รำแกลมอ เซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ กว่า 100 ปี ของชาวกูยสุรินทร์
พิธีกรรมแกลมอ (การรักษาโรคด้วยเพลงดนตรี)
ดินแดนภาคอีสาน เป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ที่มีหลากกลุ่มชาติพันธุ์
อาศัยอยู่ เช่น เขมร ลาว กูย แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ต่างก็มีวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม ที่แตกต่างกันออกไป กลุ่มชาติพันธุ์ไทยกูย ในจังหวัดสุรินทร์ เป็นชาติพันธุ์หนึ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่น่าสนใจ และถือเป็นกลุ่มชนดั้งเดิม ที่สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมมายาวนาน พิธีกรรมหนึ่งของชนชาวกูยที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ พิธีกรรมแกลมอ สำหรับการนำเสนอครั้งนี้ เป็นพิธีกรรมแกลมอของชาวกูยที่อาศัยอยู่ที่บ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
“แกลมอ” เป็นภาษากูย “แกล” แปลว่า เล่น คำว่า”มอ” เป็นคำเฉพาะ ซึ่งแกลมอ
หมายถึง “การเล่นมอ” พิธีกรรมแกลมอ มีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่าพิธีกรรมนี้มีมานานแล้ว ชาวกูยรับการถ่ายทอดต่อเนื่องกันมา จากรุ่นสู่รุ่น และปฎิบัติมาโดยตลอดจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยจัดพิธีนี้ขึ้นเนื่องในโอกาส 3 ประการ คือ
1. เพื่อเป็นการเคารพครูบาอาจารย์ ปู่ย่า ตายายที่เคยเคารพ เมื่อถึงวันสำคัญในรอบปีก็จะดำเนินพิธีกรรมขึ้นปีละ 1 ครั้ง ในวันอังคาร ขึ้น 8 หรือ 15 ค่ำ ของเดือนยี่ ตรงกับเดือนมกราคมของทุกปี
2. เพื่อแก้บน ตามที่ได้บนบานไว้
3. เพื่อรักษาผู้ป่วย ซึ่งเป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณของบรรพบุรุษมาให้ความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำผ่านล่าม หรือคนทรงเพื่อหาสาเหตุของการเจ็บป่วย และหาทางรักษาตามความเชื่อ
ชาวไทยกูย มีความเชื่อในเรื่องผีปู่ตา และเชื่อว่าตะกวด เป็นตัวแทนของผีปู่ตา เชื่อว่าตะกวดเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับน้ำ และฝน อันเป็นที่มาของความอุดมสมบูรณ์ โดยเซ่นไหว้ผีปู่ตาประจำหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการเล่นแกลมอ ภูมิปัญญารักษาโรคด้วยเพลงดนตรี ที่สืบสานกันมานาน ตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของชาวไทยกูย เป็นพิธีกรรมที่ช่วยคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคน กับคน คนกับธรรมชาติ
พิธีกรรมการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษแบบโบราณ(แ
ดังนั้นชาวบ้านจึงนิยมเซ่นไหว้ผีปู่ย่าตาย