หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รถราง...ในอดีตของสยามประเทศ

โพสท์โดย สาวลูกแม่ปิง

บางกอกเมืองหลวงของสยาม มีระบบรถรางซึ่งได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1893 ซึ่งถือได้ว่าเป็นรถรางไฟฟ้าแห่งแรกในทวีปเอเซียเลยค่ะ จากดั้งเดิมที่เคยใช้ม้าและลาลากตู้รถ ก็ถูกแทนที่ด้วยตู้ที่ทำด้วยไม้และระบบพลังงานไฟฟ้าขนาดกำลังยี่สิบแรงม้า ระบบไฟฟ้าที่ใช้สำหรับรถรางนี้ เป็นระบบที่ดำเนินการโดยบริษัท Short Electric Railway Company เมือง Cleveland ประเทศสหรัฐอเมริกา บางกอกซึ่งในขณะนั้นมีพลเมืองประมาณเก้าแสนคน มีรถรางถึง 7 สายด้วยกัน โดยวิ่งไปยังจุดต่างดังนี้

1.บางคอแหลม

2.สามเสน

3.ดุสิต

4.บางซื่อ

5.หัวลำโพง

6.สีลม

7.ปทุมวัน

รถรางทุกสายเป็นแบบรางเดี่ยว โดยมีทางหลีกในระยะช่วง 1/4 ไมล์ รางมีขนาดกว้าง 1 เมตร และรางรถส่วนมากฝังอยู่ในพื้นถนนลาดยาง มีบางช่วงเท่านั้นที่ฝังอยู่บนถนนคอนกรีต และได้มีการให้สิทธิให้รถรางที่วิ่งทางขวาไปก่อน ในขณะนั้นมีตู้รถรางทั้งหมดรวม 54 โบกี้ รถตู้ที่เป็นมอเตอร์แบบคู่ มี 28 ตู้ และ รถหัวขบวนซึ่งเป็นตัวลาก 62 คัน แต่ละคันมีกำลังขับ 40 แรงม้าและสามารถจุคนได้ 60 คน โดยแบ่งเป็นที่นั่ง 36 คน ที่ยืน 24 คน นอกจากนั้นแล้ว ยังมีตัวถังโบกี้รถรางที่มีที่นั่งโดยสาร 2 แบบ คือ แบบเปิดโล่ง และแบบที่มีกระจกปิด ทุกโบกี้จะมีทางขึ้น 2 ทาง ตัวถังรถรางส่วนมากผลิตในไทย จะมีก็เพียง 5 โบกี้เท่านั้นที่ส่งมาจากอังกฤษ สีของรถรางส่วนใหญ่ มี 4 แบบซึ่งประกอบด้วย 2 สีคู่กัน คือ เหลืองกับน้ำตาล เหลืองกับเขียว เหลืองกับแดง และดำกับเขียวอ่อนวันที่ 30 กันยายน ปี ค.ศ.1968 รถราง 2 สายสุดท้ายของบางกอกถูกยกเลิกไป และถูกแทนที่ด้วยรถเมล์............................ ......

”นั่นคือเสี้ยวหนึ่งในประวัติศาสตร์ของรถรางไฟฟ้า ซึ่งทำให้บางกอกกลายเป็นเมืองที่มีความเจริญไม่แพ้บางประเทศในยุโรปในยุคนั้นเลย เพราะถือได้ว่าเป็นประเทศแรกในทวีปเอเซียที่มีรถรางไฟฟ้าใช้ อย่างไรก็ตาม ความเป็นมาของรถรางในบางกอกมีมาก่อนหน้านั้นแล้ว ซึ่งหนังสือเล่มเดียวกันได้กล่าวไว้ว่า“............................กำเนิดของรถรางที่ใช้ม้าลากในสยาม ได้เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี ค.ศ. 1889 และต่อมาได้พัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้าซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 1892 ซึ่งในประเด็นนี้ ข้อมูลบางแห่งได้บอกว่ารถรางไฟฟ้าสายแรกของบางกอกนั้น (บางคอแหลม) เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1893 ระยะทางของรถรางทั้งหมด 7 สาย มีความยาวทั้งสิ้น 48.7 กิโลเมตร คือ บางคอแหลม 9.2 กม.สามเสน 11.3 กม.ดุสิต 11.5 กม.บางซื่อ 4 กม.หัวลำโพง 4.4 กม.สีลม 4.5 กม.และสุดท้าย ปทุมวัน 3.8 กม.

