หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ไทยภายใต้เกมยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมยุคใหม่ VS ปรับสมดุลสู่เอเชีย

โพสท์โดย Bran Stark

เรียกว่าเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายการตัดสินใจของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นอย่างยิ่ง และถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ชาติที่สำคัญที่สุดก็ว่าได้เมื่อสื่อของทางการจีนได้นำเสนอว่ารัฐบาลจีนเตรียมที่จะทุ่มงบประมาณกว่า 1 ล้าน ๆ บาทเรื่องการขุดคลองคอดกระให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนเส้นทางสายไหมยุคใหม่

 

ขณะที่อีกด้านหนึ่งนั้นก็เป็นประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้ามาทาบทามให้ประเทศไทยได้เข้าไปเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือที่เรียกว่า ทีพีพี อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์สหรัฐที่เรียกว่าปรับสมดุลสู่เอเชีย

 

ซึ่งนั่นก็หมายความว่าวินาทีนี้ไทยกำลังตกอยู่ในสถานการณ์การต่อสู้ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนอย่างแท้จริง

 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าว ถึงกรณีที่จีนสนับสนุนให้ไทยขุดคอคอดกระ โดยนายกรัฐมนตรีได้ถามย้อนกลับว่า ใครเป็นคนเสนอ ตนเห็นเพียงแต่ข่าวในหนังสือพิมพ์ก็รอให้รัฐบาลเขาเสนอเข้ามาก่อน วันนี้ยังไม่เห็นรัฐบาลจีนเสนออะไรเข้ามา

 

เมื่อถามย้ำว่า หากรัฐบาลจีนเสนอเข้ามาก็จะมีการพิจารณาใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ต้องมาพูดคุยกัน แล้วมันดีหรือไม่ ต้องดูเรื่องความมั่นคงด้วยไหม ถ้ามองเพียงประโยชน์อย่างเดียว แล้วโทษมันมีหรือเปล่า

 

เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่าต้องดูเรื่องความมั่นคงด้วยใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ต้องดู ถ้าแบ่งแยกดินแดนออกเป็น 2 ตอน มันคุ้มหรือไม่และจะดูแลไหวไหม

 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีที่ไทยยังไม่ร่วมลงนามในข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(TPP) ว่า กรณีดังกล่าวเป็นความพยายามของประเทศชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกที่จะแสวงหาความร่วมมือทางการค้า

 

ซึ่งในประเด็นนี้จำเป็นต้องมีการทบทวนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างภาระให้กับประเทศ อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปอะไรออกมา มันมีเรื่องของยา เวชภัณฑ์ การเข้าถึง การถูกควบคุม และผลที่จะได้รับมีอะไรบ้าง ก็มีเรื่องเงินทุน วันนี้ก็มีหลายกอง มีหลายส่วน เราก็ต้องพิจารณา ต้องไม่สร้างภาระให้ประเทศ ไม่ใช่ต้องยอมทุกอย่าง

 

วกกลับมาติดตามยุทธศาสตร์ของสหรัฐที่เรียกว่าปรับสมดุลสู่เอเชียซึ่งส่วนหนึ่งของแผนการก็คือข้อตกลงหุ้นส่วน ทีพีพี โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา สหรัฐก็สามารถที่จะบรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเพิ่มอีก 12 ประเทศในคาบมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งนับรวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย สิงคโปร และเวียดนาม

 

ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกานั้นกำลังเขยิบเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทยก็ยังเป็นหนึ่งในเป้าหมายนั้น

 

รัฐมนตรีพาณิชย์ของ 12 ประเทศบรรลุผลการเจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ความเป็นหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก (ทีพีพี) กันได้แล้วในการเจรจาอย่างมาราธอนที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจียของสหรัฐ ที่ล่วงเลยกำหนดเข้าสู่วันที่ 5 และรูดม่านปิดลงได้ในเวลา 05.00 น. วันจันทร์ ซึ่งตรงกับช่วงค่ำวันเดียวกันของไทย

 

