นขุนพลอุบากอง ได้พลาดพลั้งและถูกทหารฝ่ายไทยจับกุมตัวได้ และพ่อเมืองเชียงใหม่ในสมัยนั้น ก็ได้คุมตัวอุบากองส่งลงมายังพระนคร เมื่อขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย พ.ศ.2350 ในครานั้นเองสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงทรงรับสั่งให้ทำการไต่สวนขุนพลอุบากองในทันที
จากการสอบสวนได้ความว่า ขุนพลอุบากอง อันที่จริงแล้วเป็นคนไทย และเกิดในเมืองไทยเรานี่เอง มีบิดาที่มีเชื้อสายพม่า และมีมารดาเป็นหญิงชาวไทย อาศัยอยู่แถบเมืองธนบุรีนี่เอง ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงพระเมตตา ได้พระราชทานเสื้อผ้า และให้นำขุนพลอุบากองไปคุมขังไว้ที่คุกวัดโพธาราม หรือวัดพระเชตุพนฯ ในปัจจุบัน และในระหว่างที่ขุนพลอุบากองกับพวก ถูกจองจำคุมขังที่คุกวัดโพธิ์แห่งนี้ เขาก็ได้สอนตำรายันต์ยามยาตรา ให้กับพรรคพวกที่ถูกคุมขังด้วยกัน จนกระทั่งมีโอกาสเหมาะสม และพรรคพวกในที่คุมขังด้วยกัน สามารถร่ำเรียนยามยาตราจนสำเร็จ ตามที่ตนได้ถ่ายทอดแล้ว ขุนพลอุบากองก็ทำพิธีตามหลักโหราศาสตร์ กำหนดวันเวลา และฤกษ์งามยามดี ได้พาพรรคพวกแหกคุกออกจากที่คุมขังวัดโพธิ์ และหลบหนีไปยังเมืองพม่าได้อย่างปลอดภัย แต่ในครั้งนั้น บังเอิญมีนักโทษพม่า ที่มีเชื้อสายไทยบางคน ไม่ได้หลบหนีไปด้วย และก็ได้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆให้กับผู้คุมนักโทษฟัง จากปากต่อปากเกี่ยวกับความแม่นยำของตำรายันต์ยามยาตรา ก็ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นตำราบอกสอนกันเรื่อยมาตั้งแต่ครานั้น และให้ชื่อยามยาตรานี้ว่า "ยามอุบากอง" ตามชื่อเจ้าของยามยาตรานั่นก็คือ ขุนพลอุบากองนั่นเอง และการดูฤกษ์ยามตามตำรายามยาตราดังกล่าวนี้ ก็ได้ผ่านการพิสูจน์จากหลายคน และได้เห็นผลถึงความแม่นยำ เหนือความคาดหมาย และก็ได้ถ่ายทอดกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งในการดูฤกษ์ยามตามตำราอุบากองนี้ สามารถเลือกวันและเวลาที่จะทำการได้ โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ แบ่งเป็น วันข้างขึ้น และวันข้างแรม ดังนี้
ศูนย์หนึ่งอย่าพึ่งจร แม้ราญรอนจะอัปรา
สองศูนย์เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี
ปลอดศูนย์พูลสวัสดิ์ ภัยพิบัติลาภบ่มี
กากบาทตัวอัปรีย์ แม้จรลีจะอัปรา
สี่ศูนย์จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา
มีลาภล้นคณนา เร่งยาตราจะมีชัย
ยามอุบากอง ได้รับการกล่าวขาลว่าเป็นยามที่เที่ยงตรงและแม่นยำมากที่สุด มาแต่โบราณกาล แต่ถึงอย่างไร การยึดถือและปฏิบัติตามฤกษ์ยามดังกล่าว จนถึงขั้นงมงาย อาจทำให้เราเสียประโยชน์และอาจทำให้พลาดโอกาสดีๆไปได้นะครับ