เนื่องจากระบบรถรางสมัยนั้นเป็นระบบรางเดียว ดังนั้นทุกๆ500เมตร จึงต้องมีรางสับหลีก เพื่อให้รถรางวิ่งสวนมาหลบหลีกกันได้โดยสะดวก ในบางกอกมีท่ารถรางอยู่ 4 แห่งคือ ที่สะพานดำ สะพานเหลือง บางกระบือและบางคอแหลม โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนท่าช้าง จำนวนตู้รถรางทั้งหมดในบางกอกขณะนั้นไม่เป็นที่แน่ชัดเนื่องจากตัวเลขอย่างเป็นทางการของแต่ละหน่วยงานนั้นแตกต่างกันออกไป แต่จากข้อมูลเท่าที่สืบค้นได้ ประมาณว่ามีทั้งหมด 206 ตู้ ในจำนวนนี้แยกได้เป็น ตู้รถรางขนาดสองเครื่องยนต์จำนวน 62 ตู้ พร้อมตู้ลากเข้าคู่กันอีก 62 ตู้ รถรางตู้เดี่ยวหนึ่งเครื่องยนต์จำนวน 54 ตู้ และรถตู้แฝดหนึ่งเครื่องยนต์ท้ายต่อกันจำนวน 28 ตู้ ในตู้รถรางทุกตู้จะมีอุปกรณ์ที่สำคัญคือ มอเตอร์ขนาด 40 แรงม้าหนึ่งตัว การที่สภาพพื้นที่เป็นที่ราบไม่มีความต่างระดับ ทำให้พลังงานในการขับเคลื่อนต่ำ จึงทำให้รถรางวิ่งช้ากว่าที่ควรจะเป็น ต่อมาได้มีการสร้างตัวตู้รถมาตรฐานแบบห้าตอน(five-bay body) โดยตู้รถรางจะมีหน้าต่างที่เปิดโล่งด้านข้างและกั้นด้วยไม้เป็นซี่ตามยาว ตู้รถรางในบางกอกโดยทั่วไป มีที่นั่งขนานตามทางยาวกับตัวตู้สำหรับ 26 ที่นั่ง มีที่ว่างตรงกลางให้ผู้โดยสารยืนได้ 34 คน ช่วงสองตอนข้างหน้าจะกันไว้เป็นที่นั่งผู้โดยสารชั้นหนึ่ง ปลายปี ค.ศ.1950 รถตู้แบบเครื่องยนต์เดี่ยวได้รับการประกอบตัวถังใหม่ โดยชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบถูกนำเข้ามาจากบริษัทโอลด์เบอรี่ เมืองเบอร์มิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ รถตู้เหล่านี้ได้มีการติดหน้าต่างกระจกทั้งคัน ส่วนมากจะใช้ตู้โดยสารแบบ บริลล์ 21อี แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้แบบ Peckham cantilever สำหรับสีของตัวถังรถรุ่นใหม่นี้โดยทั่วไปจะมีสีเหลือง-แดง และมีแถบคาดสีขาวช่วงกลางปี ค.ศ.1950 ภายหลังจากที่กิจการรถรางถูกโอนจากการไฟฟ้าบางกอก (Bangkok Electric Works) ไปอยู่ในความดูแลของการไฟฟ้านครหลวง (the Metropolitan Electric Authority/MEA) ผู้บริหารของการไฟฟ้านครหลวงได้แสดงความประสงค์ที่จะ ยกเลิกกิจการรถรางและให้มีรถเมล์วิ่งแทน จนกระทั่งถึงช่วงปี ค.ศ.1961-1962 รถรางทั้งหมดถูกแทนที่โดยบริษัทรถเมล์เอกชน และเหลือก็เพียง 2 สายที่ยังคงวิ่งรอบกรุงเก่าเท่านั้น ซึ่งได้ดำเนินกิจการต่อมาจนถึงปี ค.ศ.1968 หลังจากนั้นเหลือรถรางเฉพาะแบบตู้เดี่ยวเพียง 16 ตู้