ความตกลงเอฟทีเอ ซึ่งผลักดันโดยรัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา และใช้เวลาเจรจาต่อรองกันอย่างเคร่งเครียดนาน 5 ปี จะครอบคลุมขนาดเศรษฐกิจโลกถึง 40% ฝ่ายสนับสนุนทีพีพีกล่าวว่า เขตการค้าเสรีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจหลายพันล้านดอลลาร์ในหมู่ชาติสมาชิก แต่ฝ่ายวิจารณ์โต้แย้งว่าการเจรจาต่อรองกระทำกันอย่างลับๆ และเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทใหญ่เป็นสำคัญ

 

ข้อตกลงนี้รวมถึงการลดภาษีศุลกากรสินค้านับหมื่นชนิด, การเปิดตลาด และการกำหนดมาตรฐานร่วมกันในการปกป้องการค้าการลงทุนใน 12 ประเทศ ซึ่งได้แก่ ออสเตรเลีย, บรูไน, แคนาดา, ชิลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, เปรู, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

 

บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้กล่าวยกย่องการบรรลุข้อตกลงทีพีพีว่าเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ ที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐกับหุ้นส่วนและพันธมิตรในภูมิภาค ซึ่งจะสำคัญอย่างยิ่งต่อศตวรรษที่ 21

 

บารัค โอบามา ยังกล่าวอีกว่า "เมื่อผู้ที่อาจเป็นลูกค้าของเรามากกว่า 95% อยู่นอกพรมแดนของเรา เราไม่อาจปล่อยให้ประเทศอย่างจีน ตรากฎเศรษฐกิจโลก"

 

"เราควรเป็นผู้ร่างตรากฎเหล่านี้ เปิดตลาดใหม่ๆ แก่ผลิตภัณฑ์จากอเมริกา ในขณะเดียวกันก็ตั้งมาตรฐานระดับสูงเพื่อปกป้องแรงงานและรักษาสิ่งแวดล้อมของเรา"

 

จีนซึ่งเป็นประเทศเอเชียแปซิฟิกที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐ ไม่ได้เข้าร่วมทีพีพี

 

ซึ่งภายหลังข่าวการบรรลุข้อตกลง กระทรวงพาณิชย์ของจีนได้กล่าวถึง "ข้อตกลงการค้าเสรีหนึ่งในฉบับสำคัญของเอเชีย-แปซิฟิก" นี้ว่า จีนหวังว่าทีพีพีและการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอื่นๆ ในภูมิภาคนี้จะสามารถเสริมส่งกันและกัน และมีส่วนช่วยการค้า, การลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชีย-แปซิฟิก"

 

ผู้นำหลายประเทศในกลุ่มทีพีพีต่างยกย่องข้อตกลงนี้เช่นกัน นายกฯ สตีเฟน ฮาร์เปอร์ กล่าวว่า เป็นข้อตกลง "ประวัติศาสตร์" เปิดทางให้เกษตรกรและภาคพลังงานแคนาดาเข้าถึงตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น ส่วนนายกฯ ชินโซ อาเบะ กล่าวว่า ทีพีพีแสดงถึง "ศตวรรษใหม่ของเอเชีย-แปซิฟิก" แต่เขตการค้าเสรีนี้จะมีความหมายในเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้น หากจีนเข้าร่วมด้วยในอนาคต

 

ญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่ยอมผ่อนปรนอย่างมาก โดยยอมเปิดตลาดรับผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ เช่น ออสเตรเลีย, สหรัฐ และนิวซีแลนด์ ส่วนสหรัฐยอมลดภาษีศุลกากรชิ้นส่วนรถยนต์ของญี่ปุ่นที่ผลิตในประเทศนอกกลุ่มทีพีพี เช่น ในจีนและไทย

 

ต่อจากนี้ไป รัฐบาลต่างๆ ต้องนำข้อตกลงนี้ไปนำเสนอต่อประชาชนและต่อรัฐสภาเพื่อให้ลงสัตยาบัน ซึ่งมีแนวโน้มว่าหลายประเทศจะเผชิญการคัดค้านอย่างแรงกล้า รวมถึงสหรัฐ สมาชิกสภาคองเกรสคนสำคัญ

 

หลังจากที่เมื่อวานนี้นั้นทางสำนักข่าวทีนิวส์ได้นำเสนอยุทธศาสตร์เส้นทางสายใหม่ยุคใหม่ของจีนไปเป็นเรียบร้อย เพราะฉะนั้นในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักยุทธ์ศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่าการปรับสมดุลสู่เอเชีย ซึ่งได้มีการใช้ ทีพีพี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

 

TPP ถือเป็นหนึ่งในสองปัจจัยที่เป็นหัวใจของยุทธศาสตร์ “ปรับสมดุลสู่เอเชีย” หรือที่เรียกว่ายุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชียแปซิฟิก และถือเป็นเครื่องมือสำคัญของสหรัฐในทางเศรษฐกิจ ส่วนอีกปัจจัยที่เป็นหัวใจสำคัญก็คือในด้านการทหาร โดยสหรัฐพยายามกีดกันจีนให้อยู่นอกวง หวังจะโดดเดี่ยวจีน แต่แผนการอันนี้ยังไม่ได้ผล ประเทศที่เข้าร่วมก็ยังไม่มาก เจรจากันมาหลายปีแล้วก็ยังตกลงกันไม่ลงตัว

 

ขณะที่ ในที่ประชุมเอเปกเมื่อปีกลาย จีนได้เสนอให้บรรดาสมาชิกเอเปกร่วมกันจัดตั้ง ธนาคาร AIIB เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บนเส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเล ซึ่งได้รับการต้อนรับจาก ประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก และในทวีปอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง รวม 57 ประเทศ บรรดาชาติที่เตรียมจัดตั้ง TPP เกือบทั้งหมดก็ได้เข้าร่วม นอกจาก สหรัฐและญี่ปุ่น แผนการกีดกันจีนในการจัดตั้ง TPP จึงไม่ได้ผล

 

ทั้งนี้ จากกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ ระบุเรื่อง ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement – TPP ของประเทศไทย ว่า

 

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบของ TPP ในฐานะเป็นหนึ่งในความตกลงแม่บทสำหรับการจัดทำความตกลงด้านการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก

 

ทั้งนี้ น่าจะมีหลายประเด็นที่อ่อนไหวต่อไทย อาทิ ทรัพย์สินทางปัญญา แรงงาน สิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นโยบายการแข่งขัน การระงับข้อพิพาท นอกจากนี้ ผู้แทนคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ได้เคยให้ข้อสังเกตกับกระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2553 เนื่องในโอกาสเข้าพบรองปลัดกระทรวงฯ ว่า ภาคเอกชนไทย โดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีความกังวลเกี่ยวกับ TPP เพราะจะทำให้การแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้นมาก และจะทำให้มาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสูงขึ้นตามไปด้วย เช่น สิ่งแวดล้อม แรงงาน ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนไทยแข่งขันได้ยาก

 

ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือTPP  ถือเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา เพื่อก้าวเข้าไปสู่การปรับสมดุลสู่เอเชีย แปซิฟิก ซึ่งเป็นแผนที่สหรัฐวางเอาไว้ เพื่อนำมาต่อกรกับแผนยุทธศาสตร์ เส้นทางสายไหมของจีน โดยมีหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญคือการเข้ามาแทรกแซงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญที่สามารถเชื่อต่อการเดินทางทั้งระดับประเทศและระดับทวีป

 

เมื่อวันที่ 6 เม.ย.2558 แอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ กล่าว ว่า วอชิงตันกำลังเข้าสู่ขั้นตอนใหม่ของยุทธศาสตร์ “ปรับสมดุล” สู่เอเชีย-แปซิฟิก โดยที่มีการลงทุนในอาวุธเทคโนโลยีระดับไฮ-เอนด์ เป็นต้นว่า เครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกลใช้เทคโนโลยีสเตลธ์, การกระชับความร่วมมือทางการทหารกับญี่ปุ่น, และการขยายความเป็นหุ้นส่วนทางการค้ากับชาติต่างๆ ในภูมิภาคนี้
      


ทั้งนี้ระบุว่า มีความมุ่งมั่นผูกพันเป็นการส่วนตัว ที่จะดำเนินการกำกับดูแลขั้นตอนใหม่ของยุทธศาสตร์การปรับสมดุลนี้ ซึ่งจะทำให้อเมริกามีปฏิสัมพันธ์ในเอเชีย-แปซิฟิกอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นและแตกแขนงกว้างขวางมากขึ้น