ปริมาณรถรางที่ให้บริการในจำนวนน้อยเช่นนี้ ประกอบกับความช้าในการขับเคลื่อนที่ไม่ทันใจผู้ใช้บริการ เนื่องจากในสมัยนั้นเมืองไทยมีรถมอเตอร์ไซด์ใช้แล้วนั้นเองค่ะ เมื่อการจราจรหนาแน่นขึ้น และรถรางต้องวิ่งตัดผ่านถนนต่างๆ ทำให้ยิ่งเกิดความล่าช้า การตัดสินใจจะยกเลิกระบบรถรางจึงมีขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 1968 โดยกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการตามข้อเสนอของการไฟฟ้านครหลวง ที่ให้เหตุผลว่า รถรางทั้ง 2 สายที่เหลือนั้น ประสบการขาดทุนโดยเฉลี่ยเดือนละ 7000 บาท ทั้งที่มีความตั้งใจที่จะอนุรักษ์รถรางเอาไว้ 2 ตู้ แต่ก็ได้ขายรถทั้งหมดในราคาตู้ละ 8000 บาท........................

”จากข้อมูลในหนังสือโมเดิร์น แทรมเวย์ ได้ทำให้เอมทราบด้วยว่า นอกจากรถรางในเมืองหลวงแล้ว ยังมีรถรางสายชานเมืองที่วิ่งไปยังปากน้ำด้วยนะ ซึ่งได้ยกเลิกไปเมื่อปี ค.ศ.1954 นอกจากนั้น การไฟฟ้านครหลวงก็ได้เปิดบริการรถรางที่เมืองลพบุรีด้วย เมื่อวันที่ 31 มกราคม ปี ค.ศ.1955 มีระยะทาง 5.75 กม. โดยใช้ตู้รถรางเก่าจากบางกอก รถรางเมืองลพบุรีนี้ ดำเนินการอยู่เพียง 7 ปีก็ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1962 ต่อมาได้มีความพยายามที่จะเปิดดำเนินกิจการรถรางไฟฟ้าในจังหวัดอื่นด้วย เช่น เชียงใหม่ โคราชและสงขลา แต่ก็ไม่ปรากฎผลสำเร็จจากปี ค.ศ.1968 เป็นต้นมา ก็ไม่ปรากฎรถรางๆไฟฟ้าวิ่งในเมืองไทยอีกต่อไป

ภาพด้านซ้ายคือสะพานเสี้ยวข้ามคลองหลอด ใกล้กับอนุสาวรีย์ทหารอาสา จากฝั่งสนามหลวงเข้าถนนจักรพงษ์เข้าบางลำพู ปัจจุบันคือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร
ภาพด้านขวามือคือสะพานเสี้ยวข้ามคลองหลอดหลังตึกกระทรวงกลาโหมเก่า ตรงหน้าอาคารใหม่ที่เพิ่งก่อสร้างเสร็จ ใกล้กับสะพานช้างโรงสี ปัจจุบันไม่มีร่องรอยเหลือแล้วว่าเคยมีสะพาน....