 

นอกจากนี้ ในแอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ ยังกระตุ้นรัฐสภาสหรัฐฯ ให้อำนาจประธานาธิบดีบารัค โอบามา เพื่อเร่งรัดการเจรจาทำข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (ทีพีพี) ที่ครอบคลุม 12 ชาติ โดยเขาระบุว่า ช้อตกลงนี้จะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อการจ้างงานและการเติบโตในอเมริกา และคาดว่า จะหนุนให้การส่งออกของประเทศเพิ่มขึ้น 123,500 ล้านดอลลาร์ในทศวรรษหน้า
      


ซึ่งทีพีพีคือหนึ่งในส่วนสำคัญที่สุดของความพยายามของคณะบริหารชุดนี้ในการถ่ายโอนความสนใจไปยังเอเชีย-แปซิฟิก หลังจากมุ่งเน้นสงครามในอิรักและอัฟกานิสถานมากว่าสิบปี

 

ทั้งจากรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ ประกอบกับข้อมูลข้อเท็จจริงที่สำนักข่าวทีนิวส์ ได้นำเสนอว่าสหรัฐมีความตั้งใจจริงที่จะ  หาผลประโยชน์ของประเทศไทย ตามแผนการปรับสมดุลสู่เอเชียแปซิฟิก

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Bran Stark's profile


โพสท์โดย: Bran Stark
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
28 VOTES (4/5 จาก 7 คน)
VOTED: จอมยุทธอินดี้, เอ๋ง ไม่ดัดจริต, ซาอิ, แย้มศรี, ท่านจอมพล, nkart, Bran Stark
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
คดีฆ่ๅชำแหละยัดถุงดำ เป็นฝีมือชาวญี่ปุ่นสาวคาซัคสถาน ทนไม่ไหว ทำสัญญาเลิกจากการเป็นทาสอย่างเด็ดขาด (โปรดดูหน้านายทาส รูปสุดท้าย ดูเต็มใจม๊ากมาก)7 สิ่งที่ควรทำเมื่ออายุ 40อากาศร้อนทำราคาไข่พุ่ง เป็ดออกไข่น้อยแร๊พเปอร์ชื่อดัง "คริส คิง" ถูกโจรยิงตายในตรอกนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ตั้งกรรมการสอบ ปมไอลอว์ตั้งคำถามเล่มจบ ป.เอกของ "สว.สมชาย" ข้อความคล้ายหลายแหล่งนักมวยเตะก้นสาวชูป้าย เลยโดนคนดูรุมกระทืบ"หนุ่ม กรรชัย" ลั่น! ไม่ทะเลาะกับเด็ก แต่ผู้ใหญ่ไม่แน่..หลังต้องอ่านข่าวลัทธิเชื่อมจิตอิตาลี่ออกกฏ "ห้ามขายพิซซ่า ไอศครีม" หลังเที่ยงคืน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"หนุ่ม กรรชัย" ลั่น! ไม่ทะเลาะกับเด็ก แต่ผู้ใหญ่ไม่แน่..หลังต้องอ่านข่าวลัทธิเชื่อมจิตอากาศร้อนทำราคาไข่พุ่ง เป็ดออกไข่น้อยห้ามพลาด 3 ร้านอาหาร คาเฟ่ หัวหินอิตาลี่ออกกฏ "ห้ามขายพิซซ่า ไอศครีม" หลังเที่ยงคืน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
"นักรบสระบุรี"อัปเดทผู้จัดการคนใหม่"เคนพิศณุพงศ์""หนุ่ม กรรชัย" ลั่น! ไม่ทะเลาะกับเด็ก แต่ผู้ใหญ่ไม่แน่..หลังต้องอ่านข่าวลัทธิเชื่อมจิตอากาศร้อนทำราคาไข่พุ่ง เป็ดออกไข่น้อยคดีฆ่ๅชำแหละยัดถุงดำ เป็นฝีมือชาวญี่ปุ่น
ตั้งกระทู้ใหม่