รถรางกำลังจะเลี้ยวซ้ายจากท่าช้างวังหลวงเข้าถนนพระจันทร์ไปสิ้นสุดเส้นทางที่ท่าพระจันทร์ ส่วนตึกที่เห็นซ้ายมือนั้น เป็นที่ทำการของบริษัทขนส่งจำกัด (บขส.)ในสมัยนั้นค่ะ....

ในรูป เป็นบริเวณประตูคุกเก่า สามยอด ด้านขวามือในรูปเห็นรถ สามล้อ หน้ากบ เป็นสามล้อที่มีรูปร่างน่ารัก ที่ได้สูญหายไปจากถนนนานแล้ว เหลือแต่สามล้อแบบที่เห็นในปัจจุบัน

กำลังวิ่งผ่าน สนามหลวงสังเกตุผ้าใบที่เป็นแผงค้ารอบสนามหลวงและแนวต้นมะขาม

รถราง....หน้าประตูวังท่าเตียน

.....ค่าโดยสารรถรางแบ่งเป็นสองชั้น โดยมีฉากลูกกรงไม้แบ่งครึ่งกลางคัน ครึ่งด้านหน้าเป็นเก้าอี้ไม้วางขนานไปกับตัวถังรถ ส่วนครึ่งหลังเก้าอี้จะมีเบาะนวมสีแดงปูอีกที ค่าโดยสารด้านหน้าเก้าอี้ไม้ เก็บ 10 สตางค์ตลอดสาย ด้านหลังเบาะนวมเก็บ 25 สตางค์ตลอดสาย จนชาวบ้านเรียกว่า "ข้างหน้าสิบตังค์ ข้างหลังสลึง"

รถรางกำลังวิ่งผ่านโรงกษาปณ์เก่าหน้าคูเมืองเดิม(ที่คนทั่วไปชอบเรียกคลองหลอด) เดี๋ยวนี้โรงกษาปณ์เก่ายังอยู่แต่กลายเป็นหอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า แต่คูเมืองเดิมกลายเป็นท่อระบายน้ำโดนถนนสร้างคล่อมเป็นสะพานพระปิ่นเกล้าไปแล้วค่ะ

รถรางกำลังวิ่งผ่านย่านท่าเตียน

รูปนี้ หน้าโรงหนังเอมไพร์ ปากคลองตลาด ด้านหลังมีรถเมล์ขาวนายเลิศ
กำลังฉายหนังไทย ชาติฉกรรจ์

รถรางสายรอบเมือง ตอนใน (อนุสาวรีย์ทหารอาสา - การไฟฟ้านครหลวง ที่วัดเลียบ) ถ่ายที่สนามหลวง ช่วงหน้าวัดมหาธาตุ ราวๆปี 2509 — ที่ สนามหลวง ช่วงหน้าวัดมหาธาตุ

ป้ายสามเหลี่ยมสีแดงมีดาวตรงกลางคือจุดจอด ขึ้นลงและรับผู้โดยสาร....ส่วนป้ายสามเหลี่ยมสีเขียวมีดาวตรงกลางคือป้ายแสดงจุดให้รถรางรอหลีกขบวนกัน

รถรางกำลังวิ่งผ่านเยาวราช โดยมีรถแท็กซี่กำลังแซงผ่านไป สังเกตนะค่ะว่าแท็กซี่เปิดกระจกหูช้างด้านคนขับรับลมด้วย เพราะรถยนต์สมัยนั้นไม่มีแอร์ อากาศในกรุงเทพฯก็ไม่ได้ร้อนสาหัสอย่างทุกวันนี้ เพราะตอนนั้นตึกสูงไม่มี สูงที่สุดก็ตึกเจ็ดชั้นเยาวราช คนก็ตื่นเต้นกันทั้งเมืองแล้วค่ะ ส่วนคนขับรถรางนั้นยืนขับนะ ไม่ได้นั่งขับ มือขวากุมคันเบรก ส่วนมือซ้ายกุมคันเร่ง ไม่ต้องใช้พวงมาลัยเพราะมันวิ่งไปตามราง

ที่รถรางต้องหายไปจากท้องถนนก็คงเพราะเป็นความเชื่องช้าของมันที่ทำให้การจราจรติดขัดและสายไฟที่ระโยงระยางหมดความสวยงาม

รถรางสายดุสิต ผ่านหน้าธรรมศาสตร์และสนามหลวง

Probably around Wat Tuek areaรถรางแถวแยกวัดตึก

ฝั่งตรงข้ามที่หน้าจะเป็น โรงละครแห่งชาติ

รถรางสายบางคอแหลม ในภาพ รถรางกำลังจะมุ่งหน้าไปยังแยกมหาพฤฒาราม ส่วนสามล้อ กำลังมุ่งหน้าไปถนนสี่พระยา

ภาพพิธีเปิดการเดินรถราง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5

ตั๋วรถรางเก่า.

ใบหุ้น....หรือพันธบัตร รถรางในสมัยนั้น

แผนที่จำลองเส้นทางรถรางสมัยก่อน เส้นสีลม

แผนที่จำลองเส้นทางรถรางสมัยก่อน เส้นบางคอแหลม

แผนที่จำลองเส้นทางรถรางสมัยก่อน เส้นบางซื่อ

แผนที่จำลองเส้นทางรถรางสมัยก่อน เส้นดุสิต

แผนที่จำลองเส้นทางรถรางสมัยก่อน เส้นปทุมวัน

แผนที่จำลองเส้นทางรถรางสมัยก่อน เส้นสามเสน

เชือกที่โยงปลายคานรับกระแสไฟฟ้าของรถราง เชือกนี้ใช้ดึงคานให้หมุนกลับเวลารถใช้อีกหัววิ่งกลับมา เพื่อให้คานอยู่ในลักษณะลู่หลังตลอดเวลาที่รถวิ่งเพื่อป้องกันการสะดุดหัวหมุดรั้งสายไฟ และยังช่วยรั้งคานให้นิ่งไม่กระโดดอีกด้วย

รถรางวิ่งผ่านท่าราชวรดิษฐ์ สังเกตจะเห็นเชือกที่โยงปลายคานรับกระแสไฟฟ้าของรถราง เชือกนี้ใช้ดึงคานให้หมุนกลับเวลารถใช้อีกหัววิ่งกลับมา เพื่อให้คานอยู่ในลักษณะลู่หลังตลอดเวลาที่รถวิ่งเพื่อป้องกันการสะดุดหัวหมุดรั้งสายไฟ และยังช่วยรั้งคานให้นิ่งไม่กระโดดอีกด้วย ส่วนพนักงานที่ยืนท้ายรถรางนั้น เป็นพนักงานเก็บค่าโดยสาร เมื่อรถสุดทางก็จะเปลี่ยนหน้าที่เป็นพนักงานขับรถ นำหัวอีกด้านวิ่งกลับมา พนักงานที่ขับอีกหัวก็จะเก็บสตางค์แทนสลับกันค่ะ

ถนนวิสุทธิกษัตริย์ รถสามล้อเครื่องกำลังวิ่งสวนกับรถราง

ตรงนี้ก็คือแถวๆเสาชิงช้าด้านที่ว่าการเทศบาลนครกรุงเทพฯ ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันว่า "ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร" นั่นแหล่ะ

รถราง หน้าสโมสรราชนาว

รถรางเลี้ยวขวาจากวังสราญรมย์ด้านข้างกระทรวงกลาโหมเข้าถนนมหาชัย เพื่อมุ่งสู่สนามหลวง ส่วนแท็กซี่คันที่เห็นท้ายยี่ห้อโตโยเป็ตค่ะ ก่อนที่จะมาเป็นโตโยต้าที่เรารู้จักในปัจจุบัน....

สามแยกถนนเจริญกรุงทางที่ออกมาวงเวียน 22 กรกฎาคม สมัยนั้นมี 3 แยกเขาเลยเรียกว่าสามแยก เดี๋ยวนี้เป็นห้าแยกไปแล้ว แต่เขาก้อยังเรียกกันว่าสามแยกตามเดิม

"โรงจอดรถราง"

รถรางไฟฟ้าวิ่งผ่านหน้าวัดปทุมวนาราม-สยาม-สนามศุภ. สายนี้วิ่งจากสะพานเฉลิมโลกเข้าถนนพระรามที่ 1 ข้ามสะพานกษัตรศึกไปทางยศเสบรรจบกับสายหัวลำโพง สายนี้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1925 เพื่อรองรับงานแสดงสินค้าของประเทศสยาม

ในภาพ:รถรางกำลังวิ่งบนถนนเยาวราช แถวๆแยกราชวงศ์ ซ้ายมือคือตึกคาเธ่ย์เก่า ขวามือเป็นซอยมังกร

รถรางสายดุสิต กำลังวิ่งผ่านวัดโพธิ์

1959 – Hualamphong line tram set passing a Chinese temple....ผ่านศาลเจ้าพ่อเสือ

รถรางที่ป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้า

ถนนราชดำเนิน รถรางน่าจะกำลังวิ่งไปทางประตูผี ปัจจุบันอีกฝั่งเป็นพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว..

รถราง ก็ตกรางได้เหมือนกัน

1959 tram of Silom Road.. รถรางขณะวิ่งผ่าน ถนนสีลม บริเวณหน้าโรงเรียนพาณิชวิทยาลัย ที่เคยอยู่ตรงหัวมุมแยกศาลาแดงภาพปี 1959

คุณแท้ ประกาศวุฒิสาร ศิลปินแห่งชาติ ผู้ที่กำกับการถ่ายทำสารคดี รถรางวันสุดท้ายในกรุงเทพมหานคร

ภาพรถรางขณะวิ่งบนถนนพระราม 1 ชอบความคลาสสิคของรถในสมัยนั้นจริงๆ ดูแล้วเหมือนรถของเล่นเลย ภาพปี 1959

Tram of the Dusit line on Thanon Phitsanulok (Road) at the stop close to Wat Benchamabopit (Marble Temple) on March 1, 1959

รถรางในอดีตอีกภาพหนึ่ง ขณะวิ่งอยู่แถวๆบางลำพู แยกวันชาติ ถนนมหาไชย

Bangkok Tram - Hua Lamphong line (Bang Lamphoo - Giant Swing - Hua Lamphong)1956

Bangkok Tram - Bang Kholaem line (City Pillar - Thanon Tok) at General Post Office (GPO), Bang Rak 1956

Bangkok Tram near Rattanakosin Hotel (Royal Hotel) 1950....ภาพรถรางกำลังจอดรอผู้โดยสารขึ้น-ลงที่บริเวณหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ในปี 1950 (พ.ศ.2493)

ภาพรถราง สายสีลม ที่จอดอยู่บริเวณถนนสีลมตัดกับถนนเจริญกรุง ย่านบางรักก่อนปี 2505.. เพราะยังเห็นแนวคลองสีลม ทางขวามือ

พนักงานขับรถราง..ขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ เมื่อประมาณปี 1950 (พ.ศ.2493)

ขณะที่รถรางกำลังวิ่งผ่านบริเวณวัดโพธิ์

รถรางขณะแล่นผ่านบนสะพานเสี้ยวเมื่อปี1962(พ.ศ.2505)

ประวัติของสะพานเสี้ยว สะพานเสี้ยวเป็นสะพานข้ามคลองคูเมือง บริเวณสะพานผ่านพิภพลีลาในปัจจุบัน ชื่อสะพานเรียกตามลักษณะของสะพานซึ่งมีรูปเสี้ยวเหมือนขนมเปียกปูนสมัยโบราณ แม้ต่อมาจะได้มีการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงรูปร่างของสะพานใหม่หลายครั้ง แต่ก้ยังคงชื่อสะพานไว้เช่นเดิมจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ.2444 ครั้งโปรดเกล้าฯให้สร้างสะพานผ่านพิภพลีลาขึ้นในบริเวณที่เป็นสะพานเสี้ยว จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายสะพานเสี้ยวไปอยู่ด้านเหนือ ตรงกับถนนจักรพงษ์ ใกล้ๆสะพานผ่านพิภพลีลานั่นเองค่ะ ในสมัยที่กรุงเพฯยังมีรถรางอยู่นั้น สะพานเสี้ยวได้กลายเป็นเส้นทางสำหรับรถรางวิ่งข้ามคลองคูเมืองเดิม จนกิจการรถรางเลิก สะพานเสี้ยวจึงกลับมาเป็นสะพานคนเดิมข้ามอีกครั้ง และได้รื้อออกเมื่อครั้งสร้างสะพานพระปิ่นเกล้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ในครั้งนั้นเองที่ทั้งชื่อสะพานและตัวสะพานได้สูญหายไปจากสายตาและกำลังจะหายไปจากความทรงจำของคนกรุงเทพฯในไม่ช้า แหล่งอ้างอิง: ข้อมูลดีๆ จากหนังสือ "ชื่อบ้าน นามเมือง" โดยคุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ในเครือสำนักพิมพ์มติชน

รถรางขณะวิ่งผ่านโรงเรียนงามวิไล

รถรางเคยเป็นรถโดยสารของชาวกรุงในอดีต

ด้วยราคาค่าโดยสารที่ถูก..ปลอดภัย จึงได้รับความนิยมจากชาวกรุง

Thailand - Bangkok - Bygone days of the tramwayภาพถ่ายรถรางสายสามเสนบนถนนเยาวราชใกล้ๆแยกเฉลิมบุรี ถ่ายโดย ระบิล บุนนาค ตากล้องที่มีกิจการรับถ่ายรุปและล้างฟิล์มแถวสีลม - ภาพนี้ถ่ายราวๆปี 2493 ตอนนี้เก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (โดย Moderator Wiz)

Thailand - Bangkok - Bygone days of the tramwayรถรางยุคปี 50 ปลายๆสายบางลำภู กำลังวิ่งเลียบคลองหลอด ขณะวิ่งผ่านอนุสาวรีย์หมู

Thailand - Bangkok - Bygone days of the tramwayรถรางสายหัวลำโพง-บางลำภู ขณะวิ่งผ่านแยกแห่งหนึ่งของบางกอกที่ข้างทางยังมีตึกรูปทรงโคโลเนี่ยนให้เห็น

tram near wat pho, 1959....รถรางยุคปี 2502 ขณะวิ่งบนทางด้านข้างของวัดโพธิ์

รถรางสายบางคอแหลมบนถนนเจริญกรุง ถ่ายแถวหน้าไปรษณีย์กลางบางรัก ถ่ายโดยนาย Rene Burri เมื่อปี 1961 (พ.ศ. 2504) เห็นอาคารอดีตห้างไวท์อเวย์เลดลอว์ ที่กลายมาเป็นธนาคาร Bank of America สาขาประเทศไทยแต่ปีพ.ศ. 2492 ด้วยค่ะ

ภาพรถรางเก่าข้างทางเป็นร้านขายข้าวหมูแดงและถัดไปร้านขายบะหมี่ร้านเก่าแก่ต้องอร่อยแน่ๆ....(ปัจจุบันอาคารที่มีหน้าจั่วคือร้านแอ๊ว ท่าพระจันทร์ อยู่ตรงปากทางเข้าอาคารสงเคราะห์กองทัพบกส่วนกลาง(ท่าช้าง) ถนนมหาราช มุ่งหน้าไปท่าพระจันทร์ ปลายทางคือธรรมศาสตร์เครดิตคุณ Kittipong Fern Jarusathorn

They are rare but do exist; colour photos taken by an early tourist during the fifties. Here a tram with trailer not far from the Hua Lamphong railway station and how well maintained Bangkok looked in those days especially the pavement along the Khlong side. [ Khlong (Thai laguage) means: canal ] This picture was taken by Wally Higgins

รถรางสายหัวลำโพงขณะวิ่งผ่านประตูโรงเรียนเทพศิรินทร์ ข้างคลองผดุงกรุงเกษม.....credit railasia's photostream

Pak Nam railway and Samsen tram at Saphan Lueang [National archives of Thailand] 1946

ภาพถ่ายทางอากาศเห็นถนนพระรามสี่ย่านสะพานเหลืองและทางรถไฟสายปากน้ำที่วิ่งคู่ขนานไปกับถนนเมื่ออดีต.. และคลองหัวลำโพงที่มีเส้นทางจากคลองผดุงกรุงเกษมถึงคลองเตย.... ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1946 (พ.ศ.2489)
Photographer: Peter Williams-Hunt

BANGKOK TRAM - 1957 รถรางสาย บางรัก - ประตูน้ำ ขณะจอดรอผู้โดยสารที่ป้ายต้นทางแยก บางรักตัดกับเจริญกรุง บนถนนสีลม เมื่อ พ.ศ.2500

รถรางสายดุสิต กำลังข้ามคลองขณะวิ่งเลียบถนนพิษณุโลกราวๆปี 2503 - ใครพอรู้ว่าเป็นภาพแถวไหนช่วยบอกกันด้วยค่ะ (Moderator Wiz)

ที่มา: https://www.facebook.com/media/set/?set=a.422774394433810.94690967.199476353430283&type=3
เครดิต ภาพและเรื่องจากลุงไก่ เรือนไทย.วิชาการ.คอม
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
สาวลูกแม่ปิง's profile


โพสท์โดย: สาวลูกแม่ปิง
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
40 VOTES (4/5 จาก 10 คน)
VOTED: plangchompoo, ปู่ชิว รักในหลวง, ginger bread, cutiebarbie, อาราเล่จัง, สาวลูกแม่ปิง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เพื่อน "ออกัส" ซัดแหลก..พระเอกดังต่างหาก ถูกข่มขู่ให้กราบเท้า!!iPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!อิหร่านขู่ถล่มที่ตั้งนิวเคลียร์ ของอิสราเอลด้วยขีปนาวุธลูกค้าหนุ่มเศร้า หลังรีวิวชุดกีฬาที่ซื้อมา แต่ดันพลาดเห็นหนอนน้อยหนูอายเพื่อน!! ลูกสาวถึงกับร้องไห้ หลังคุณพ่อสายแฟ (ชั่น) มารับที่โรงเรียน ถึงกับถาม “พ่อไม่มีชุดธรรมดาปกติกับเค้าบ้างเหรอ” 😆หนังเรื่อง "คนกราบหมา" ได้เข้าฉายหลังจากถูกแบนมา 25 ปีชาวเน็ตจีนวิจารณ์หลังสถานีรถไฟใหม่หน้าตาเหมือนโกเต็ก"ลาบูบู้" ไม่รอด โดนเขมรเคลมเรียบร้อยแล้ว..บอกรากเหง้ามาจาก "หน้ากาล"สาวพม่ารีวิว! ค่าใช้จ่ายในการมาเรียนที่ประเทศไทย?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อิหร่านขู่ถล่มที่ตั้งนิวเคลียร์ ของอิสราเอลด้วยขีปนาวุธ"ลาบูบู้" ไม่รอด โดนเขมรเคลมเรียบร้อยแล้ว..บอกรากเหง้ามาจาก "หน้ากาล"3 ราศีที่มีความร้ายกาจ อย่างคาดไม่ถึง!หนังเรื่อง "คนกราบหมา" ได้เข้าฉายหลังจากถูกแบนมา 25 ปี
ตั้งกระทู้ใหม่